ข่าวที่สุดเสียใจกับอาจารย์ มช. ที่ต้องไปเสียชีวิตพร้อมภรรยาที่แกรนด์แคนยอน อเมริกา


http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000092909
มช.ไว้อาลัย"ดร.อารัมภ์"ถูกฟ้าผ่าพร้อมภรรยาที่แกรนด์แคนยอน

 อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมจัดบอร์ดและลงนามแสดงความไว้อาลัยต่อการจากไปของ ดร.อารัมภ์ กาวีวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และทันตแพทย์หญิง รัชยา ตันตรานนท์ (ภรรยา) ซึ่งถูกฟ้าผ่าเสียชีวิตที่แกรนด์แคนยอน สหรัฐอเมริกา โดยมหาวิทยาลัยได้ยกย่องคุณความดี และจะนำผลงานทางวิชาการไปสานต่อ
  ผศ.ดร.ณัฐ วรยศ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า จะดูแลประสานงานเรื่องการทำบุญและสิทธิประโยชน์จากมหาวิทยาลัย ส่วนขั้นตอนการนำศพกลับประเทศ ทางญาติเป็นผู้ดำเนินการ ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานกับสถานกงสุลไทยประจำสหรัฐอเมริกา ถึงขั้นตอนการนำศพกลับประเทศไทย หากนำร่างกลับ ต้องผ่านขั้นตอนศุลกากร อาจจะใช้เวลานาน แต่หากเผาแล้วนำกระดูกกลับมาทำบุญ ขั้นตอนก็จะเร็วขึ้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการตัดสินใจของญาติของทั้งสองฝ่าย

ขอให้อาจารย์และภรรยาสู่สุขคติ 

ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัว 

และผู้เกี่ยวข้องกับท่านอาจารย์

รวมไปถึงคนไทยที่ต้องเสียใจกับการจากไป

ในวัยที่กำลังสดใส  ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

---------------------------------------------------------------------------


คำสำคัญ (Tags): #ภัยจากฟ้าผ่า
หมายเลขบันทึก: 543979เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2013 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กรกฎาคม 2013 12:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอแสดงความเสียใจด้วยเป็นอย่างยิ่งนะคะ กับความสูญเสียของครอบครัวและญาติของผู้วายชนม์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และประเทศไทย

ขอให้ทุกท่่าน ลูกหลานญาติพี่น้องปลอดภัยจากอันตรายจากฟ้า

จาก http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/16/contents/p17.html

การป้องกันการโดนฟ้าผ่า

  เพื่อความปลอดภัยจากฟ้าผ่า ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง เช่น ทุ่งนา สนามกอล์ฟ สระน้ำ เป็นต้น แต่ หากเลี่ยงไม่ได้...ปฏิบัติดังนี้

กรณีอยู่ที่โล่งแจ้ง

  • อย่าอยู่รวมกลุ่ม
  • อย่าอยู่ใต้ต้นไม้ โดยเฉพาะต้นไม้ใหญ่ หากมีต้นไม้รวมเป็นกลุ่มให้เลือกต้นเตี้ยๆ
  • อย่าอยู่ที่สูง หรือชูของสูง เช่น ร่ม เบ็ดตกปลา ถุงกอล์ฟ
  • ถอดวัตถุที่เป็นโลหะออกจากร่างกาย
  • อย่าอยู่ในสระน้ำหรือแหล่งน้ำ
  • อย่าอยู่ในตู้โทรศัพท์สาธารณะ
  • หลีกเลี่ยงวัตถุที่เป็นโลหะ

    ที่สำคัญอย่านอนราบ แต่ให้นั่งยองๆ เท้าชิด มือปิดหู เขย่งปลายเท้า ซึ่งเป็น ท่านั่งลด อันตรายจากฟ้าผ่า ลดความเสี่ยงกรณีกระแสจากฟ้าผ่าไหลมาตามพื้น

กรณีอยู่ในรถ

  • อย่าสัมผัสส่วนที่เป็นโลหะ โดยนั่งกอดอกหรือวางมือบนตัก
  • ปิดหน้าต่างทุกบาน
  • อย่าจอดใต้ต้นไม้ใหญ่
  • อย่าใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออุปกรณ์แฮนด์ฟรี

กรณีอยู่ในอาคาร

  • ปิดประตูหน้าต่าและเข้าไปอยู่ในห้องชั้นใน ซึ่งปลอดภัยกว่าห้องที่มีทางออกภายนอก
  • หลีกเลี่ยงจุดที่ไฟสามารถวิ่งเข้าถึงได้ผ่านสายไฟ สายอากาศ สายโทรศัพท์ และท่อน้ำ
  • ถอดสายไฟ สายอากาศ สายโทรศัพท์ สายโมเด็ม ก่อนเกิดฝนฟ้าคะนอง
  • อย่าใช้โทรศัพท์แบบมีสายในอาคาร เนื่องจากกระแสไฟฟ้าจากฟ้าผ่าจะวิ่งผ่านอุปกรณ์ ด้านนอกอาคารที่ต่อกับสายโทรศัพท์ แล้วเข้ามาทำอันตรายผู้ใช้โทรศัพท์ได้โดยตรง

สัญญาณเตือนฟ้าผ่า

  • สัญญาณจากร่างกาย เมื่อรู้สึกขนลุก หรือเส้นผมตั้งขึ้น แสดงว่ากำลังเสี่ยงถูกฟ้าผ่า เนื่องจากขนและเส้นผมถูกเหนี่ยวนำอย่างแรง
  • สัญญาณ 30/30 โดยเลข 30 แรก หมายถึง หากเห็นสายฟ้าแลบ แล้วตามด้วยเสียงฟ้าร้องในเวลาไม่เกิน 30 วินาที แสดงว่าเมฆฝนฟ้าคะนองอยู่ใกล้มาก พอที่ฟ้าผ่าจะทำอันตรายเราได้ ดังนั้นให้หาที่หลบที่ปลอดภัยทันที ส่วนเลข 30 หลัง หมายถึง หลังฝนหยุดตก และไม่มีเสียงฟ้าร้องแล้ว ให้หลบอยู่ในที่ปลอดภัยอย่างน้อย 30 นาที ทั้งนี้แม้ช่วงท้ายของฝนฟ้าคะนอง และอยู่ห่างในระยะ 30 กิโลเมตรแล้วก็อาจเกิดฟ้าผ่าได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท