สาระการเรียนรู้ 1 : ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร


 ดิฉันหนูเกลส  น้องใหม่  ฝึกหัดวงการครุศาสตร์ต้องขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะค่ะ 

เรียนทุกๆท่านถ้ามีข้อผิดพลาดประการใดขออภัย ณ. ที่นี้  ไม่ว่าจะเป็นด้านคำพูด  ตัวอักษรหรืออักขระ  ข้อความดังกว่าที่ได้เรียบเรียงมาเพื่อต้องการให้ศึกษาเสริมความรู้  ขยายโอกาส  เสริมสร้างแรงบันดาใจ  แด่ท่านทั้งหลายที่มีความใฝ่รู้  ใฝ่ดี ใฝ่ฝัน  ที่อยากจะเป็นครู  อนาคตอยู่แค่เอื้อม  มิได้เรือนจ่างไปไหนเพราะฉะนั้น  จงตั้งใจผลสุดท้ายต้องได้ดี  แต่ถ้าเกรดขอเอบีได้ไหมค่ะต้องขอโทษถ้าฉันนั้นทำผิด  โปรดช่วยคิดให้คำแนะนำฉัน ช่วยชี้แจงชี้แนะได้แก้ไขกัน  การศึกษาของไทยนั้นบอกเป็นครู  ยินดีรับฟังข้อเสนอ,ข้อผิดพลาดเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ค่ะ        และขอขอบพระคุณล่วงหน้าเลยเจ้าค่ะ   (ขอบคุณค่ะ)

 ความหมายของทฤษฎี

ทฤษฎี(Theory)หมายถึง หลักการที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว และกำหนดขึ้นมาเพื่อจะได้ทำหน้าที่อธิบายการกระทำหรือปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

(อาภรณ์ ใจเที่ยง.2525:1 อ้างถึงใน รศ.ดร.ประพิมพ์พรรณ โชคสุวัฒนสกุล.หลักสูตรมัธยมศึกษา.2534:34)

ความหมายของทฤษฎีหลักสูตร

ทฤษฎีหลักสูตร (Curriculum Theory) หมายถึง ข้อความที่อธิบายความหมายของหลักสูตรโดยชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ชี้นำแนวทางการพัฒนาการใช้และการประเมินผลหลักสูตรประกอบกัน

(รศ.ดร.ประพิมพ์พรรณ โชคสุวัฒนสกุล.หลักสูตรมัธยมศึกษา.2534:34)

ทฤษฎีหลักสูตรชนิดต่างๆ

ทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้

1.  ทฤษฎีแม่บท เป็นทฤษฎีหลักที่กล่าวถึงหลักการ กฎเกณฑ์ทั่วๆไป ตลอดจนโครงสร้างของหลักสูตร

2.  ทฤษฎีเนื้อหา เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับเนื้อหา กล่าวถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ

3.  ทฤษฎีจุดประสงค์ เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และกล่าวถึงว่าจุดประสงค์นั้นๆได้อย่างไร

4.   ทฤษฎีดำเนินการ เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงว่า จะทำหรือดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างไร  

(กาญจนา คุณารักษ์.2527:5 อ้างถึงใน โกสินทร์ รังสยาพนธ์.2526:25)

  ในแวดวงนักศึกษาผู้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้มากมาย โดยไม่สามารถทำให้ทุกคนเห็นพ้องกับความหมายใดเพียงความหมายเดียว เพราะหลักสูตรเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาแต่อาจแบ่งกลุ่มความหมายของหลักสูตรได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

1) กลุ่มความหมายที่เน้นถึงเนื้อหาสาระที่จะต้องเรียนรู้

2) กลุ่มความหมายที่เน้นความหมายสำคัญของจุดหมายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน และ

3) กลุ่มความหมายที่เน้นกระบวนการที่จะพัฒนาผู้เรียน

ความรู้ในทฤษฏีต่างๆ มีอย่างน้อย 6 ทฤษฎี หรือกระจุกความรู้  คือ

1.   ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการศึกษา

2.  ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการบริหารการศึกษา

3.  ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้

4.  ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการวิจัยการศึกษา

5.  ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีสังคมวิทยาและพฤติกรรมมนุษย์

6.  ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีหลักสูตร

สรุป

        ในความคิดของดิฉันคิดว่า ทฤษฎีหลักสูตรคือการผสมผสานความรู้ด้านต่างๆ เพื่อนำมาพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อต่อยอดความรู้ให้มีการพัฒนาขึ้นต่อไปอีกเรื้อยๆโดยไม่มีที่สิ้นสุด  พร้อมหาหลักการและทฤษฏีใหม่ๆอยู่เสมอ และเป็นแนวทางในการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน  สังคมและประเทศ  ให้มีแนวทางแผนการศึกษาที่มั่นคงหรือมีโครงสร้างด้านการศึกษาที่ดีขึ้นและมีการพัฒนาให้ดียิ่งชึ้นไปอีกเพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามแผนงานต่างๆ

หมายเลขบันทึก: 541499เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2013 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2013 21:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

บทสรุปของหนูเกลส เป็นสรุปความหมายของหลักสูตรนะคะ ไม่ใช่ทฤษฎีหลักสูตรค่ะ

บทสรุปของคุณคือความหมายของหลักสูตร ไม่ใช่ทฤษฎีหลักสูตรนะคะ ลองอ่านและทบทวนความเข้าใจของตัวเองอีกครั้งนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท