ทฤษฏีหลักสูตร


ทฤษฏีหลักสูตร

  ทฤษฏีต่างๆ เกิดจากข้อเท็จจริงซึ่งค้นพบได้จากการใช้การพิสูจน์ และการใช้ข้อสรุปจากการสังเกต มิใช่อาศัยเหตุผลและนำมาสรุปไว้เป็นกฎและหลักการ ทฤษฏีเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์และนำปสู่การสร้างกฎที่ใช้ได้ทั่วไป มีความเป็นสากล สามารถพิสูจน์ทดลองได้ และมีส่วนประกอบที่เหมือนกัน ทฤษฏีทำหน้าที่บรรยาย อธิบาย และคาดหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานที่มีระเบียบแบบแผน นำไปสู่การคาดคะเนข้อมูลได้โดยอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ และนำไปสู่การยืนยันว่าทฤษฏีที่ตั้งขึ้นมีความถูกต้องและน่าจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด

  Smith and Others(1957) มีความเชื่อว่าทฤษฏีหลักสูตรจะช่วยสร้างและให้เหตุผลที่สนับสนุนทางการศึกษา เพื่อประกอบการเลือกและจัดเนื้อหาที่ต่างกันของผู้เรียน นักพัฒนาหลักสูตรจึงได้นำทฤษฏีหลักสูตรมาใช้โดยการผสมผสานทฤษฏีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเข้ามาไว้ด้วยกัน

  Beauchamp (1981) ได้สรุปว่า ทฤษฏีเป็นข้อความที่ช่วยขยายขอบเขตความรู้ของมนุษย์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เป็นเครื่องมือของมนุษย์ซึ่งใช้ในการทำนายและคาดการณ์สิ่งต่างๆที่ยังไม่เกิดขึ้น ทำให้มนุษย์สามารถควบคุมปรากฏการณ์ หรือป้องกันแก้ไขเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษยชาติในที่สุด จึงเป็นการผสมผสานข้อความเพื่อให้ความหมายซึ่งนำไปปฏิบัติในโรงเรียนชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบและการชี้แนะให้เห็นวิธีการ 

  อ้างอิงจากหนังสือ

    ประสาท เมืองเฉลิม หลักสูตรการศึกษา - มหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2553

               


คำสำคัญ (Tags): #ทฤษฏีหลักสูตร
หมายเลขบันทึก: 542225เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2013 21:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2013 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท