ร่วมบันทึกการใช้สังคมออนไลน์ของหน่วยงานภาครัฐ ลุ้นรางวัลใน 31 สค. นี้


โครงการ "สรอ. ขอความรู้" ฝากขอความร่วมมือจากสมาชิก GotoKnow ทุกท่านนิดนึงนะคะ ในครั้งนี้ สรอ. อยากจะขอความเห็นในประเด็นเรื่องการใช้สังคมออนไลน์ของหน่วยงานภาครัฐค่ะ 

* จากประสบการณ์ของทุกท่าน ท่านคิดว่าในระดับองค์กร หน่วยงานภาครัฐของไทยเรา ไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานย่อยๆ ในองค์กรสังกัดของภาครัฐ อาทิ 

  • โรงพยาบาล รพ.สต.
  • มหาวิทยาลัย 
  • กรม กระทรวง 
  • ประปา ไฟฟ้า 
  • อบต. อบจ.  ฯลฯ 

ใช้สังคมออนไลน์  เช่น GotoKnow, Twitter, Google+ หรือ Facebook ฯลฯ ได้มีประสิทธิภาพเพียงใด และพอจะช่วยกันยกตัวอย่างให้เห็นได้บ้างไหมค่ะ

บันทึกความเห็นลงในสมุดของท่านเองได้เลยนะคะ แล้วใส่คำสำคัญบันทึกด้วยค่ะว่า สังคมออนไลน์ หมดเขตร่วมกิจกรรมนี้ 31 สค. ค่ะ ลุ้นรับรางวัลเงินสด 2,500 บาท 4 รางวัลเช่นเคยด้วยการสุ่มจับหมายเลขบันทึกค่ะ


"สรอ. ขอความรู้" เป็นโครงการในความร่วมมือระหว่าง GotoKnow และ สรอ. (EGA) เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการให้ความรู้และข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อการพัฒนาระบบบริการเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ของประเทศค่ะ


หมายเลขบันทึก: 544804เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2013 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2015 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

"สังคมออนไลน์" เป็นเพื่อน "สังคมออนทัวร์" ;)...

เรียน ดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์

อ่านโจทย์แล้ว ยังไม่ชัดเจนค่ะ ข้อความ "จากประสบการณ์ของทุกท่าน ท่านคิดว่าหน่วยงานภาครัฐของไทยเราใช้สังคมออนไลน์ (Social Media) เช่น Twitter, Google+ หรือ Facebook ได้มีประสิทธิภาพเพียงใด และพอจะช่วยกันยกตัวอย่างให้เห็นได้บ้างไหมค่ะ (คะ)"

กรุณาอธิบายขยายความด้วยนะคะ ว่า

๑) ข้อความที่ขีดเส้นใต้ หมายถึง การใช้ "Social Media" ของ หน่วยงานภาครัฐ เช่น ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ของ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุบลราชธานี ฯลฯ เช่นนี้ ไม่ใช่ ของบุคลากรในหน่วยงานนั้นๆ ใช่ไหมคะ 

๒) คำว่า "Social Media" หมายรวมถึง Weblog "GotoKnow.org" ด้วยหรือเปล่าคะ

กรุณาอธิบายให้เข้าใจด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

 

 

ขอบคุณมากค่ะ อ. ไอดินฯ จะแก้ไขไว้ในบันทึกเลยนะคะ

ขอบคุณ "ดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์" มากนะคะ ที่่กรุณาอธิบายในประเด็นที่สงสัย เมื่อได้รับฟังคำอธิบายเพิ่มเติมแล้ว คราวนี้เข้าใจโจทย์ชัดเจนแจ่มแจ้ง ชนิดหมดข้อสงสัยเลยค่ะ

ในปัจจุบันนี้ในหน่วยงานภาครัฐใช้สังคมออนไลน์มากแต่มีเนื้อหาสาระที่มีประโยชน์น้อยส่วนมากใช้แต่การโพสต์กิจกรรมของตนเองไม่ค่อยได้โพสสต์สิ่งที่มีประโยชน์ต่อสาธารณะ

สังคมออนไลน์ (Social Media) แต่ละประเภทมีจุดเด่นแตกต่างกัน แต่ยังไม่สามารถตอบโจทย์ในการใช้เป็นเครื่องมือติดต่อกับประชาชนตามนโยบายของรัฐได้ทั้งหมด โดยเฉพาะนโยบายบริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาล (e-Government)

ปัจจุบันหน่วยงานของรัฐหันมาใช้สังคมออนไลน์กันมากขึ้น เพราะความนิยมและความง่ายของสังคมออนไลน์ เช่น Facebook หลายหน่วยงานเอามาใช้ประชาสัมพันธ์ข้อมูล (information) และติดต่อกับประชาชน (interaction) แทนเว็บได้เป็นอย่างดี แต่อาจยังไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการเชิงนโยบายของรัฐที่ต้องการให้ภาครัฐพัฒนาบริการของหน่วยงานไปสู่การทำธุรกรรมออนไลน์ (transcation) และเอามาบูรณาการกันต่อไป (integated) กัน ดังนั้น บางหน่วยงานอาจติดกับดักอยู่กับการใช้สังคมออนไลน์ โดยไม่ได้หันไปพัฒนาระบบให้ประชาชนสามารถติดต่อกับหน่วยงานได้ผ่านระบบออนไลน์

แต่การที่หน่วยงานภาครัฐเลือกใช้สังคมออนไลน์เป็นช่องทางในการติดต่อกับประชาชนหรือหน่วยงานต่างๆด้วยกัน ก็ถือว่าเป็นการตัดสินใจได้ถูกต้อง เพราะประชาชนส่วนใหญ่สนใจหรือติดหนึบอยู่กับสังคมออนไลน์ ทำให้การสื่อสารและการติดต่อกันทำได้มากขึ้น แต่การจดจำการเข้าถึงและการติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐของประชาชนหรือหน่วยงานต่างๆด้วยกันแบบนี้ อาจทำให้ผู้ใช้บริการเข้าใจว่า บริการออนไลน์ของภาครัฐมีเท่านี้เองเหรอ (น่าจะเป็นข้อจำกัดของสังคมออนไลน์ที่ไม่เหมาะกับการนำมาใช้ทำธุรกรรมออนไลน์ด้วยหรือไม่) เพราะยังไม่เห็นการให้บริการทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านสังคมออนไลน์ของหน่วยงานภาครัฐ และธุรกรรมออนไลน์ของหน่วยงานภาครัฐส่วนใหญ่ต้องเข้าผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน หรือเช่น FB ของ Thailand e-Government ก็ใช้เป็นศูนย์กาลางในประชาสัมพันธ์และติดต่อกับประชาชนเท่าน้้น การจะติดต่อกับหน่วยงานอื่นๆและทำธุรกรรมออนไลน์ก็ต้องเข้าไปยัง Web ของ
Thailand e-Government

กรณีของสังคมออนไลน์แบบ KM เช่น GotoKnow เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่มีประโยชน์ในการนำเอาไปใช้ทำ KM ของหน่วยงาน แต่หน่วยงานของรัฐส่วนใหญ่เลือกที่พัฒนาเครื่องมือขึ้นมาใหม่ให้อยู่บนเว็บ แต่หน่วยงานที่ใช้ FB ก็ไม่ได้ใช้งานระบบ Status หรือ Write มาทำ KM

ปัจจุบัน ภาครัฐยังคงเน้นให้หน่วยงานต่างพัฒนาเว็บไซต์ในการให้บริการผู้ใช้บริการ มีการทำมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐออกแจกจ่ายให้กับหน่วยงานต่างเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงเว็บไซต์ของหน่วยงาน น่าจะประสบความสำเร็จเฉพาะหน่วยงานระดับกระทรวง กรม จังหวัด และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ แต่เมื่อเทียบกับหน่วยงานระดับล่างลงมา เช่น กอง อำเภอ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นระดับเทศบาลตำบล อ.บ.ต. ที่มีมากกว่าหน่วยงานประเภทแรกและที่สำคัญประชาชนส่วนใหญ่ติดต่อกับหน่วยงานประเภทที่ 2 มากกว่า ทีมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารน้อยกว่า น่าจะเลือกใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทางในการให้บริการมากกว่า ถ้าทำการสำรวจน่าจะเห็นว่า หน่วยงของรัฐส่วนใหญ่มีสังคมออนไลน์มากกว่าเว็บไซต์?

เราคงจะได้เห็น การต่อสู้ระหว่างนโยบายกับความนิยม เกี่ยวกับช่องทางในการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐต่อไป

ดังนั้น นโยบายการพัฒนาเว็บไซต์ของหน่วยงานคงต้องชัดเจน สังคมออนไลน์น่าจะต้องมีความชัดเจนว่า หน่วยงานภาครัฐจะนำมาใช้ทำอะไร เครื่องมือหลักหรือเสริม แต่ถ้าใช้เป็นเครื่องมือหลัก หากเกิดปรากฎการณ์ทางสังคมที่ผู้ใช้บริการเกิดอาการเบื่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์เหมือนกับวัยรุ่นในต่างประเทศบางประเทศแล้ว หน่วยงานภาครัฐคงต้องมาหาช่องทางใหม่หรือเริ่มนับหนึ่งใหม่ก็จะทำให้นโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ถดถอยไปอีก นี่ยังไม่รวม Apps ที่เป็นคู่แข่งที่กำลังอยู่ในการรับรู้และการยอมรับของประชาชนอีกอันหนึ่งด้วยนะ 

กำลังปรับระบบหรือครับ

อาจารย์หายดีแล้วหรือครับ

ขอขอบคุณ ดร.จันทวรรณ และสมาชิก Gotoknow ทุกท่าน นะคะ ที่สละเวลามาช่วยกันแชร์ค่ะ ^__^

ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีค่ะว่าหน่วยงานภาครัฐใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนมากนัก ดังที่ คุณ Nopparat Buasaeng และ modernrabbit ได้กล่าวไว้ในเบื้องต้น จึงอยากเชิญชวนสมาชิกทุกท่านร่วมกันเสนอความคิดเห็นของท่าน เพื่อสะท้อนสิ่งที่ภาครัฐควรแก้ไข ปรับปรุง หรือภาครัฐควรทำอย่างไร เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของภาคประชาชนมากยิ่งขึ้น ด้วยการใช้สื่อสังคมออนไลน์ หรือ ท่านใดที่เคยเห็นหน่วยงานที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ได้ดีเยี่ยม ลองเอามาแชร์ก็ได้นะคะ เผื่อเป็นตัวอย่างกับหน่วยงานอื่นๆ ค่ะ

 

แลกเปลี่ยนจากประสบการณ์  จึงได้คำจำกัดความสั้นๆ ว่า "ส.ร.อ."

ส.คือ "สะดวก" ติดต่อสื่อสารกันง่ายขึ้น(ชีวิตง่ายขึ้น)

ร.คือ "รวดเร็ว"ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของโลก ของประเทศ แค่เสี้ยววินาทีก็รับรู้ข่าวสาร

 

อ.คือ "อันตราย" ถ้าเราใช้งานไม่ถูกสิ่งที่เป็นโทษก็อาจเกิดขึ้นได้ ไม่เพียงแค่ตัวเรารวมไปถึงหน่วยงานด้วย...

แลกเปลี่ยนจากประสบการณ์  จึงได้คำจำกัดความสั้นๆ ว่า "ส.ร.อ."

ส.คือ "สะดวก" ติดต่อสื่อสารกันง่ายขึ้น(ชีวิตง่ายขึ้น)

ร.คือ "รวดเร็ว"ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของโลก ของประเทศ แค่เสี้ยววินาทีก็รับรู้ข่าวสาร

 

อ.คือ "อันตราย" ถ้าเราใช้งานไม่ถูกสิ่งที่เป็นโทษก็อาจเกิดขึ้นได้ ไม่เพียงแค่ตัวเรารวมไปถึงหน่วยงานด้วย...

แลกเปลี่ยนจากประสบการณ์  จึงได้คำจำกัดความสั้นๆ ว่า "ส.ร.อ."

ส.คือ "สะดวก" ติดต่อสื่อสารกันง่ายขึ้น(ชีวิตง่ายขึ้น)

ร.คือ "รวดเร็ว"ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของโลก ของประเทศ แค่เสี้ยววินาทีก็รับรู้ข่าวสาร

 

อ.คือ "อันตราย" ถ้าเราใช้งานไม่ถูกสิ่งที่เป็นโทษก็อาจเกิดขึ้นได้ ไม่เพียงแค่ตัวเรารวมไปถึงหน่วยงานด้วย...

ขอบคุณ คุณ phon-chol นะคะ ที่ได้ให้ข้อสังเกตุเอาไว้เกี่ยวกับเรื่องของ อ. อันตราย ซึ่ง ทุกอย่างมีทั้งข้อดีและข้อเสียเสมอ ดังนั้นเราทุกคนต้องระมัดระวังมากขึ้นค่ะ ความสะดวก รวดเร็ว อาจจะมาพร้อมกับอันตราย  ^__^ 

ขอบคุณ คุณ phon-chol นะคะ ที่ได้ให้ข้อสังเกตุเอาไว้เกี่ยวกับเรื่องของ อ. อันตราย ซึ่ง ทุกอย่างมีทั้งข้อดีและข้อเสียเสมอ ดังนั้นเราทุกคนต้องระมัดระวังมากขึ้นค่ะ ความสะดวก รวดเร็ว อาจจะมาพร้อมกับอันตราย  ^__^ 

ภาณุพงศ์ อนุรักษ์พนาวัน

เห็นควรมีการตรวจสอบการลงข้อความผ่านศูนย์ออนไลน์ของรัฐ ข้อมูลที่โพสควรเป็นเรื่องที่มีควาทรู้และถามสารทุกสุขต่างๆ ไม่ควรมีการประจาน หรืออันนาจาร 

งานของตำรวจใช้ Line ส่งรูป และข้อความ ทันเหตุการณ์และใช้เป็นหลักฐานได้

สรอ. ตามที่คิด

ส = สังคมมีส่วนร่วมในการให้ความรู้และแสดงความคิดเห็น

ร = รวบรวม ข้อมูลต่างๆ

อ = อำนวยความสะดวกในการค้นคว้าหาข้อมูล

บนพื้นฐานความสำนึกดีและรับผิดชอบ

สังคมออนไลด์  ปฏิบัติงานที่รพ.สต.  สำหรับการใช้งานไม่ว่าจะเป็น hotmail,GotoKnow, Twitter, Google+ หรือ Facebookฯลฯ ในการใช้งานของหน่วยราชการสะดวกประหยัด ง่าย ต่อการสืบค้นหาข้อมูล เก็บ ส่งข้อมูลหาวรรณกรรม หาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้ตลอด 24 ชม.  ส่วนในการpost อะไรต่าง ๆที่เป็นส่วนตัว เช่น facebook การpost ของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป ทั้งสร้างสรรค์และไม่สร้างสรรค์  ถ้าสร้างสรรค์เราจะแชร์ต่อเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้เครือข่ายได้ทราบข้อเท็จจริง แต่ถ้าไม่สร้างสรรค์จะไม่แชร์ต่อแล้วถ้าไม่แชร์ต่อก็จะค่อย ๆหายไป  คิดว่าน่าจะอยู่กับผู้ที่ใช้งาน

รัฐลงทุนมาก แต่บุคลากรยังใช้ไม่คุ้มค่า บางครั้งใช้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ใช้ผิดวัตถุประสงค์ ต้องฝึกอบรมให้มีประสิทธิภาพ

ในการใช้ ให้มีจิตสำนึก(สามัญสำนึก)การใช้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์

เห็นด้วยกับการใช้สื่อออนไลน์ของภาครัฐค่ะ ความเห็นส่วนตัวคิดว่า การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ของภาครัฐให้ประโยชน์ในการสื่อสารที่รวดเร็วทั่วถึงในกลุ่มเป้าหมาย เครือข่าย เช่นทำงานอยู่รพ.จะส่งงานให้ทีมสสอ. รพ.สต.ก็ส่งผ่านสื่อออนไลน์ เป็น face book ของกลุ่ม รวดเร็วดีค่ะ ระบบการทำงาน การดูแลผู้ป่วย/ผู้รับบริการเราก็สืื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ได้ เรานำเอาส่วนดีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ค่ะ 

การใช้สื่อออนไลน์เกี่ยวกับการศึกษาดีมาก  แน่นอนเมื่อมีคุณอนันต์ก็ย่อมปรากฏการณ์ที่เป็นโทษมหันต์ ในการสืบค้นข้อมูลระดับมัธยมศึกษามีปัญหาหลายส่วน ส่วนแรกคือโอกาสกับขาดโอกาสใช้อินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะโรงเรียนรอบนอกเช่นโรงเรียนประจำอำเภอที่ดิฉันสอนอยู่เมื่อมีการค้นคว้าทางอนเทอร์เน็ต นักเรียนบางคนไม่มีที่ใช้ ในโรงเรียนก็ไม่เพียงพอ   ตามร้านก็มีบางส่วนที่ไปใช้บริการได้  บางคนก็อยู่ในหมู่บ้านไกลไปมาลำบากเพราะใช้รถเดือนในการมาเรียนประมาณ ร้อยละ 80  และตามร้านเน็ตก็มีเกมเป็นของแถมทำให้บางคนที่ได้รู้จักเกมกลายมาชอบเล่นและติดเกม คนที่ตั้งใจมาหาข้อมูลก็ลำบากเพราะเน็ตช้าเน้นสนองกิจกรรมบันเทิงมากมากความรู้  ถ้าจะมีบริการอินเตอร์เน็ตอย่างเดียวก็ขาดทุน   ยกเว้นในเมืองที่สร้างระบบแยกเครือข่ายเกมกับเน็ต    และปัญหาที่สำคัญมากๆที่ครูอาจารย์ทุกคนรู้ทั้งรู้ว่านักเรียน gopy ข้อมูลแบบคัดลอกก็ให้ทำครั้นจะไปสืบว่าลอกขนาดไหนก็ไม่มีเวลา      นอกจากรายงานยังมีโปรแกรมนำเสนองานต่างๆ  Presentation   เช่น   Power pointที่นักเรียนทำส่งครูยังcut ไปต่อกันเป็นพรืดมีแต่เนื้อหาที่ขาดสาระความคิดนักเรียน (ขออภัยค่ะนี่เป็นประสบการณ์ส่วนใหญ่ที่ดิฉันพบ)ปัญหาหลายหลากดังกล่าวมิได้ทำให้ดิฉันหยุดความพยายามเดี๋ยวนี้ดิฉันก็ยังเป็นสมาชิกGoogle  และให้คำปรึกษาสื่อสารกับนักเรียนผ่านระบบ Social Online  ไม่ถนัดมากไม่เก่งเพราะเป็นครูโบราณใช้แค่ facebook   แค่นี้ยังไม่ค่อยมีเวลา  update จนนักเรียนเบื่อเพราะเขาติดสื่อนี้แบบสาระน้อยสื่อ all times กุ๊กกิ๊กมาก หน่วยงานโรงเรียนและหน่วยเนื้อเน้นสาระคำสั่งทำโน่นนี่ (เอกสาร)

ร่วมบันทึกลงในนี้เลยใช่ไหมคะ

ตามที่เห็น ณ ปัจจุบัน ในองค์กรรัฐบาลก็เริ่มมีการใช้ระบบสังคมออนไลน์กันมากขึ้น เช่น facebook บางหน่วยงานก็แจ้งเวียนหนังสือที่เป็นคำสั่งแต่งตั้งบุคลากร รวมถึงข่าวสารต่าง ๆ ทำให้ได้รับรู้ข่าวสารกันอย่างรวดเร็ว เช่นข้อมูลการปรับฐานเงินเดือน ถ้าไม่มีสังคมออนไลน์ ข่าวสารอีกตั้งนานกว่าจะทราบว่าให้มีคำสั่งปรับได้  แต่ถ้าเอาขึ้นโพส เราก็จะทราบทันที  แต่ถ้าบางเรื่องเอาไปใช้งานผิด ๆ ก็จะทำให้หน่วยงานเสียหาย หรือว่าบางคนก็โพสท์แต่เรื่องบ่น ๆ เกี่ยวกับสถานที่ทำงานของตนเอง แบบนี้ก็ไม่ถูกต้อง  โดยรวมแล้ว มองเห็นว่ามีประโยชน์มากกว่ามีโทษค่ะ ทำให้ลดเวลาในการส่งข่าวสารไปได้มากจริงๆ ค่ะ

นายขรรค์ชัย คำแก้ว

ควรให้มีการแสดงความคิดเห็นทุกช่องทาง ในเฟสบุค ในไลน์ ในมีเดียทุกชนิด ส่งเสริมให้รางวัลคนโพส ช่วยกันมากๆครับประเทศชาติจะมีคนซื่อสัตย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท