เมื่อฉันแอบเรียนรู้ เทคนิคห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) จากงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ มอ. 16 พค. 56 โดย ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์


ถอดบทเรียน

ตอน ขออนุญาตถอดบทเรียน เรื่อง เทคนิคการกระตุ้นในเด็กทำงานเป็นทีม ดังมีใจความดังต่อไปนี้

ขั้นตอน​​​​​​​เทคนิค1.  ร่วมกันวิเคราะห์​​​​​  1.  แบ่งหน้าที่ตามตำแหน่งและสับเปลี่ยนตำแหน่ง

ขั้นตอนที่ 1 ฉันเข้าใจว่าเมื่อสมาชิกทุกคนได้ร่วมกันกำหนดตำแหน่ง บทบาท และหน้าที่ของตำแหน่งและ

ทำความความเข้าใจ ยอมรับกันดีแล้ว ย่อมนำมาซึ่งความพอใจ ด้วยสมาชิกย่อมเข้าใจกันดีว่า นี้เป็นวิธีที่

จะช่วยให้พวกเขาเรียนรู้งานจากการปฏิบัติจริงซึ่งสอดคล้องกับการเรียนรู้ตามทฤษฏีของ..ใครดีเอ่ย 

(Learning by doing)

ฉันเคยได้รับการอบรมเรื่องการวิเคราะห์ กล้าบอกได้เลยว่า ฉันวิเคราะห์ไม่เป็นสับปะรดเลย

 มันเป็นอะไรที่ยากมากสำหรับฉัน

 แต่เมื่อฉันถูกส่งตัวไปที่ AUA  เพื่อไปร่วมวิพากษ์การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในชั้นเรียน


 ฉันจึงเริ่มเข้าใจ และเริ่มที่จะแลก

เปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนๆผู้สามารถที่มีความหลากหลาย 

พวกเขาสอนโดยการกระทำด้วยตนเองให้

ฉันได้เห็นและพวกเขาช่วยให้ฉันได้พัฒนาตนเอง

ด้วยวิธีการถามว่าทำไมเหรอๆๆๆๆ แล้วยังไงต่อ แล้วเธอ

คิดอย่างไร ทำไมเธอคิดอย่างนั้นไปพร้อมๆกั

บรรยากาศที่อบอุ่น อีกทั้งครูอาจารย์ชาวต่างประเทศที่ทำ

หน้าที่เพียงผู้รับ รับฟังด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม 

บางครั้งพยักหน้าหงึกๆๆ และบางครั้งก็ทำท่าว่าสงสัย ใช้ภาษาท่าทีชวนให้ฉันอธิบายแบบอยากรู้จริงๆนะ 

และเมื่อฉันได้

พยายามอธิบายพร้อมภาษาท่าทางด้วยมั่นใจว่าแม้ภาษาที่ใช้อาจคลาดเคลื่อน 

แต่ครูอาจารย์และเพื่อนๆ

จะเข้าใจได้ไม่ผิดประเด็น ท้ายที่สุดคำถามของเพื่อนๆในกลุ่มจะเป็นผู้ช่วยที่ดี

ที่จะช่วยกันหลอมความคิดของฉันด้วยการใช้คำถาม และฉัน

มีหน้าที่บอกว่า ใช่ ๆๆๆเธอเข้าใจถูกต้อง 

และไม่ใช่ๆๆๆ ฉันไม่ได้หมายความอย่างนั้น

 แต่ฉันหมายถึง ...

นี่เป็นพลังของกลุ่ม หรือทีมที่จะร่วมก้าวเดินไปด้วยกันไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้หรือการทำงาน 

และความสุขก็จะเกิดขึ้นเมื่อเพื่อนในกลุ่มร้องอ๋อ..เข้าใจแล้วๆ เสียงปรบมือเป็นกำลังใจ

และดูเหมือนครูอาจารย์ชาวต่างประเทศจะตั้งใจรอเวลานี้ และแม้ว่าจะเป็นความตั้งใจ ฉันก็ยังแอบยินดี

และเหมือนมีพลังของความต้องการพัฒนาตัวเองเกิดขึ้น ในขั้นตอนนี้จึงเต็มไปด้วยความสุข

ของการที่ได้เรียนรู้ 

สำหรับรับการมอบหมายหน้าที่ ที่สมาชิกกลุ่มหรือทีมยินยอมและยินดี 

ครั้งหนึ่งฉันสูญเสียความรู้สึกที่ดีเมื่อต้องไปทำงานระดับกระทรวง ฉันได้กลุ่มที่สมาชิกใจดีมาก

มอบหมายว่าให้ฉันทำ มีหลากหลายคำพูดที่น่าฟังเช่น น้องเก่ง ทำไปเลย พี่เยี่ยมมาก ขอน้องช่วยเป็น

กำลังใจ และอะไรอีกหลายอย่างที่ฟังแล้วดีจังเลย แต่เมื่อก้มหน้ามองมาที่งาน ฉันเริ่มหวั่นไหวใน

ศักยภาพของตัวเอง ความรู้สึกท้อวิ่งเข้ามา แต่ก็ยังมีเสียงเพื่อนข้างๆปลอบใจว่า ทำไปเถอะ

 เขาก็แค่ให้เรามาเป็นไม้ประดับ คนเก่งเยอะไปหมด 

ฉันกลับรู้สึกแย่ไม่เฉพาะงานที่อยู่ตรงข้างหน้า ในเนื้อแท้ของความเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่มมันอยู่ตรงไหน

ก็ทำไมเรามทุกคนไม่จับมือกัน... บางครั้งเราอาจแก้ปัญหาโดยปัดบางอย่างให้พ้นตัว แต่มันไม่ใช่

มีคำถามมากมายเกิดขึ้นในสมองปุๆของฉัน วันนั้นฉันเรียนไม่ได้เรื่องเลย อาการทางกายเกิดขึ้นร้อนๆ

หนาวๆ ฉันนึกถึงเด็กน้อยของฉัน นึกถึงคำปลอบของฉัน ที่มีให้เด็ก และเพิ่งได้คิดว่าบางครั้งคำปลอบ

ประโลมก็ทำร้ายคนได้เหมือนกัน กระบวนการแบ่งกลุ่มนั้นยังหาข้อสรุปที่จะส่งผลที่ดีต่อสมาชิกกลุ่มหรื

อทีมได้ไม่ชัดเจน กระบวนการกลุ่มเรียน ที่นิยมคือการรวมกลุ่มอันประกอบไปด้วยเด็กเรียนเก่ง ปานกลาง 

และอ่อน ที่นิยมใช้ก็ใช่จะสร้างคนอ่อนให้เก่งได้ดีเท่าคนเก่ง หากผลที่ได้ก็ดูเหมือนจะมีทั้งดีและด้อย 

มันจะดีหากสมาชิกคนเก่งของกลุ่มมีจิตใจเอื้อเฟื้อและแบ่งปัน ประกอบกับสมาชิกที่อ่อนเองก็ต้องมีดีบ้าง

เพื่อเจือจุนในสิ่งที่สมาชิกคนอื่นขาด และจะเจ็บปวดเมื่อสมาชิกคนเก่งมิได้เป็นดั่งที่คาดหวัง 

ซึ่งกระบวนการทำงานและมอบหมายงานนั้นจะไม่ได้ผลดีกับใครเลย ท้ายที่สุดเราจะพบคนเสียสละที่ยอม

ทำทุกอย่างเพื่อให้งานนั้นเสร็จๆไปเท่านั้นเอง เสร็จๆๆ ที่มิได้รวมคำว่าสำเร็จลงไปด้วย

 ฉันจึงได้ประสบการณ์ที่ดีว่าการแบ่งกลุ่มแบ่งทีมในการทำงานก็ดี หรือเรียนรู้ก็ดี 

สมาชิกกลุ่มควรมีความหลากหลาย มีอัตราส่วนของความหลากหลายที่เมื่อรวมกันเป็นหนึ่งแล้ว

จะสามารถนำพาทั้งงานและคนไปสู่เป้าหมายเดียวกันได้อย่างมีความสุข และการสลับ ปรับเปลี่ยน

ตำแหน่งที่ดูเหมือนจะง่ายๆหากงานนั้นๆเป็นงานที่ใครๆก็ทำได้ ทุกคนทำได้เพียงได้รับคำแนะนำที่ดี 

แต่ถ้าหากงานนั้นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่ง และงานนั้นๆก็ยังจำเป็นต้องมีทีม 

การสร้างสายสัมพันธ์ สื่อสัมพันธ์ที่ดี และการสื่อสารที่ดีจึงมีความจำเป็นยิ่ง


ขอขอบคุณอ.ดร.จันทวรรณ วันนี้ฉันเรียนรู้ได้เพียงข้อเดียวอีกทั้งเป็นเพียงข้อปลีกย่อย

พรุ่งนี้จะขอมาเข้าชั้นใหม่ ขอบคุณค่ะ

ปล.คนข้างเคียงถามฉันว่า ฉันพิมพ์อะไร ฉันตอบว่าพิมพ์รายงานใจ 5555

 เพราะนี่คือความรู้ที่ฉันต้องนำไปใช้ในการร่วมสร้างทีมจิตอาสาที่ดี นั่นเองขอบคุณค่ะ

20/กค/2556

ไปด้วยใจไปด้วยใจที่นำพา

ให้ก้าวหน้าพาไปตามงานที่ฝัน

เป็นสว.ก็ฝันได้ไม่กีดกัน

ให้สรรค์สร้างจิตมั่น คิดกรรมดี

เรียนเพื่อก่อ ต่อสาน และสรรค์สร้าง

หนทางยาวอ่อนล้าคือกายฉัน

หากแต่ใช้ดวงจิตพิศคืนวัน

วัันนี้ยังตั้งมั่นที่กรรมดี

หมายเลขบันทึก: 542930เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2013 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2013 16:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ไม่เคยหยุดเรียนรู้เลยนะคะครูต้อย

คณาจารย์จาก มอ. ที่ร่วมแลกเปลี่ยนในวันนั้นคงที่ได้หากได้อ่านบันทึกนี้ค่ะพี่

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะ พี่คุณnui

วันนี้โชคดีที่ได้อ่านบทความที่อยากอ่านค่ะ

ชีวิตคือการเรียนรู้ค่ะ อิอิ

ขอบคุณค่ะดร.จัน

อ่านปุ๊ปก็โดนใจเพราะกำลังอยากได้ข้อมูลพอดีค่ะ

 

 

น้อง Bright Lily ขอบคุณค่ะ

ธรรมชาติสวัสดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท