คู่มือกลุ่มอำนวยการ


สิทธิประโยชน์
คำนำ                                 การให้บริการประชาชน  ถือเป็นภารกิจสำคัญของหน่วยงานราชการ  ที่ต้องให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้รับบริการ  ให้ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด  กลุ่มอำนวยการเป็นกลุ่มซึ่งมีหน้าที่ในการให้บริการประชาชนในด้านต่าง ๆ  เช่น  การเบิกเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการ  การจ่ายเงินค่ารับรอง  การขอรับเงินบำเหน็จบำนาญ  เป็นต้น                                 คู่มือแนะนำการติดต่อราชการ  เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มาติดต่อราชการได้ทราบถึงเอกสารหลักฐานที่จะต้องนำมาใช้ในการติดต่อขอรับบริการ  ในเรื่องการเบิกเงิน                    กลุ่มอำนวยการ  หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือแนะนำฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ท่าน  และถ้าหากท่านมีปัญหาสงสัยหรือต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานบริการของกลุ่มอำนวยการ  สามารถติดต่อสอบถามได้ตามหมายเลขโทรศัพท์ในคู่มือฉบับนี้           กลุ่มงานประชาสัมพันธ์กลุ่มอำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา  เขต 1                 บำเหน็จบำนาญ สาระสำคัญ 1.       บำเหน็จ  หมายความว่า  เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา  ซึ่งจ่ายครั้งเดียว2.       บำนาญ  หมายความว่า  เงินตอบแทนความชอบที่รับราชการมา  ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือน3.       ข้าราชการมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติด้วยเหตุดังนี้(1)          เหตุทดแทน  (ออกจากประการเพราะเลิกหรือยุบตำแหน่ง(2)       เหตุทุพพลภาพ  (แพทย์รับรองได้ตรวจและลงความเห็นว่าไม่สามารถรับราชการในตำแหน่งที่ปฏิบัติไปได้แล้ว)(3)       เหตุสูงอายุ  (อายุครบ  60  ปีบริบูรณ์  แต่ถ้าอายุครบ  50  ปีบริบูรณ์  แล้ว  ลาออก  ผู้มีอำนาจสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเพราะเหตุสูงอายุได้)(4)       เหตุรับราชการมานาน  (มีเวลาราชการครบ  3  ปีบริบูรณ์  แต่ถ้ามีเวลาครบ  25  ปีบริบูรณ์แล้ว  ประสงค์จะลาออก  ผู้มีอำนาจให้ลาออก  เพราะเหตุรับราชการมานานได้)4.     ข้าราชการ  ถ้ามีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญไม่ถึงสิบปีบริบูรณ์มีสิทธิได้รับบำเหน็จ  ถ้ามีเวลาราชการตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป  มีสิทธิได้รับบำนาญ5.       ผู้มีสิทธิได้รับบำนาญ  จะยื่นขอรับบำเหน็จแทนบำนาญได้6.       การนับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ(1)       ให้นับแต่จำนวนปี  เศษของปี  ถ้าถึงครึ่งให้นับเป็น  1  ปี  สำหรับเดือนหรือวันใดคำนวณตามวิธีจ่ายเงินเดือน(2)       เวลาป่วยหรือลาหรือต้องพักราชการ  ซึ่งได้รับอนุญาตให้รับเงินเดือนเต็มให้นับเหมือนเต็มเวลาราชการ  ถ้าได้รับอนุญาตให้รับเงินเดือนไม่เต็มให้นับเวลาตามส่วนแห่งเงินเดือนที่ได้รับ  และถ้าไม่ได้รับอนุญาตให้ได้รับเงินเดือน  ไม่ให้นับเวลาสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญ(3)          การนับเวลาราชการให้นับแต่วันรับราชการซึ่งเงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือน(4)          ถ้ารับราชการก่อนอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์  ให้เริ่มนับแต่วันที่มีอายุ      สิบแปดปี  เป็นต้นไป      7.       วิธีคำนวณบำเหน็จบำนาญบำเหน็จ                                =             เงินเดือนสุดท้าย    x    จำนวนปีเวลาราชการบำนาญ                                  (ไม่เป็นสมาชิก  กบข.)=             เงินเดือนสุดท้าย    x    จำนวนปีเวลาราชการ                                                50                                                บำนาญ    กรณีจำนวนปีเวลาราชการ  น้อยกว่า  25  ปีบริบูรณ์(กบข.)                   =             เงินเดือนเฉลี่ย  60  เดือนสุดท้าย    x    อายุราชการ                                                                                                                                                508.       ผู้รับบำนาญตายให้จ่ายบำเหน็จตกทอดให้แก่ทายาทเป็นจำนวน  30  เท่าของบำนาญรายเดือน9.       ทายาทของผู้มีสิทธิได้รับตามเกณฑ์  ดังนี้(1)          บุตร  ได้รับสองส่วน  ถ้าผู้ตายมีบุตรตั้งแต่  3  คนขึ้นไปให้ได้รับ  3  ส่วน(2)          สามี  หรือภรรยาให้ได้รับหนึ่งส่วน(3)          บิดา  มารดา  หรือบิดา  หรือมารดา  ที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน  เอกสารประกอบการขอรับเงินบำนาญ 1.       แบบ  53002.       ใบรับรองสมุดประวัติและเวลาทวีคูณข้าราชการพลเรือนและข้าราชการครู3.       ใบรับรองเวลาราชการตอนเป็นทหาร  หรือ  กอ.รมน.  (ถ้ามี)  ฉบับจริง4.       คำสั่งอนุญาตให้ลาออกจากราชการตาม  พ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญข้าราชการ  พ.ศ. 2539  ดังนี้มาตรา  13              เหตุสูงอายุ  ข้าราชการที่ออกตามมาตรานี้ต้องมีอายุครบ  50  ปีขึ้นไปมาตรา  14              เหตุรับราชการนาน  ข้าราชการที่ออกตามมาตรานี้ต้องมีเวลาราชการ  25  ปีขึ้นไปมาตรา  12              เหตุทุพพลภาพ  ข้าราชการที่ออกตามมาตรานี้ต้องมีอายุราชการไม่ต่ำกว่า  10  ปี  และต้องมีใบรับรองแพทย์  ตามมาตรา 12  ระบุว่า  ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้5.       คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งสุดท้าย6.       คำสั่งยกฐานะ  (ถ้ามี)  ในกรณีบรรจุเป็นข้าราชการวิสามัญ7.       คำสั่งบรรจุหรือหนังสือรับรองการบรรจุเข้ารับราชการครั้งแรก8.       หนังสือรับรองการโอนหรือไม่ได้โอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด9.     สำเนาบัตรเงินเดือนที่คลังจังหวัดระบุรับรองฉบับจริง  และระบุงดจ่ายเงินเดือนแล้ว  หากมีการส่งเงินคืนคลัง  ให้ส่งหลักฐานการส่งเงินคืนคลังด้วย10.    ใบรับรองสมุดประวัติหรือแฟ้มประวัติ  (ต้องปิดที่ด้านหลังปกหน้าของสมุดหรือแฟ้มประวัติ)11.    สมุดประวัติหรือแฟ้มประวัติที่ตรวจสอบความถูกต้องแล้ว  เอกสารประกอบการขอรับเงินบำเหน็จ 1.        แบบ  53002.        ใบรับรองสมุดประวัติและเวลาทวีคูณข้าราชการพลเรือนและข้าราชการครู3.        ใบรับรองเวลาราชการตอนเป็นทหาร  หรือ  กอ.รมน.  (ถ้ามี)  ฉบับจริง4.        คำสั่งอนุญาตให้ลาออกจากราชการตาม  พ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญข้าราชการ  พ.ศ. 2539  ดังนี้มาตรา  11              เหตุทดแทน  ข้าราชการที่ออกตามมาตรานี้ต้องมีอายุราชการ  ตั้งแต่  1  ปีขึ้นไปมาตรา  12              เหตุทุพพลภาพ  ข้าราชการที่ออกตามมาตรานี้ต้องมีอายุราชการ  ตั้งแต่  1  ปีขึ้นไป  และใบรับรองแพทย์ที่ระบุความเห็นว่า  ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้  พร้อมทั้งประทับตราของสถานพยาบาลที่ออก  ฉบับจริงมาตรา  13              เหตุสูงอายุ  ข้าราชการที่ออกตามมาตรานี้ต้องมีอายุครบ  50  ปีบริบูรณ์แล้วมาตรา  14              เหตุรับราชการนาน  ข้าราชการที่ออกตามมาตรานี้ต้องมีเวลาราชการ  25  ปีขึ้นไปมาตรา  15              ข้าราชการที่ออกตามมาตรานี้  มีเวลาราชการไม่ถึง  10  ปี  แต่มีอายุครบ  50  ปีขึ้นไป5.        คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งสุดท้าย6.        คำสั่งยกฐานะ  (ถ้ามี)  ในกรณีบรรจุเป็นวิสามัญไม่มีวุฒิครู  จบชั้น  ม. 6  และรับราชการไม่ต่ำกว่า  5  ปี7.        คำสั่งบรรจุรับราชการครั้งแรก  หรือหนังสือรับรองการบรรจุ8.        ใบรับรองสมุดประวัติหรือแฟ้มประวัติ  (ต้องปิดที่ด้านหลังปกหน้าของสมุดหรือแฟ้มประวัติ)9.        สมุดประวัติหรือแฟ้มประวัติที่ตรวจสอบความถูกต้องแล้ว10.   สำเนาบัตรเงินเดือนที่คลังจังหวัดรับรองฉบับจริง  และระบุงดจ่ายเงินเดือนแล้ว  หากมีการส่งเงินคืนคลังให้ส่งหลักฐานการส่งเงินคืนคลังด้วย หมายเหตุ             ข้าราชการสิ้นสภาพเรื่องจากล้มละลาย  ต้องให้ผู้พิทักษ์ทรัพย์ยื่นขอบำเหน็จ  โดยแนบคำสั่งศาล  บำเหน็จตกทอดข้าราชการประจำ เอกสารประกอบการขอรับเงินบำเหน็จตกทอดข้าราชการประจำ 1.       แบบขอรับเงิน  53092.       ใบรับรองประวัติ  และเวลาทวีคูณระหว่างประจำปฏิบัติหน้าที่ในเขตที่ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกษา3.       คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งสุดท้าย4.       คำสั่งหรือหนังสือรับรองการบรรจุเข้ารับราชการครั้งแรก5.       สำเนามรณบัตรของข้าราชการผู้ถึงแก่กรรมและทายาทคนอื่น ๆ  เช่น  บิดา มารดา  คู่สมรสหรือบุตร  (ถ้ามี)6.     สำเนาใบสำคัญการสมรสของผู้ตาย  และบิดา มารดา  ฉบับที่ชัดเจน  หากมชัดเจนให้ขอคัดสำเนาทะเบียนการสมรส  (ค.ร. 4)  จากที่ว่าการอำเภอ  และให้นายทะเบียนท้องถิ่นพร้อมทั้งประทับตราประจำตำแหน่งฉบับจริง7.       สำเนาทะเบียนบ้านฉบับปัจจุบันของทายาทผู้มีสิทธิรับเงินทุกคน8.       บันทึกถ้อยคำของทายาททุกคนที่มีสิทธิรับเงิน  ยกเว้นบุตรผู้เยาว์9.       สำเนาบัตรเงินเดือนฉบับจริงที่คลังจังหวัดรับรองและระบุงดจ่ายแล้ว10.    กรณีถึงแก่กรรมด้วยอุบัติเหตุต้องส่งบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือรายงานการชันสูตรพลิกศพ11.   กรณีถึงแก่กรรมด้วยผิดธรรมชาติ  เช่น  ผูกคอตาย  ถูกยิงตาย  ตกน้ำตาย  ไฟฟ้าช๊อต  สมองได้รับการกระทบกระเทือน  หรือเลือดคลั่งในสมอง  กินยาตาย  หรือในกรณีอื่น ๆ  ต้องส่งรายงานการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สรุปผลการสอบสวนแล้ว  หรือตั้งคณะกรรมการสอบสวนว่าถึงแก่กรรมด้วยเหตุประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงหรือไม่  พร้อมทั้งสรุปความเห็นของกรรมการ12.    กรณีที่ผู้ตายมีบุตรเป็นผู้เยาว์  ให้คู่สมรสของผู้ตายลงชื่อขอรับเงินในแบบ  5309  แทนบุตรผู้เยาว์ด้วย13.   กรณีที่ผู้ตายมีบุตรเป็นผู้เยาว์  และคู่สมรสของผู้ตายได้ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว  ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยื่นเรื่องต่อศาล  ให้แต่งตั้งผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมาย  และให้ผู้ปกครองที่ศาลแต่งตั้งลงชื่อขอรับเงินในแบบ  5309  แทนพร้อมทั้งส่งคำสั่งศาล  บันทึกถ้อยคำและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับปัจจุบันของผู้ปกครองด้วย14.   กรณีที่ผู้ตายจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมและยังเป็นผู้เยาว์  และคู่สมรสให้การยินยอมแต่ไม่ได้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมร่วมด้วยนั้น  ต้องขออำนาจศาลแต่งตั้งผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายให้แก่บุตรบุญธรรม  เนื่องจากอำนาจการปกครองของบิดา มารดาเดิม  ได้หมดสิทธิในการปกครองตั้งแต่ได้ยินยอมให้บุตรไปเป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น  เมื่อศาลแต่งตั้งผู้ปกครองแล้ว  ให้ผู้ปกครองลงชื่อขอรับเงินในแบบ  5309  แทนบุตรบุญธรรม  พร้อมทั้งส่งคำสั่งศาล  ทะเบียนรับบุตรบุญธรรมที่นายทะเบียนรับรองและประทับตราฉบับจริง  สำเนาทะเบียนบ้านฉบับปัจจุบันของผู้ปกครองและบุตรบุญธรรม  บันทึกถ้อยคำของผู้ปกครอง15.   กรณีที่ผู้ตายมีบุตรโดยการจดทะเบียนรับรองบุตร  และยังเป็นผู้เยาว์  ให้มารดาของบุตรลงชื่อขอรับเงินแทนบุตร  พร้อมทั้งส่งทะเบียนรับรองบุตรที่นายทะเบียนรับรองและประทับตราประจำตำแหน่งฉบับจริง  ทะเบียนบ้านฉบับปัจจุบันของมารดาและบุตร  บันทึกถ้อยคำของมารดา16.   กรณีที่ผู้ตายไม่ได้จดทะเบียนสมรสและไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร  แต่ได้มีบุตรกับหญิงอื่น  ขอให้ศาลสั่งว่าบุตรเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายภายใน  1  ปี  นับจากวันที่บิดาถึงแก่กรรม17.   บิดาของผู้ตายที่มีสิทธิขอรับเงิน  หากไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้ตาย  และไม่ได้อยู่กินฉันท์สามีภรรยาก่อนวันที่  1  ตุลาคม  2478  และไม่ได้จดทะเบียนรับรองผู้ตายเป็นบุตรตามกฎหมาย  ถือว่าบุคคลนั้นไม่ได้เป็นบิดาที่ถูกต้องตามกฎหมายของผู้ตาย  จึงไม่มีสิทธิขอรับเงินบำเหน็จตกทอด18.   ตรวจสอบชื่อบุคคลที่มีสิทธิขอรับเงินให้ถูกต้องตรงกันกับเอกสารทุกฉบับ  หากไม่ตรงกันให้นายทะเบียนท้องถิ่นรับรองว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน19.   กรณีที่ผู้ตายมีคู่สมรสพร้อมกันหลายคน  ต้องให้ศาลสั่งว่าคู่สมรสคนใด  เป็นคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย  ยกเว้นบุคคลที่นับถือศาสนาอิสลาม         บำเหน็จตกทอดข้าราชการบำนาญ เอกสารประกอบการขอรับเงินบำเหน็จตกทอดข้าราชการบำนาญ 1.        แบบขอรับเงิน  53092.      สำเนามรณบัตรของข้าราชการบำนาญผู้ถึงแก่กรรมและทายาทคนอื่น ๆ  เช่น  บิดา มารดา  คู่สมรส  หรือบุตร  (ถ้ามี)3.      สำเนาใบสำคัญการสมรสของผู้ตายและบิดา มารดา  ฉบับที่ชัดเจน  หากไม่ชัดเจนให้ขอคัดสำเนาทะเบียนการสมรส  (ค.ร. 4)  จากที่ว่าการอำเภอและให้นายทะเบียนท้องถิ่นรับรองพร้อมทั้งประทับตราประจำตำแหน่ง  ฉบับจริง4.        สำเนาทะเบียนบ้านฉบับปัจจุบันของทายาทผู้มีสิทธิรับเงินทุกคน5.        บันทึกถ้อยคำของทายาททุกคนที่มีสิทธิรับเงิน  ยกเว้นบุตรผู้เยาว์6.        สำเนาแบบแจ้งหมดสิทธิการรับเบี้ยหวัดบำนาญฉบับจริง  ที่คลังจังหวัดลงนามรับรอง หมายเหตุ             รายละเอียดอื่น ๆ  เหมือนกับบำเหน็จตกทอดข้าราชการประจำ  ตั้งแต่ข้อ  10  ถึง  20  บำเหน็จลูกจ้างกรณีลาออก เกษียณอายุ เอกสารประกอบการขอรับเงินบำเหน็จลูกจ้าง 1.       แบบ  53132.       ใบรับรองประวัติ  และเวลาทวีคูณลูกจ้างตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด3.     คำสั่งอนุญาตให้ออกจากราชการหรือประกาศเกษียณอายุ  ต้องมีเวลาราชการไม่รวมเวลาทวีคูณไม่ต่ำกว่า  5  ปีบริบูรณ์  ยกเว้น  ออกด้วยเหตุทุพพลภาพต้องมีเวลาราชการไม่รวมเวลาทวีคูณ  ไม่ต่ำกว่า  1  ปีบริบูรณ์  (ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง  ฉบับที่  5  พ.ศ. 2537  ข้อ  7  วรรคสุดท้าย)4.       คำสั่งเพิ่มค่าจ้างลูกจ้างครั้งสุดท้าย5.       คำสั่งบรรจุหรือหนังสือรับรองการบรรจุ6.       สำเนาบุตรค่า
หมายเลขบันทึก: 54183เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2006 13:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
       ได้รับความรู้เรื่องสิทธิประโยชน์อย่างแจ่มแจ้งแล้ว  ขอบคุณมาก

มีตัวอย่างการกรอกแบบ 5300 ที่กรอกเรียบร้อย ถูกต้องแล้ว ขอดูหน่อยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท