ทฤษฎีหลักสูตร


         ตามที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาจากการค้านคว้าห้องสมุด ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต ความเข้าใจเบื้องต้น ของข้าพเจ้าคือ การศึกษาหาความรู้ไม่ว่าเรื่องใดๆก็ตาม ถ้าจะทำให้เราเข้าใจเรื่องนั้นๆอย่างแท้จริงจะต้องทราบว่า สิ่งที่กำลังศึกษานั้นคือ อะไร อาทิเช่น จะศึกษาเรื่องรถยนต์ ถ้าเกิดสมมุติว่าเราไม่เคยเห็น และรู้จักมาก่อนสิ่งแรกที่จะต้องทำคือ จะต้องศึกษา มาให้รู้ว่า รถยนต์ นั้นคืออะไร มีรูปร่างอย่างไร เป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่ ประโยชน์ใช้ทำอะไร และตั้งคำถามที่อยู่ในใจเรามาก มาย ดังนั้น การที่ข้าพเจ้าจะศึกษาเรื่องทฤษฎีหลักสูตรในทำนองเดียวกันจะต้อง เริ่มคิดจากการตั้งคำถาม ว่า หลักสูตรคืออะไรเสียก่อน และถึงจะไปหาความหมายของทฤษฎีหลักสูตรได้   

    ข้าพเจ้าจะเริ่มจาก หลักสูตร คืออะไร  หลักสูตร ตามคำนิยามมีหลายคนที่นิยามคำนี้ อาทิ เช่น

หลักสูตรมาจาก ภาษาอังกฤษคำว่า Curriculum  ซึ่งมาจากภาษาละตินว่า Currere แปลว่า “ทางวิ่ง” หรือ “ลู่วิ่งเข้าสู่เส้นชัย”(R.C. Das, et al, NCERT, 1984, p. 4 )  ซึ่งมีนักวิชาการต่างๆได้ให้นิยามไว้ อาทิ เช่น

- “หลักสูตร หมายถึง มวลประสบการณ์ ที่ผู้เรียนซึ่งโรงเรียนหรือสถานศึกษาได้จัดให้ผู้เรียน”(Wheeler, D.K. 1974 p.11)

- “หลักสูตร หมายถึง มวลประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนา ทั้งด้านร่างการและจิตใจ”(Crow and Crow, 1962, p. 250)

- “หลักสูตร” หมายถึง แผนซึ่งได้ออกแบบจัดทำขึ้นเพื่อถึงแสดงจุดหมาย การจัดเนื้อหา กิจกรรม และมวลประสบการณ์ ในแต่ละ โปรแกรมการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีการพัฒนาด้านต่างๆตามจุดหมายที่ได้กำหนดไว้(ธำรง บัวศรี,หน้า 7)

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า หลักสูตรนั้น เป็นเหมือนการวางแผน ที่จัดให้ คน เราได้เรียนรู้ ตาม วัย ตามศักย์กายภาพ ตามความถนัดของ แต่ละ แขนงวิชาต่างๆ ก็เหมือนกับการ เรียนรู้ในการขับรถ ถ้าเราลองนึกภาพ ใช้การขับรถเป็นหลักสูตร นั้นการขับรถก็จะต้องมีการเตรียมตัว ที่ จะต้องรู้ การใช้งาน อุปกรณ์ ทางกายภาพของรถ ทั้ง พวงมาลัย ทั้งเกียร์ คันเร่งและอีกหลายๆ อย่าง และใช่ว่าเริ่มขับรถเป็น จะออกไปขับตามถนนใหญ่ได้ จะต้องมีการฝึกฝนเป็นลำดับขั้นตอน เปรียบ เสมือนเราต้องการขึ้นไปชั้นที่สองของบ้าน ก็จะต้อง เดินขึ้นบันได ไป ทีละขั้นตอน เพราะฉะนั้น หลักสูตรก็จะ คล้ายๆ กัน

  เราจะมากล่าวถึงทฤษฎีกันก่อน ทฤษฎี(Theory) คือ สมมติฐานที่ได้รับการตรวจสอบและทดลองหลายครั้งหลายหนจนสามารถอธิบายข้อเท็จจริงสามารถคาดคะเนทำนายเหตุการณ์ทั่วๆไป ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นั้นอย่างถูกต้อง และมีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป จึงเป็นผลให้สมมติฐานกลายเป็นทฤษฎี เช่นทฤษเซลล์ (wikipedia)

  ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ทฤษฎีหลักสูตร จะมีความหมายดังนี้ คือการรวบรวมทั้งองค์รวมของหลักสูตร ทั้งความรู้ความเข้าใจของหลักสูตรทั้งความหมายของหลักสูร ทั้งองค์ประกอบต่างๆของหลักสูตร ทั้งวิวัฒนาการต่างๆของหลักสูตรรวมไปถึงพื้นฐานต่างๆของหลักสูตรการนำหลักสูตรที่ใช้มาพัฒนา รวมถึงการนำไปใช้จริง และ ถึงขั้นประเมินผลหลักสูตร  ซึ่ง ทฤษฎีหลักสูตรนั้นคือ แนวทางหรือแนวคิดที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของหลักสูตร ก็คือตัวหลักสูตรก็ใช้มาจากทฤษฎีหลักสูตรซึ่งทฤษฎีหลักสูตรนั้นเป็นเหมือนศูนย์กลาง เวลาจะทำหลักสูตรอะไรก็ต้องใช้มาจากศูนย์กลางในการอ้างอิงเพื่อนำมาปฎิบัติ

อ้างอิง

หนังสือ ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบและพัฒนา    

http://th.wikipedia.org


คำสำคัญ (Tags): #ทฤษฎีหลักสูตร
หมายเลขบันทึก: 542071เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2013 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2013 12:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คุณให้ความหมายของหลักสูตรไว้พอสังเขปแล้วพูดถึงทฤษฎีหลักสูตรนิดหน่อย ลองค้นเพิ่มเติมในเรื่องนี้อีก จะช่วยให้ชัดเจนได้ว่า ทฤษฎีหลักสูตร ต่างจากตัวหลักสูตรอย่างไร

ตามที่ผมลองค้นคว้าเพิ่มเพิ่ม นะครับอาจารย์ ทฤษฎีหลักสูตร ต่างจากตัวหลักสูตรอย่างไร นั้นคือ

ทฤษฎีหลักสูตร คือ แนวทางหรือแนวคิดที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของหลักสูตร ก็คือตัวหลักสูตรก็ใช้มาจากทฤษฎีหลักสูตรซึ่ง ทฤษฎีหลักสูตรนั้นเป็นเหมือนศูนย์กลาง เวลาจะทำหลักสูตรอะไรก็ต้องใช้มาจากศูนย์กลางในการอ้างอิงเพื่อนำมาปฎิบัติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท