เมื่อฉันแอบเรียนรู้(2) เทคนิคห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) จากงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ มอ. 16 พค. 56 โดย ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์


                                                              ค่ำคืนผ่านมาด้วยความสุข

                                                           หลับอุตลุดอากาศดีจนเช้าสาย

                                                               หวั่นก็เพียงวิกฤตจริตวาย

                                                       มาพรากกายน้องแว๊นแสนแก่นเกิน

สวัสดีวันใหม่ที่สดใสทั้งจิตใจ ร่างกาย และสภาพแวดล้อมภูมิอากาศ ที่ชวนให้หวลถึงธรรมชาติในอดีตที่หายไป

นึกขอบคุณน้ำฝนที่โปรยปราย และเมฆที่อึมครึมชวนให้อยู่กับตัวเอง อยู่กับลมหายใจได้นาน และยังส่งผลให้สมอง

ที่ทำท่าจะไม่เอาการเอางานเริ่มรู้ตัวว่ายังมีหน้าที่ที่ต้องทำ ทำให้เขียนบันทึกนี้เพราะ มันคือผลจากการเรียนรู้

จากบทความของอ.ดร.จัน เจ้าของบทความเทคนิคห้องเรียนกลับทาง  มาสู่แนวทางการปฏิบัติสำหรับตนเองและ

เพื่อนๆจิตอาสาผู้ป่วยด้วยกัน เพื่อร่วมกันพัฒนาศักยภาพตนเองและเพื่อนผู้ป่วยโรคเรื้อรังร่วมกัน

เราจะร่วมกันตั้งเป้าหมายในการทำงานด้วยกันอีกครั้งในบ่ายวันที่ 26 เดือนกรกฏาคมนี้

และถ้าจัดระเบียบความคิดพร้อมความยินยอมจากผู้ร่วมงาน ก็จะได้ทดลองนำไปใช้ในวันที่ 30 เดือนเดียวกัน

โดยจะเสนอกระบวนการนำแนวคิดไปใช้จริงในรูปของกิจกรรมที่ชื่อว่า "เมื่อฉันบินได้" 

ลำดับขั้นการดำเนินงานในเวลา 1.30 ชั่วโมง เพื่อนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ยินดีร่วมกิจกรรมไม่เกิน 30 คน

1.เปิดภาพและเสียงนกร้องให้ได้ยินได้เห็น ดูภาพลูกนกหัดบิน ภาพรังนก แม่นกป้อนอาหาร ภาพนกคู่ ภาพฝูงนก

2.เห็นอะไร คิดอะไร รู้สึกอย่างไร

3.เชื่อมโยงสิ่งที่เห็นที่เบิกบานกับความเป็นจริงของกายนี้

4.เชื่อมโยงเหตุแห่งกายนี้กับความรู้ที่มีในตนเองการปฏิบัติตน

5.บอกให้รู้ว่าวันนี้เราจะด้เรียนรู้แนวทางดูแลสุขภาพจากใจตนเอง พร้อมรับความรู้ใหม่ เชื่อมโยงความรู้เก่า

6.แบ่งกลุ่ม โดยหาพวกให้เจอ ทุกคนจะได้รับนกนาๆชนิดติดตัวตั้งแต่ตอนลงทะเบียน 

โดยผู้จัดเตรียมไว้ชนิดละ 10-12 เผื่อมีเกินโควต้า

7.ก่อนหาพวก ต้องแนะนำหรือให้ผู้ป่วยเสนอขึ้นมาเองว่าจะร้องเรียกเพื่อนเข้ากลุ่มด้วยเสียงนกแบบไหนดี ลองฝึกดูทั้งbig Group ถ้าขับเคลื่อนตรงนี้ได้เร็วก็ใช้เวลาไม่เกิน 2 นาที  ทำ Ice Breaking เบาๆเพราะอายุก็มากแล้ว เอาแค่ชูมือ มองซ้าย มองขวา กับคำสั่งให้ทำตรงกันข้ามกับที่ได้ยินเช่น ชูแขนซ้าย การปฏิบัติต้องชูแขนขวา เอาพอหอมปากหอมคอ ให้คลายกังวล บอกให้ลุกก็นั่ง บอกให้นั่งก็ลุก อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมให้ร่างกายก่อนลุกเดินไปหาพวก เพื่อเข้าสู่กิจกรรมตั้งวงสนทนา

8.ตั้งวงกันแล้วก็ให้แต่ลงวงทำวงกลมเป็น 2 วง ให้หันหน้ามาจ๊ะเอ๋กัน ส่งคำถามให้คนหนึ่งคิดแล้วพูด คนหนึ่งฟัง และใคร่ครวญ แล้วสลับกันพูดฟัง โดยเปลี่ยนโจทย์

9.ช่วยกันนำเสนอ พี่เลี้ยงช่วยกันเขียน ถ้าเขียนไม่ถนัด ถ้าเขียนเองได้ก็ให้เขียน กลุ่มใครกลุ่มมัน ส่งตัวแทนมาอ่านสรุป สมองจะได้ตื่นตัว อ่านไม่ถนัดก็ให้ช่วยกันทั้งกลุ่มคงจะน่ารักดี ช่วยกันนำเสนอความคิดของกลุ่มด้วยดีไหม

10.ให้เปลี่ยนกลุ่ม ให้จับคู่ 3 จากนก 3 ชนิด ในแต่ละกลุ่มอย่าให้นกซ้ำกัน  คราวนี้ให้มีนกพูด นกฟังและนกคาบไปเล่า ไปเขียน เสร็จแล้วเอามาลปรร.กัน อย่าลืมเสริมแรงบวกด้วยคำชื่นชม มองหาจุดแข็ง จุดเด่นของแต่ละกลุ่มให้เจอจุดด้อยไม่ต้องพูดถึงเก็บเอามาทำการบ้าน

ส่วนการบ้านเมื่อคืน มาสว่างใสเอาเมื่อเช้าว่า จะวิเคราะห์อย่างไร ถึงจะเข้าถึงความตระหนักในตนเอง ให้รู้ให้เข้าใจว่า ที่เป็นนี่ฉันเป็ฯนะ ดังนั้นจึงต้องมีหน้าทีดูแลตนเองควบคู่ไปกับการรักษาทางการแพทย์ด้วย สุขภาพจะได้ฟื้นไวๆ แข็งแรงเร็วๆ ทีนี้อยากทำอะไร จะไปบุญวัดไหนก็สะดวกโยธิน ไม่เป็นภาระใจให้ครอบครัวลูกหลานห่วงใย

แนวทางการจัดสาระการเรียนรู้ ในกิจกรรมการวิเคราะห์ตนเองกับโรคที่เป็นอยู่ในฐานะเป็นผู้ป่วยเอง และในฐานะเป็นเพื่อนผู้ป่วยโรคเดียวกัน หรือหลายโรคที่ได้ชื่อว่าโรคเรื้อรังประเภทไม่ติดต่อกับใคร เช่นโรคความดัน เบาหวาน หัวใจ ไต และมะเร็ง เพราะทั้ง 5 โรคเรื้อรังนี้ยังคงเกี่ยวข้องกับรสนิยม ความคุ้นเคยหรือนิสัย   และความจำเป็นที่ต้องบริโภค   การออกกำลังกาย และการมีจิตใจที่เบิกบาน อันจะส่งผลโดยตรงต่อการบำบัดและรักษา และความร่วมมือในการรักษาระหว่างผู้ป่วยกับครอบครัว ผู้ป่วยกับแพทย์ พยาบาล และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ

1. วิเคราะห์ความสำคัญของโรคในฐานะที่เป็นอยู่ และหลักการดูแลตนเองเบื้องต้น

2. บอกความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจในขณะดำรงอยู่กับโรค

3. บอกได้ว่าสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวผู้ป่วยเองนั้นเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร มีผลต่อสภาพร่างกาย และจิตใจมากน้อยเพียงไร

4. เก็บสิ่งดีงาม และความรู้สึกไว้เพื่อพัฒนาให้เติบโต และสามารถนำมาใช้เป็นพลังชีวิต

5. เรียนรู้พหุศาสตร์แห่งการมีสุขภาพที่ดี ชีวีสดใส และพร้อมแบ่งปันความรักบนโรคแห่งความทุกข์

6. เล่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ ความคิด และการกระทำที่มีผลต่อการรักษาตนเอง  

7. บอกสิ่งที่อยากทำหลังพบความสุขที่เกิดขึ้นแม้เพียงจุดเล็กๆในใจ เช่นอยากช่วยงานบุญอะไรในโรงพยาบาล ทำไมอยากช่วย ช่วยแล้วคิดไหมว่าจะได้ผลรับอย่างไร ลองๆคิดดูล่วงหน้า 

8. หากัลยาณมิตรพิชิตความท้อแท้ ความหมดหวัง และเติมเต็มพลังใจ พลังที่จะต่อสู้ด้วยตัวเอง

9. บอกได้ไหมว่าเมื่อประเมินความพึงพอใจของตนเองได้ในแต่ละระดับจะแบ่งปันความรู้สึกดีๆที่เกิดขึ้นกับ

เพื่อนผู้ป่วยคนอื่นได้อย่างไร แบบไหน

10. ร่วมกันแชร์ความสามารถของตนเองแล้วนำเสนอแนวทางในการร่วมงานจิตอาสาเพื่อนช่วยเพื่อนต่อไป

และกลับบ้านไปลงมือทำให้สิ่งที่คิด ทดลอง บันทึก นัดหมายโอกาสที่จะนำความรู้อันเกิดจากประสบการณ์ที่เปี่ยมไปด้วยศรัทธาของตนเอง กลับมาแลกเปลี่ยนความรู้กัน ในวันนั้นจะรวบรวมความสวยงามของความรักที่มีให้กัน ในรูปหนังสือหนึ่งเดียวหน้าเดียว เพื่อประโยบชน์ต่อการดูแลสุขภาพของตนเอง

ท้ายที่สุดของการร่วมกิจกรรม ..การให้ผู้ป่วยทุกคนได้รับการเสริมแรงบวก จะเป็นเครื่องยืนยันความดีที่กำลังจะเกิดขึ้นด้วยความศรัทธาในความดีและความรักของเพื่อนมนุษย์ที่พึงมีให้กัน...จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้ตระหนักในคุณค่าของตนเอง ไม่มากก็น้อยมิใช่หรือ ขอบคุณค่ะ


หมายเลขบันทึก: 543077เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2013 12:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กรกฎาคม 2013 13:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ดีจังเลยครับ พี่ วันก่อนไปทำเรื่องนี้กับ ดร.จันทวรรณมาครับ

พี่สบายดีไหมครับ

ไม่ค่อยสบายกายจ้า 

แต่สบายใจ วันนี้ได้อ่านบันทึกหลายบันทึกเลย เจอตัวก็ดีแล้ว

พี่เห็นวีดีโอlใน google แต่เสียดายพี่พยายามคลิ๊กๆๆกว่าจะมานั่งรอหลับไปหลายนาที

อยากฟังน้องๆสนทนากัน ท่าทางสนุกดีจังเลย

เอาไปลงยูทรูปด้วยได้ไหมจะได้ไปเปิดดู 

คิดว่าน่าจะดีกว่า น้องอ.ดร.สบายดีนะคะ

รักและคิดถึงพี่คุณครูต้อยเสมอครับผม ขอให้สบายกายคู่กับสบายใจ ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้...ทำให้ผมได้เรียนรู้ด้วยครับ

เป็นกลยุทธที่ดีมากเลยนะคะ ขอให้ได้เห็นผลเป็นรูปธรรมที่เอามาบอกเล่าต่อได้อีกนะคะ

 ขอบคุณน้องDr. Pop

บันทึกของน้องก็ช่วยให้พี่มีปัญญามากขึ้น ขอบคุณเช่นกันค่ะ

ขอให้มีความสุขมากๆขึ้นนะคะ 

ฝากความระลึกถึงคุณแม่ด้วยนะคะ 

 

 ขอบคุณคะ น้องโอ๋-อโณ

ขอบคุณที่ให้กำลังใจเสมอมา

พลังของความเมตตา กรุณานั้นยิ่งใหญ่จริงๆค่ะ

 

เป็นแนวทางที่ต้องนำไปใช้แน่ๆค่ะ

ตอนนี้กำลังเตรียมสื่อ อุปกรณ์

เหลือเพียงทำความเข้าใจในหลักการ

และตั้งเป้าหมายร่วมกันกับเพื่อนผู้ป่วยเพื่อนจิตอาสาดูแลตนเองว่า

จะตั้งเป้าหมายการดูแลตนเองไว้มากน้อยเพียงไร

สุขภาพที่ดีที่คาดหวังของแต่ละคนจะให้บันทึกไว้

เพื่อประเมินตนเองว่ามีความสำเร็จ

ความพึงพอใจกับการดูแลสุขภาพแนวนี้อย่างไร

และอยากให้คนปฏิบัติช่วยกันออกแบบการประเมินตนเองด้วยตนเองค่ะ 

คิดว่านะจะมีความสุข มีข้อสะกิดให้คอยดูแลสุขภาพตัวเองได้ดีกว่าอีกทั้งจะให้ความรู้สึกอิสระ

ไม่รู้สึกเหมือนถูกบังคับ อิอิ

บุญรักษา มีความสุขมากๆนะคะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท