พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของชาวมุสลิม ในระหว่างการถือศีลอด ช่วงเดือนรอมดอน


คำถามหลัก: พี่น้องชาวมุสลิมมีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพอย่างไรบ้าง กรอบคิด:พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพใน 4 ด้าน คือด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านจิตวิญญาณ

          การถือศีลอดในเดือนรอมดอน  ของชาวมุสลิม คือ การงดเว้นการกระทำต่าง ๆ ตั้งแต่แสงอรุณขึ้นถึงตะวันตกดินคือ งดการกินและการดื่ม งดการแสดงออกทางเพศ งดการใช้วัตถุภายนอกล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะภายใน งดการแสดงอารมณ์ร้าย และความผิดต่าง ๆ พร้อมทั้งให้กระทำสิ่งต่าง ๆ คือ ทำการนมัสการ พระเจ้าให้มากกว่าวาระธรรมดา ถ้าเป็นการถือศีลรอมาดอน ให้ทำละหมาดตะรอวีห์ จำนวน 20 รอกะอัต อ่านกุรอานให้มาก สำรวมอารมณ์และจิตใจ ทำทานแก่ผู้ยากไร้ และบริจาคเพื่อการกุศล กล่าวซิกิร (บทรำลึกพระเจ้า) และให้นั่งสงบจิต อิตติภาพ ในมัสยิด ที่มา: จากหอมรดกไทย) ซึ่งน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพอยู่มาก ตามฐานคิดของผม เรื่องนี้เราได้พูดคุยกันกับทีมงานที่เป็นพยาบาลในเครือข่ายไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน เมื่อคราวนำโครงร่างวิจัย (วิพากษ์โครงการผู้สูงอายุฯ อ.ปากพะยูน) ไปดูกัน
          จากการพูดคุยกันวันนั้น ทำให้ทราบว่า กะ (พี่) สุคล  รักมาก พยาบาลชุมชน รพ.ปากพะยูน ผู้ที่เขียนบันทึก “เรื่องเล่าจากคุณพยาบาลชุมชน นวตกรรมพื้นบ้านชุมชนมุสลิม”โครง..คุ้มภัย ความปลอดภัยจากรุ่นสู่รุ่น“ และคุณอาภรณ์  หนูพันธ์ (เจ้าของ blog คุณพยาบาลกับงานส่งเสริม) สนใจที่จะศึกษาเรื่องพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของชาวมุสลิม ในระหว่างการถือศีลอด ช่วงเดือนรอมดอน ซึ่งอยู่ในช่วงเวลานี้พอดี ทั้งหมอยอร์นและผมยินดีสนับสนุนกะ (พี่) สุคนฯ คุณอาภรณ์ฯ และทีมงาน อย่างเต็มที่ โดยตกลงที่จะนำเข้าสู่กระบวนการในโครงการ “ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน
          โดยมีคำถามหลัก (ใหญ่ ๆ) คือ ในระหว่างการถือศีลอด ช่วงเดือนรอมดอนนี้ พี่น้องชาวมุสลิมมีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพอย่างไรบ้าง ซึ่งกรอบคิดอย่างด่วน ๆ ตอนนี้ มีว่าพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพใน 4 ด้าน คือด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านจิตวิญญาณ
          ก็เลยถือเอาบันทึกนี้เป็นบันทึกที่เริ่มต้น จากนั้นก็ได้นำบทสัมภาษณ์ สอบถาม สังเกต ประสบการณ์ หรือการพูดคุยมาบันทึกต่อ หรือผู้สนใจท่านใดที่จะนำเสนอออกมาเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันก็ขอเชิญนะครับ

หมายเลขบันทึก: 5441เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2005 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)
     ขอแนะนำแหลงความรู้ ชุมชนไทยมุสลิม บน Internet

     ขอเปิดประเด็นก่อนเลยรับ จากการที่ได้โทรหาเพื่อนที่อยู่สตูล ก็ได้มาเรื่องหนึ่ง ส่วนเรื่องอื่น ๆ เขาสัญญาว่าจะเข้ามาเติมเต็มให้อีกครั้ง วันนี้เอาเรื่อง “ซากาต” ก่อนดังนี้
     ซากาต การทำซากาต (การบริจาค) เป็นพฤติกรรมมองได้ทั้งในเชิงสังคม และจิตใจ อาจจะเลยไปถึงจิตวิญญาณด้วยซ้ำ เพราะซากาต เป็น การบริจาคทรัพย์สินตามอัตราส่วนแก่คน 8 ประเภท
          - คนอนาถา คีอผู้ที่มีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น
          - คนขัดสน คือ ผู้ที่มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย
          - ทาสที่ได้รับอนุมัติจากนายให้ไถ่ถอนความเป็นทาสได้
          - ผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ไม่ได้เกิดจากการทำผิดหลักศาสนา
          - ผู้ที่ดำเนินการในกิจการต่างๆ หรือทำการต่อสู้เพื่อรักษาไว้ซื่งหลักการอิสสาม
          - ผู้ที่อยู่ในระหว่างการเดินทางไกล และอยู่ในภาวะที่ต้องการความช่วยเหลือ
          - ผู้เข้ารับอิสลามใหม่
          - เจ้าหน้าที่เก็บซากาต
     ซากาต จึงกล่าวได้ว่า เป็นข้อปฎิบัติของหลักเศรษฐศาสตร์อิสลาม ที่ต้องการลดช่องว่าง ความแตกต่างของ ฐานะทางเศรษฐกิจ กล่าาวคือเป็นทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหาความยากจน อันเป็นสำคัญ ที่เกิดขึ้นใน สังคมโดยทั่วไป ซากาตเป็นหลักปฏิบัติข้อหนึ่งที่มุสลิมส่วนหนี่งจะต้องปฏิบัติในทุกรอบ 1 ปี
     มาดูคำสำคัญจากความหมายของ "ซากาต" ซึ่งเป็นคำที่มาจากภาษาอาหรับ แปลว่าความเจริญงอกงาม การขัดเกลาจิตใจ การทำให้บริสุทธ์ หรือ การเพิ่มพูน

ขอเรียนถาม   ทีมวิจัย สสจ.  ทางทีมวิจัยลูกข่ายไม่มั่นใจว่าการเก็บข้อมูล  ในส่วนของวิธีการสัมภาษณ์นั้น ขณะพูดคุยจำเป็นต้องบันทึกเทบไว้ด้วยหรือไม่(ผู้วิจัยไม่เคยมีประสบการณ์ทางด้านนี้มาก่อน ค่อนข้างกังวลเล็กน้อย  ขอคำชี้แนะด้วยค่ะ)  ส่วนการเก็บข้อมูลด้วยวิธีอื่นก็ โอเคค่ะ
     ตอบคุณลูกหมูอ้วนว่า ขอให้พูดคุยกันให้เป็นธรรมชาติที่สุด (เป็นธรรมชาติเราจะได้ข้อมูลความจริง) แต่มักจะมีปัญหาคือด้านคนเก็บข้อมูลเอง เพราะต้องจัดกระบวนการ ถาม-ฟัง-สรุป-จำ-บันทึก ให้ดี ถูกต้องเหมือนเดิม (ที่เขาให้มา) อย่าเอาของเราใส่เข้าไป ผมแนะนำอย่าบันทึกต่อหน้าเขา อย่าบันทึกเสียงด้วย ใช้วิธีจำแล้วบันทึกให้เร็วที่สุด หรืออาจจะขออนุญาตเขาโน้ตประเด็นสำคัญไว้ (เป็นครั้งคราว) ก็ได้ แล้วนำมาเขียนไว้ว่าเขาบอกอะไรเราบ้าง (แบบเล่าเรื่อง)
     แต่อย่าได้ลืมจรรยาบรรณนักวิจัยที่ต้องบอกความจริงเขานะครับ ว่าต้องการจะศึกษาเรื่องนี้ เพื่อจะได้นำองค์ความรู้มาพัฒนาระบบฯ และจะไม่เปิดเผยชื่อเขาต่อบุคคลที่ 3 เวลาบอกเขาก็อาศัยจังหวะจะโคนดี ๆ (ขอให้เป็นแบบธรรมชาติที่สุด)
     การสร้างความคุ้นเคย ความเป็นกันเองก็สำคัญ จะทำให้เราได้ข้อมูลความจริงมาก การพูดคุยให้เขาเห็นว่าข้อมูลที่เขาจะบอกเราเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อสังคมอย่างไร จะทำให้เขาภูมิใจ และเห็นคุณค่าตนเองสูงขึ้น ก็สำคัญ อันนี้ก็ต้องระวังนิดหนึ่ง คือการที่เขาจะใส่ความคิดเห็น หรือให้ข้อมูลที่เกินจริง (โดยเราไม่รู้) จึงต้องมีการตรวจสอบสามเส้าเสมอ เอาข้อมูลมาก่อนแล้ววันหลังจะมาว่าถึงวิธีการตรวจสอบสามเส้ากันอีกที
      ตัวอย่างที่ผมได้จากเพื่อนที่สตูล นั่นก็เป็นวิธีหนึ่ง ทั้งหมดเป็นสิ่งที่เขาบอกผม แม้ว่าบางเรื่องเหมือนจะยังไม่ครบ เช่นวิธีการเก็บ/บริจาค “ซากาต” ทำอย่างไร อันนี้ผมยังไม่ได้คำตอบจากเขา แต่เขาบอกว่าจะส่งเมล์มาให้อีกที เห็นเป็นตัวอย่างนะครับวีธีการเก็บข้อมูล สิ่งใดที่เขาบอกไม่ได้ก็ไม่ต้องไปเร่งรัดในตอนนั้น
     สุดท้ายอย่ากลัวที่จะทำ ลงมือทำเลย ถ้ายังไม่มั่นใจให้ไปอ่าน ความกลัว นะครับ ตั้งใจมาก...
ขอบคุณค่ะสำหรับคำชี้แนะ

เอามาฝากไว้ หากจะค้นเพิ่มเติมเชิญค้นได้จาก จาก : นิตยสารมุสลิมออนไลน์ http://www.thaiislamic.com/articlesshow.asp?kind=10&ID=%20102003

     1 ในหลักปฏิบัติ 5 ประการ ที่เป็นการยืนยันความศรัทธาด้วยการปฏิบัติ คือ การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน
          การถือศีลอดในอิสลาม คือ การงดเว้นจากการกิน การดื่ม การเสพสิ่งต่าง ๆ การมีความสัมพันธ์ทางเพศฉันสามีภรรยา ตลอดจนการอดกลั้นอารมณ์ใฝ่ต่ำทั้งหลายและการนินทาว่าร้ายผู้อื่นตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตก
          การถือศีลอดเป็นหลักปฏิบัติอีกประการหนึ่ง ซึ่งอิสลามกำหนดให้มุสลิมทุกคนที่ศรัทธาในอัลลอฮ.และมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งชายหญิงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติเป็นเวลา 29 – 30 วัน ในเดือนรอมฎอนซึ่งเป็นเดือนที่เก้าตามปฏิทินอิสลาม
          การถือศีลอดมิได้เพิ่งจะเริ่มมีในสมัยของศาสดามุฮัมมัด แต่มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยของท่านเสียอีก แม้แต่ศาสดามูซา (โมเสส) และศาสดาอีซา (เยซู) ก็เคยถือศีลอดด้วยเช่นกัน คัมภีร์กุรอานได้กล่าวยืนยันถึงเรื่องนี้พร้อมกับบอกวัตถุประสงค์ของการถือศีลอดให้เราทราบว่า :-
           “บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศีลอดได้ถูกกำหนดแก่สูเจ้าเช่นเดียวกับที่เคยถูกกำหนดแก่บรรดาก่อนหน้าสูเจ้า ทั้งนี้เพื่อที่สูเจ้าจะได้ยำเกรงพระเจ้า”
          ที่การถือศีลอดมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกมุสลิมให้เกิดความยำเกรงพระเจ้าก็เพราะในเวลาปกติ อัลลอฮ.ทรงอนุมัติให้มุสลิมกินและดื่มได้อย่างเสรี แต่เมื่อถึงเดือนรอมฎอน เมื่ออัลลอฮ.ทรงมีบัญชาให้ละเว้นจากการกินดื่ม มุสลิมก็ละเว้นทันที นี่เป็นบทเรียนที่สอนมุสลิมให้ยำเกรงเละเชื่อฟังอัลลอฮ.
การถือศีลอดยังเป็นการฝึกให้ผู้ถือศีลอดซื่อสัตย์ต่อตัวเองและพระเจ้า กล่าวคือ ขณะที่ถือศีลอดเขาอาจจะแอบกินอาหารและดื่มน้ำในระหว่างการถือศีลอดก็ได้โดยที่ไม่มีใครรู้ แต่ด้วยความเชื่อในพระเจ้าว่าพระองค์ทรงเห็นและทรงรู้การกระทำของเขาทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ดังนั้น เขาก็จะไม่ทำในสิ่งที่ขัดต่อความสำนึกของตัวเอง นอกจากนั้นแล้ว การถือศีลอดยังเป็นการแสดงออกถึงความเสมอภาคกันในบรรดาผู้ศรัทธาด้วย เพราะในเดือนถือศีลอด มุสลิมผู้ศรัทธาไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใดต่างต้องงดจากการกินดื่มเหมือนกันหมด
          ความจริงแล้ว ในระหว่างการถือศีลอดนั้น การอดอาหารและน้ำเป็นเพียงมาตรการที่จะช่วยย้ำเตือนจิตสำนึกของผู้ถือศีลอดให้ระลึกถึงพระเจ้า และลดความต้องการทางอารมณ์ให้ต่ำลง ดังนั้น ถ้าผู้ใดถือศีลอดแล้วยังคล้อยตามอารมณ์ใฝ่ต่ำทำความชั่วอยู่ สิ่งที่เขาผู้นั้นจะได้รับจากการถือศีลอดก็คือความหิวกระหายธรรมดาตลอดทั้งวัน ซึ่งไม่มีผลต่อการฝึกฝนหรือการขัดเกลาทางด้านจิตวิญญาณของเขาแต่ประการใด
          สำหรับคนชราที่ร่างกายอ่อนแอ ผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่าการถือศีลอดจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย กรรมกรที่ทำงานหนักในเหมืองแร่ หญิงมีครรภ์แก่ก็ได้รับการยกเว้นเช่นกัน และมิต้องชดใช้ แต่มีเงื่อนไขว่า ผู้ที่ได้รับการยกเว้นจะต้องบริจาคอาหารที่ตัวเองกินเป็นประจำหนึ่งมื้อให้แก่ผู้ยากจนเป็นการทดแทนในแต่ละวันที่มิได้ถือศีลอด ในระหว่างการถือศีลอด มุสลิมสามารถกลืนน้ำลายได้ถ้าหากว่าน้ำลายนั้นสะอาดและไม่มีเศษอาหารติดอยู่

   เราได้อะไรจากการถือศีลอดเดือนรอมฎอน จาก http://www.thaiislamic.com/pinonlines/news/view.php?newsno=0024382 ยังมีรายละเอียดอีก
1. ได้รับการอภัยโทษ
2. ตอบรับการวิงวอน (ดุอาอฺ) และปลดเปลื้องจากไฟนรก
3. จะอยู่ในหมู่ผู้มีธรรมะและผู้ตายชะฮีด
ดูก่อนหน้าที่ การถือศีลอดในทัศนะทางการแพทย์  http://www.thaiislamic.com/pinonlines/news/view.php?newsno=0024504 4.บทสรุป
จากคำอธิบายย่อๆ ข้างต้น พอที่จะสรุปได้ว่า แท้จริงการถือศีลอดนั้น ไม่ขัดต่อหลักการวิชาการแพทย์แต่อย่างใด เพราะคุณสมบัติบางประการของผู้ที่ถือศีลอดนั้น ต้องเป็นมุอมิน(ผู้ศรัทธา)ที่มีสุขภาพดีและไม่ใช่ผู้ที่มีอุปสรรค ส่วนบุคคลที่มีอุปสรรคจริงๆ จะได้รับการผ่อนผัน หรือยกเว้นจากการถือศีลอดโดยบุคคลกลุ่มหนึ่งจะต้องถือศีลอดใช้ และอีกกลุ่มหนึ่ง ต้องจ่ายฟิดยะฮ (การให้อาหารแก่คนยากจนหรือขัดสน 1 คนต่อการละศีลอด 1 วัน) แทน

 

ทั้งหมดนั้นเป็นเพราะความเมตตาและทรงรอบรู้อัลลอฮ์ เกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมี กลไกการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายมนุษย์นั่นเอง แน่นอนมิใช่ความประสงค์ของอัลลอฮ์ หากว่าอิบาดะฮ (การเคารพภักดี) นั้นจะนำไปสู่ความเสียหาย (ทำให้เกิดโรค) แก่บ่าวของพระองค์

 

นักวิชาการชาวอเมริกันคนหนึ่งชื่อ นายแพทย์ Allan Cott เขาได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า “Why Fast ?” (ทำไมต้องถือศีลอด) ซึ่งเป็นผลจากการวิจัยของเขาจากหลายๆประเทศ เขาได้สรุปถึงเคล็ดลับของการถือศีลอดไว้ 10 ข้อ ดังนี้

 

1.ทำให้รู้สึกว่าสุขภาพกายและจิตใจที่ดีขึ้น
2.ทำให้มองเห็นและรู้สึกอ่อนเยาว์ขึ้น
3.ทำให้ร่างกายสะอาดสะอ้าน
4.ช่วยลดความดันโลหิตสูงและระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
5.ช่วยลดความรู้สึกอารมณ์ใคร่
6.ให้โอกาสแก่ร่างกายได้มันบำบัดตัวมันเอง
7.ช่วยลดความตึงเครียด
8.ทำให้สติปัญญาเฉียบแหลม
9.ทำให้สามารถควบคุมตนเองได้
10.ช่วยชะลอความชรา / แก่
ขอบคุณมากค่ะ  สำหรับแหล่งข้อมูล

     คุณลูกหมูอ้วน วันที่ 9 ยังเหมือนเดิมนะครับ ส่วนวันนี้ผมเตรียมเขียนเรื่องที่ได้เชื่อมต่อกับท้องถิ่น (เทศบาล) ที่ปากพะยูน รออ่านนะครับ

     น่าจะได้เขียนเล่าให้ฟังบ้างนะครับว่า ไปถึงไหนบ้างแล้ว จะรออ่านครับ

            วันที่ 9 ช่วงบ่ายยังเหมือนเดิม  พบกับทีมงานวิจัยลูกข่าย  5 คน พยาบาล 2  นักวิชาการสาธารณสุข(จนท.สอ.) 1 แกนนำผู้สูงอายุ 1 ตัวแทนองค์กรท้องถิ่น 1 คน  เป็นครั้งแรกที่เราเดินเครื่อง  ดิฉันก็นึกภาพไม่ถูกเหมือนกันว่าภาพที่ออกมาวันนั้นเป็นอย่างไรเพราะ 2-3 ปี แล้วที่ชมรมผู้สูงอายุไม่เคยพบกันกลุ่มใหญ่   ครั้งนี้พวกเขาจะมากันครบหรือไม่พูดได้คำเดียวว่าโปรดติดตามตอนต่อไปพร้อมๆกันละค่ะ   ทั้งทีมงานและผู้สังเกตุการณ์  งานนี้มีลุ้น.. แต่ขอบอก  พวกเราสู้ตายค่ะ...ความตั้งใจเกิน 100  ทุกคน ต้องขอบคุณทีมงานไตรพาคีที่ได้จุดประกายเส้นทางการทำงานครั้งนี้  

            ส่วนอีกเรื่องกำลังเดินเครื่องเก็บข้อมูลอยู่   เก็บไปหมดเพื่อนพยาบาลที่อยู่แผนก ER และ  OPD ก็ช่วยเก็บด้วย ส่วนดิฉันเดินเครื่องเก็บภาคพื้นดิน(ในชุมชน) ไม่แน่ใจนะค่ะ    แต่เก็บหมดละค่ะ     ตอนนี้พวกเรา(ดิฉัน+กะ(พี่คล)เดินหน้าลุยทั้งงานหลวงคือภาระงานตามหน้าที่ ที่มากพอสมควร บวกงานราษฏร์ คือ พาตัวเองไปให้ชาวบ้านรู้จักและอาสารับใช้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ   ทั้งร้อนเหนื่อยและสนุก แต่ขอบอกสนุกมากกว่าเหนื่อย 
            ปล. เพื่อนๆที่ช่วยเก็บข้อมูลพอพูดถึงงานวิจัยทุกคนจะมีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องใหญ่    เป็นงานหนัก   ยาก  ทำไม่ได้  ทั้งๆ  ที่ปกติก็พูด(มากอยู่แล้ว)  แต่พอบอกว่าข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย   กลับมีความรู้สึกว่า ยากไปเสียได้  พูดไม่เป็น พูดไม่ถูก  ดิฉันต้องให้ความมั่นใจและปรับความรู้สึกว่างานวิจัยไม่ยากอย่างที่คิด    ดิฉันempower ได้แค่บางคนที่จำเป็นต้องขอความร่วมมือในการเก็บข้อมูล(  empower เฉพาะผู้นำตามธรรมชาติเท่านั้น..ขอขยายความเล็กน้อยผู้นำตามธรรมชาติ ในความหมายของดิฉันหมายถึงพยาบาลและคนงานจำนวน3-4 คนในรพ. ที่เป็นศูนย์รวมของสมาชิกพยาบาล และพยาบาลระดับปฏิบัติให้การยอมรับพร้อมที่จะทำตาม(ในทางที่ดี) และให้ความร่วมมือผู้นำตามธรรมชาติ เหล่านี้ล้วนไม่ใช่หัวหน้างานนะคะ..)

เรียน คุณลูกหมูอ้วน

     หลังเลิกประชุมแกนนำผู้สูงอายุแล้ว ขอนัดทีมงานทุกคน พร้อมทั้งแกนนำผู้สูงอายุสัก 2-3 คน ต่อเลยนะครับ ใช้เวลาประมาณ 1 ชม. เพื่อพูดคุยกัน และจะได้พบกับ (เรียนรู้แบบทำจริง) ของการถอดบทเรียนด้วยครับ

            อยากให้เพื่อนๆได้อบรมเรื่องวิจัยบ้าง  อยากให้ทีมไตรพาคีช่วยหาทางออกให้บ้าง คือ  ปกติพยาบาลไม่ชอบงานวิจัยเป็นทุนเดิมอยู่แล้วและหัวหน้าไม่สนับสนุนอีก (เพราะ มีอบรมที่ไหน หัวหน้าไปเองหมดแต่ไม่เคยมาถ่ายทอด  ผู้ที่ไม่ได้ไปอบรมต้องปฏิบัติ เลยทำให้การพัฒนาคุณภาพไม่ไปถึงไหนสักที)   ยิ่งทำให้พยาบาลไม่กล้า คิดนอกกรอบ    ไม่กล้าคิดสร้างสรรค์   ไม่อยากทำงานวิจัยเพราะการทำงานวิจัยเป็นการแสวงหาคำตอบบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ต้องอาศัยกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ  การออกแบบวิจัยอย่างไรให้สอดคล้องกับลักษณะงานประจำ   บางครั้งสิ่งที่คิดว่าน่ากลัวไม่อยากทำงานวิจัย กลับไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวถ้าเปิดโอกาสให้บุคคลเหล่านี้ได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้  กับผู้รู้หรือผู้ที่มีประสบการณ์ บ้าง
             อยากให้ทีมงานเอื้อให้พยาบาลระดับปฏิบัติได้มีโอกาสไปฟังการประชุมบ้าง แทนหัวหน้าที่ส่งตนเองทุกเรื่อง เพื่อปรับvisonในการพัฒนาตนเองสู่ PM=personnal  mastery  บุคคลเรียนรู้......สู่องค์กรเรียนรู้ ต่อไป

กล้าคิด กล้าทำ กล้าที่จะเสนอ ความคิดเห็นของตัวเองให้ผู้อื่นได้ชื่นชม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท