กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process)


กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process)

กระบวนการในการจัดการความรู้ (The Conduct of KM) จะเริ่มขึ้นเมื่อพบว่าองค์กรต้องการความรู้บางอย่างมาใช้ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา ทดลองหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ 

 กระบวนการพื้นฐานในการจัดการความรู้ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ

          1. การแสวงหาความรู้ เป็นการแสวงหาความรู้ทั้งที่เป็นการหยั่งรู้เอง  ทักษะ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ผู้มีประสบการณ์สูง จะมองเห็นแนวโน้มหรือทิศทางของความต้องการใช้ความรู้ด้านต่าง ๆ แล้ววางแผนและดำเนินการ  ที่จะจัดหาความรู้นั้น ๆ มา โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศประแภทต่าง ๆ เป็นเครื่องช่วยประสานและอำนวยความสะดวก

         2. การแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ เป็นการเผยแพร่และกระจายความรู้ในเรื่องต่าง ๆ การเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยนักจัดการความรู้มือใหม่ ผ่านเครือข่ายการสื่อสารความรู้รูปแบบต่าง ๆ

         3. การใช้ประโยชน์ความรู้  การเรียนรู้จะบูรณาการอยู่ในองค์กรมีอะไรอยู่ในองค์กร สมาชิกองค์กรสามารถรับรู้และประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา ทั้งการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ และการใช้ประโยชน์ความรู้ จะเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน

เครื่องมือที่สำคัญที่ช่วยประสาน สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในกระบวนการทั้งหมดคือ เทคโนโลยีสารสนเทศ

  กระบวนการพื้นฐานทั้ง 3 ส่วนแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้เห็นชัดเจนและเพื่อความสะดวกในการดำเนินการ เป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้

         1. Knowledge Identification การระบุหรือบ่งชี้ความรู้ ต้องรู้ว่า ความรู้ที่ต้องการและจำเป็นต้องใช้คืออะไร เคยมี เคยใช้มาก่อนหรือไม่ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องรู้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้างอยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร

         2.  Knowledge  Creation  & Acquisition การสร้างและแสวงหาความรู้ ความรู้ที่ต้องการและจำเป็นต้องใช้นั้นบุคคลหรือองค์กรสามารถสร้างขึ้นเองได้หรือไม่ ถ้าสร้างไม่ได้ก็แสวงหามาจากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว

         3. Knowledge  Organization การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้  เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบ

         4. Knowledge  Condification & Refinement  การประมวลและกลั่นกรองความรู้  เช่นปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน อยู่ในรูปที่กระชับ กระทัดรัดพร้อมใช้ประโยชน์

         5. Knowledge  Dissemination & Access การเผยแพร่และกระจายความรู้ ให้คนอื่นเข้าถึงได้ นำความรู้ที่ได้จากข้อ 4 ออกมาเผยแพร่ 

         6.  Knowledge Sharing การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ กรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็น เอกสาร, ฐานความรู้, เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน, กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม, ชุมชนแห่งการเรียนรู้, ระบบพี่เลี้ยง, การสับเปลี่ยนงาน, การยืมตัว, เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น

         7.  Learning & Utilization การเรียนรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ เป็นการที่บุคคลหรือองค์กรเกิดการเรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์กระบวนการความรู้ 7 ขั้นตอนไม่มีวันสิ้นสุด

บรรณานุกรม

  อัญญาณี  คล้ายสุบรรณ์ การจัดการความรู้ฉบับปฐมบท.นครปฐม : เพชรเกษม พริ้นติ้ง กรุ๊ป, 2550

 การจัดการความรู้--จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ / คณะผู้เขียน บุญดี บุญญากิจ ... [และคนอื่นๆ]กรุงเทพฯ : สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, 2549


หมายเลขบันทึก: 540287เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2013 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2013 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท