Classical Conditioning (Pavlov's Theory)


สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน จุดประสงค์ของสมุดเล่มนี้ (พื้นฐานจิตวิทยาการเรียนรู้) จัดทำขึ้น เพื่อสรุปทฤษฎีเกี่ยวกับจิตวิทยาการเรียนรู้ให้เข้าใจได้ง่ายๆ เพื่อให้เพื่อนๆที่เรียนหลักสูตร ค.ม. วิชาชีพครู ที่ไม่เคยเรียนทฤษฎีทางจิตวิทยาการเรียนรู้มาก่อน ได้มีความรู้หรือแนวความคิดเบื้องต้น อันจะนำไปใช้ประกอบการทำวิจัยในชั้นเรียนต่อไปได้ ทั้งนี้ เนื้อหาที่นำมาลงจะเป็นการจด Lecture ของผมในสมัยที่ยังเรียนวิชา พื้นฐานจิตวิทยาการเรียนรู้ (Fundamental Psychology of Learning) กับ รศ.ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต ซึ่งหากมีข้อผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยล่วงหน้ามา ณ ที่นี้

สำหรับเรื่องที่สองที่ผมจะนำมาลงก็คือเรื่อง ทฤษฎีของ Pavlov (Classical Conditioning) ซึ่งมีสาระดังต่อไปนี้

ก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดของทฤษฎีนี้ ต้องขอเกริ่นก่อนว่า ทฤษฎีของ Pavlov เป็นทฤษฎีในกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ซึ่งจะเน้นปัจจัยที่มาจากภายนอก (สภาพแวดล้อม) ที่มีผลต่อพฤติกรรมมนุษย์เท่านั้น ซึ่งทฤษฎีของ Pavlov จะเน้นสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม และจะสนใจศึกษา Reflex Behavior เช่น ใจเต้น หน้าแดง เวลาคนชม

Classical Conditioning

Ø สนใจเฉพาะ Reflexes Behavior เป็น Type S-Conditioning

Ø ทฤษฎีพัฒนาโดย Ivan P. Pavlov (1849-1936) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย และได้รางวัลโนเบลในปี ค.ศ.1904 งานของ Pavlov พิมพ์ก่อน Watson ผู้เป็นบิดาแห่งพฤติกรรม 1 ปี แต่เนื่องจากเป็นภาษารัสเซีย งานของเขาจึงไม่แพร่หลายเท่ากับงานของ Watson ซึ่งตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ

ØPavlovian Conditioning เดิมเรียก Psychical Reflexes ซึ่งมาจากการที่ Pavlov เห็นสุนัขน้ำลายไหลในเวลาที่ไม่ควรไหล ซึ่งเป็นเพราะปฏิกิริยาสะท้อนแบบทางจิต แต่ต่อมา Pavlov สงสัยว่าสุนัขน้ำลายไหลเพราะได้ยินเสียงเดินของเขา เขาจึงทดลองโดยใช้เสียงกระดิ่ง จึงเรียกว่า Conditioned Reflexes แทน เพราะ Pavlov เชื่อว่าเกิดจากการถูกวางเงื่อนไขมากกว่าสภาวะทางจิต

ØElicited คือ สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดขึ้น

Ø UCS (Unconditioned Stimulus) เช่น อาหาร

ØUCR (Unconditioned Response) เช่น น้ำลายไหล

ØNeutral Stimulus คือ สิ่งเร้าที่เป็นกลาง ไม่มี Respond คือเป็นสิ่งเร้าที่ไม่คุ้นเคยหรือไม่เคยเจอมาก่อน ในการทดลองของ Pavlov คือ เสียงกระดิ่ง

Ø CS (Conditioned Stimulus) เช่น เสียงกระดิ่ง

ØCR (Conditioned Response) เช่น น้ำลายไหล

สรุป Conditioned Learning

UCS   ->   UCR

CS + UCS   ->   UCR + CR

CS   ->   CR

อาจเรียก CS ได้ว่าป็น ตัวเสริมแรง

หมายเหตุ! CS ต้องมาก่อน UCS จึงจะได้ผลดี

Ø การทดลองของ Watson

เสียงดัง (UCS) ->   เด็กกลัว (UCR)

หนูขาว (CS) + เสียงดัง (UCS) ->   เด็กกลัว (UCR + CR)

หนูขาว (CS)   ->   เด็กกลัว (CR)

ต่อมา Watson ได้วิจัย Sexual Responses โดยทดลองกับเลขาตัวเอง

ปรากฏการณ์พื้นฐานของการวางเงื่อนไขของ Pavlov

Ø Contiguity

  เป็นการเสนอ CS พร้อมกับ UCS ในเวลาเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้ช้า เพราะสนใจ UCS มากกว่า เช่น การอบรมเด็กพร้อมกับตี เด็กจะไม่ได้ฟังที่เราอบรม เพราะเด็กสนใจการตีมากกว่า

Ø Delay Conditioning

  เป็นการเสนอ CS ก่อน แล้วค่อยเสนอ UCS โดยการจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดคือเสนอให้ห่างกันประมาณ ½ วินาที (สำหรับสัตว์) หรือ 1 วินาที (สำหรับคน) เช่น อบรมเด็กว่า ทีหลังอย่าทำ แล้วตีภายใน 1 วินาที (ที-หลัง-อย่า-เพี๊ยะ!)

Ø Trace Conditioning

  เป็นการเสนอ CS แล้วตามด้วย UCS หลังจาก CS จบไปแล้ว ทำให้การเรียนรู้ช้า เช่น อบรมเด็กตอนเช้า แล้วค่อยมาตีเด็กตอนเย็น

Ø Backward Conditioning

  เป็นการเสนอ UCS ก่อน แล้วจึงตามด้วย CS ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ดี เพราะ CS จะไม่สำคัญแล้ว

Ø Compound Conditioning (Overshadowing)

  ถ้าเสนอสิ่งเร้า 2 ตัวพร้อมกัน ตัวที่เข้มกว่าจะไปคลุมสิ่งเร้าอีกตัว ทำให้สิ่งเร้าอีกตัวไม่มีผล เช่น

อาหาร (UCS) ->   น้ำลายไหล (UCR)

เสียงกระดิ่ง (CS1) + ไฟฉาย (CS2) + อาหาร (UCS)->   น้ำลายไหล (UCR + CR)

เสียงกระดิ่ง (CS1) ->  น้ำลายไหล (CR)

ไฟฉาย (CS2) ->   น้ำลายไม่ไหล เพราะสนใจเสียงกระดิ่งไปแล้ว

Ø Inhibition

  เป็นกระบวนการระงับยับยั้ง สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาการกลัวของคนได้ ถ้ารู้ว่าสิ่งไหนคือ CS สิ่งไหนคือ UCS

1) Extinction

  เป็นการกำจัด UCS เพื่อไม่ให้เกิด UCR และ CR เช่น กลัวน้ำ

จมน้ำ (UCS) -> กลัว (UCR)

 น้ำ (CS) + จมน้ำ (UCS) -> กลัว (UCR + CR)

ดังนั้น ถ้าไม่จมน้ำก็จะไม่กลัวน้ำอีกต่อไป ก็ให้จับโยนน้ำเลยโดยไม่ให้จม แล้วคนๆนั้นจะหายกลัวน้ำ

สรุป กลัวสิ่งไหน ให้เผชิญกับสิ่งนั้น แต่ต้องห้ามไม่ให้เกิด UCS

หมายเหตุ! Concept นี้ ใช้ไม่ได้กับความกลัวที่เกิดจากจินตนาการ เช่น การกลัวผี

  2) Spontaneous Recovery

  เป็นการกลับคืนสู่สภาพเดิม เช่น เมื่อเลิกกับแฟนเก่า แล้วมีแฟนใหม่ ห้ามกลับไปยุ่งกับแฟนเก่า เนื่องจากความรู้สึกเก่าๆมันจะกลับมา

  3) Conditioned Inhibition

  เป็นการวางเงื่อนไขยับยั้ง เช่น

  สงคราม (CS) + ความตาย (UCS)   ->   กลัว (UCR + CR)

สงคราม (CS) ->  กลัว (CR)

สงคราม (CS1) + พระ (CS2) + ความตาย (UCS) ->   กลัว (UCR + CR)

สงคราม + พระ ->   ไม่กลัว

พอมีพระแล้วก็จะเชื่อว่าไม่ตาย ทำให้ไม่กลัวเวลาไปออกรบ ดังนั้น เวลามีสงคราม ทหารก็จะห้อยพระไปรบ เพื่อที่จะได้มีขวัญกำลังใจ ทำให้ไม่กลัว

4) Higher Order Conditioning

  เป็นการวางเงื่อนไขระดับสูง เรียนรู้ผ่านมาหลายขั้นตอน ซึ่งอาจทำให้ไม่รู้ว่าทำไมคนเราจึงกลัวสิ่งที่ไม่ควรกลัว (เช่น ที่แคบ) เพราะผ่านมาหลายขั้นตอน เช่น

เสียงกระดิ่ง (CS1) + อาหาร (UCS) -> น้ำลายไหล (UCR + CR)

 เสียงกระดิ่ง (CS1)  -> น้ำลายไหล (CR1)

แสงไฟ (CS2) + เสียงกระดิ่ง (CS1)  -> น้ำลายไหล (CR1 + CR2)

    แสงไฟ (CS2-> น้ำลายไหล (CR2)

  ลูบตัว (CS3) + แสงไฟ (CS2)  -> น้ำลายไหล (CR2 + CR3)

    ลูบตัว (CS3-> น้ำลายไหล (CR3)

  5) Stimulus Generalization

  เป็นการแผ่ขยายสิ่งเร้า เช่น จากการทดลองของ Watson ที่ทดลองกับ Albert อายุ 11 เดือน พบว่า หลังจากที่ Albert กลัวหนูขาว พอเห็นอะไรขาวๆขนปุยๆก็กลัวไปหมด

  6) Discrimination

  เป็นการแยกแยะความแตกต่าง เช่น ถ้าเด็กเล่นงูยางแล้วไปเจองูจริงอาจจะแยกแยะไม่ได้ ต้องสอนให้รู้จัก Discrimination

Pavlivian Conditioning of Humans Reflex Behavior

(การใช้การวางเงื่อนไขแบบของ Pavlov กับพฤติกรรม Reflex ของมนุษย์)

ØJ.B. Watson (1878-1958) Father of Behaviorism เชื่อว่า Neurotic Behaviors มาจากการเรียนรู้ การศึกษาวิจัยที่ดังๆคือ การวิจัย Sexual Responses กับ Rayner เลขาของตัวเองในปี ค.ศ. 1920 ทำให้โดนถอดจากสมาคมจิตวิทยา และกลายเป็นเจ้าของบริษัท P&G แต่ภายหลังสมาคมพบว่า งานชิ้นนี้สำคัญมาก จึงคืนตำแหน่งให้ นอกจากนี้ ยังมีการวิจัยที่ศึกษากับ Albert อายุ 11 เดือน งานของ Watson จะ Deal กับ Conditioned Emotional Reactions และเชื่อว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นปัจจุบันมีผลต่อการเรียนรู้ คือสนใจปัจจุบันนั่นเอง

ØEdwin Guthrie (1886-1959) : Contiguity Theory (Associationism) กล่าวว่า Stimulus กับ Response เชื่อมโยงกันแค่ครั้งเดียว (One trial) ก็เรียนรู้ทันที

ØClark Hull (1884-1952) : Logical Behaviorism กล่าวว่านอกจาก Stimulus กับ Response แล้ว ยังมี Intervening Variables คือ Object หรือลักษณะของบุคคล (Organismic characteristics) ด้วย เช่น คน 2 คน มีสิ่งเร้าเหมือนกัน ทำไมตอบสนองต่างกัน นอกจากนี้ยังเสนอว่า Object ประกอบไปด้วย

1)  Habit Strength (Response) คือ ขึ้นอยู่กับนิสัยของแต่ละคนที่ทำมาแต่อดีต

2)  Drive คือ Need ของแต่ละคนต่างกัน เป็นตัวกระตุ้นให้กระทำพฤติกรรม

3)  Inhibitory Factors (Fatigue) คือ ตัวที่ทำให้เราระงับพฤติกรรมนั้น เช่น ความเหนื่อยล้า

ØEdward L. Thorndike (1874-1949) : Instrumental Conditioning เป็น Father of Educational Psychology เสนอทฤษฎี Trial-and-Error ซึ่งทดลองโดยเอาแมวอดอาหาร 24 ชั่วโมง ไปขังในกรง แล้ววางอาหารไว้นอกกรง ถ้าแมวโดนสายที่ห้อยมาสายหนึ่ง ประตูก็จะเปิด จากนั้นจะให้แมวกินนิดเดียวแล้วจับแมวเข้ากรงใหม่ วนไปเรื่อยๆสัก 2-3 ครั้ง แมวก็จะรู้ว่าสายเส้นไหนทำให้ประตูเปิด

Thorndike’s Law

1)  Law of Effect

1.1.  Satisfaction ถ้าทำพฤติกรรมแล้วได้สิ่งที่พึงพอใจก็จะทำซ้ำอีก

1.2.  Discomfort ถ้าทำพฤติกรรมแล้วได้สิ่งที่ไม่พึงพอใจก็จะไม่ทำอีก

หมายเหตุ! กฎข้อนี้ถูกโจมตี เช่น ถ้าผู้หญิงแต่งงานแล้วพอใจทำไมจึงไม่แต่งอีก คือบางอย่างพอใจแต่ไม่อยากทำซ้ำ กฎนี้จึงถูกแทนที่ด้วย Theory of Reinforcement (ของ Skinner)

2)  Law of Exercise

ถ้าทำซ้ำๆก็จะทำได้ดีขึ้น แต่กฎข้อนี้ถูกโจมตีว่า ทำดีขึ้นไม่ใช่การเรียนรู้ใหม่ เพราะแค้ทำให้เกิดความชำนาญ แต่พฤติกรรมไม่ได้เปลี่ยนไป

3)  Law of Readiness

ถ้ากายใจพร้อมก็จะเรียนรู้ได้ดีขึ้น แต่กฎข้อนี้ถูกโจมตีว่า เป็นแค่ตัวกระตุ้นให้เรียนรู้ ไม่ได้ทำให้เกิดการเรียนรู้

4)  Law of Used and Disused

ถ้าใช้สิ่งใดสิ่งนั้นก็จะเจริญ ถ้าไม่ใช้สิ่งนั้นก็จะหายไป กฎข้อนี้ได้รับการยอมรับมากที่สุด เช่น พบว่าลิงที่แขนขวาหัก เมื่อได้ใช้แต่แขนขวา จะมีอัตราการฟื้นฟูสูงกว่าลิงที่ใช้แขนซ้ายช่วย

คำสำคัญ (Tags): #Classical Conditioning#pavlov
หมายเลขบันทึก: 543925เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2013 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2013 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท