นักสร้างสุของค์กร ฤา นางงามมิตรภาพ


เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 56 ที่ผ่านมานั้น ผู้เขียนได้รับโอกาสอันดี ให้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ นักสร้างสุของค์กร หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า นสอ. หลาย ๆ คนคงเกิดความสงสัยว่า นสอ. แปลว่าอะไร มีหน้าที่อะไร ทำไปทำไม วันนี้จะนำสาระเน้น ๆ ที่ได้รับฟังจากการอบรม นสอ. มาบอกเล่าเก้าสิบกันแบบชนิดไม่หวง ไม่กั๊ก กันเลยค่ะ  

เริ่มต้นด้วย แนวคิดการสร้างสุขในองค์กร นั้น มีหลักความสุข 8 ประการ ได้แก่ 1. Happy Body   2. Happy Heart  3. Happy Relax  4. Happy Brain  5. Happy Soul  6. Happy Money  7. Happy Family  8. Happy Society เราทุกคนสามารถสร้างความสุขได้ โดยเริ่มที่ตัวเราเองต้องเปลี่ยนวิธีคิด มองให้เป็นมุมบวกและปรับตัวอยู่กับความเป็นจริงได้ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เมื่อวิธีคิดเปลี่ยน การกระทำเปลี่ยน ชีวิตก็จะเปลี่ยนไปสู่ความสุขที่เพิ่มมากขึ้น มากขึ้น

สำหรับองค์กร การจะเปลี่ยนแปลงไปสู่องค์กรที่มีความสุขได้ จะต้องเป็นองค์กรที่สามารถจัดการคน และจัดการงานให้เดินไปพร้อมกัน นั่นคือ องค์กรต้องมี Team คน และ Work งาน ดังนั้น Teamwork ก็คือ ทีมที่ทำงานได้ ซึ่งจะต้องมาพร้อมกับ Trust ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เชื่อใจกัน จึงจะทำให้คนในองค์กรมีความสุข Happy สามารถคิดได้อย่างสร้างสรรค์ Creativity โดยใช้สมองซีกขวาเพื่อให้เกิดการพัฒนางานที่ดีคือ Work และเกิดความสุขในองค์กร Happy Workplace ในที่สุด

นอกจากองค์กรจะต้องสร้างความเชื่อใจต่อกันแล้ว ยังจะต้องทำให้คนในองค์กรรู้หน้าที่ และความรับผิดชอบ ทำให้คนในองค์กรรู้คุณค่าของการทำงานและบทบาทหน้าที่ของตนเอง เป็นองค์กรที่มุ่งเน้นส่งเสริมการเรียนรู้ในองค์กร และเป็นองค์กรที่สร้างคนให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง

ถ้าเราเข้าใจคนในองค์กร เราจะออกแบบคนที่พร้อมทำงาน นักสร้างสุขมีหน้าที่ เอื้อ แต่ไม่ได้สร้างทุกอย่าง เอื้อให้เขาสามารถดึงตัวเองออกมาสร้างความสุขให้กับการทำงาน ถ้าเปรียบนักสร้างสุขกับการสร้างบ้านอย่างมีความสุข ไม่ได้หมายความว่า ให้นักสร้างสุขสร้างบ้าน แต่หมายความว่า เป็นการสร้างให้คนในบ้านมีความสุข โดยไม่ต้องจัดกิจกรรมเยอะ ไม่ต้องของบ เอาที่มีอยู่ แทนที่จะจัดสัมมนากินข้าวโอดี ปีละครั้ง รักกัน 3 วันแล้วกลับมาทะเลาะกันต่อ ทำให้เป็นโอดีทุกวัน ปรับวิธีคิดใหม่ ทำให้คนมีส่วนร่วม

วันนี้ผู้เขียนจึงขอนำเรื่องราวความเป็นตัวตนของคนในคณะ มาเรียนรู้ และพยายามเข้าใจไปพร้อม ๆ กันนะคะ  ถ้ามองไปรอบ ๆ ตัวเราแล้วส่วนใหญ่ในคณะของเราจะมีคนหลายรุ่น หลายวัย คละเคล้ากันไป ซึ่งตามหลักสากลจะมีการแบ่งกลุ่มคนทำงานออกเป็น 3 กลุ่ม(Generation)คือBaby Boomer, Generation XและGeneration Yซึ่งแต่ละกลุ่มมีคุณลักษณะเด่นที่แตกต่างกัน ดังนี้ค่ะ 

Baby Boomer คือ กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2489–2507 อายุ 44–62 ปี จะเป็นคนที่มีชีวิตเพื่อการทำงาน เคารพกฎเกณฑ์ กติกา อดทน ให้ความสำคัญกับผลงานแม้ว่าจะต้องใช้เวลานานกว่าจะประสบความสำเร็จ อีกทั้งยังมีแนวคิดที่จะทำงานหนักเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว มีความทุ่มเทกับการทำงานและองค์กรมาก ให้ความสำคัญของครอบครัวรองลงมาจากงาน คนกลุ่มนี้จะไม่เปลี่ยนงานบ่อยเนื่องจากมีความจงรักภักดีกับองค์กรอย่างมากถึงมากที่สุด

Generation Xคือ กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 25082522 อายุ 29–43 ปี มีลักษณะพฤติกรรมชอบอะไรง่าย ๆ ไม่ต้องเป็นทางการ ให้ความสำคัญกับเรื่องความสมดุลระหว่างงานกับครอบครัว(Work – life balance)  พูดง่าย ๆ คือไม่บ้างาน พยายามจะมีเวลากับครอบครัว มีแนวคิดและการทำงานในลักษณะรู้ทุกอย่างทำทุกอย่างได้เพียงลำพังไม่พึ่งพาใคร มีความคิดเปิดกว้าง พร้อมรับฟังข้อติติงเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง ว่ากันว่าบรรดาคณะรัฐมนตรีของประธานาธิบดีบารัค โอบามา นั้นส่วนใหญ่เป็นคนเจนเอ็กซ์

Generation Y คือ กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2523–2543 อายุ 8–28 ปี เป็นกลุ่มคนที่โตมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีไอที เป็นวัยที่เพิ่งเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน มีลักษณะนิสัยชอบแสดงออก มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบอยู่ในกรอบและไม่ชอบเงื่อนไข คนกลุ่มนี้ต้องการความชัดเจนในการทำงานว่าสิ่งที่ทำมีผลต่อตนเองและต่อหน่วยงานอย่างไร อีกทั้งยังมีความสามารถในการทำงานที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร และยังสามารถทำงานหลาย ๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน

เป็นไงบ้างคะ ลองเทียบเคียงดูแล้วตรงกับบุคลิก หรือ แนวคิดของเราบ้างไหม แต่ในการทำงานถึงแม้ว่าแต่ละGenerationจะมีบุคลิกลักษณะที่แตกต่างกัน แต่เราก็สามารถอยู่ และทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข เพราะความแตกต่างคือความงดงาม คือที่มาของความคิดที่หลากหลาย คือพลังแห่งความคิดที่สร้างสรรค์ต่อยอด  

ดังนั้นหากเพียงแต่เราเปิดใจ ยอมรับความแตกต่าง และประสานจุดเด่นของแต่ละGenerationเพื่อให้เกิด พลังร่วม”ในการผลักดันให้องค์กรของเราก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป

พบกันใหม่ฉบับหน้าถ้ามีโอกาสนะคะ สวัสดีค่ะ


คำสำคัญ (Tags): #นสอ.
หมายเลขบันทึก: 540627เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2013 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มิถุนายน 2013 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เคยสับสนตนเองบ่อย ๆ อยู่เสมอครับว่า

ตกลง ตนเองจะเอายังไงกันแน่ กับชีวิตตนเอง...

ได้อ่านบันทึกนี้แล้ว นำมาประกอบการคิดทบทวนตนได้ดีมากครับ

ขอขอบคุณมากครับ

ชยพร   แอคะรัจน์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท