มาตรฐานและมาตรฐานช่วงชั้นและชั้นปีของหลักสูตร


สำหรับวันนี้ผมจะมากล่าวถึงเรื่องของมาตรฐานและมาตรฐานช่วงชั้นและชั้นปีของหลักสูตรนะครับ มาตรฐานต่างๆที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลางของปีพุทธศักราช 2551 นั้น มีทั้งหมด 67 มาตรฐานด้วยกัน ซึ่งก็จะแบ่งๆกันไปในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ สำหรับผมซึ่งสังกัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ จึงจะขอนำเสนอเกี่ยวกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ ซึ่งมีดังต่อไปนี้

สาระที่ ๑ ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต ๑.๑  เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
มาตรฐาน ต ๑.๒  มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ต ๑.๓  นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน

สาระที่ ๒ ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต ๒.๑  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
มาตรฐาน ต ๒.๒  เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

สาระที่ ๓ ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
มาตรฐาน ต ๓.๑  ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน

สาระที่ ๔ ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
มาตรฐาน ต ๔.๑  ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม
มาตรฐาน ต ๔.๒  ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก

หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้กับอาจารย์รสสุคนธ์ไปแล้ว ทำให้ผมได้เห็นข้อบกพร่องของสาระและมาตรฐานต่างๆของหลายๆกลุ่มสาระการเรียนรู้ ปัญหาที่พบเช่น การซ้ำซ้อนกันของสาระระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือการที่กลุ่มสาระบางกลุ่มไม่ได้ใส่สาระที่จำเป็นต่อการใช้ในชีวิตประจำวันลงไป จึงทำให้ผมทราบว่า หลักสูตรแกนกลางของปีพุทธศักราช 2551 นั้น มีข้อดีอย่างหนึ่งคือมีความยืดหยุ่นมาก ในฐานะครูผู้สอน ควรใช้ข้อดีในจุดนี้ในการสอดแทรกหรือเพิ่มเติมเนื้อหาสาระที่ครูผู้สอนพิจารณาแล้วเห็นว่าเด็กจำเป็นจะต้องรู้ ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ตกลงกับครูกลุ่มสาระอื่นๆในเรื่องของความซ้ำซ้อนของสาระเพื่อลดภาระของงาน ผมเชื่อว่า หากคุณครูทุกท่านยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ และพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนด้วยใจจริงแล้ว ไม่ว่าหลักสูตรจะมีจุดบกพร่องอย่างไร ครูก็ยังสามารถพัฒนานักเรียนให้ดีได้อย่างแน่นอนครับ

หมายเลขบันทึก: 542408เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2013 22:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2013 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท