สรุปการประชุมที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2556


การประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๕๖ สมาคมกฎหมายระหว่างประเทศแห่งประเทศไทย

วันที่๒๖ เมษายน ๒๕๕๖ เริ่มประชุมเวลาประมาณ ๑๑.๕๐

อาจารย์ไชยวัฒน์เกริ่นที่มาของสมาคมคร่าวๆ ว่าสมาคมฯ เริ่มก่อตั้งคุณถนัด คอมันต์ และส่งผ่านเรื่อยมายังอ.ไชยวัฒน์ บุญนาค

วาระที่ ๑
พิจารณารับรองรายงานและกิจการที่ผ่านมาของกรรมการและกิจการที่จะทำ

มีแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย ในส่วนของพ.ศ. ในบรรทัดที่ ๖ จาก ๒๕๕๕ เป็น ๒๕๕๓

วาระที่ ๒
พิจารณารับรองรายงานและกิจกรรมที่ผ่านมาของกรรมการและกิจกรรมที่ต้องทำ

  ในปี ๒๕๕๕ ไม่มีกิจกรรมอะไรต่างจากปี ๒๕๕๔ ที่มีการจัดประชุมสัมมนาสนธิสัญญาทวิภาคีด้านการลงทุน
: ดาบสองคมที่คนไทยต้องรู้จัก ซึ่งการสัมมนาดังกล่าวได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

 

  2.1) ปี ๒๕๕๖ นี้มีทางสมาคมได้รับการทาบทามจาก Asian Society International Law (ก่อตั้งโดยผู้พิพากษาศาลโลก Judge Owada ซึ่งทางสมาคมนี้ได้ร้องขอให้สมาคมกฎหมายระหว่างประเทศแห่งประเทศไทยร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมด้านกฎหมายระหว่างประเทศในประเทศไทยในปี พ.ศ.  ๒๐๑๕
เพื่อที่จะสร้างแนวทางกฎหมายระหว่างประเทศแบบ
Asia กล่าวคือ ทำยังไงชาติเอเชียเราจะมีสมาคมกฎหมายระหว่างประเทศที่ระดมความคิดแลกเปลี่ยนด้านกฎหมายระหว่างประเทศ และทบทวนกฎหมายระหว่างประเทศ ว่าอะไรไม่เข้าท่าในเอเชียเราก็มาแลกเปลี่ยนกันประชุมกันไม่จำเป็นต้องเดินตามตะวันตก ซึ่งตอนนี้ทาง ILAT ยังไม่ได้ตกลง แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธ แล้วก็จะต้องมีพรีเซนต์ที่นิวเดลีเดือนตุลาคม ๒๕๕๖

  อาจารย์ไชยวัฒน์สนับสนุนที่จะมีการจัดเนื่องจากเราจะได้ประโยชน์มากจาก contact กับส่วนของศาลโลก  อาจารย์นพนิธิเสนอความคิดเห็นในหัวข้อที่จะจัดสัมมนาว่าเกี่ยวกับเรื่องการเลือกปฏิบัติ ศาสนา เพศ ร่างกาย ดังนี้คือ

  ศาสนา เช่น กรณีผู้พิพากษาจะเป็นชาวซิกข์ไม่ได้ ซึ่งทางสมาชิกได้โต้แย้งว่าจริงๆแล้วเป็นได้ แต่ต้องถอดผ้าโพกหัวออก (ซึ่งก็อาจจะเป็นการขัดกับหลักศาสนา จะถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติได้หรือไม่)

  เพศ เช่น กรณีที่ผู้หญิงขึ้นไปไหว้พระธาตุไม่ได้ กรณีนี้ก็มีการโต้แย้งของทางสมาชิกว่าเป็นเรื่องความเชื่อประเพณีและวัฒนธรรม ซึ่งอาจารย์นพก็มองว่าเรื่องวัฒนธรรมประเพณีจริงๆมันก็เปลี่ยนกันได้

  ร่างกาย เช่น กรณีสภาพร่างกายผิดปกติจึงเป็นผู้พิพากษาอัยการไม่ได้ แต่ศาลปกครองก็มีคำวินิจฉัยให้ถอนคำสั่งไปแล้ว แต่เรื่องเป็นอย่างไรต่อไปก็ไม่ทราบได้

  ในเอเชียนี้จริงๆ มีการเลือกปฏิบัติอยู่มาก แต่เราอาจะไม่รู้สึกเท่าไหร่จากวัฒนธรรม อย่างไรก็ตามหลังการประชุมก็ดีขึ้น ผู้หญิงอิสลามขับรถได้ ได้เรียนหนังสือ

  แต่ในบางกรณีก็มีการโต้เถียงว่าอย่านำเอาสิทธิมนุษยชนมายัดใส่หัวพวกเขาจากกรณีความขัดแย้งระหว่างวัฒนธรรมกับการเลือกปฏิบัติ อาทิ หญิงอินเดียต้องถูกเผาตามสามีที่ตายก็ยกเลิกไปแล้ว คุณนันทิกามองว่าบางทีเพราะมันเป็นกฎให้ยกเลิกทั้งที่จริงๆ อาจไม่ได้อยากให้เลิก และหญิงนั้นต้องทนอยู่ด้วยความอับอาย ก็เป็นที่ถกเถียงกันไป

  สรุปประเด็นนี้คือ ควรสนับสนุนการเข้าร่วม


2.2) อ.อัครวัฒน์ได้เสนอเรื่องการจัด Moot Court :7j’สมควรที่หลายๆ มหาวิทยาลัยและทุกภาคส่วนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแข่งกับทาง Jessup ซึ่งจะมีรอบ international ที่ดีซีกับรอบคัดเลือกภายใน ในรอบคัดเลือกภายในนี้ก็จะเป็นจุฬาแข่งกับธรรมศาสตร์ น่าจะให้หลายมหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมมากขึ้นเพื่อจะเปิดโอกาสให้ประเทศไทยส่งทีมไปแข่งได้เยอะ คือ ถ้าการแข่งขัน Jessup มีแค่ ๑๒ ทีมในรอบคัดเลือก ไทยก็จะส่งไปแข่งได้ทีมเดียว ถ้าเกินกว่านั้น ก็สามารถส่งมีมจากไทยไปได้มากขึ้นเรื่อยๆ อาจารย์จึงอยากให้มีองค์กรมาสนับสนุนเป็นเจ้าภาพ เนื่องจากมีผู้ที่สนใจมากจากเหตุการณ์เขาพระวิหารและสมาคมก็มีผู้ที่พร้อมจะสนับสนุนเรื่องสถานที่ก็อาจจะใช้ศาลรัพย์สินฯได้ หรืออาจจะเป็นสถานที่ของจุฬาหรือธรรมศาสตร์มีการจัดแข่งกันสองถึงสามวันเพื่อหาทีมไปแข่งต่อ

  ถ้าได้ทำในนามสมาคมสปอนเซอร์ก็หาได้ไม่ยาก กระแสช่วงนี้ก็แรงอาจารย์อยากให้รีบจัดและจัดให้ใหญ่ วางแผนให้ดี เพื่อที่จะได้มีคนมาทำต่อได้ อยากจะทาบทามนิติศาสตร์ทั่วประเทศมาแข่ง จะได้ประมาณสามสิบทีม
(หนึ่งมหาวิทยาลัยได้หนึ่งทีม ทางสมาชิกถามว่าจะสามารถส่งมากกว่านั้นได้ไหมแต่ที่ไปดีซีให้ไปจากหลายมหาวิทยาลัย) ซึ่งกรรมการจะต้องใช้จำนวนมากและเป็นกรรมการอาสาสมัคร

และเพื่อที่จะเปิดกว้างขึ้นจึงเสนอให้มีการใช้ภาษาไทยได้ (ตอนไปแข่งที่ดีซีเอาล่ามไปได้) จะได้ดึงคนเข้ามามากขึ้น ซึ่งอาจารย์ได้ประเมินค่าใช้จ่ายว่าจัดสองทีมประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท ทางสมาชิกจึงได้ขอให้อาจารย์ร่างโปรเจคและงบมาด้วย อ.นพเสนอว่ารอบแรกๆ อาจใช้ภาษาไทยได้ รอบหลังๆ ควรให้ใช้ภาษาอังกฤษ อ.อัครวัฒน์จึงบอกว่านอกจากนั้นอาจมีการกำหนดกฎเล็กๆ ไว้ว่าถ้าใช้ภาษาอังกฤษจะได้คะแนนพิเศษ

 

วารที่ ๓ งบการเงิน

อนุมัติงบการเงิน รับรอง

 

วาระที่ ๔ กรรมการ


  ต้องเปลี่ยนกรรมการ โดยขอให้อาจารย์อัครวัฒน์เข้ามาเป็นแทนคุณอเนก ส่วนตำแหน่งอุปนายกอาจารย์นพจะเป็นให้ อ.กมลินทร์เป็นเลขา และจะขอให้ อ.ชนิดาเป็นเหฯต่อไป


วาระที่ ๕ ผู้สอบบัญชี

  ผู้สอบบัญชีปัจจุบันย้ายไปที่ภูเก็ตแต่เรายังใช้คนเดิม ค่าตอบแทน ๕,๐๐๐ บาท


วาระที่ ๖ อื่นๆ

  เปิดโอกาสให้สมาชิกได้ซักถามและเสนอความเห็น

  อ.นพเห็นว่าเราควรหารายได้มากขึ้น ซึ่งทางสมาชิกเห็นด้วย เนื่องจากสมาคมไม่ได้มีรายรับเข้ามาจากเดิมที่สมาคมเคยได้จากการทำวารสารและการจัดประชุมก็ไม่ได้ทำ ต้องหาจุดแข็งของสมาคมเพื่อดึงคนเข้ามาเป็นสมาชิก อ.อัครวัฒน์ก็เสนอว่าควรขยายกิจกรรมให้กว้างขึ้น มุ่งเน้นคนทั่วไปมากขึ้นด้วย น่าจะมีการจัดสัมมนา ซึ่งสมาชิกก็เห็นด้วย เช่นในเรื่องเขาพระวิหารหรือ AEC อธิบายให้คนทั่วไปเข้าใจ ส่วนเรื่องวารสารมีการเสนอว่าน่าจะยังมีการจัดทำอยู่ เนื่องจากสามารถหานักกฎหมายรุ่นใหม่ไฟแรงมาเขียนให้ได้ และไม่จำเป็นต้องอยู่ที่ไทยเสมอไป
ผู้ที่เรียนอยู่ก็ส่งมาได้

  นอกจากนั้นอ.นพยังเสนอว่าถ้าเป็นเอกชนเราไม่สามารถควบคุมเรื่อวการเลือกปฏิบัติได้มากนักแค่รธน.ไม่พอ ทางสมาชิกจึงเสนอเรื่องจุดยืนของสมาคมให้ชัดเจนขึ้น เป็นวัตถุประสงค์ของสมาคมเนื่องจากตามที่ได้เขียนไว้ในข้อบังคับเราก็สามารถทำได้ครอบคลุมถึงเรื่องนั้นด้วน

เวลา ๑๓.๑๕ ปิดการประชุม

หมายเลขบันทึก: 544145เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 23:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 23:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท