จิ๊บ พัชรี
นักศึกษากิจกรรมบำบัด พัชรี รุ่งฉัตร

แตกประเด็นและวิเคราะห์การให้เหตุผลทางคลีนิก(กิจกรรมบำบัด)จากบทความที่น่าสนใจ


อ้างอิงนิตยสาร : Orawan. โตก่อนวัย ใช่เป็นเรื่องดี.  Mother & Care. 9, 87. (มีนาคม 2555) : 58-59


บทความจากนิตยสาร  Mother & Care ฉบับที่ 87 หน้าที่ 58-59

โตก่อนวัย ใช่เป็นเรื่องดี...

       บทความที่ดิฉันได้อ่านนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับโรค “เป็นหนุ่มสาวก่อนวัย” ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตเกินวัยหรือเกินระดับพัฒนาการที่ควรจะเป็น เช่น ในเพศหญิงจะมีหน้าอกและมีประจำเดือน สำหรับในเพศชายจะมีอวัยวะเพศใหญ่ขึ้น มีหนวดเครา เป็นต้น ซึ่งการเจริญเติบโตในด้านนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเด็กมีอายุ 8-9 ปี (โดยการทำหน้าที่ของฮอร์โมนเพศ) แต่หากเกิดการเปลี่ยนแปลงในเด็กที่อายุต่ำกว่า 8-9 ปี จิตใจของเด็กยังไม่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ทำให้พัฒนาด้านจิตใจเสียสมดุลไป เกิดเป็นโรค “เป็นหนุ่มสาวก่อนวัย”นั่นเอง และจากบทความนี้เอง ดิฉันจึงเกิดข้อสงสัยที่ว่าทำไมเด็กจึงเป็นโรค “เป็นหนุ่มสาวก่อนวัย” ดิฉันจึงได้นำบทความมาวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผลทางคลินิกที่สนับสนุนบทความจากนิตยสารข้างต้น เพื่อตอบคำถามที่ดิฉันสงสัย ซึ่งสรุปได้ 3 ประเด็นดังนี้ค่ะ

1. Scientific Reasoning คือการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งกล่าวถึงสาเหตุของการเกิดโรค “เป็นหนุ่มสาวก่อนวัย” ไว้ว่า โรคเป็นหนุ่มสาวก่อนวัยมีสาเหตุมาจากการทำงานของฮอร์โมนเพศ ที่มีความผิดปกติ คือทำงานเร็วกว่าปกติ (ก่อนอายุ 8-9 ปี) นอกจากนี้ไขมันที่สะสมในร่างกายยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่ง เนื่องจากคลอเลสเตอรอลเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนเพศ

2. Conditioning Reasoning คือการให้เหตุผลเชิงเงื่อนไข โดยจากบทความนั้นได้แตกเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เกิดโรค ไว้สามด้านคือ

- การทำงานที่ผิดปกติของต่อมใต้สมองที่เป็นส่วนที่ผลิตฮอร์โมนเพศ อาจมีความผิดปกติมาแต่กำเนิด หรือเนื้อสมองส่วนนี้ได้รับความกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ ได้รับการผ่าตัดหรือฉายแสง การเป็นเนื้องอก

- การกินวิตามินหรือยาบำรุงที่มีฮอร์โมนเพศจะเป็นการเร่งพัฒนาการด้านร่างกายให้เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วขึ้น

- ไขมันที่สะสมในร่างกาย อันเกิดจากภาวะโภชนาการเกินของบุคคล

3. Cultural Reasoning คือการให้เหตุผลเชิงวัฒนธรรม ซึ่งจากบทความได้กล่าวถึงความเชื่อของคุณพ่อและคุณแม่ที่ว่า ลูกเจริญเติบโตเร็วเป็นเรื่องที่ดี เป็นความสุขของพ่อแม่ที่ได้เห็นลูกโตวันโตคืน คิดว่าลูกมีพัฒนาการก้าวหน้ากว่าเด็กคนอื่น ซึ่งทำให้เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เร็วเกินไปก็ไม่ได้ไปพบคุณหมอหรือหาทางแก้ไขแต่อย่างใด กลับปล่อยทิ้งไว้

             ซึ่งการที่เด็กเป็นโรค “เป็นหนุ่มสาวก่อนวัย” นั้นทำให้เกิดผลเสียตามมาคือการที่เด็กจะเสียสมดุลทางจิตใจ เช่น อายเพื่อน เก็บตัว จนไปถึงปัญหาเสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดทางเพศและการตั้งครรภ์ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตการเปลี่ยนแปลงของลูกคุณเอง หากพบความผิดปกติจะได้แก้ไขได้ทัน เพื่อลูกๆของคุณจะได้มีพัฒนาการทั้งร่างกายและจิตใจที่สมวัยนะคะ ขอบคุณค่ะ.


หมายเลขบันทึก: 541013เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2013 00:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กรกฎาคม 2013 00:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 ..... โตแต่ทางกายนะคะ ..... ใจไม่พัฒนา เหตุผล  วุฒิภาวะ นะคะ ...... 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท