งานเสวนาเพื่อแสวงหาองค์ความรู้ในการสร้างสันติสุขให้แก่คนสงขลาและสตูล


โครงการประชาคมวิจัยเพื่อแสวงหาองค์ความรู้ในการจัดการประชากรอาเซียน

: ตอนจับประเด็นศึกษาเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการสร้างสันติสุขแก่ประชากรสงขลา-สตูลและสร้างหลักสูตรเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้นี้สู่ชุมชนสงขลา-สตูล[๑]

เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

https://www.facebook.com/events/612851285426455/

--------------------------

หลักการและเหตุผล

---------------------------

 “จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล” เป็นสองจังหวัดคู่แฝดทางภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย เนื่องจากมีภูมิศาสตร์ที่เป็น “เมืองท่าและเมืองท่องเที่ยว” ซึ่งติดทะเลชายฝั่งอันดามันทางจังหวัดสตูล และเมืองท่าติดทะเลชายฝั่งอ่าวไทยทางจังหวัดสงขลา นอกจากนี้ จังหวัดสงขลายังมีทะเลสาบสงขลาซึ่งมีลักษณะเป็นลากูน (lagoon) หรือทะเลสาบที่ติดอยู่กับทะเลอ่าวไทย โดยมีเขตติดต่อกัน ๓ จังหวัด คือ พัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช ทั้งสองจังหวัดจึงเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์เมืองการปกครอง การค้าการลงทุน การบริการและท่องเที่ยว และการเคลื่อนย้ายประชากรจากประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ รวมถึงเกิดสังคมที่มีความหลากหลายทางศาสนา วัฒนธรรม และชาติพันธุ์ตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน 

เมื่อมองในมิติของทรัพยากรบุคคลโดยการนำ “ประชากรในจังหวัดสงขลาและสตูล” เป็นตัวตั้ง เราพบว่า ประชากรจังหวัดสงขลาและสตูล เป็นส่วนหนึ่งของประชาชนอาเซียน (ASEAN People) ซึ่งขับเคลื่อนอยู่ภายใต้การพัฒนาทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมอย่างรวดเร็วตามยุคโลกาภิวัตน์ (globalisation) ซึ่งความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้เกิดทั้งโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และปัญหาอุปสรรคในการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข กล่าวคือ (๑) การเป็นเมืองแห่งการค้าและการลงทุน ย่อมนำไปสู่โอกาสและความเจริญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายทุน สินค้า บริการ และประชากรจำนวนมาก หากแต่ในทางกลับกันการพัฒนาโดยคำนึงถึงมิติของ “ทุนนิยม” อย่างเดียวก็ย่อมนำไปสู่ปัญหา “การแย่งชิงและทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งแวดล้อมทางทะเล (๒) รวมถึงปัญหาการเอารัดเอาเปรียบแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “กลุ่มแรงงานต่างด้าว” ซึ่งเดินทางเข้ามาแสวงหาโอกาสในชีวิตที่ดีกว่าและทำงานทดแทนแรงงานขาดแคลนในประเทศไทย แต่ถูกละเมิดสิทธิและเข้าไม่ถึงสิทธิมนุษยชนหลายประการซึ่งประเทศไทยรับรองและคุ้มครองไว้สำหรับมนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียม (๓) การมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ อาทิ ไทยใหญ่ ซาไก-มานิ อุรักละโว้ มลายู เป็นต้น ย่อมนำไปสู่การมีอัตลักษณ์ทางศิลปะและวัฒนธรรมที่งดงาม หากแต่ในทางกลับกันการไม่ศึกษาถึงความเป็นมาและประวัติศาสตร์ของตนอย่างลึกซึ้ง การอาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และมายาคติในการกำหนด “สัญชาติไทย” ส่งผลให้คนชาติพันธุ์ดั้งเดิมตกหล่นในทะเบียนราษฎร หรือได้รับการบันรับรองในทะเบียนราษฎรผิดพลาดและถูกถือเป็นคนต่างด้าว (๔) ปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “สิทธิในสาธารณสุข” ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการมีชีวิตและการมีสุขภาพดี

การสร้างสันติสุขให้แก่ประชากรในจังหวัดสงขลา-สตูล ย่อมต้องคำนึงถึง “ความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชากร” และ “ความเป็นธรรมในสังคม” ซึ่งการมีองค์ความรู้ในการจัดการประชากร (people management) อย่างเหมาะสม ประโยชน์สุขในการแสวงหาโอกาสและใช้โอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ย่อมเกิดขึ้นแก่ประชากรทุกคนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รวมถึงไม่ปรากฏการทิ้งคนส่วนหนึ่งไว้เบื้องหลัง (leave no one behind) ซึ่งเป็นการป้องกันมิให้บุคคลดังกล่าวต้องตกอยู่ในสภาวะ “ความด้อยโอกาส” และเป็นการสร้าง “สันติสุข” ให้แก่สังคมอย่างยั่งยืน

เมื่อ “สันติสุข” เป็นเป้าหมายสำคัญของประชากรในจังหวัดสงขลา-สตูล รวมถึงประชาคมอาเซียน เราจึงตระหนักว่าการสร้างองค์ความรู้ในการจัดการประชากรร่วมกันเพื่อสร้างสันติสุขจึงเป็นกุญแจสำคัญในการศึกษาเพื่อพัฒนา และการ “สร้างสันติสุขอย่างยั่งยืน” นั้น ย่อมหมายถึงการการ “สร้างหลักสูตร” ร่วมกันเพื่อนำองค์ความรู้ดังกล่าวถ่ายทอดสู่ประชากรและชุมชนในจังหวัดสงขลา-สตูล โดยผ่านโรงเรียนอบรมกฎหมายเคลื่อนที่

โครงการประชาคมเพื่อแสวงหาองค์ความรู้ในการจัดการประชากรในประเทศไทย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบางกอกคลินิกเพื่อให้คำปรึกษาสิทธิและสถานะบุคคล ภายใต้โครงการวิจัยการปรากฏตัวของคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งกำลังดำเนิน “โครงการโรงเรียนอบรมกฎหมายเคลื่อนที่เพื่อสันติสุขของประชากรภายใต้ประชาคมอาเซียน” ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิ Hanns Seidel จึงเห็นความจำเป็นในการจัดเสวนาวิชาการ เพื่อประเมินสถานการณ์ในจังหวัดสงขลาและสตูลร่วมกัน เพื่อเป็น “การย่างก้าวทางปัญญาที่มั่นคง” ในการสร้างองค์ความรู้ในการจัดการประชากรและสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันในประเด็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ อันนำไปสู่การกำหนดหลักสูตรเพื่อสร้างโรงเรียนอบรมกฎหมายในการเตรียมความพร้อมประชากรสู่ประชาคมอาเซียนสำหรับประชากรสงขลาและสตูลอย่างมีคุณภาพในอนาคต

--------------------------------

๑.  วัตถุประสงค์ในการศึกษา

-------------------------------

๑.๑.  เพื่อตรวจสอบสถานการณ์ด้านข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการประชากร ตลอดจนสิทธิมนุษยชนในจังหวัดสงขลาและสตูล

๑.๒.  เพื่อตรวจสอบสถานการณ์ด้านข้อกฎหมายและนโยบายเกี่ยวกับการจัดการประชากร ตลอดจนสิทธิมนุษยชนในจังหวัดสงขลาและสตูล

๑.๓.  เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันในประเด็นปัญหาสำคัญในจังหวัดสงขลาและสตูล

๑.๔.  เพื่อหารือหลักสูตรการจัดโรงเรียนอบรมกฎหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ให้แก่ประชากรของจังหวัดสงขลาและสตูลในการจัดการประชากร การบริหารความเป็นธรรมด้านสิทธิมนุษยชน และการเตรียมความพร้อมประชากรสงขลาและสตูลสู่ประชาคมอาเซียน

---------------------------------

๒.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

---------------------------------

๒.๑.  ที่ประชุมเสวนาได้รับรู้ข้อเท็จจริงและข้อความรู้เกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ในการบริหารความเป็นธรรมทางสาธารณสุขแก่มนุษย์โดยกฎหมายและนโยบาย

๒.๒.  เกิดเครือข่ายการทำงานร่วมกันในประเด็นปัญหาสำคัญในจังหวัดสงขลาและสตูล และการสร้างโรงเรียนอบรมกฎหมายเพื่อการเตรียมความพร้อมประชากรสงขลาและสตูลสู่ประชาคมอาเซียน

๒.๓.  เกิดข้อสรุปและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรการสร้างโรงเรียนอบรมกฎหมายเพื่อการเตรียมความพร้อมประชากรสงขลาและสตูลสู่ประชาคมอาเซียน

--------------------------

๓.  หน่วยงานเจ้าของโครงการ

--------------------------

๓.๑.

โครงการประชาคมเพื่อแสวงหาองค์ความรู้ในการจัดการประชากรในประเทศไทย

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๔.๒.

โครงการบางกอกคลินิกเพื่อให้คำปรึกษาสิทธิและสถานะบุคคล ภายใต้โครงการวิจัยการปรากฏตัวของคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๔.๓.

มูลนิธิฮันส์ ไซเดล (Hanns Seidel Foundation)

--------------------------

๔.  หน่วยงานร่วมจัดโครงการ

--------------------------

๕.๑.

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา

๕.๒.

กลุ่มศึกษาสถานการณ์ด้านสาธารณสุขชายทะเลสาบสงขลา

๕.๓.

มูลนิธิสตรีเพื่อสันติภาพ

--------------------------

๕.  ผู้รับผิดชอบโครงการ

--------------------------

๕.๑.

คุณศิวนุช สร้อยทอง

·  นิติศาสตรมหาบัณฑิตด้านกฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

·  นักกฎหมายโครงการบางกอกคลินิกฯ

·  ผู้ช่วยทางวิชาการของ ผศ.ดร.สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์

๕.๒.

คุณพวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์

·  นักศึกษาปริญญาโทสาขากฎหมายระหว่างประเทศ

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์

·  นักกฎหมายโครงการบางกอกคลินิกฯ

·  ผู้ช่วยทางวิชาการของ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

๖.๓.

คุณปรางค์สิรินทร์ เอนกสุวรรณกุล

·  นักศึกษาปริญญาโทสาขากฎหมายระหว่างประเทศ

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์

·  นักกฎหมายโครงการบางกอกคลินิกฯ

·  ผู้ช่วยทางวิชาการของ อ.ดร.ชาติชาย เชษฐสุมน

๖.๔.

คุณวิกานดา พัติบูรณ์

·  นิติศาสตรบัณฑิต (ธรรมศาสตร์)

·  นักกฎหมายโครงการบางกอกคลินิกฯ

·  ผู้ช่วยทางวิชาการในโครงการประชาคมเพื่อแสวงหาองค์ความรู้

ในการจัดการประชากรในประเทศไทย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

--------------------------

๖.  ที่ปรึกษาโครงการ

--------------------------

๖.๑.

รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

·  รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๖.๒.

ผศ.ดร.สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์

·  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชากฎหมายเอกชน

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

·  ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๖.๓.

อ.ดร.ชาติชาย เชษฐสุมน

·  อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๖.๔.

อ.ดร.รัชนีกร ลาภวณิชชา

·  อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ

คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

--------------------------

๗.  ผู้ประสานงานในพื้นที่

--------------------------

๗.๑.

อาจารย์เสาวนีย์ แก้วจุลกาญจน์

·  อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา

๗.๒.

อาจารย์อานนท์ ศรีบุญโรจน์

·  อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา

๘.๓

นายแพทย์ สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ

·  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา

·  รองประธานชมรมแพทย์ชนบท

·  กลุ่มศึกษาสถานการณ์ด้านสาธารณสุขในทะเลสาบสงขลา

๘.๔.

นายแพทย์ ปวิตร วณิชชานนท์

·  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลละงู จังหวัดสตูล

-------------------------

๘.  กำหนดการเสวนา

-------------------------

·  วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลา ๙.๐๐ – ๑๒.๓๐ น.

·  ณ ห้อง LW ๓๐๑ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา

·  ดังมีกำหนดการในรายละเอียดดังนี้

ช่วงแรก

๙.๐๐ – ๙.๓๐ น.

·  ลงทะเบียน (๓๐ นาที)

ช่วงที่สอง

·  การเปิดเสวนา (๒๕ นาที)

๐๙.๓๐– ๐๙.๕๕ น.

·  กล่าวรายงานเป้าหมายการเสวนาต่อผู้เข้าร่วมเสวนา (๕ นาที)

โดย คุณศิวนุช สร้อยทอง

·  เปิดการเสวนา (๑๐ นาที)

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

·  การแนะนำตัวระหว่างผู้เข้าร่วมเสวนา (๑๐ นาที)

ดำเนินการโดย คุณพวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์

ช่วงที่สาม

·  การทบทวนสถานการณ์เด่นด้านปัญหาการจัดการประชากรและสิทธิในสาธารณสุข (๓๕ นาที)

๐๙.๕๕– ๑๐.๓๐ น.

·  เสนอข้อหารือ (๒๐ นาที)

โดย น.พ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ (๑๐ นาที)

โดย ผู้แทนโรงพยาบาลละงู (๑๐ นาที)

·  แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยผู้เข้าร่วมการเสวนา (๑๕ นาที)

ดำเนินการเสวนาโดย คุณพวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์

ช่วงที่สี่

·  การทบทวนสถานการณ์เด่นด้านปัญหาการจัดการประชากรและสิทธิในทรัพยากรสิ่งแวดล้อม (๓๐ นาที)

๑๐.๒๕  – ๑๑.๐๐ น.

·  เสนอข้อหารือ (๑๐ นาที)

โดย คุณพรรณิภา โสตถิพันธุ์ (อยู่ระหว่างการทาบทาม)

·  แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยผู้เข้าร่วมการเสวนา (๑๕ นาที)

·  ดำเนินการเสวนาโดย คุณศิวนุช สร้อยทอง

ช่วงที่ห้า

·  การทบทวนสถานการณ์เด่นด้านปัญหาการจัดการประชากรและสิทธิแรงงาน (๓๐ นาที)

๑๑.๐๐  – ๑๑.๓๐ น.

·  เสนอข้อหารือ (๑๐ นาที)

โดย อาจารย์เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์

·  แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยผู้เข้าร่วมการเสวนา (๒๐ นาที)

ดำเนินการเสวนาโดย คุณศิวนุช สร้อยทอง

ช่วงที่หก

๑๑.๓๐ – ๑๒.๒๐ น.

·  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อกำหนดหลักสูตรและสร้างห้องเรียนอบรมกฎหมายเพื่อการเตรียมความพร้อมประชากรสงขลาและสตูลสู่ประชาคมอาเซียน (๕๐ นาที)

ดำเนินการเสวนาโดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

ช่วงที่เจ็ด

·  การปิดการเสวนา

๑๒.๒๐ - ๑๒.๓๐ น.

·  ข้อคิดสุดท้าย (๑๐ นาที)

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

-------------------------

๙.  ผู้เข้าร่วมเสวนา

-------------------------

ผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย (๑) นักวิชาการ (๒) ภาคประชาสังคมและภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และ (๓) สื่อมวลชน

โดยประมาณจำนวนไว้ ๓๐ คน

ซึ่งในขณะนี้ มีการยืนยันการเข้าร่วมแล้วดังต่อไปนี้

-------------------------

(ก.)  นักวิชาการด้านนิติศาสตร์

-------------------------

(๑)  รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

[email protected]

(๒)  คุณศิวนุช สร้อยทอง

นิติศาสตรมหาบัณฑิตด้านกฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นักกฎหมายโครงการบางกอกคลินิก ภายใต้โครงการวิจัยการปรากฏตัวของคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้ช่วยทางวิชาการของ ผศ.ดร.สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์

[email protected]

(๓)  คุณพวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์

นักศึกษาปริญญาโทสาขากฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นักกฎหมายโครงการบางกอกคลินิก ภายใต้โครงการวิจัยการปรากฏตัวของคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้ช่วยทางวิชาการของ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

[email protected]

(๔)  อาจารย์เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์

อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

รับผิดชอบสอนวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

[email protected]

(๕)  อาจารย์อานนท์ ศรีบุญโรจน์

อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

รับผิดชอบสอนวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

[email protected]

(๖)  ผศ.กรรณภัทร ชิตวงศ์

อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

(๗)  อาจารย์หทัยกาญจน์ กำเนิดเพชร

อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

(๘)  อาจารย์อารยา ชินวรโกมล (รอการยืนยัน)

นิติศาสตร์มหาบัณฑิตด้านกฎหมายระหว่างประเทศ (ธรรมศาสตร์)

อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

[email protected]

(๙)  อาจารย์ศุภวัชร์ มาลานนท์

อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

[email protected]

(๑๐)  อาจารย์ ดร.มานพ พรหมชนะ

อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

[email protected], [email protected]

(๑๑)  อาจารย์อภิญญา เกษตรเอี่ยม

อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

[email protected]

------------------------------------

(ข.)  นักวิชาการด้านสาธารณสุขศาสตร์

-------------------------------------

(๑๒)  นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา

สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิตจาก The Institute of Tropical Medicine in Antwerp, Belgium (ITM)

รองประธานชมรมแพทย์ชนบท

[email protected]

(๑๓)  นพ.ปวิตร วณิชชานนท์ (รอการยืนยัน)

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลละงู จังหวัดสตูล

[email protected]

------------------------------------

(ค.)  นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์

-------------------------------------

(๑๔)  ดร.สุทธิพร บุญมาก

อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

[email protected]

------------------------------------

(ง.)  นักวิชาการด้านมนุษยวิทยา

-------------------------------------

(๑๕)  คุณชุมพล โพธิสาร (รอการยืนยัน)

นักวิจัย สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

[email protected]

-------------------------------------------------------------

(จ.)  บุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคลตามกฎหมาย

--------------------------------------------------------------

(๑๖)  ตัวแทนแรงงานต่างด้าว (๒ คน)

(๑๗)  อาสาสมัครแรงงานต่างด้าว (๒ คน)

ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเล (บ้านสุขสันต์)

--------------------------------------

(ฉ.)  ภาคประชาสังคม

----------------------------------------

(๑๘)  คุณเฉลียว ทองมา

นายกสมาคมประมงมิตรสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

(๑๙)  ตัวแทนจากผู้ประกอบการประมง

(๒๐)  คุณพรรณิภา โสตถิพันธุ์

อดีตผู้อำนวยการสงขลาฟอรัม เครือข่ายพลเมืองสงขลา

(๒๑)  คุณสุพรรษา มะเหร็ม (รอการยืนยัน)

ทนายความประจำมูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนา (FED)

[email protected]

(๒๒)  คุณสุชาติ จันทลักขณา

ผู้จัดการศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเล (Stella Maris)

[email protected]

--------------------------------------

(ช.)  ภาครัฐ

----------------------------------------

(๒๓)  คุณอาวุธ วิเชียรฉาย

นายอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา

[email protected]

(๒๔)  คุณนิตยา ลิ่มวิริยะกุล

เจ้าหน้าที่ฝ่ายเวชกรรมชุมชน โรงพยาบาลละงู จังหวัดสตูล

[email protected]

(๒๕)  คุณจิระพันธ์ พันธง

นักพัฒนาสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

(๒๖)  คุณวรัทยา พรหมสุนทร

นักสังคมสงค์เคราะห์ชำนาญการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

---------------------

(ซ.)  สื่อมวลชน

----------------------

(๒๗)  คุณฐิตินบ โกมลนิมิ (รอการยืนยัน)

สื่อเพื่อสิทธิมนุษยชนภายใต้โครงการ Deep South Watch

[email protected]

-------------------------------

๑๐.  ทุนสนับสนุนการทำกิจกรรม

--------------------------------

๑๐.๑. มูลนิธิ Hanns Seidel

๑๐.๒. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา

๑๐.๓.หน่วยงานต้นสังกัดของผู้เข้าร่วมเสวนาสำหรับค่าพาหนะของแต่ละท่าน



[๑] ยกร่างโครงการโดย นางสาวศิวนุช สร้อยทอง


หมายเลขบันทึก: 544758เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2013 00:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 สิงหาคม 2013 00:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท