จิ๊บ พัชรี
นักศึกษากิจกรรมบำบัด พัชรี รุ่งฉัตร

เนื้อหาของการให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัด


          เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ดิฉันได้มีโอกาสไปฝึกงานทางกิจกรรมบำบัดที่ต่างจังหวัด ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ที่พิเศษมาก เพราะดิฉันได้มีโอกาสให้บริการทางกิจกรรมบำบัดในผู้รับบริการหลากหลายแบบ โดยเฉพาะการฟื้นฟูในผู้ที่มีความผิดปกติของระบบประสาท ทั้งโรคหลอดเลือดสมองหรือที่หลายคนรู้จักในชื่ออัมพาตครึ่งซีก หรือผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บที่สมองและไขสันหลัง โดยแต่ละแบบก็จะมีเทคนิคหรือการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพและปัญหาในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล

       และจากประสบการณ์การฝึกงานในครั้งนั้นเอง ดิฉันได้นำข้อมูลจากผู้รับบริการรายหนึ่งมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับทักษะการให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัด โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการทั้งหมด รวมทั้งศึกษาการให้เหตุผลทางคลินิกในแต่ละแบบที่สอดคล้องกับผู้รับบริการและการให้บริการทางกิจกรรมบำบัด

       ในที่นี้จะขอสรุปภาพรวมของผู้รับบริการ ซึ่งเป็นขั้นตอนก่อนนำไปสู่กระบวนการให้เหตุผลทางคลินิก

กรณีศึกษา: 

  ผู้รับบริการชื่อ นาย W (นามสมมติ) อายุ 47 ปี เริ่มมีอาการเดือนมีนาคม 2556 คือรู้สึกปวดหัวและรู้สึกอ่อนแรงร่างกายซีกขวาจนล้มลงไป แต่หัวไม่กระแทกพื้น ญาตินำส่งโรงพยาบาล ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หลังจากนั้นมีอาการอ่อนแรงร่างกายซีกขวา มีอาการเกร็งที่แขนขวา ไม่สามารถเคลื่อนไหวแขนและมือขวาได้อย่างคล่องแคล่วและราบเรียบ มีปัญหาเรื่องการทรงตัวทั้งในท่านั่งและยืน ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นความบกพร่องในเรื่องการเคลื่อนไหว โดยปัญหาเหล่านี้เองส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกลับไปทำงาน ซึ่งเป็นความต้องการสูงสุดของผู้รับบริการ

                   

บริบทของการให้บริการ

1.  ปัจจัยที่ส่งเสริมและจำกัดผลลัพธ์ในการให้บริการ

ปัจจัยที่ส่งเสริม:

ž  - ผู้รับบริการให้คุณค่าในตนเอง ยอมรับความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นได้ดี

ž  - ผู้รับบริการมีความมั่นใจในตนเอง

ž  - ที่นี่อุปกรณ์มี่ฝึกมือเยอะดี จะได้ใช้งานมือได้ ชอบฝึกที่นี่ รู้สึกว่าหลังจากฝึกใช้งานมือได้ดีขึ้นเรื่อย” ผู้รับบริการเชื่อมั่นในองค์กรและบุคลากรทางกิจกรรมบำบัด

ปัจจัยที่ขัดขวาง: ไม่มี

บริบทของชีวิตผู้รับบริการ

1.  แรงจูงใจ ความปรารถนา และความอดทนต่อผลลัพธ์

ž  - ผู้รับบริการมีแรงจูงในการฝึกมาก เนื่องจากต้องการกลับไปประกอบอาชีพเดิมให้ได้เร็วที่สุด

2.  ความสามารถและความบกพร่องที่มีอยู่

ž  - ยังคงมีข้อจำกัดในด้านการเคลื่อนไหวร่างกายซีกขวา มีเกร็ง

3.  ความเข้าใจต่อการใช้ชีวิต

ž  - จากการสัมภาษณ์พบว่าก่อนการเจ็บป่วย ผู้รับบริการมีสมดุลในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต คือ เป็นหัวหน้าครอบครัว ทำงาน มีกิจกรรมยามว่าง มีความสุข พอป่วยผู้รับบริการก็ยอมรับความเจ็บป่วยได้ดี และยังคงมีกำลังใจในการฟื้นฟูต่อไป ไม่ได้เครียดต่อภาวะที่เกิดขึ้น

4.  ความคาดหวังในการใช้ชีวิตระยะยาว

ž  - อยากกลับไปเปิดร้านขายของชำตามเดิม อยู่กับภรรยาและลูก ได้ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว

ความเชื่อส่วนบุคคลของผู้ให้บริการ

1.  อุปสรรคในการแสดงพฤติกรรมที่ยอมรับได้

ž  - ผู้รับบริการเชื่อว่าการฝึกอย่างหนัก ได้ออกแรงมากๆจะช่วยให้หายเร็วขึ้น จนหักโหมเกินไปในบางครั้ง

2.  ความคาดหวังและความพึงพอใจ

ž  - ผู้รับบริการหวังจะหายและกลับไปประกอบอาชีพเดิมได้

ž  - ผู้รับบริการค่อนข้างพึงพอใจในการรักษา เนื่องจากเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นด้วยตนเอง

ทัศนคติและความคาดหวังเชิงพฤติกรรมของผู้ให้บริการ

1.  ความคิดเห็นต่อกระบวนการให้บริการที่พึ่งประสงค์

ž  - ผู้รับบริการแสดงออกถึงการให้คุณค่าในการมารับบริการทางกิจกรรมบำบัด โดยสังเกตจากผู้รับบริการจะตั้งใจฝึก นำกลับไปทำเป็นการบ้าน และจะกลับมาบอกผู้บำบัดเสมอว่าใช้งานมือได้ดีขึ้นถึงระดับใด

2.  ความคาดหวังต่อผลลัพธ์ของการให้บริการ

ž  - ผู้รับบริการคาดว่าจะเคลื่อนไหวและใช้งานแขนและมือขวาได้ดีขึ้น จนสามารถกลับไปขายของร้านของชำได้ตามเดิม

กรอบอ้างอิงของผู้ให้บริการ

1.  การอธิบายเหตุผลของข้อมูลทางคลินิกที่ยังไม่ชัดเจนด้วยการรับรู้ การตัดสินใจ และการกระทำ ที่เกิดขึ้นจริงระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ

ž  - ผู้รับบริการเชื่อว่าการฝึกอย่างหนัก ได้ออกแรงมากๆจะช่วยให้หายเร็วขึ้น จนหักโหมเกินไปในบางครั้ง ผู้บำบัดจึงได้ชี้แจ้งถึงข้อเสียของการหักโหมมากจนเกินไป แต่ก็ยังเห็นผู้รับบริการทำอยู่บ้าง

 

         จากข้อมูลทั้งหมดนั้น ทำให้สามารถมองเห็นภาพรวมของผู้รับบริการทั้งตัวผู้รับบริการเองและบริบทที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่กระบวนการให้เหตุผลทางคลินิกและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป.


หมายเลขบันทึก: 542227เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2013 21:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2013 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท