สาระที่ 9 รูปแบบการเรียนรู้และการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน


รูปแบบการเรียนรู้  หมายถึง สภาพลักษณะของการเรียนการสอนที่ครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญ ซึ่งได้รับการจัดไว้อย่างเป็นระเบียบ ตามหลักปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อต่าง ๆ

องค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนรู้

1. มีปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อที่เป็นพื้นฐานหรือเป็นหลักของรูปแบบการสอนนั้น ๆ 

2. มีการบรรยายและอธิบายสภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักการที่ยึดถือ

3. สามารถนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมายของระบบหรือกระบวนการนั้น ๆ

4. มีการอธิบายหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่าง ๆ  อันจะช่วยให้กระบวนการเรียนการสอนนั้น ๆ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

5. มีการจัดระบบคือ มีการจัดองค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของระบบให้สามารถนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมายของระบบหรือกระบวนการนั้น ๆ

การเลือกรูปแบบการเรียนรู้

การเลือกรูปแบบการเรียนรู้ที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอนควรคำนึงถึง

1. เป็นรูปแบบที่เสนอแนะแนวทางให้ผู้เรียนได้รับความรู้ความเข้าใจต่อบทเรียนเป็นอย่างดี ไม่ต้องใช้เวลามาก นำความรู้ไปใช้ได้

2. เป็นรูปแบบที่ก่อให้เกิดเจตคติที่ดีถูกต้องกับสภาพความต้องการของสังคมและเป็นที่ยอมรับ

3. เป็นรูปแบบที่ก่อให้เกิดทักษะต่าง ๆ  เช่น การแสวงหาความรู้ การแก้ปัญหา การแสดงออกทางสังคม เป็นต้น

4. เป็นรูปแบบที่ก่อให้เกิดแนวทางที่จะนำความรู้เจตคติ และทักษะต่าง ๆ ที่ได้ฝึกฝนอย่างดี เอาไปใช้และปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้

รูปแบบการเรียนรู้/การเรียนการสอน

- การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน    - การออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

- เทคนิคและวิทยาการจัดการเรียนรู้     - เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการคิด

- การจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ    - การสอนแบบบูรณาการ

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน

1. กลุ่มรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด เช่น การสอนตามหลักการเรียนรู้ของกาเย่

2. กลุ่มรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วม เช่น การสอนที่เน้นการเรียนแบบร่วมมือ

3. กลุ่มรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาพฤติกรรมและค่านิยม เช่น การแสดงบทบาทสมมติ

การจัดการเรียนการสอนแบบกาเย่

“ควรมีการจัดสภาพการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้แต่ละประเภท ซึ่งมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ภายในสมอง โดยจัดสภาพการณ์ภายนอกให้เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ภายในของผู้เรียน”

วัตถุประสงค์

“เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาสาระต่าง ๆ ได้อย่างดีและรวดเร็ว และสามารถจดจำสิ่งที่เรียนได้นานขึ้น”

กระบวนการสอนแบบกาเย่ มี  9  ขั้นดังนี้

1. กระตุ้นและดึงดูดความสนใจของผู้เรียน                  2. แจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียนให้ผู้เรียนทราบ

3. กระตุ้นให้ระลึกถึงความรู้เดิม                                 4. นำเสนอสิ่งเร้าหรือเนื้อหาสาระใหม่

5. การให้แนวการเรียนรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น  6. กระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความสามารถ

7. การให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อเป็นการเสริมแรง           8. การประเมินผลการแสดงออกของผู้เรียน

9. การให้โอกาสผู้เรียนฝึกฝนและถ่ายโอนการเรียนรู้ไปสู่สถานการณ์อื่น ๆ ได้

การสอนที่เน้นการเรียนแบบร่วมมือ

“ผู้เรียนควรร่วมมือกันในการเรียนรู้มากกว่าการแข่งขันเพราะการแข่งขันก่อให้เกิดสภาพการณ์ของการแพ้-ชนะ

ต่างจากการร่วมมือกัน ซึ่งก่อให้เกิดสภาพการณ์ของการชนะ-ชนะ อันเป็นสภาพการณ์ที่ดีกว่าทั้งทางด้านจิตใจ

และ สติปัญญา”

หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ มี  5  ประการ  ประกอบด้วย

1. หลักการพึ่งพาอาศัยกัน              2. อาศัยการหันหน้าเข้าหากัน            3. อาศัยทักษะในการทำงานร่วมกัน

4. ร่วมกันวิเคราะห์กระบวนการกลุ่มที่ใช้ในการทำงาน

5. จะต้องมีผลงานทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มที่สามารถตรวจวัดและประเมินได้

วัตถุประสงค์

“ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระต่าง ๆ ด้วยตนเอง และด้วยความร่วมมือและความช่วยเหลือจากเพื่อน ๆ รวมทั้งได้พัฒนาทักษะทางสังคมต่าง ๆ เช่น ทักษะ การสื่อสาร ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการคิดแก้ปัญหาและอื่น ๆ “

กระบวนการเรียนการสอนแบบร่วมมือ มีหลายรูปแบบ ได้แก่

1. การจัดกลุ่มการศึกษาเนื้อหาสาระ    2. การทดสอบ     3. การคิดคะแนน  4. ระบบการให้รางวัลแตกต่างกันออกไป

  เพื่อสนองวัตถุประสงค์เฉพาะ แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด  ต่างก็ใช้หลักการเดียวกัน คือ หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5 ประการ และมีวัตถุประสงค์มุ่งตรงไปในทิศทางเดียวกัน คือ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่ศึกษาอย่างมากที่สุดโดยอาศัยการร่วมมือกัน

การสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติ

  “การแสดงบทบาทสมมติเป็นวิธีการที่ช่วยให้บุคคลได้แสดงความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ  ที่อยู่ภายในออกมา ทำให้สิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่เปิดเผยออกมาและนำมาศึกษาทำความเข้าใจกันได้ ช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง เกิดความเข้าใจในตนเอง ในขณะเดียวกันการที่บุคคลสวมบทบาทของผู้อื่นก็สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในความคิด ค่านิยม และพฤติกรรมของผู้อื่นได้เช่นเดียวกัน”

วัตถุประสงค์

“เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในตนเอง เข้าใจในความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้อื่น และเกิดการปรับเปลี่ยนเจตคติ ค่านิยม และพฤติกรรมของตนให้เป็นไปในทางที่เหมาะสม”

กระบวนการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติ มี 9 ขั้น ได้แก่

1. ผู้สอนนำเสนอสถานการณ์ ปัญหา และบทบาทสมมติที่มีลักษณะใกล้เคียงกับความเป็นจริง และมีความยากง่ายสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน 

2. เลือกผู้แสดงร่วมกัน   3. จัดฉาก     4. เตรียมผู้สังเกตการณ์   5. แสดง   6. อภิปรายและประเมินผล

7. แสดงเพิ่มเติม  8. อภิปรายและประเมินผลอีกครั้ง  9. แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสรุปการเรียนรู้


หมายเลขบันทึก: 544589เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2013 15:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 สิงหาคม 2013 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท