รูปแบบการเรียนรู้และการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน


รูปแบบการเรียนรู้และการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน

รูปแบบการเรียนรู้  หมายถึง สภาพลักษณะของการ เรียนการสอนที่ครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญ ซึ่งได้รับการจัดไว้อย่างเป็นระเบียบ ตามหลักปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อต่าง ๆ

รูปแบบการเรียนรู้/การเรียนการสอน

  การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน

  การออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

  เทคนิคและวิทยาการจัดการเรียนรู้

  เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการคิด

  การจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

  การสอนแบบบูรณาการ

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน

1. กลุ่มรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด เช่น การสอนตามหลักการเรียนรู้ของกาเย่

         ควรมีการจัดสภาพการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้แต่ละประเภท ซึ่งมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน 

    และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ภายในสมอง โดยจัดสภาพการณ์ภายนอกให้เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ภายในของผู้

    เรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาสาระต่าง ๆ ได้อย่างดีและรวดเร็ว และสามารถจดจำสิ่งที่เรียนได้นาน

2. กลุ่มรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วม เช่น การสอนที่เน้นการเรียนแบบร่วมมือ

         ผู้เรียนควรร่วมมือกันในการเรียนรู้มากกว่าการแข่งขันเพราะการแข่งขันก่อให้เกิดสภาพการณ์ของการแพ้-ชนะ

    ต่างจากการร่วมมือกัน ซึ่งก่อให้เกิดสภาพการณ์ของการชนะ-ชนะ อันเป็นสภาพการณ์ที่ดีกว่าทั้งทางด้านจิตใจ

    และ สติปัญญาช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระต่าง ๆ ด้วยตนเอง และด้วยความร่วมมือและความช่วยเหลือจาก

    เพื่อน ๆ รวมทั้งได้พัฒนาทักษะทางสังคมต่าง ๆ เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการ

    สร้างความสัมพันธ์ รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการคิดแก้ปัญหาและอื่น ๆ “

3. กลุ่มรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาพฤติกรรมและค่านิยม เช่น การแสดงบทบาทสมมติ

         การแสดงบทบาทสมมติเป็นวิธีการที่ช่วยให้บุคคลได้แสดงความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ  ที่อยู่ภายในออกมา ทำให้สิ่ง

    ที่ซ่อนเร้นอยู่เปิดเผยออกมาและนำมาศึกษาทำความเข้าใจกันได้ ช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง เกิด

    ความเข้าใจในตนเอง ในขณะเดียวกันการที่บุคคลสวมบทบาทของผู้อื่นก็สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจใน

    ความคิด ค่านิยม และพฤติกรรมของผู้อื่นได้เช่นเดียวกันเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในตนเอง เข้าใจใน

    ความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้อื่น และเกิดการปรับเปลี่ยนเจตคติ ค่านิยม และพฤติกรรมของตนให้เป็นไปในทาง

    ที่เหมาะสม

ที่มา http://www.slideshare.net/wannaphakdee/ss-17146197

หมายเลขบันทึก: 544539เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2013 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 สิงหาคม 2013 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท