บัณฑิตศึกษาระดับปริญญาเอก


ประเทศไทยต้องดำเนินการวางแผนการผลิต ป. เอกของตนเอง เชื่อมโยงกับแผนการส่งคน ไปเรียนต่อต่างประเทศ เราไม่ควรมองว่า หากจะให้ได้บัณฑิต ป. เอกที่มีคุณภาพ ต้องส่งไปเรียนต่างประเทศ เท่านั้น และในขณะเดียวกัน ต้องหาทางป้องกัน การผลิต ป. เอก แบบคุณภาพต่ำ

บัณฑิตศึกษาระดับปริญญาเอก

ข่าวนี้ บอกเราว่า มีผู้เรียนในสาขาวิทยาศาสตร์น้อยเกินไป  แต่เมื่ออ่านรายละเอียดแล้ว พบว่าเป็นข่าวที่ไม่แม่นยำอย่างยิ่ง  และในความเห็นของผม เป็นการให้ความเห็นผิดๆ ต่อสาธารณชน  แต่ข่าวนี้มีส่วนน่าสนใจตรงนำเราไปสู่บทความในวารสาร Nature เรื่อง Education : The PhD Factory ที่น่าอ่านมาก 

บทความใน Nature นี้ เป็นการนำเสนอสถานภาพของบัณฑิตศึกษาระดับปริญญาเอกของทั่วโลก  เปรียบเทียบระหว่างประเทศ 

เริ่มด้วยประเทศญี่ปุ่น ที่มีปัญหามาก  รัฐบาลมีนโยบายและแผนเพิ่มจำนวนผู้จบปริญญาเอก และ postdoc  แต่เมื่อจบแล้วคนเหล่านี้ไม่มีงานทำ  รัฐบาลถึงกับต้องจ่ายเงินให้บริษัทจ้างคนเหล่านี้ไปทำงาน  แต่บริษัทก็บอกว่า ไม่รู้จะจ้างไปทำไม เพราะความรู้ความสามารถไม่ตรงความต้องการ  ผมไม่นึกเลยว่าจะได้ยินเรื่องแบบนี้จากประเทศญี่ปุ่น ที่ผมนับถือว่ามีความรอบคอบสูง

ถัดมาคือจีน  ที่เวลานี้ผลิตบัณฑิต ป. เอกสูงที่สุดในโลก คือปีละ ๕ หมื่นคน  แต่มีปัญหาคุณภาพ  และเขามีวิธีแก้ปัญหาหลายอย่าง

สหรัฐอเมริกา ผลิต ป. เอกได้มากเป็นที่ ๒ รองจากจีน  มีความท้าทายเรื่อง การผลิตให้ตรงความต้องการ  ข้อมูลในบทความเกี่ยวกับเงินเดือน น้อยกว่าที่ผมคิดมาก  และบัณฑิตในสาขาวิทยาศาสตร์ตกงานมากอย่างน่าตกใจ  ในขณะที่คนจบ ป. เอกสาขาสังคมศาสตร์หางานง่ายกว่ามาก  เป็นความจริงที่ผมแปลกใจ

เยอรมนี ดูจะเป็นประเทศที่มีความสำเร็จสูงที่สุด  โดยที่ในอดีตมีปัญหาผลิตมากเกินไป  การเรียน ป. เอกในเยอรมันมีลกษณะพิเศษ ๒ อย่าง  (๑) ไม่ถือเป็น นศ.  แต่ถือเป็นทีมวิจัย  (๒) ไม่เน้นผลิตไปทำงานวิชาการเท่านั้น  แต่เน้นผลิตไปทำงานในภาคการผลิตด้วย  เขาบอกว่า เพียงร้อยละ ๖ ของคนจบ ป. เอกสายวิทย์ ไปทำงานในภาควิชาการ  คำอธิบายคือ เงินเดือนต่ำ และก้าวหน้าช้า

อีก ๓ ประเทศที่เขาเอ่ยถึงคือ โปแลนด์  อียิปต์ และอินเดีย   

สรุปได้ว่า ประเด็นสำคัญของการศึกษาระดับปริญญาเอกก็คือ ทำอย่างไรให้มันเป็นส่วนหนึ่งของระบบ การพัฒนาประเทศ  ให้มันสอดคล้องกับงาน และความต้องการคนของภาคส่วนต่างๆ ของประเทศ   ในประเด็นนี้ ตรงกับข่าวในเดอะเนชั่น  ที่รองเลขาธิการ กกอ. บอกว่า  สกอ. ไม่มีตัวเลขทำนายความต้องการ ของประเทศ  แต่ผมคิดว่า สกอ. น่าจะมีตัวเลขจำนวนการผลิตในสาขาต่างๆ มาบอกสังคม  และตามข่าว ที่บอกว่า ประเทศไทยขาดแคลนคนจบ ป. เอกด้านการศึกษานั้น ผมคิดว่าไม่จริง  ผมคิดว่าเราผลิต ป. เอกด้านการศึกษาแบบเฟ้อจำนวน แต่หย่อนคุณภาพอย่างน่าตกใจ

ผมคิดว่า ประเทศไทยต้องดำเนินการวางแผนการผลิต ป. เอกของตนเอง  เชื่อมโยงกับแผนการส่งคน ไปเรียนต่อต่างประเทศ  เราไม่ควรมองว่า หากจะให้ได้บัณฑิต ป. เอกที่มีคุณภาพ ต้องส่งไปเรียนต่างประเทศ เท่านั้น

และในขณะเดียวกัน ต้องหาทางป้องกัน การผลิต ป. เอก แบบคุณภาพต่ำ

วิจารณ์ พานิช

๓๐ ก.ค. ๕๖



หมายเลขบันทึก: 544529เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2013 17:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 สิงหาคม 2013 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

"... ป. เอกด้านการศึกษาแบบเฟ้อจำนวน แต่หย่อนคุณภาพอย่างน่าตกใจ ..."

เช่นนั้นครับ อาจารย์หมอ ;)...

 

ป. เอก ของไทย ส่วนมากยัังติดอยู่กับสถาบันวิชาการ ออกไปโลกกว้างน้อย ใช่ไหมครับ

คนเราจะจบอะไรก็ตาม แต่ต้องจบด้วยจิตคารวะในทุกกระบวนการก่อนจึงจะถูกต้องที่สุด เพราะรู้อะไรไม่รู้สู้รู้ใจตนเองที่จะเป็นคนดีและคนเก่งของสังคมและประเทศชาติ เพราะทุกวันนี้ที่เป็นปัญหาเกิดจากใคร ถ้าไม่ใช่ตนเองทั้งสิ้น จริงไหมขอรับ ???

กำลังศึกษาอยู่ค่ะ เป้าหมายคือ อยากนำความรู้ที่มีโอกาสเรียนนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมให้มากและดีที่สุดค่ะ

 

ป.เอกทางด้านการศึกษาแยกย่อยเป็นสาขาต่าง ๆ บางสาขาขาดแคลนมาก บางสาขาเฟ้อจำนวนเช่น บริหารการศึกษา  สาขาที่ขาดแคลนเช่น Science Education, Mathematics Education, Educational Psychology, Educational Technology,Educational Measurement and Evaluation เป็นต้น

แทบทุกมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนระดับ ป. เอก มักจะมีสาขา บริหารการศึกษา หลักสูตรและการสอน(ไม่เน้นสาขาวิชา) ในด้านคุณภาพ

เห็นด้วยอย่างยิ่งที่ ป. เอก ของไทยหย่อนคุณภาพอย่างน่าเป็นห่วง(ไม่ขอระบุสถาบัน ) 

   

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท