ภาวะซึมเศร้าในผู้รับบริการโรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นได้อย่างไร ??


"อาการซึมเศร้าเป็นหนึ่งในผลกระทบด้านอารมณ์ที่พบได้ในโรคหลอดเลือดสมอง พบได้บ่อย และเป็นสภาวะที่รุนแรงทั้งในระยะเฉียบพลัน และเรื้อรัง"

   อาการซึมเศร้ามีอุบัติการณ์สะสมของการเกิดขึ้นถึง ภายใน 5 ปีที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง อาการซึมเศร้าเป็นหนึ่งในผลกระทบด้านอารมณ์ (affect) ที่พบได้ในโรคหลอดเลือดสมอง พบได้บ่อย และเป็นสภาวะที่รุนแรงทั้งในระยะเฉียบพลัน และเรื้อรัง 

 มีอาการหลักคือ นอนไม่หลับ หงุดหงิด เบื่อหน่าย ท้อแท้สิ้นหวัง

  การศึกษาสาเหตุการเกิดภาวะซึมเศร้ายังไม่สามารถทราบเป็นที่แน่ชัด เนื่องจากปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของภาวะซึมเศร้ามีความแตกต่างกันตามลักษณะของบุคคล มีงานวิจัยศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในประเทศไทย ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ อาชีพ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และเพศ โดยพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมในระดับต่ำจะมีภาวะซึมเศร้ามากกว่าผู้ป่วยที่ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมระดับสูง ผู้ป่วยที่มีอาชีพรับราชการหรือธุรกิจส่วนตัวจะมีภาวะซึมเศร้าสูงกว่าผู้ป่วยที่มีอาชีพเกษตรกรรม งานบ้าน ผู้ป่วยที่มีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเองได้น้อย จะมีภาวะซึมเศร้าสูงกว่าผู้ที่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้มาก และผู้ป่วยเพศชายจะมีภาวะซึมเศร้าสูงกว่าเพศหญิง

ผลจากการขาดเลือด และเลือดออกก็อาจจะเป็นผลกระทบโดยตรงอีกสาเหตุหนึ่งของสมองที่ส่งผลถึงการควบคุม และการแสดงออกทางอารมณ์จนเกิดอาการซึมเศร้า หรือผลกระทบทางอารมณ์อื่นๆได้ 


หมายเลขบันทึก: 543365เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2013 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กรกฎาคม 2013 12:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท