ขั้นตอนการส่งบทความตีพิมพ์วารสารนานาชาติ...สนุกกว่าที่เคยคิด


เป็นคนชอบอ่านบทความต่างๆทางการแพทย์อยู่เสมอ เพราะได้รู้อะไรใหม่ๆที่น่าสนใจเสมอ ส่วนของตัวเอง สิ่งที่อยากทำก็ยังเป็นแค่เค้าโครง ยังไม่รู้ว่าจะมีโอกาสได้ทำได้เขียนรายงานกับเขาหรือเปล่า แต่ก็ได้มีโอกาสช่วยแก้ไขต้นฉบับ ช่วยเขียน ช่วยปรับ ช่วยแก้ให้กับใครต่อใครมาตลอดหลายปี มีความสุขกับการได้อ่านได้แก้ ได้ช่วยเขียนแล้วคนให้ช่วยถูกใจ เพราะตัวเองก็มีความสุขกับการที่ได้เขียนออกมาแล้ว ตัวเองก็ถูกใจ เจ้าของเรื่องก็ถูกใจ เพราะเวลาเขียนภาษาอังกฤษจากภาษาไทยนั้น ไม่ตรงไปตรงมา บางครั้งก็ต้องเอามาคิดหลายตลบกว่าจะเขียนได้ถูกใจ 

มีผลงานของคุณศิริ คนขยันหน่วยเรานี่เองที่ดูแล้วเรารู้สึกว่าเป็นการดัดแปลงที่ง่ายแต่น่าจะใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง โดยเฉพาะประเทศเขตร้อน ก็เลยเขียนเป็น abstract ภาษาอังกฤษส่งไป Conference ให้เมื่อปีที่แล้ว ประเมินแล้วว่าน่าจะได้รับการตอบรับแล้วก็ได้จริงๆ และเจ้าของเรื่องก็ได้เดินทางไปนำเสนอโปสเตอร์ที่เยอรมัน มาปีนี้ก็ได้ช่วยหาที่ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนั้นกัน

ก็เริ่มตั้งแต่เลือก Journal ที่เราอ่านบ่อยที่สุด ปัจจุบันนี้ทุกอย่างทำได้ผ่านอินเตอร์เน็ต และมักจะให้เราสมัครสมาชิกก่อน เสร็จแล้วก็พิมพ์ Instruction for authors ออกมาอ่าน ทำตามทุกข้อ ซึ่งใช้เวลานานพอสมควร มีขนาดที่ว่าต้องเขียน script สั้นๆเหมือนเป็น Abstract แต่เอาไว้ให้เขาอ่านเป็นเสียงสรุปบทความของเราที่ต้องสั้นแค่ร้อยคำ ให้เขียนยาวง่ายกว่าให้เขียนสั้นเยอะมากๆเลยค่ะ และมีอีกหลายขั้นตอนเยอะแยะมากมายกว่าจะได้อัพโหลดไฟล์ของเราได้  นี่ยังดีที่งานของคุณศิริ ชิ้นนี้มีแค่ตารางเดียว ไม่มีรูปภาพ ไม่งั้นก็ต้องเพิ่มขั้นตอนเกี่ยวกับรูปเข้าไปอีก จัดการเสร็จแล้วก็ยังต้องไปตามผู้ที่มีชื่อร่วมในงานทุกคน ให้สมัครเข้ามาเพื่อ declare เกี่ยวกับผลงานนี้อีก รวมเวลาในการจัดการก็มากกว่าสัปดาห์นึงด้วยซ้ำ กว่าเขาจะรับไปพิจารณาจริงๆ

และแล้ว เขาก็ตอบกลับมาภายในเวลาอันรวดเร็วกว่าเวลาที่เราใช้ในการ submit ซะอีก แต่เหตุผลเขาก็น่ารักค่ะ เพราะเขาบอกว่าเขามีงานตีพิมพ์รออยู่เยอะมากและเรื่องของเรา เมื่อเทียบกับเรื่องที่รออยู่นั้นค่อนข้างธรรมดาไป ขอให้ส่งไปลงที่อื่นที่มีคิวรอน้อยกว่าเขาได้เลย 

จะว่าไปก็เป็นสิ่งที่คาดหมายอยู่แล้ว เพราะเราอ่านวารสารเขาอยู่ แต่เราก็อยากลองนั่นเอง ก็เลือกวารสารอันดับสองต่อไปได้เลย อันนี้ก็มีขั้นตอนทั้งหมดผ่านเน็ตที่น้อยกว่าวารสารแรกนิดหนึ่ง ตรงที่เราไม่ต้องไปยุ่งกับผู้ร่วมวิจัย จัดการไปได้เองเลย ฉบับนี้ เวลาในการ submit ไม่มาก วันสองวันก็เรียบร้อย และเขาใช้เวลานานขึ้นหน่อยในการพิจารณาคือหนึ่งสัปดาห์ก็ได้คำตอบจาก reviewers สรุปว่าเรื่องของเรายังคงไม่ผ่านพอที่จะลงพิมพ์กับเขาได้ แต่สิ่งที่ reviewers แนะนำมาก็เป็นประโยชน์มากทีเดียว และอย่างน้อยก็ได้รับคำชมว่า เราเขียนได้ดี รูปแบบถูกต้องหมด แต่วิธีวิเคราะห์ยังต้องปรับปรุงและเรื่องของหน่วยที่ใช้ยังไม่เป็นสากล รวมทั้งการนำไปใช้สำหรับกลุ่มที่อ่านงานของเขาอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ 

ก็ถือว่าเราได้ทำหน้าที่ไปส่วนหนึ่งแล้ว ตอนนี้ก็ใช้วิธีให้คุณศิริ ลองหาที่ submit ดูบ้าง เราเป็นพี่เลี้ยง เพราะรู้ขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว วารสารอื่นๆน่าจะไม่ยุ่งยากไปกว่านี้แล้ว ยังคงเชื่อมั่นเหมือนที่เคยได้ฟัง รศ.ดร.พญ.สาวิตรี อัษณางค์กรชัย บอกไว้ว่า  Every manuscript eventually finds its own home.

เมื่อถึงวันนั้นจะมาเล่าอีกรอบนะคะ

หมายเลขบันทึก: 541838เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2013 01:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2013 01:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดดีค่ะดร.อโณทัย...เป็นเรื่องที่ดีในวงการนักวิชาการแต่ละสาขาอาชีพที่จะต้องลงบทความผลงานทางการวิจัยของตนเองเพื่อการเผยแพร่ความรู้...ขอชื่นชมค่ะ

ยินดีด้วยครับ พี่โอ๋

เป็นกำลังใจให้ด้วยครับ

Hope this one find a nice home away from 'home' ;-)

เป็นกำลังใจค่ะ และขอรับความรู้ไปใช้เลยนะคะ

เป็นกำลังใจให้เดินหน้าต่อไปจ้ะพี่โอ๋

บันทึกนี้เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับผมที่ได้เรียนรู้ว่า การปฏิเสธมิได้เป็นสิ่งที่น่าหดหู่เสมอไป เพราะพี่โอ๋แสดงให้เห็นว่า ประสบการณ์และความพยายามสำคัญกว่ามากมาย อ่านบันทึกนี้แล้วมีความสุข ขอบคุณพี่โอ๋ครับ

แวะมาขอบคุณ คุณหมอ ที่ช่วยอัพโหลดยูทูปแบบฝังให้ค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ

  • ดีนะครับ สนุกกับกำแพง แต่ไม่คิดว่ากำแพงมีปัญหา ปัญหาจึงกลายเป็นไม่เป็นปัญหาไป
  • ยินดีในความสำเร็จกับความไม่มีปัญหาด้วยนะครับ :-)

พี่โอ๋เป็นตัวอย่างที่ดีเสมอครับผม รักและคิดถึงเสมอครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท