ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอน


สาระที่  ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอน

  ทฤษฎีการเรียนรู้จะช่วยอธิบายถึงกระบวนการเรียนรู้ว่าเกี่ยวข้องกับอะไรบ้างและเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยทฤษฎีการเรียนรู้นั้นมีมากมายและมีความแตกต่างกัน เราไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีไหนมีความสมบูรณ์แบบมากที่สุด เนื่องมาจากว่าแต่ละทฤษฎีจะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ขึ้นกับการนำมาใช้โดยควรพิจารณาว่ากำลังจะสอนอะไร มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการเรียนการสอนอย่างไร สามารถแบ่งทฤษฎีการเรียนรู้ออกเป็น 3 กลุ่มคือ

  1. ทฤษฎีการเรียนรู้แนวพฤติกรรม (Behaviorism) ทฤษฎีการเรียนรู้แนวนี้สนใจเฉพาะองค์ประกอบที่สามารถสังเกตเห็นได้โดยเชื่อว่าการเรียนรู้คือการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองและมีตัวเสริมแรงเป็นสิ่งกระตุ้นหรือจูงใจ เช่น ทฤษฎีของพาฟลอฟ ทฤษฎีของธอร์นไดด์ ทฤษฎีของวัตสัน ทฤษฎีสกินเนอร์ เป็นต้น

  2. ทฤษฎีการเรียนรู้แนวปัญญานิยม (Cognitivism) ทฤษฎีการเรียนรู้แนวนี้คิดว่าการเรียนรู้หรือการแก้ปัญหาเกิดจากความสามารถในการรับรู้และการหยั่งรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการทางสมองไม่ใช่เรื่องของการวางเงื่อนไข ดังนั้นจึงศึกษากระบวนการคิด การตัดสินใจ ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดพฤติกรรม เช่น ทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มเกสตอลท์

  3. ทฤษฎีการเรียนรู้แนวมนุษยนิยม (Humanism) ทฤษฎีการเรียนรู้แนวนี้มีพื้นฐานมาจากการมองโลกในแง่ดี ให้ความสำคัญกับอารมณ์ ความรู้สึกและคุณค่าของความเป็นมนุษย์ เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดีงาม มีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเอง มีคุณค่า มีความสามารถ มีความรับผิดชอบ สามารถสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามและเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม เช่น ทฤษฎีของมาสโลว์ ทฤษฎีของโรเจอร์ส ทฤษฎีของคอมบ์ส เป็นต้น

บรรณานุกรม

บทที่ 4 ทฤษฎีการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้. สืบคันเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2556. จาก

  http://www.oo-cha.com/courses/PT/pt4.pdf (ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง)


หมายเลขบันทึก: 544472เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2013 02:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 สิงหาคม 2013 02:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท