วินัยคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับผู้บริหาร


วินัย
คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับผู้บริหารการศึกษา

 ผู้บริหารต้องเป็นผู้มีวินัย คุณธรรม
จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับผู้บริหารการศึกษา โดยย่อ ได้แก่ 

1.  การมีวินัย 
มีวินัยในตนเองยอมรับและถือปฏิบัติตามกฏกติกามารยาท  ขนบธรรมเนียมและแบบแผอันดีงามของสังคม  การรักษาและเสริมสร้างวินัยในตำแหน่งหน้าที่ราชการการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนทางราชการ 
การตรงต่อเวลา การอุทิศเวลาให้แก่ทางราชการอย่างต่อเนื่อง 
ความซื่อสัตย์
สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่การรักษาผลประโยชน์ของทางราชการและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน  การรักษาความสามัคคี  มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ต่อเพื่อนร่วมงานและชุมชน 

2. การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี  ความอุตสาหะ ขยัน  อดทน 
มุ่งมั่นและรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ของงานโดยยึดหลักประหยัด  คุ้มค่ามีประสิทธิภาพ  ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม  มีความศรัทธาและปฏิบัติตนตามหลักศาสนา  การยึดมั่นในหลักนิติธรรม  ยืนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง  เป็นธรรมและชอบด้วยกฎหมาย  การยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและวางตัวเป็นกลางทางการเมือง  มีส่วนร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและสิ่งแวดล้อม 

3.  การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสมการดำรงชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การละเว้นอบายมุขและสิ่งเสพติด การใช้หรือให้ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลและของทางราชการให้เป็นไปด้วย
ความถูกต้อง การดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีเหมาะสมกับสถานภาพและตำแหน่งหน้าที่  ประหยัด มัธยัสถ์ อดออม

4.  ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ  การเป็นสมาชิกที่ดี 
สนับสนุนหรือร่วมกิจกรรมของวิชาชีพและวิชาการอย่างสร้างสรรค์  การศึกษาค้นคว้า ริเริ่ม สร้างสรรค์ความรู้ใหม่
ๆ มาใช้ในการพัฒนาในวิชาชีพ มีบทบาทเป็นผู้นำทางวิชาการในวงวิชาชีพ การรักษาชื่อเสียงปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพและการยกย่องเชิดชูเกียรติ การเสริมสร้างปลูกจิตสำนึกที่ดีแก่ผู้เรียน  ชุมชน สังคม

  5.  ความรับผิดชอบในวิชาชีพ  การเอาใจใส่ ถ่ายทอดความรู้หรือส่งเสริมการแสวงหาความรู้โดยไม่บิดเบือน  ปิดบังหวังสิ่งตอบแทน  การเอาใจใส่ช่วยเหลือผู้เรียนและผู้รับบริการเต็มความสามารถตามหลักวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ  การศึกษา ค้นคว้าริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ ๆนวัตกรรมในการพัฒนางานในหน้าที่  การประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ  การมีจิตอาสา  จิตสาธารณะและมุ่งประโยชน์ส่วนรวม

 สรุป  ผู้บริหารการศึกษา จะต้องเป็นผู้มีวินัย มีการประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสมการดำรงชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  มีความรักและศรัทธาในวิชาชีพ  ความรับผิดชอบในวิชาชีพ 

แนวทางประยุกต์สู่การปฏิบัติ ในการดำรงตนให้เป็นผู้มีวินัย มีการประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี  มีการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสมการดำรงชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  มีความรักและศรัทธาในวิชาชีพ  ความรับผิดชอบในวิชาชีพ  ทำให้ได้ชื่อว่าเป็นคนดี  น่าเคารพยกย่อง  เป็นผู้มี ภูมิรู้  ภูมิธรรมและภูมิฐาน 
ซึ่งจะเกิดขึ้นได้นั้นจะต้องประพฤติตนตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ นั้นคือเป็นผู้มีธรรม  มีความรู้กอร์ปด้วยธรรม 

ธรรมในการครองคนและครองตน  สังคหวัตถุ 4 คือ  ทาน หมายถึงการให้ควรรู้จักให้และมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันแต่หมายรวมถึงการให้ซึ่งความรู้ ให้ความช่วยเหลือ และการให้ที่ยิ่งใหญ่เสมอคือ การให้อภัย” 
ปิยวาจา หมายถึงการพูดถ้อยคำไพเราะอ่อนหวานถ้อยคำที่เปล่งออกมาเป็นคำพูดมีความสำคัญ
เพราะคำพูดมักจะถ่ายทอดออกมาได้ถึงอารมณ์ซึ่งจะทำให้คนรักหรือเกลียดก็ได้
การพูดจาด้วยถ้อยคำที่สุภาพไพเราะและอ่อนหว่านย่อมแสดงถึงวุฒิภาวะทางอารมณ์ว่ามีมากหรือน้อยเพียงใด
อัตถจริยา หมายถึงการทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นโดยเริ่มจากพัฒนาความรู้และความสามารถในการทำงานของตนเองควบคู่กับการพัฒนาคุณธรรมก่อนจากนั้นจึงใช้ความสามารถที่มีทำงานอย่างเต็มที่พร้อมร่วมมือกับทีมงานและช่วยเหลือกันและกันเมื่อพบอุปสรรค
 
สมานัตตตา หมายถึงการวางตัวสม่ำเสมอให้เหมาะสมกับฐานะและบทบาทของตนเอง หากเคยวางตนกับผู้อื่นในทางที่ดีอย่างไรยังคงทำเช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เช่น เมื่อมีตำแหน่งสูงขึ้น ยิ่งต้องวางตนให้ดีแสดงความมีเมตตาให้มาก ไม่ใช้อำนาจในทางที่ผิดเมื่อความสัมพันธ์อันดีเชื่อมโยงทุกคนเข้าไว้ด้วยกัน การงานก็จะก้าวหน้า
และยังส่งผลให้มีสุขภาพจิตดี

ธรรมในการครองงาน
คืออิทธิบาท 4  ฉันทะ พอใจกับงานที่ทำอยู่  มีความศรัทธาและใจรัก ในงานที่ทำหรือได้รับมอบหมาย 

วิริยะ ขยันหมั่นเพียรกับงาน  ความวิริยะนั้นเป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่ง  ที่จะนำ ไปสู่ความสำเร็จ จิตตะ เอาใจใส่รับผิดชอบกับงานที่ทำจิตใจที่จดจ่อกับงาน  ล้วนเกิดผลดีต่องานที่ทำ
จิตตะ  เป็นธรรมแสดงถึงสติและจิตใจที่รอบคอบและความรับผิดชอบที่จะตามมา
วิมังสา การใคร่ครวญและใช้ปัญญาตรวจสอบงาน  สิ่งสุดท้ายในการทำงานคือการใช้ปัญญาที่เป็นกุญแจสูงสุดของอิทธิบาท
4




หมายเลขบันทึก: 544677เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2013 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 สิงหาคม 2013 12:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตื่นเต้นพบรองฯจากภาคใต้

มาเขียนบ่อยๆนะครับ

ขอบคุณบันทึกที่ดีมีประโยชน์นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท