สาระการเรียนรู้ 2 : รูปแบบของหลักสูตร


กาญจนา คุณรักษ์(2535 : 1-4) ได้รวบรวมความหมายหลักสูตรไว้ดังนี้

1. หลักสูตร คือ รายวิชาหรือรายการเนื้อหาที่สอนโรงเรียน
2. หลักสูตร คือ ประสบการณ์ที่จัดให้แก่ผู้เรียน
3. หลักสูตร คือ กิจกรรมการเรียนการสอนและวัสดุอุปกรณ์
4. หลักสูตร คือ สิ่งที่โรงเรียน ผู้ปกครอง คาดหมายหรือมุ่งหวังจะให้ผู้เรียนได้รับหรือมีคุณสมบัติในสิ่งนั้นๆ
5. หลักสูตร คือ พาหนะที่จะนำผู้เรียนไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของการศึกษา
6. หลักสูตร คือ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ทางการเรียน และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
7. หลักสูตร คือ กระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครู นักเรียน และสิ่งแวดล้อมการเรียน
8. หลักสูตร คือ แผนหรือแนวทาง หรือข้อกำหนดในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
9. หลักสูตร คือ เอกสาร หนังสือหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตรใด ๆ เช่น แผนการสอน คู่มือครู แบบเรียน เป็นต้น
10.หลักสูตร คือ วิชาความรู้สาขาหนึ่งที่ว่าด้วยทฤษฎี หลักการ และแนวปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตร

วิชัย วงษ์ใหญ่ (2537 : 12) ได้ให้แนวคิดว่า หลักสูตร คือ มวลประสอบการณ์ทั้งปวงที่จัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพสากล มาตรฐานความเป็นชาติไทยและมาตรฐานที่ชุมชนท้องถิ่นต้องการ

สงัด อุทรานันท์ (2538 : 6) กล่าว หลักสูตร หมายถึง ลักษณะใดลักษณะหนึ่งต่อไปนี้

1. หลักสูตร คือ สิ่งที่สร้างขึ้นในลักษณะของรายวิชา ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อสาระที่จัดเรียงลำดับความยากง่าย หรือเป็นขั้นตอนอย่างดีแล้ว

2. หลักสูตร ประกอบด้วยประสบการณ์ทางเรียนซึ่งได้วางแผนล่วงหน้าเพื่อมุ่งหวังจะให้เด็กได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ต้องการ

3.หลักสูตร เป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นสำหรับให้ประสบการณ์ทางการศึกษาแก่เด็กในโรงเรียน
4. หลักสูตร ประกอบด้วยมวลประสบการณ์ทั้งหมดของผู้เรียน ซึ่งเขาได้ทำได้รับรู้ และได้ตอบสนองต่อการแนะแนวของโรงเรียน

ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2539 : 9) ให้ความหมายหลักสูตรว่า คือ SOPEA ประกอบด้วย

คือ Subject matter ได้แก่ เนื้อหาที่ใช้ในการเรียนการสอน

คือ Object ไก้แก่ วัตถุประสงค์

คือ plans ได้แก่ แผนสำหรับจัดโอกาสการเรียนรู้หรือประสอบการณ์แก่นักเรียนที่คาดหวัง

คือ learner’s experience ได้แก่ ประสบการณ์ทั้งปวงของผู้เรียนมาจัดโดยโรงเรียน

คือ education activities ได้แก่ กิจกรรมทาวการศึกษาที่จัดให้กับผู้เรียน

ชมพันธุ์ กุญชน ณ อยุธยา (2540 :3-5) ได้อธิบายความหมายของ “หลักสูตร” ว่ามีความแตกต่างกันไปตั้งแต่ความหมายที่แคบสุดจนจนถึงกว้างสุด แต่จำแนกความคิดเห็นของนักศึกษาที่ได้ให้นิยามความหมายของหลักสูตร ออกเป็น 2 ใหญ่ ๆ ดังนี้

1. หลักสูตร หมายถึง แผนประสบการณ์การเรียน นักการศึกษาที่มีความคิดเห็นว่าหลักสูตร หมายถึง                          แผนประสบการณ์การเรียนนั้น มองหลักสูตรในลักษณะที่เป็นเอกสาร หรือโครงการการศึกษาที่สถาบันการศึกษาได้วางแผนไว้ เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาตามแผนหรือโครงการที่กำหนดไว้ หลักสูตรตามความหมายนี้หมายถึงรวมถึง แผนการเรียนหรือรายวิชาต่าง ๆ ที่กำหนดให้เรียนรวมทั้งเนื้อหาวิชาของรายวิชาต่าง ๆ กิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผล ซึ่งได้กำหนดไว้ในแผน ความคิดเห็นของนักศึกษากลุ่มนี้ไม่รวมถึงการนำหลักสูตรไปใช้หรือการเรียนการสอนที่ปฏิบัติจริง แต่ทั้งแผนประสบการณ์การเรียนกับการสอนที่ปฏิบัติจริงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

2. หลักสูตร หมายถึง ประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่สถาบันการศึกษาจัดให้ซึ่งหมายรวมถึง ประสบการณ์การเรียนและการนำหลักสูตรไปใช้ด้วย แนวคิดนี้สอดคล้องกับแนวคิดของทั้งทาบาและ  ไทเลอร์ที่เห็นว่า หลักสูตรประกอบด้วยจุดมุ่งหมายประสอบการณ์ทางการศึกษาหรือเนื้อหาการจัด ประสบการณ์ทางการศึกษาหรือจัดการเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนและการ ประเมินผล

ธำรง บัวศรี (2542 : 7) กล่าวว่า หลักสูตร คือ แผนซึ่งได้ออกแบบจัดทำขึ้นเพื่อแสดงจุดมุ่งหมายการจัดเนื้อหาสาระกิจกรรมและมวลประสบการณ์ในแต่ละโปรแกรมการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ตามจุดหมายที่ได้กำหนดไว้

มาเรียม นิลพันธุ์ (2543 : 6) กล่าวว่า หลักสูตร หมายถึง เอกสารข้อกำหนดเกี่ยวกับมวลประสบการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาไปในแนวทางที่ต้องการ ทั้งนี้ นักการศึกษาและนักพัฒนาหลักสูตรประเทศ ได้ให้ความหมายและคำจำกัดความของหลักสูตรไว้ โดยสรุปดังนี้

คาสเวลและแคมเบล (Caswell and Cambell 1935 : 66) ได้ให้จำกัดความว่าหลักสูตรเป็นสิ่งที่ประกอบด้วยประสบการณ์ทั้งมวลของเด็ก ภายใต้การแนะแนวของครู

ไทเลอร์ (Tyler. 1949 : 79) ได้สรุปว่าหลักสูตรเป็นสิ่งที่เด็กจะต้องเรียนรู้ทั้งหมด โดยมีโรงเรียนเป็นผู้วางแผนและกำกับเพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายของการศึกษา

ทาบา (Taba. 1962 : 11) ให้คำสรุปเกี่ยวกับหลักสูตรอย่างสั้น ๆ ว่าหลักสูตรเป็นแผนการเกี่ยวกับการเรียนรู้

กู๊ด (Good. 1973 : 157) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ 3 ประการ ดังนี้ คือ

1. หลักสูตร หมายถึง เนื้อหาวิชาที่จัดไว้เป็นระบบให้ผู้เรียนได้ศึกษา เพื่อสำเร็จหรือรับประกาศนียบัตรในสาขาวิชาหนึ่ง

2. หลักสูตร หมายถึง เค้าโครงสร้างทั่วไปของเนื้อหาหรือสิ่งเฉพาะที่จะต้องสอน ซึ่งโรงเรียนจัดให้แก่เด็กเพื่อให้สำเร็จการศึกษาและสามารถเข้าศึกษาต่อในทางอาชีพต่อไป

3. หลักสูตร หมายถึง กลุ่มวิชาและการจัดประสบการณ์ที่กำหนดไว้ให้ผู้เรียนได้เรียนภายใต้การแนะนำของโรงเรียนและสถานศึกษา

โอลิวา (Oliva. 1992 : 8-9) ได้ให้นิยามความหมายของหลักสูตรโดยแบ่งเป็นการให้นิยามโดยยึดจุดประสงค์ บริบทหรือสภาพแวดล้อม และวิธีดำเนินการหรือยุทธศาสตร์ ดังนี้

1.การให้นิยามโดยยึดจุดประสงค์ (Purpose) หลักสูตรจึงมีภาระหน้าทีที่จะทำให้ผู้เรียนควรจะเป็นอย่างไร หรือมีลักษณะอย่างไร หลักสูตรในแนวคิดนี้จึงมีความหมายในลักษณะที่เป็นวิธีการที่นำไปสู่ความสำเร็จตามจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายนั้น ๆ เช่น หลักสูตร คือ การถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม หลักสูตร คือ การพัฒนาทักษะการคิดผู้เรียน เป็นต้น

2. การให้นิยามโดยยึดบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Contexts) นิยามของหลักสูตร ในลักษณะนี้จึงเป็นการอธิบายถึงลักษณะทั่วไปของหลักสูตรซึ่งแล้วแต่ว่าเนื้อหาสาระของหลักสูตรนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร เช่น หลักสูตรที่ยึดเนื้อหาวิชา หรือหลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือหลักสูตรที่เน้นการปฏิรูปสังคม เป็นต้น

  3.การให้นิยามโดยยึดวิธีดำเนินการการหรือยุทธศาสตร์ (Strategies) เป็นการนิยามในเชิงวิธีดำเนินการที่เป็น  กระบวนการ ยุทธศาสตร์หรือเทคนิควิธีการในการจัดการเรียนการสอน เช่น หลักสูตร คือ กระบวนการแก้ปัญหา หลักสูตร คือ การอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม การทำงานกลุ่ม หลักสูตร คือ การเรียนรู้เป็นรายบุคคล หลักสูตร คือ โครงการหรือแผนการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น

โอลิวา ได้สรุปความหมายของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร คือ แผนงานหรือโครงการที่จัดประสบการณ์ทั้งหมดให้แก่ผู้เรียน ภายใต้การดำเนินงานของโรงเรียน และในทางปฏิบัติหลักสูตรประกอบด้วยจำนวนของแผนการต่าง ๆ ที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร และมีขอบเขตกว้างหลายหลาย เป็นแนวทางของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ต้องการ     ดังนั้น หลักสูตรอาจเป็นหน่วย (Unit) เป็น รายวิชา (course) หรือเป็นรายวิชาย่อยต่าง ๆ (sequence of courses) แผนงานหรือโครงการทางการศึกษาดังกล่าวนี้อาจจัดขึ้นได้ทั้งในและนอกชั้น เรียนหรือโรงเรียนก็ได้

ประเภทของหลักสูตร

1.  ประเภทที่ยึดเอาสาขาวิชาและเนื้อหาวิชาเป็นหลัก

1.1   หลักสูตรแยกรายวิชาหรือเนื้อหาวิชา  

1.2  หลักสูตรสหพันธ์หรือหลักสูตรสัมพันธ์วิชา

1.3  หลักสูตรหลอมรวมวิชาหรือหลักสูตรหมวดวิชา

1.4  หลักสูตรแกนวิชา

2. หลักสูตรที่ยึดเอาผู้เรียนเป็นหลัก

2.1  หลักสูตรท่ีใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

2.2  หลักสูตรประสบการณ์

2.3  หลักสูตรบูรณาการ

3. หลักสูตรที่ยึดเอากระบวนการทางทักษะเป็นหลัก

สรุป

รูปแบบหรืประเภทของหลักสูตรมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน คือ หลักสูตรยึดเอาสาขาวิชาและเนื้อหาวิชาเป็นหลัก  รูปแบบที่ยึดเอาผู้เรียนเป็นหลักและรูปแบบที่ยึดเอากระบวนการทางทักษะเป็นหลัก  ทั้งสามรูปแบบได้นำมาใช้กับการจัดทำหลักสูตรทั้งในและต่างประเทศ  ซึ่งหมายถึงการนำเอารูปแบบหรือหลักสูตรหลายๆอย่างมาผสมประสานกัน  เพื่อใช้หลักสูตรที่เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่น  ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า  หลักสูตร คือการประมวลประสบการณ์ทุกชนิดที่ครูสร้างสรรขึ้นเพื่อใช้กับผู้เรียนให้มีความเจริญ  เรียนรู้และพัฒนาตนเองมีวิถีชีวิตของสังคมอย่างมีความสุขและมีความเจริญงอกงาม


หมายเลขบันทึก: 541933เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2013 20:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 กรกฎาคม 2013 04:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

-เรื่องที่สองเป็นเรื่องรูปแบบนะคะ ที่เขียนมาเกือบ 90% เป็นเรื่องความหมายของหลักสูตร 

- 90% พูดถึงความหมายของหลักสูตร
- 60% ของบทสรุป พูดถึงรูปแบบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท