สรุปโครงการปลูกใจรักษ์โลก



หนึ่งปีกับการเดินทางของกลุ่มฮักนะเชียงยืนไปกับปลูกใจรักษ์โลกของมูลนิธิกองทุนไทย
ผลที่เกิดจาการพัฒนาศักยภาพของเยาวชน (เรื่องเล่าของพวกเขา)

สามสหายในการเดินทาง ร่วมสรุปโครงการ ปกติกลุ่มเราจะมี10คน

เป็นกลยุทธ์ที่เยี่ยมมากในการดึงประสบการณ์ในการทำงานออกมาในรูปปฎิมากรรมอะไรก็ได้

กลุ่มที่ลงมือทำแต่รายงานเอกสารไม่คล่องก็รายงานได้

"แสน บอกว่าในเมื่อบอกพ่อแม่ไม่ได้เพราะแก่แล้ว เราต้องปลูกจิตวิญญาณตั้งแต่ตอนเล็ก"

                                   เอ็ม เปรี้ยว แสน

จับกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซักถามสิ่งที่อยากรู้อยากเห็น                      

ศักยภาพของกลุ่มฮักนะเชียงยืนจะแสดงออกเป็นระยะ

เอ็มบอกว่าตอนแรกหนักใจที่สุด แต่พอถึงเวลาพูดมากที่สุดเลย

เอ็มบอกว่ามีความสุข สนุกมากครับครูเหมือนกับไม่ได้มาสรุปงาน

                    

                                    หนังสือพิมพ์ของพวกเขา

                   

            สิ่งที่เห็นจากการระดมทุนขวาสุดคือจิตวิญญาณ ถามเขาว่า มาได้อย่างไรเพราะเท่าที่เดินดูกลุ่มอื่นๆ ไม่มี

เขาบอกว่า ถ้าเราไม่มีจิตอาสา งานเราก็ไม่สำเร็จครับ

                  

                                 ขวัญใจชาวค่าย....ฮา ชายแสนภาคภูมิใจมาก

                           

อยากจะบอกว่าหนึ่งปีของการพัฒนาศักยภาพของเด็กได้เต็มเกินร้อย..ของกลุ่มฮักนะเชียงยืน  เด็กได้รับการพัฒนาโดยเฉพาะทักษะชีวิต พวกเขาติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างมีความสุข ได้เรียนรู้ในสิ่งที่อยากรู้อยากเห็น ในสิ่งที่ในบทเรียนไม่มี โดยเฉพาะ ช่วงคืนข้อมูล พวกเขาอธิบายผลการตรวจดินของเกษตรกรแต่ละคนอย่างมีความสุข เมื่อเจ้าของที่ ซักถาม

          เด็กๆ เกิดจิตสำนึกในตัวเอง โดยเฉพาะด้านสารเคมี โดยเฉพาะแตงแคนตาลูป พวกเขาจะไม่กิน(ฮา)

          เด็กๆ เกิดจิตอาสา (โดยเฉพาะเด็กเก่งที่เราต้องการให้เกิด อยากให้เขาเก่งอย่างมีคุณภาพ โดยเฉพาะเนส 4.00 เราต้องการพิสูจน์ให้สังคมเชียงยืนพิทยาคมเห็นว่า เด็กกิจกรรมก็ไม่เสียการเรียน)

         เด็กๆ ได้วางแผนการบริหารจัดการงานของพวกเขาเอง

          ทีสำคัญคือพวกเขารู้จักการประเมินและทบทวนตนเอง อย่างเช่น ส้มและเปรี้ยว บอกว่า ครูหนูใจเย็นมากกว่ารู้ หนู ไม่โต้ตอบ จนกว่าหนูจะแน่ใจ  แสน รู้จักใช้การห้อยแขวน  และที่สำคัญแสนได้ส่งงานวิจัยเล็กๆ กับ สสวท (สาธุขอให้เขาผ่าน เขาจะได้พัฒนาการวิจัยอย่างมีระบบ มันแสดงว่าเขาเกิดการใฝ่เรียนรู้อย่างมีความสุข)

         ผลที่เกิดกับชุมชน ในตัวครูเองให้คะแนนเต็ม10 เพราะชาวบ้านเริ่มตระหนัก  แค่เขาเริ่มตระหนัก คือได้เต็ม

        ส่วนครูที่เป็นผลพลอยได้จากการพัฒนาครั้งนี้ เกินร้อยเหมือนกัน(ฮา...)จากครูที่สอนสังคมไม่รู้เรื่องโครงงาน จากการลงพื้นที่จริง เราได้เรียนรู้ไปพร้อมเด็กทักษะต่างๆ โดยเฉพาะการสร้างบันดาลใจ ถูกนำมาใช้เต็มที่..เพราะเด็ก..ขาดพลังใจมาก เมื่อถูกคำถาม ว่าทำไปทำไม ได้อะไร.......ทักษะการเป็นโค๊ช คอยชี้แนะ เมื่อเด็กๆ เจอปัญหาได้ทักษะการสืบค้นที่เป็นเลิศ เพราะเราต้องชัวร์ก่อนจะชี้แหล่งข้อมูล...สนุกมาก

              

                                              แสน เอ็ม เนส เนย ก็อด มิน แสน

                                                          เปรี้ยว ส้ม อีฟ

                               ฮักนะเชียงยืนรุ่นแรก พวกเขาพร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงให้น้อง

               

                  พร้อมขยายเครื่อข่าย มีรุ่นสองพร้อมรับมือพัฒนางานต่อ ถึงกลุ่มไม่ใหญ่ แต่ใจสู้ ๆ






หมายเลขบันทึก: 541218เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2013 20:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กรกฎาคม 2013 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

 



...เด็กๆ มีความสุข นะคะ .... ขอบคุณค่ะ ...


 

อ่านแล้วมีความสุขมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท