รูปแบบหลักสูตร


หลังจากที่เมื่อวานได้กล่าวถึง "ทฤษฎีหลักสูตร" ไปแล้ว วันนี้ก็จะรวบรวมข้อมูลที่ค้นคว้ามาเกี่ยวกับ "รูปแบบหลักสูตร" (Curriculum Designs) ซึ่งก็มีผู้แบ่งรูปแบบหลักสูตรไว้หลายแบบด้วยกัน บ้างก็แบ่งเป็น 8 รูปแบบ ได้แก่

1.หลักสูตรแบบเน้นเนื้อหา (The Subject Matter Curriculum)
2.หลักสูตรสหสัมพันธ์ (Correlated Curriculum)
3.หลักสูตรแบบผสมผสาน (Fused Curriculum or Fusion Curriculum)
4. หลักสูตรแบบหมวดวิชาแบบกว้าง (Broad Fields Curriculum)
5. หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม (Social Process and Life Function Curriculum)
6. หลักสูตรกิจกรรมหรือประสบการณ์ (Activity or Experience Curriculum)
7. หลักสูตรแบบแกน (Core Curriculum)
8. หลักสูตรบูรณาการ (Integrated Curriculum)

(อ่านเนื้อหาเต็มได้ที่ http://course-4.blogspot.com/2010/07/blog-post_8214.html)

บ้างก็แบ่งเป็น 9 รูปแบบ ได้แก่

1. หลักสูตรรายวิชา (Subjective Curriculum)
2. หลักสูตรสหพันธ์ (Correlated Curriculum)
3. หลักสูตรผสมผสาน (Fused Curriculum)
4. หลักสูตรหมวดวิชา (Board Field Curriculum)
5. หลักสูตรวิชาแกน (Core Curriculum)
6. หลักสูตรที่เน้นทักษะกระบวนการ (Process Skills Curriculum)
7. หลักสูตรที่เน้นสมรรถฐาน (Competency or Performance Base Curriculum)
8. หลักสูตรที่เน้นกิจกรรมและปัญหาสังคม (Social Activities and Problem Curriculum)
9. หลักสูตรที่เน้นความต้องการและความสนใจของแต่ละบุคคล (Individual Needs and Interest Curriculum)

(อ่านเนื้อหาเต็มได้ที่ http://e-book.ram.edu/e-book/e/EA634/EA634-2.pdf)

บ้างก็แบ่งเป็น 3 รูปแบบใหญ่ๆ ได้แก่

1. หลักสูตรที่ยึดสาขาวิชาและเนื้อหาสาระเป็นหลัก (disciplines / subjects curriculum) 
2. หลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นหลัก (learners centred)
3. หลักสูตรที่ยึดกระบวนการทางทักษะหรือประสบการณ์เป็นหลัก (process skill or experiencecurriculum)

(อ่านเนื้อหาเต็มได้ที่ http://www.learners.in.th/blogs/posts/413865)

โดยส่วนตัวแล้ว ค่อนข้างสนใจหลักสูตรที่เป็นประเภทเน้นรายบุคคล เนื่องจากผมเรียนจิตวิทยามา เข้าใจว่ามนุษย์แต่ละคนมีพื้นฐานด้านต่างๆที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งความแตกต่างตรงนี้มันมีมาตั้งแต่พันธุกรรมจนกระทั่งถึงการเลี้ยงดู ประสบการณ์ และสภาพแวดล้อม ดังนั้น การที่จะให้เด็กทุกคนเรียนเหมือนกัน วัดผลเหมือนกัน ผมคิดว่ามันคงจะยังไม่มีความเหมาะสมกับผู้เรียนอย่างจริงๆ 100% ดังนั้น ผมจึงมองว่า หลักสูตรที่ดีน่าจะยืดหยุ่นและปรับให้เข้ากับ "สไตล์" ของแต่ละคนได้ เราไม่สามารถบังคับให้เด็กทุกคนต้องรู้ในเรื่องเดียวกัน และรู้ลึกในระดับเดียวกันได้ เพราะเด็กแต่ละคนก็มีความสนใจไม่เหมือนกัน คนที่ชอบวิทยาศาสตร์ก็จะสนใจเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เวลาเรียนวิทยาศาสตร์ก็จะตั้งใจเรียน อาจจะไปหาความรู้เพิ่มเติมเองเสียด้วยซ้ำไปโดยไม่ต้องมีใครบังคับ แต่ถ้าเด็กคนเดียวกันนี้ไม่ชอบวิชาสังคมศึกษา ต่อให้บังคับอย่างไรเด็กก็คงจะไม่สนใจ จะแค่อ่านหนังสือเพื่อให้สอบผ่านไปเท่านั้นเอง พอสอบเสร็จหรือเรียนจบมาก็ลืมหมด ดังนั้น หลักสูตรที่เน้นความสนใจและความต้องการของผู้เรียน ผมจึงคิดว่าเหมาะกับคนไทยมากที่สุด ดังคำกล่าวที่ว่า "ทำอะไรตามใจคือไทยแท้"

หมายเลขบันทึก: 541684เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2013 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กรกฎาคม 2013 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ครูที่เข้าใจหลักสูตรอย่างถ่องแท้ สามารถปรับหลักสูตรที่ตนใช้อยู่เพื่อจัดการเรียนรู้ให้เหมาะกับเด็กแต่ละคนได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท