ขนาดอัณฑะใหญ่__อาจเพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ


.
สำนักข่าวเทเลกราฟ อังกฤษ (UK) ตีพิมพ์เรื่อง "ไข่ (อัณฑะ) โต (อาจเสี่ยง) โรคหัวใจ"
, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
.
ภาพที่ 1: แสดงการเดินทางไกล หรือทัวร์น้องไข่ (อัณฑะ)
.
ตอนอยู่ในท้องแม่, ไข่หรืออัณฑะอยู่ในช่องท้อง และเทียบได้กับรังไข่ในผู้หญิง
.
ไข่หรืออัณฑะเป็นอวัยวะที่สร้างน้ำอสุจิที่มีตัวอสุจิ หรือตัวสเปิร์ม (sperm) ด้วย และสร้างฮอร์โมนเพศชายด้วย
.
การสร้างสเปิร์ม หรือตัวอสุจิ จะสร้างได้ดีกว่าในที่เย็น = "ไข่ไม่ชอบ(ที่)ร้อน"
.
อัณฑะมีการเดินทางไกล = ทัวร์น้องไข่ โดยจะเคลื่อนจากช่องท้องลงมาตามช่อง หรือท่อขาหนีบ (inquinal canal) ลงไปอยู่ในถุงอัณฑะ
.
ถ้าอัณฑะเคลื่อนต่ำลงไปในถุงอัณฑะไม่สำเร็จ จะเพิ่มเสี่ยงเป็นหมัน และเนื้องอกอัณฑะ
.
ถ้าช่องหรือท่อขาหนีบใหญ่ หย่อนยาน หรืออ่อนแอ อาจเพิ่มเสี่ยงโรคไส้เลื่อนขาหนีบได้
.
การศึกษาที่ผ่านมา เปรียบเทียบขนาดไข่ 2 ใบ (อัณฑะ) ของคนกับพี่ลิง พบว่า [ wikipedia ]
.
(1). ลิงที่ลูกไม่ค่อยดก คือ กอริลล่า > มีไข่เล็ก (หนัก = 0.03% ของน้ำหนักร่างกาย) + เซ็กส์ไม่จัด
.
(2). ลิงที่ลูกดก คือ ชิมแปนซี > มีไข่ใหญ่ (หนัก = 0.3% ของน้ำหนักร่างกาย) + เซ็กส์จัด
.
นักวิทยาศาสตร์สังเกตว่า สัตว์ที่มีไข่ใหญ่มักจะมีจำนวนคู่มาก (polygamy) = มีเมียหลายตัว
.
ผู้ชายส่วนใหญ่มีไข่ 2 ใบ หนัก = 0.08% ของน้ำหนักร่างกาย = อยู่ตรงกลางระหว่างลิงลูกไม่ดก กับลิงลูกดก
.
ส่วนคนไหนจะเซ็กส์จัดหรือไม่อย่างไร... ยังไม่ทราบ
.
ทว่า... เรื่องนี้อาจรู้ได้ โดยการวัดขนาดไข่ดู
.
วิธีการวัดขนาดไข่ ทำโดยการเปรียบเทียบกับ "ไข่มาตรฐาน (orchidometer)" ดังภาพ
.
.
ภาพที่ 2: ไข่มาตรฐาน ใช้ในการวัดขนาดอัณฑะ ขนาดปกติในฝรั่ง หรือคนตะวันตกมาตรฐาน หนักประมาณ 70 กก. คือ 15-25 มิลลิลิตร (ซีซี) [ wikipedia ]
.
ถ้าต้องการคำนวณเองเงียบๆ ให้วัดขนาด 3 มิติ = กว้าง x ยาว x สูง (หน่วยเซนติเมตร / ซม.)
.
แล้วใช้สูตรปริมาตรวัตถุรูปไข่คำนวณ = 0.52 x กว้าง x ยาว x สูง (จะได้หน่วยมิลลิลิตร / มล.)
.
.
ภาพที่ 3: กายวิภาคอวัยวะสืบพันธุ์ผู้ชาย (ภาพคนหันหน้าไปทางซ้าย)
.
ทางเดินปัสสาวะอยู่ค่อนไปทางด้านหน้า จากท่อไต (ureter) เป็นกระเพาะปัสสาวะ (bladder), ท่อปัสสาวะ (urethra) ในลำกล้อง (penis)
.
อัณฑะหรือเจ้าไข่ 2 ใบ (testis / testes) สร้างตัวเชื้ออสุจิ หรือสเปิร์ม (sperm) ผ่านไปทางท่อน้ำเชื้อ ย้อนขึ้นไปทางด้านบน
.
ตัวอสุจิหรือสเปิร์มก็คล้ายนักการเมือง คือ ต้องมีน้ำเลี้ยง ให้น้ำหล่อลื่น น้ำตาล สารสังกะสีหรือซิ้งค์ (zinc) ที่ช่วยในการว่ายน้ำ-ดำน้ำของตัวอสุจิ
.
น้ำหล่อลื่น หรือน้ำเลี้ยงในที่นี้... หลั่งจากต่อมลูกหมาก (prostate gland - สีฟ้า) และต่อมน้ำเชื้อ (seminal vesicle)
.
ท่อสีฟ้าด้านหลัง คือ ไส้ตรง (rectum) ซึ่งจะเปิดออกทางทวารหนัก เพื่อขับอุจจาระ (อึ) ออก
.

การศึกษาใหม่จากอิตาลี ทำในกลุ่มตัวอย่างผู้ชาย 2,809 คน เทียบกับกลุ่มตัวอย่าง 1,395 คน
.
ติดตามไปนาน 7 ปี พบว่า คนไข่ใหญ่ หรืออัณฑะใหญ่ เสี่ยงโรคหัวใจมากกว่าคนไข่เล็ก
.
แถมยังเสี่ยงน้ำหนักเกิน อ้วน ดื่มหนัก ความดันเลือดสูงมากกว่า
.
= เพิ่มปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ
.
.
การศึกษานี้มีขีดจำกัด คือ ตรวจในคนไข้ที่มีปัญหานกเขาไม่ขัน ไม่ใช่ประชากรทั่วไป
.
จึงไม่ควรตกอกตกใจอะไร
.
ทว่า... ท่านที่เป็นกลุ่มเสี่ยง (ไข่โต) ก็อย่าเพิ่งประมาท
.
ตรวจเช็คน้ำหนัก เส้นรอบเอว (ไม่ควรเกิน 90 ซม.ในผู้ชาย, 80 ซม.ในผู้หญิง), ตรวจเช็คความดันเลือด น้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือดหรือโคเลสเตอรอลตามโอกาส
.
.
และอย่าลืม... ไม่ดื่มหนัก ไม่สูบบุหรี่
.
เพื่อลดเสี่ยงโรคหัวใจ
.
การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า คนไข่ใหญ่มีโอกาสได้ลูกสมใจมากกว่าคนไข่เล็ก
.
กลไกที่เป็นไปได้ คือ คนที่มีไข่ใหญ่กว่า มีแนวโน้มจะมีระดับฮอร์โมนเพศชายสูงกว่า และผลิตตัวอสุจิหรือสเปิร์มได้มากกว่า
.
.
การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ผู้ชายตะวันตกหรือฝรั่งมีขนาดอัณฑะ หรือไข่ 2 ใบเล็กกว่าคนรุ่นก่อนๆ, ความเข้มข้นน้ำเชื้อก็ลดลง
.
ทว่า... ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน
.
ข้อควรระวังในการใช้ชีวิตสมัยใหม่ คือ ถ้าปล่อยไข่ให้ร้อนนานๆ อาจทำให้การผลิตตัวอสุจิ หรือสเปิร์มลดลง และอาจทำให้มีลูกยาก
.
เช่น นั่งอานมอเตอร์ไซค์ร้อนๆ, อาบหรือแช่น้ำอุ่นจัด, นั่งคราวละนานๆ ฯลฯ
.
.
ทางที่น่าจะดี คือ หลีกเลี่ยงการนั่งนาน และระวังไข่ไม่ให้ร้อน
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 > [ Twitter ]

  • ขอขอบพระคุณ / Thank Telegraph source > J Sexual Medicine.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. 1 สิงหาคม 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
 
หมายเลขบันทึก: 544330เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2013 12:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 สิงหาคม 2013 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท