กรณีศึกษาห้องเรียนปริญญาเอกของผม.. การผนึกพลังการเรียนรู้ 3 สถาบัน หัวข้อ ทุนแห่งความสุข เพื่อชีวิตที่สมดุล


สวัสดีครับชาว Blog และลุกศิษย์ที่รักทุกคน

ห้องเรียนปริญญาเอกของผมวันนี้เรารวมพลังกัน 3 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และลูกศิษย์ปริญญาเอกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งวันนี้เราจะเรียนเรื่อง ทุนแห่งความสุข - เพื่อชีวิตที่สมดุล การบูรณาการความรู้ร่วมกันแบบ Value Diversity ครั้งนี้ ทำให้นักศึกษาตื่นตัว และสนุกกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน..ไม่สงวนลิขสิทธิ์ครับหากท่านใดจะนำไอเดียนี้ไปปรับใช้ เพราะการเรียนรู้ยุคปัจจุบัน สิ่งที่สำคัญ คือ "Learning How to Learn"

........................................................................................................................

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้ของพวกเราครับ
























........................................................................................................................

การผนึกพลังการเรียนรู้ 3 สถาบัน หัวข้อ ทุนแห่งความสุข เพื่อชีวิตที่สมดุล

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

- Behavioral Model ของมนุษย์ - ทำงานมีความสุขหรือความรวย

- Choice คือ Human Capital คือ Individual Choice

- เรื่องทุนแห่งความสุขวันนี้เป็นข้อดีสำหรับนักศึกษาปริญญาเอกจากลาดกระบังฯ วันนี้ เพราะส่วนใหญ่เป็นผู้นำในวงการการศึกษา หากผู้นำทางการศึกษาไม่สามารถสร้าง Happiness Capital และ Happy Work Place ได้จะไม่สามารถเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จได้

- นักศึกษาปริญญาเอกของสวนสุนันทาฯ เน้นเรื่องนวัตกรรม ดังนั้น ต้องไปสู่ 3 V ให้ได้  

- วันนี้ทุกคนต้องเน้นการบริหารสมดุลในชีวิต ต้องสามารถ  Change Structure

- สิ่งสำคัญ คือ การมีความรู้และคนต้องการ

- กลุ่มที่เรียน ลาดกระบังฯ มีความหลากหลาย ถ้าได้ปะทะกัน จะได้ Diversity มหาศาล

- การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้เสมอ

มุมมองจากกลุ่มนักศึกษาปริญญาเอก ม.ราชภัฏสวนสุนันทา

- การสร้างความอบอุ่น สร้างสังคมร่วมกัน

- อยากให้ทุกท่านมีความสุขและเต็มที่เป็นเพื่อนกัน

- เปลี่ยนแนวคิด และมุมมองหลายด้าน

- สานสัมพันธ์ต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อไปสู่ความสุขแบบยั่งยืน

- ชอบนวัตกรรมการจัดการเพราะทำได้พัฒนาตนเอง พัฒนาชีวิต

- การเรียนทั้ง 3 กลุ่มอยากให้คละกันจะได้ Integrate

- ทุนเป็นเหมือนสิ่งเป็นก้อนยังไม่ได้ถูกสกัด การเรียนจะทำให้รู้ว่าเราจะจัดการอย่างไร

มุมมองจากกลุ่มนักศึกษาปริญญาเอกลาดกระบัง

- เห็นด้วยที่มีการให้เรียนรวมกัน การปะทะกันทางปัญญานับว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก มองกิจกรรมอันนี้เหมือนเป็นวงกลม แต่ละคนมีคนละวงกลม และเมื่อทุกคนมารวมกันเหมือนได้เรามาสัมผัสกัน และรู้จักกัน อยากให้แต่ละคนเป็นกำลังใจของกันและกัน

- รู้อะไรก็ไม่สู้รู้จักกัน

- เป็นนิมิตหมายที่ดีที่ทุกคนมาร่วมเรียนรู้และแชร์ประสบการณ์

- อาจารย์เป็นเสมือนโค้ชและครูมวยที่ได้ก้าวและช่วยเหลือสังคมต่อไป

- คณะศึกษาศาสตร์ครูสร้างชาติ ศึกษาศาสตร์สร้างครู เราต้องเป็นแม่พิมพ์ที่ดี ตรงจุดนี้สำคัญมาก

- การใช้ 3 V เพื่อเกิดแรงบันดาลใจด้วยตัวเอง

- การศึกษาข้ามศาสตร์ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้แบบ Diversity

- คนมีความสุขสำคัญมาก เราจะทำอย่างไรให้มีความสุข

- การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ท้าทาย ทำไมต้องมากรุงเทพฯ ทำไมต้องมาเรียนลาดกระบัง การ

- การเป็นครูที่ดีคือการสร้างแรงบันดาลใจที่ก้าวไปข้างหน้า

- ธุรกิจที่บ้านทำเกี่ยวกับการศึกษา การเรียนกับอาจารย์จีระ นอกจากเนื้อหาความรู้ยังได้จากการสังเกตไม่เคยเห็นอาจารย์ท่านไหนมีผู้ติดตามได้เยอะ และเป็นผู้ที่มีความรู้มาก

- การให้เกียรติช่วยให้เรียนมีความสุขได้

มุมมองจากกลุ่มปริญญาเอกจุฬาฯ

- การเรียนรู้ในครั้งนี้ เพราะเป็น Fanclub ของอาจารย์ แล้วอาจารย์ได้เป็นที่ปรึกษาให้กับ UNESCO

- ทุนแห่งความสุขเป็นหลักการที่พัฒนาคนให้อยู่เย็นเป็นสุข และสู่ความยั่งยืนได้

ดร.จีระ

- ขอให้เน้นเรื่อง Rhythm & Speed

- Ph.D ยุคใหม่ ไม่ได้แค่เขียนวิทยานิพนธ์ การตั้งโจทย์เพื่อเรียนให้จบ สำคัญเท่ากับโจทย์นั้น Added Value ให้เรา

- บรรยากาศการเขียนวิทยานิพนธ์ ควรแลกเปลี่ยนการเขียน อยากให้ทุกคนเป็นแนวร่วมกัน

- Value ยังไม่ได้เกิดขึ้นโดยทันที

- การกระตือรือร้น มาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

- ชีวิตเราต้องหลากหลาย และต้องต่อยอด ไม่จำเป็นต้องทำงานจำเจ  สร้าง Value Diversity

มุมมองจากอาจารย์มาลัย (จากลาดกระบังฯ)

- ได้ติดตาม ดร.จีระ และคิดว่าตัวเองมีสไตล์การเรียนการสอนที่เหมือนกัน คือ ไม่ชอบความจำเจ เรียนสิ่งใหม่ ๆ บางครั้งรูปลักษณ์อาจแปลกไป ต้องปรับตัวเท่าที่ควร วิธีการเรียนจะเรียนรูปแบบไหนที่จะ Fit กับในอนาคต

- ดีใจที่ ทำให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน

...............................................................................

การบรรยาย ทุนแห่งความสุข เพื่อชีวิตที่สมดุล

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

- โลกเปลี่ยนแปลงมาก และรวดเร็ว

- การจะสู้กับเขาได้ต้องเน้นที่ Human Resource

- การเป็นครูต้องเห็นคุณค่าของการผลิตบุคลากร

- การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงคนต้องใช้เวลา

- เป้าหมายหลักของชีวิตคือความสุข แต่มนุษย์ทำไป ทำมาเห็นแต่ความทุกข์

- จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เรื่อง “ความสุข” - “ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ ฉันมีแต่ความสุขที่ร่วมกันในการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นเท่านั้น..ทำอะไรต้องมีความสุขด้วยเพราะศึกครั้งนี้ยาวนาน”

- จากการสำรวจปี 1997 ของชาวอังกฤษพบว่าคนมีความสุข 52%  แต่ในปี 2005 คนมีความสุขเหลือแค่ 36%

- ทำงานหนักตอนเงินน้อย ทำงานน้อยตอนเงินมาก

- ถ้าระหว่างทำงานไม่มีความสุข Productivity เกิดขึ้นได้อย่างไร

- การมีความสุข ความคิดสร้างสรรค์ออกมามาก

- ในอนาคตถ้าทำงานใช้ชีวิตที่บ้านสมดุลอย่าง Bicycle Theory

- การมีทุนแห่งความสุข สิ่งที่จะต้องเชื่อมโยงทุนแห่งความสุขต้องมีคือ มี Heart Head Execution คล้ายกับ Fact ,Feeling ต้องมี Strategy และ Data ด้วย

- แนวคิดของ ดร.จีระ คือทุนแห่งความสุขเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของ Human Capitalทฤษฎีแห่งความสุขของอาจารย์จีระ เกิดจากค้นหาตนเอง แล้วรู้ว่าต้องมี 2 P คือ 1.Purpose 2. Passion

- ทุนแห่งความสุขคือตัวเราเป็น Choice เราทำเพื่ออะไร แล้ว Happy หรือไม่?

- Happy Workplace จะสร้างให้องค์กรมีความสุข

- Happiness Capital คือการปลูก แล้ว Happy Workplace คือการเก็บเกี่ยว ถ้าเราจะเก็บข้อมูลต้องเก็บคะแนนออกมาว่า Maximum 10 ของการทำงานให้คะแนนความสุขเท่าไหร่แล้วRun Equation

- ถึงแม้ว่าทำให้เขามีความสุข แต่งานน่าเบื่อ เขาอาจไม่มีความสุขก็ได้ เช่น คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย เลือกทำงานเกี่ยวกับการตลาดที่ไม่เกี่ยวข้องกับสุรา และบุหรี่ ฯลฯ  ก็เป็นความสุข

- ถ้าเราอยากได้ 3 V ต้องมีการปลูกและเก็บเกี่ยวพร้อมกัน

- มีทุนแห่งความสุขแต่ไม่มี Happy Workplace ก็เป็น + - ก็ไม่ดี

- อะไรทำให้เรามีความสุขในการทำงาน และมีความสุขแล้วไปสร้าง Productivity ได้จริงหรือเปล่า

- มี Happiness Capital เพราะอะไร เช่น  ต้องการทำงานที่มี Healthy life ต้องมี Purpose ต้องมี Meaning ต้องมีการเรียนรู้

- เอา Happiness Capital ไปวัดกับ 3 V วัดได้โดย Rank 0-10 แล้วเอาไปเป็นค่าเฉลี่ย

- ทฤษฎี 8 H ของคุณหญิงทิพาวดีก็เน้นความสุข

- Tal Ben Shahar ทุนแห่งความสุขเกิดได้หลายอย่าง

  1. เกิดจากการทำงานใช้ศักยภาพตนเองอย่างเต็มที่

  2. งานที่ทำต้องเข้าใจProcess

  3. งานที่ทำต้องมี Impact ต่อคนอื่น

  4. งานที่ทำอย่างมีความสุขต้องถามตัวเองว่าเน้นอะไร

ประโยชน์ 10 ข้อของการมีทุนแห่งความสุข

1. ช่วยทำให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ง่ายและได้ผลสูงสุด

2. ทำให้ตัวเองมี Creativity สูงขึ้น อันนี้ผมเห็นด้วย ผมชอบแนวคิดนี้ ถ้าเราไม่มีความสุขเราก็คิดอะไรไม่ออก แถมยังคิดแง่ลบด้วย

3. ทำให้เราหาทางออกแทนที่จะบ่นว่าปัญหายากจัง

4. มองโลกในแง่ดี (Optimism)

5. มีพลัง (Energy) เพิ่มขึ้น

6. ทำให้กระตุ้น/Motivate and Inspired ได้ง่ายกว่า

7. ไม่ค่อยจะป่วย..เป็นโน่นเป็นนี่บ่อย ๆ

8. สามารถเรียนรู้ได้เร็วและสนุก สร้าง Learning Culture ได้ดีกว่าคนที่ไม่มีความสุข

9. มีความมั่นใจว่าจะกล้าทำอะไรนอกกรอบได้มากขึ้น โดยไม่ต้องกลัวว่าจะมีความผิดพลาด อันนี้จริงเพราะถ้าเรามีความกลัว (Fear) เราก็ไม่สำเร็จ ต้องมั่นใจว่ากล้าทำ

10.ทำให้ตัดสินใจได้ดีและรอบคอบ อันนี้จริง เพราะถ้าคน IQ สูงแต่เครียดมักจะผิดพลาดเรื่องการตัดสินใจ

โจทย์ Workshop (แบ่ง 2 กลุ่ม)

1. จุดแข็งของทุนแห่งความสุขคืออะไร 2 เรื่อง

2. จุดอ่อนของทุนแห่งความสุขคืออะไร 2 เรื่อง

3. หัวข้อวิทยานิพนธ์คืออะไร 2 เรื่องที่อยากทำ

........................................................................................................................

หมายเลขบันทึก: 543757เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2013 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กรกฎาคม 2013 13:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดิฉันเห็นคณะ นศ.ของอาจารย์แล้ว เท่ากับเห็น 'แท่งประสบการณ์' แท่งใหญ่ๆ จำนวนมาก รู้สึกอิจฉาค่ะ อยากเข้าไปนั่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ท่ามกลาง 'แท่งประสบการณ์' เหล่านี้จังเลย

ดิฉันมีประสบการณ์นำวิธีการ คล้ายๆ การบูรณาการความรู้ร่วมกัน (Value Diversity) ของอาจารย์มาใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้คนกลุ่มหนึ่ง สนุกมากค่ะ แรกๆ ก็สงวนท่าที ต่อมาจึงเริ่มพูดคุยแลกเปลี่ยน และ .. ค่อยๆ หายไป  ดิฉันวิเคราะห์ว่าอุปสรรค คือ 'แท่งประสบการณ์' เล็กเหล่านี้มีขนาดเกินไปและไม่หลากหลายค่ะ ใช่ไหมคะอาจารย์.

กลุ่มที่ 1

ทฤษฎีทุนแห่งความสุข

1.      CEO + CSR นำไปสู่การพัฒนาทุนแห่งความสุขที่ยั่งยืน

2.      นำไปสู่ 3 V คือ Value Added, Value Creation ,Value Diversity

จุดอ่อน

1. การประยุกต์ใช้ CEO + CSR ในวงการศึกษายังมีจุดอ่อนอยู่ ไม่สามารถประยุกต์ใช้ได้จริง ๆเราต้องศึกษาในบริบทของแต่ละส่วน

2. ความสุขจะวัดอย่างไร ดังนั้นแต่ละองค์กรต้องมีความสุขตรงกลางของ CEO ,CSR , Stakeholder ทั้งหมด

หัวข้อวิทยานิพนธ์ 2 เรื่อง

1.      รูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างความผาสุขที่ยั่งยืน

2.      กลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

 

ดร.จีระ

-          กลุ่มนี้เน้นการสร้างความสุขไปสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

-          เมืองไทยเน้นที่ KM เยอะ แต่ลืมไปว่า KM เก็บอดีต สรุปคือจริง ๆ แล้ว KM กับ LO ต้องไปด้วยกัน

-          ถ้ามี Happiness ผ่านไปที่วัฒนธรรมการเรียนรู้ เป็นวิทยานิพนธ์ 100 % บางคนอาจผ่านไปที่ทุนจริยธรรมก็ได้

-          K แห่งความสุข ต้องไปผสมกับความยั่งยืน

อ.มาลัย

-  อยากให้เข้าไปดูตัวอย่างบริษัทที่จัดระบบพนักงานที่มีความสุขในระดับโลกคือ SASS เป็นตัวอย่างมีความสุขในการทำงาน

- Climate กับ Environment ช่วยให้คนทำงานแล้วมีความสุข ที่ทำงานมีทุกอย่างที่ทำให้เติมเต็มในชีวิตของเขา

- ช่วงเวลา 8 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น ได้ความสุขที่สุด สามารถทำอะไรก็ได้ แต่ถึงเวลาทำงานจริง ๆ ได้งานเยอะมาก

- สิ่งที่ทำได้คือ แก้ที่ Environment  สร้าง Climate ให้เกิดขึ้นให้ได้ เริ่มจากการมีปฏิสัมพันธ์กัน รู้จักกัน

- เราจะประยุกต์ได้อย่างไรให้กลมกลืนกับทฤษฎี ไม่ต้องอยู่บนพื้นฐานทฤษฎี แต่ให้เป็นธรรมชาติ

คุณพิชญ์ภูรี

-          Happiness เป็นตัวทำให้เกิดทุนต่าง ๆ ไม่ว่าทุนทางปัญญา หรือ ทุนทางจริยธรรม

-          การทำงานที่มีความสุข จะเกิดเป็น Masterpiece

-          ความสุขต้องมองที่ตัวบุคคล ครอบครัว องค์กร ชุมชน ประเทศชาติ โลก หมายถึงเวลาออกแบบควรให้ครอบคลุม ณ ตรงจุดนี้

-          ทฤษฎีสร้างแรงจูงใจ  HRDS สามารถนำมาใช้ปรับความสุขตรงนี้ได้  Human Resources Development Sustain

คือต้องมี Happiness, Respect, Dignity, Sustainability

-          ถ้าให้คนทำงานมี Dignity เกิดขึ้น จะทำให้คนเกิดความภูมิใจ และความสามารถ

ดร.จีระ

-          มี 3 คำ คือ Happiness Capital, Happy at work ,Happy Workplace

-          อาจารย์มาลัยบอกว่าถ้ามี Happy Workplace แล้ว Individual Happiness สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าเรามีความสุข ความพอใจในการทำ ก็จะทำได้สำเร็จ

-          อยากให้ทั้ง 2 ตัวเกี่ยวข้องกัน ไม่ต้องแยกกัน เพราะว่าถ้ามี Happy Workplace ก็สามารถสร้างให้เกิด Happiness Capital ได้ แต่บางครั้ง บางอาชีพไม่สามารถใช้ได้ เช่น ถ้าไม่ชอบเป็นนักวิชาการ แต่ที่ออฟฟิตจัดหนังสือให้ มีสิ่งแวดล้อมในการอ่านที่ดี แต่คนนั้นก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีความสุขเป็นต้น ต้องมี Individual Passion ในการหาความรู้ แล้วนำความรู้นั้นไปต่อ 3 V ให้ได้

 

กลุ่มที่ 2

จุดแข็งของทุนแห่งความสุข

1.ความสุขที่เกิดขึ้นในระดับปัจเจกชน ก็ให้เกิดความสุขในองค์กร ถ้าทุกคนมีความสุข บรรยากาศในความสุขจะเกิดขึ้น  

2. ถ้าระดับปัจเจกชนมีความสุข องค์กรมีความสุข ก็จะทำให้สังคมมีความสุข

 

ดร.จีระ

-          นักเรียนปริญญาเอกในเมืองไทย ถ้ารวมตัวเราได้

-          การเรียนยุคใหม่ถ้าลงทุนไป 1 บาท ได้คืนมา 1.50 บาท นั่นคือ Value Added

-          ทำไมสตาร์บัคส์ ประสบความสำเร็จ เพราะไม่ได้ขายแค่กาแฟ ขายบรรยากาศ

จุดอ่อนของทุนแห่งความสุข

-          เป็นทฤษฎีที่เข้าใจยาก และลึกซึ้งเนื่องจากความสุขของแต่ละคนแตกต่างกัน และระดับแตกต่างกัน

-          การวัดผลเชิงปริมาณยากมาก และการมองทฤษฎีนี้อย่างผิวเผิน จะไม่เข้าใจ ต้องศึกษาให้เข้าใจและลึกซึ้ง การพูดว่าความสุขพูดง่าย แต่เข้าใจความสุขยาก

หัวข้อ

1.      ปัจจัยที่มีอิทธิพลทำให้ทฤษฎี HRDS ส่งผลต่อการพัฒนาทุนแห่งความสุข

2.      ทุนแห่งความสุขที่ส่งผลต่อการพัฒนาองค์กรโดยรวม

ดร.จีระ

-          การวัดทุนแห่งความสุขอาจวัดได้จากการ Ranking 0-10 คนโดยเฉลี่ย 0 ปัจจัยคืออะไร

-          การ Rank แล้วใช้ค่าเฉลี่ยตัดสินทำได้

 

อ.จีรเดช

- จอห์น เลนนอน ตอนเด็กอายุ 5 ขวบ ครูถามว่าอยากเป็นอะไร จอห์น เลนนอนบอกว่า I want to be happy  ปรากฏว่าสอบตก จนกระทั่งตอนหลัง Happy เป็นสิ่งสำคัญ

- ถ้ามี Peace of mind เรื่องการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมไม่ยาก

- ความสุขเป็น Qualitative ไม่สามารถ Define เป็นตัวเลขได้  

- ความสุขแก้ปัญหาโดยเริ่มจากจิตใจก่อน

- ดร.จีระ เอาต่างประเทศมาวิเคราะห์ แล้วปรับกับของอาเซียน

- ทั้ง 2 กลุ่มมองคนละมุม

 

คุณชัยพร

-          ทุนแห่งความสุข อันดับต้นน่าจะเกิดกับตัวเราเองก่อน แล้วทำอย่างไรให้เกิดกับเรา แล้วจุด ๆ ไหนถึงบอกว่าเรามีความสุข

-          ทำแล้วสำเร็จ ใช่ว่าสำเร็จแล้วมีความสุข คนไม่สำเร็จอาจมีความสุขก็ได้ เรียกว่าความสุขตามอัตภาพ

-          ธรรมชาติ คือ ธรรมะ กับเรา ภายในใจ

-          ตัวเราอยู่จุดไหน พอใจไหม คนข้าง ๆ เราก็จะพอใจ

คุณสร้อยสุคนธ์

-          ความคิด 2 กลุ่มดีมาก และน่าจะได้รับการผลิดอกออกผล ผู้นำสำคัญ ถ้าผู้นำยังหาความสุขใส่ตัวเองไม่ได้ ไฉนองค์กรมีความสุขได้

-          ต้องเป็นคนชอบ 1. Change 2. เปลี่ยน Structure 3. Relationship

-          ต้องทำให้คนเป็น Visible Leadership

-          คนเราไม่ได้คิดเรื่องความเสมอภาค แต่เรียกร้องความเท่าเทียม เช่น คนพิการมีความสุขมากที่สถาบันหนึ่งเนื่องจากสถาบันนั้นให้ Dignity ,Respect,ให้ความรู้ – คนพิการรู้ IT Capital สร้าง Human Capital เกิด Happiness Capital

-          Human Capital หรือ Happiness Capital เป็น Individual จริง ๆ

-          คนเรามีความเสมอภาคตรงไหน มีความสุขตรงไหน

-          Dignityกับ Respect สำคัญมาก ได้ Listener  

-          นายสามารถ Change ,Structure จนเกิด Trust ได้อย่างไร กลุ่ม 1 ใช้

-          ใครรับความสุขได้ขององค์กร ต้องมี Committee

-          คุณมีจริยธรรม และคุณธรรมหรือไม่

-          ต้องมี Ethics ,กฎ,วินัย

-          ความสุขของอาจารย์จีระคือ Passion , Purpose

Passion ต้องเป็นฝ่ายให้ก่อนได้รับ

Purpose ต้องมีเป้าหมายชีวิต

-          Individual ได้ Happiness, องค์กรได้ Happiness, Social ได้ Happiness, Global ได้ Happiness

-          อยากให้ทั้ง 3 สถาบัน ช่วยกันทำเป็น 1 เสียงที่รวมพลังจากอาจารย์จีระ มาฟื้นฟู Ethics ใต้จิตสำนึกของเราเป็นความสุขของโลก

อ.มาลัย

-          อยากให้เสริมเรื่องวัฒนธรรม และ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท