เพลง "นิทานหิ่งห้อย" ของศุ บุญเลี้ยง กับ การเรียนรู้ 3rd_PBL


เวทีการขับเคลื่อนการพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในที่นี้ที่เราเสนอคือ 3rd_PBL (หรือ Problem-based Learning ในหลักสูตร 3PBL ที่เสนอไว้ที่นี่) ใน 2 ครั้งหลังนั้น ผมเปิดเพลง "นิทานหิ่งห้อย" ของศุ บุญเลี้ยง ให้คุณครูฟัง แล้ว "ถอดบทเรียน" ก่อนจะช่วยกันสรุปเชื่อมโยงสู่ กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองบนฐานปัญหา หรือ 3rd_PBL อย่างไร... 

อยากเชิญชวน ให้ท่านลองฟังเพลงนี้ดู 1 รอบ แล้ว ลอง "ถอดบทเรียน" กับตนเอง โดยใช้คำถามว่า

  • เห็นอะไร/รู้สึกอย่างไร  
  • เห็นแล้วคิดอย่างไร
  • น่าจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปหรือไม่ อย่างไร

เชิญครับ....


เนื้อเพลง ด้านล่างครับ (อ้างอิง http://sz4m.com/t1022)

เด็กน้อยได้ยินเรื่องราว กล่าวขานมานาน ว่าหากใครได้นับหิ่งห้อย
มาเก็บเอาไว้ใต้หมอน นอนคืนนั้นจะฝันดี จะฝันเห็นดวงดาวมากมาย
ฝันเห็นเจ้าชายเจ้าหญิง ฝันแสนสวยงาม


เด็กน้อยนั่งตักคุณยายไต่ถามความจริง
ยายยิ้มกินหมาก
หนึ่งคำไม่ตอบอะไรส่ายหัว
ใจเด็กน้อยอยากเห็นจริง
อยากเห็นดวงดาวมากมาย อยากเห็นเจ้าชายเจ้าหญิง อยากฝันสวยงาม
หิ่งห้อยนับร้อยนับพัน ส่องแสงระยิบระยับกัน สว่างไสวไปทั้งต้นลำพู

เด็กน้อยแอบออกมา ไล่คว้าแสงน้อยมาดู ใส่ไว้ในกล่องงามหรู
ซ่อนไว้ใต้หมอน แล้วนอนคอยฝันดี


ตื่นเช้าพอได้ลืมตา มองเห็นคุณยาย มาแกล้งถามว่าเจอะอะไร
สนุกแค่ไหนที่ฝัน ใจเด็กน้อยจึงทบทวน
ไม่ฝันเห็นอะไรมากมาย
รีบค้นเร็วไวใต้หมอนเปิดฝานั้นดู


หิ่งห้อยในกล่องตอนนี้เหมือนหนอนตัวหนึ่ง ไม่สวยดังซึ่งตอนอยู่
ใต้ต้นลำพูส่องแสง
ยายยิ้มแล้วสอนตาม จะมองเห็นความจริง
อย่าขังความจริงที่เห็น อย่างขังความงาม

หิ่งห้อยนับร้อยนับพัน ส่องแสงระยิบระยับกัน สว่างไสวไปทั้งต้นลำพู
เด็กน้อยถือกล่องออกมา เปิดฝา แล้วแง้มมองดู
หนอนน้อยในกล่องงามหรูก็เปล่งแสงสุกใสบินไปรวมกัน


เด็กน้อยนอนหลับสบายอมยิ้มละไม ใต้หมอนไม่มีกล่องอะไร
ไม่มีสิ่งใดถูกขัง นอนคืนนั้นจึงฝันดี ได้ฝันเห็นดวงดาวมากมาย
ฝันเห็นเจ้าชาย เจ้าหญิง ฝันแสนสวยงาม (ลัลล้า ลัลล้า จนจางหาย)


ผมสรุปให้ทั้ง 2 เวที ฟังดังนี้ครับ

  • ตัวอักษรสีน้ำเงิน แสดงถึง แรงบันดาลใจ สงสัย อยากรู้ของเด็ก .... ผมว่า คุณยาย ที่หมายถึง "ครู" อาจจะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของการ "ได้ยินเรื่องราว...." ของเด็กน้อย
  •  "ยายยิ้ม กินหมากหนึ่งคำ ไม่ตอบอะไร ส่ายหัว"....  ครูต้องอดทนต่อการเฉลยครับ
  • ความอยากรู้และการไม่ตอบของยาย ทำให้เด็กน้อยต้องทำการทดลองด้วยตนเอง คือส่วนตัวหนังสือสีเขียวครับ 
  • คุณยาย มาแกล้งถามว่าเจอะอะไร สนุกไหมที่ฝัน..... ครูฝึก PBL ที่ดี ต้องไม่ลืมประเด็นปัญหาที่เด็กๆ แต่ละคน "จับอยู่"  คือ ต้อง "กระตุ้น" ด้วยคำถามเรื่อยๆ
  • แล้วเด็กน้อยก็รู้ความจริงด้วยตนเอง คือส่วนตัวหนังสือสีม่วง
  • ณ วินาทีที่เหมาะสม ...." ยายยิ้มแล้วสอนตาม จะมองเห็นความจริง อย่าขังความจริงที่เห็น อย่างขังความงาม"  คุณยายใช้จิตวิทยาเชิงบวก และจังหวะเวลาที่พอดี เติมสิ่งที่ควรมี คือความคิดรวบยอด ให้เด็กน้อย  
  • แล้วเด็กน้อยก็กลายเป็นเด็กดี ออกมาทำความดี ดังส่วนตัวหนังสือสีฟ้า
  • และเด็กน้อยก็มีความสุข 

ผลตอบรับดีมากครับ คุณครูผู้ฟัง เข้าใจว่า อะไรคือบทบาทของครูในการพัฒนาการเรียนรู้แบบ 3rd_PBL มากทีเดียว.....

เพื่อนกระบวนกรลองนำไปใช้ดู ส่วนครูก็ลองนำไปให้เด็กฟังแล้วคิดอภิปรายกัน

แล้วนำมาแบ่งปันกันต่อไปครับ


หมายเลขบันทึก: 542884เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2013 01:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2013 01:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มาเรียนรู้บทบาทและหน้าที่ผ่านอักษรสีตางๆค่ะ ขอบคุณค่ะ

ยอมรับว่าเป็นครั้งแรกที่ได้ยินเพลงนี้..แล้วเกิดความประทับใจมากๆค่ะ...ได้เนื้อหาสาระมากมาย..มีความไพเราะ..น่ารัก..เป็นธรรมชาติ..ขอบคุณที่นำมาให้ชมนะคะ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท