กฎหมายที่ต้องเรียนรู้กับธุรกิจที่สนใจ


ธุกิจที่สนใจมีการเกี่ยวข้องกฎหมายที่เราจะต้องเรียนรู้ เพราะเราจะได้ทราบว่าสิ่งที่เราทำมาหากิน จะไปขัดแย้งกับข้อกฎหมาย หรือ กฎหมายนั้นได้เอื้อประโยชน์ในการที่เราจะใช้ความรู้นั้นสามารถต่อยอดทางธุรกิจ ของเราได้

กฎหมายที่เราต้องเรียนรู้ในธุรกิจที่เราสนใจ  ซึ่งจะทำให้เราได้รู้ถึง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ  ต่าง ๆ  เพื่อที่จะได้นำมาใช้ในกาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ (  ถ้านำมาใช้อย่างถูกต้อง )  ขณะเดี่ยวกันถ้าเราไม่รู้กฎหมายที่เราได้ทำธุรกิจ อาจจะทำให้เรา   ปฎิบัติผิดจาก กฎหมาย   ซึ่งจะมีผลทำให้เราต้องถูกลงโทษ ( ปรับ  และหรือจำคุก )  หรืออาจทำความเสียหายแก่ธุรกิจเราได้  สำหรับธุรกิจที่สนใจ เกี่ยวกับทางการเงิน  ซึ่งจะต้องเรียนรู้ กฎหมาย สถานบันการเงิน ประกอบได้ด้วย

สถาบันการเงิน
พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541
พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540
พระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540
พระราชกำหนดบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2540
พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน พ.ศ. 2540
พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม พ.ศ. 2534
พระราชบัญญัติบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม พ.ศ. 2534
พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติสถานสินเชื่อท้องถิ่น พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505
พระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2502

พระราชบัญญัติควบคุมกิจการธนาคารในภาวะฉุกเฉิน พุทธศักราช 2484

ที่มา:   http://www.nukbunchee.com/law/law08. 

 ตัวอย่าง  พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541  ที่เกี่ยวกับการบริหารสินทรัพย์   สถาบันการเงิน  บทลงโทษ 

มาตรา ๓  ในพระราชกำหนดนี้การบริหารสินทรัพย์  หมายความว่า(๑)  การรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงิน รวมตลอดจนหลักประกันของสินทรัพย์นั้นเพื่อนำมาบริหารหรือจำหน่ายจ่ายโอนต่อไป(๒)  กิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องหรือเกี่ยวกับกิจการตาม (๑) ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ  หมายความว่า สินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดให้เป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่จำหน่ายจ่ายโอนให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ได้สถาบันการเงิน  หมายความว่า(๑)  ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์(๒)  บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์(๓)นิติบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาบริษัทจำกัด  หมายความว่า บริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดบริษัทบริหารสินทรัพย์  หมายความว่า บริษัทจำกัดที่ได้จดทะเบียนตาม
พระราชกำหนดนี้
รัฐมนตรี  หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกำหนดนี้ 

มาตรา ๔  การจดทะเบียนบริษัทจำกัดเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และได้ชำระค่าจดทะเบียนตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชกำหนดนี้แล้วหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำขอจดทะเบียนและการพิจารณารับจดทะเบียนให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงในการดำเนินกิจการบริหารสินทรัพย์ บริษัทจำกัดที่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด

 มาตรา ๕  ในการดำเนินกิจการบริหารสินทรัพย์  ถ้าบริษัทบริหารสินทรัพย์จัดหาเงินทุนโดยการออกหลักทรัพย์หรือให้กู้ยืมเงิน ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดในกรณีที่การดำเนินงานของบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามวรรคหนึ่งมีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจเงินทุนหรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สามารถกระทำได้โดยไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการนั้น 

มาตรา ๖  ในการโอนสินทรัพย์ของสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้าเป็นสินทรัพย์ที่มีหลักประกันอย่างอื่นที่มิใช่สิทธิจำนอง สิทธิจำนำ หรือสิทธิอันเกิดขึ้นแต่การค้ำประกัน ให้หลักประกันนั้นตกแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วย 

มาตรา ๗  ในการโอนสินทรัพย์จากสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาล ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนในคดีดังกล่าวและอาจนำพยานหลักฐานใหม่มาแสดงคัดค้านเอกสารที่ได้ยื่นไว้แล้ว ถามค้านพยานที่สืบมาแล้วและคัดค้านพยานหลักฐานที่ได้สืบไปแล้วได้ และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว ก็ให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น 

มาตรา ๘  ในการโอนสินทรัพย์จากสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์และสถาบันการเงินได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมและภาษีอากรต่างๆ บรรดาที่เกิดจากการโอนสินทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยจะกำหนดเป็นการทั่วไป หรือเป็นการเฉพาะรายก็ได้

 มาตรา ๙  ในการโอนสินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ หากบริษัทบริหารสินทรัพย์มอบหมายให้ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้น การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นอันชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ตามมาตรา ๓๐๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ตามมาตรา ๓๐๘ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้ตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้ตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่เก็บรักษาบัญชีและรายชื่อลูกหนี้ตามสินทรัพย์ที่โอนไปแล้วนั้นไว้เป็นบัญชีเฉพาะ และให้ลูกหนี้มีสิทธิตรวจดูบัญชีรายชื่อของตนได้ในกรณีที่ตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้เป็นบุคคลอื่นที่มิใช่ผู้รับชำระหนี้เดิม ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์บอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังลูกหนี้นับแต่วันที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะรักษาความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน และหากปล่อยเนิ่นช้าอาจเกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน ในการรับโอนสินทรัพย์ที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย การบอกกล่าวการโอนตามวรรคสามอาจกระทำโดยประกาศรายการพร้อมรายละเอียดตามสมควรในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อยหนึ่งฉบับเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามวัน และให้ถือว่าเป็นการบอกกล่าวการโอนตามมาตรา ๓๐๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

มาตรา ๑๐  ในการโอนสินทรัพย์จากสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์อาจเรียกเก็บดอกเบี้ยจากลูกหนี้ตามสัญญาเดิมได้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเดิม ณ วันที่รับโอนมา แต่ถ้าสัญญาเดิมได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราลอยตัวและไม่มีฐานในการคำนวณของสถาบันการเงินเดิมให้อ้างอิงได้ ให้คำนวณอัตราดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดในกรณีที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ให้ลูกหนี้ตามสัญญาเดิมกู้ยืมเงินเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าของทรัพย์สินที่รับโอน ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สามารถเรียกเก็บดอกเบี้ยได้ตามอัตราที่ตกลงกันการดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้นำมาตรา ๖๕๔ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับ แต่จะเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดมิได้

 มาตรา ๑๑  ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์จัดทำบัญชีแสดงสินทรัพย์และหนี้สินให้ครบถ้วนถูกต้องเป็นปัจจุบันตามความเป็นจริงตามมาตรฐานการบัญชีและตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีคำสั่งให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดยื่นรายงานหรือแสดงเอกสารใดตามระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราวตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดก็ได้ และจะให้ทำคำชี้แจงเพื่ออธิบายหรือขยายความแห่งรายงานหรือเอกสารนั้นด้วยก็ได้ 

มาตรา ๑๒  ให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนของบริษัทบริหารสินทรัพย์ เมื่อปรากฏหลักฐานหรือเมื่อมีเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้(๑)  บริษัทบริหารสินทรัพย์ดำเนินงานส่อไปในทางทุจริตหรืออาจทำให้ประชาชนเสียหาย(๒)  บริษัทบริหารสินทรัพย์ละเว้นการดำเนินการตามที่มีกฎหมายบัญญัติ(๓)  บริษัทบริหารสินทรัพย์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการดำเนินการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง หรือที่รัฐมนตรีหรือธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดตามพระราชกำหนดนี้(๔)  กรณีอื่นตามที่รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควรเมื่อได้เพิกถอนการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่งแล้ว  บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ถูกเพิกถอนการจดทะเบียนเป็นอันหมดสิทธิได้รับประโยชน์ในการดำเนินกิจการบริหารสินทรัพย์ตามพระราชกำหนดนี้นับแต่วันที่มีคำสั่งให้เพิกถอนการจดทะเบียน

 มาตรา ๑๓  บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดลงรายการเท็จในบัญชี แก้ไขบัญชี หรือเอกสารประกอบการลงบัญชีเพื่อให้ผิดความจริง ละเว้นการลงรายการในบัญชี หรือไม่จัดทำบัญชีแสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง หรือไม่ยื่นรายงาน ไม่ส่งเอกสาร ไม่ทำคำชี้แจงตามคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จตาม มาตรา ๑๑ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาทในกรณีที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นด้วย 

มาตรา ๑๔  กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทบริหารสินทรัพย์ กระทำการหรือไม่กระทำการเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น อันเป็นการเสียหายแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท

 มาตรา ๑๕  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนี้   

 
หมายเลขบันทึก: 54480เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2006 18:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ความหมายมาตราที่ 10 กรณีเขาเรียกเก็บดอกเบี้ยเรา ต้องวันที่เขารับโอนมาหรือเปล่าเขาสามารถเก็บย้อยหลัง(ศาลพิพากษาแล้ว) เขาจะอ้างคำพิพากษาหรือเปล่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท