Evidence based practice of Stroke in Occupational Therapy


การฝึกปฏิบัติงานทางกิจกรรมบำบัดของนักศึกษากิจกรรมบำบัดในภาคฤดูร้อนที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้มีโอกาสได้ให้บริการทางกิจกรรมบำบัด กับผู้รับบริการหลอดเลือดสมองท่านหนึ่ง และได้นำมาเป็นกรณีศึกษาในการนำข้อมูลโรค และเทคนิคการรักษาทางกิจกรรมบำบัด มาให้เหตุผลทางคลินิก โดยการหาบทความ และงานวิจัยมาสนับสนุนดังนี้

ผู้รับบริการโรคหลอดเลือสมอง(Stroke)

    ทฤษฎีและวิทยาศาสตร์ 

ความรู้เกี่ยวกับโรค ผลกระทบของโรคต่อการทำหน้าที่ของร่างกาย และกิจกรรมการดำเนินชีวิตของมนุษย์ 


โรคหลอดเลือดสมอง(Stroke)
     การจำแนก(Subtype)

- Ischemic 
- hemorrhagic
- subarachnoid hemorrhage.
- cerebral venous thrombosis
- spinal cord stroke 

     ปัจจัยการเกิด(Factors)
- ปัจจัยเสี่ยง(Risk factors) ยกตัวอย่างเช่น การสูบบุหรี่,ความเครียด,ความดันสูง,ความอ้วน,กรรมพันธุ์ ฯลฯ เป็นต้น  - ลักษณะบุคคล(characteristics) ยกตัวอย่างเช่น เป็นมากในอายุเฉลี่ยประมาณ 48 ปี, คนในเมืองเป็นมากกว่าคนนอกเมือง, คนที่แต่งงานแล้วเป็นมากกว่าคนโสด หรือหย่าร้าง, คนที่มีรายได้สูงเป็นมากกว่าคนที่รายได้ต่ำ ถึงปานกลาง เป็นต้น

  ลักษณะอาการ(Signs & symptoms)

 บกพร่องทางการมองเห็นข้างออนแรง(loss of vision), มีอาการปวดศีรษะ(head pain), อาการชา(numbness), อาการอ่อนแรง(weakness/paralysis), ยากลำบากในการพูด เข้าใจ และการอ่าน(difficulty in speak,understand,read)

   ผลกระทบ(Impact)
- สูญเสียการเคลื่อนไหวของแขน และมือ
- บกพร่องในการเคลื่อนย้ายตนเอง
- มีข้อจำกัดในการทำกิจวัตรประจำวัน
- ส่งผลต่อสุขภาพจิต (ซึมเศร้า วิตกกังวล)
- มีอาการปวดไหล่ของข้างอ่อนแรง ซึ่งเกิดจากไหล่หลุด(Shoulder subluxation)

           ที่มา :  Sung Sug Yoon, Richard F. Heller, Christopher Levi, John Wiggers and Patrick E. Fitzgerald.Knowledge of Stroke Risk Factors, Warning Symptoms, and Treatment Among an Australian Urban Population.Stroke. 2001;32:1926-1930

           P. Amarenco J. Bogousslavsky L.R. Caplan G.A. Donnan M.G. Hennerici.Classification of Stroke Subtypes.Cerebrovasc Dis 2009;27:493–501

การให้คะแนน PEDro scale ดังนี้

Internal Validity Score: 0/8            Statistical Reporting Score: 0/2

• Randomly allocated: No             • Between-group comparisons: No

• Concealed allocation: No            • Point estimates and variability: No

• Baseline comparability: No           Eligibility Criteria Specified: No

• Blind subjects: No 

• Blind therapists: No 

• Blind assessors: No

• Adequate follow-up: No

• Intention-to-treat: No

การให้น้ำหนัก :(+/-) "อาจทำหรือไม่ทำ"  เนื่องจากงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยสำรวจของประเทศ Australia ซึ่งบริบทอาจแตกต่างจากประเทศไทย สามารถนำมาเป็นแนวทางในการได้ แต่ควรหาหลักฐานงานวิจัยจากประเทศไทยสนับสนุนเพิ่มเติมด้วย

   กรอบอ้างอิงที่เหมาะสมในการอธิบายคุณค่าของวิชาชีพต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้รับบริการ

กล่าวถึงการใช้กรอบอ้างอิง International Classification of Functioning, Disability and Health (ICF) สำหรับโปรแกรมการรักษาเพื่อดูผลกระทบต่อความพึงพอใจในชีวิต(life satisfaction), ความรับรู้ความสามารถในตนเอง (self-efficacy), และการทำงาน(functioning) 
ที่มา : Carla Sabariego.Andrea E. BarreraSilvia NeubertMarita Stier-Jarme. Cristina Bostan. Alarcos Cieza.Evaluation of an ICF-based patient education programme for stroke patients: A randomized, single-blinded, controlled, multicentre trial of the effects on self-efficacy, life satisfaction and functioning.The British Psychological Society 2012

การให้คะแนน PEDro scale ดังนี้

Internal Validity Score: 4/8            Statistical Reporting Score: 1/2

• Randomly allocated: Yes             • Between-group comparisons: Yes

• Concealed allocation: No            • Point estimates and variability: No

• Baseline comparability: No           Eligibility Criteria Specified: No

• Blind subjects: Yes

• Blind therapists: No 

• Blind assessors: No

• Adequate follow-up: Yes

• Intention-to-treat: Yes

การให้น้ำหนัก : (+) "น่าทำ" แม้ผลการวิจัยจะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่หัวข้อ และรูปแบบการวิจัยมีความน่าสนใจ และเหมาะสมกับกรณีศึกษา ยังไม่ได้ผ่านการวิเคราห์ผ่านบริบทของไทย
   

กระบวนการให้เหตุผลทางคลินิก

Randomized Trial of Distributed Constraint-Induced Therapy Versus Bilateral Arm Training for the Rehabilitation of Upper-Limb Motor Control and Function After Stroke

ที่มา :Ching-yi Wu. Li-ling Chuang. Keh-chung Lin. Hsieh-ching Chen. Pei-kwei Tsay.Randomized Trial of Distributed Constraint-Induced Therapy Versus Bilateral Arm Training for the Rehabilitation of Upper-Limb Motor Control and Function After Stroke.Neurorehabil Neural Repair.2011;(25)2:130-139

สรุป: ผลของเทคนิคการรักษาแบบ Distributed Induced Therapy กับ Bilateral Arm Training ไม่มีความแตกต่างกันมากนักขึ้นอยู่กับเป้าประสงค์ BAT จะได้ผลดีในการเพิ่มระดับแรงของแขน ส่วน Distributed Induced Therapy จะได้ผลในการเพิ่มความสามารถในการทำงานชีวิตประจำวันของแขนข้างที่อ่อนแรง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวางแผนของนักกิจกรรมบำบัดด้วย

 

การให้คะแนน PEDro scale ดังนี้

Internal Validity Score: 2/8            Statistical Reporting Score: 1/2

• Randomly allocated: Yes             • Between-group comparisons: Yes

• Concealed allocation: No            • Point estimates and variability: No

• Baseline comparability: No           Eligibility Criteria Specified: Yes

• Blind subjects: No

• Blind therapists: No 

• Blind assessors: No

• Adequate follow-up: Yes

• Intention-to-treat: No

การให้น้ำหนัก : (+) "น่าทำ" มีความเหมาะสมกับสถานการณ์และสถานภาพของการประกอบวิชาชีพในประเทศไทย และเนื่องจากทั้งสองเทคนิค เป็นที่นิยมในการรักษาทางคลินิกของนักกิจกรรมบำบัดในเมืองไทยด้วย ที่สำคัญเป็นเทคนิคที่กระผมใช้กับกรณีศึกษาทั้งสองเทคนิค 
 




หมายเลขบันทึก: 541660เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2013 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2013 19:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท