ปัญหา Social media addiction ที่ส่งผลต่อ Flipped Classroom


นักศึกษาจำนวน 70 คน ในวิชา Human-Computer Interaction (HCI) ที่สอนเทอมนี้ ดิฉันเริ่มต้นด้วยการเรียนการสอนในห้อง lecture แต่ด้วยความตั้งใจที่จะสอนแบบ Flipped classroom หรือห้องเรียนกลับทาง จึงได้ย้ายกันไปเรียนที่ห้องแลบคอมพิวเตอร์เพื่อนักศึกษาจะได้ดูตัวอย่างการออกแบบเว็บไซต์ต่างๆ ที่ดิฉันได้นำมาเสนอไปด้วยจะได้เห็นภาพได้ลองคลิ้กเองและได้ถามตอบกันได้อย่างสนุกสนานค่ะ

เราตั้งกฎกติกากันว่าเราจะไม่เปิดเว็บหรือโปรแกรมอื่นใดที่ดิฉันไม่ได้ให้เปิดค่ะ เรียนมาได้สองครั้งค่ะปรากฎว่านักศึกษาไม่สามารถอดทนอดกลั้นต่อหน้าจอมอนิเตอร์ที่อยู่ด้านหน้าได้ พากันเปิดเว็บสื่อสังคมออนไลน์เพื่อติดตามข่าวสารและเล่นเกมส์กันแบบพยายามหลบสายตาอาจารย์ผู้สอน แต่ภาษาใบหน้าและท่าทางอากัปกิริยาก็ฟ้องออกมาอย่างเห็นได้ชัดค่ะ

ปัญหา Social media addiction ในการเรียนรู้และการอ่านหนังสือของเยาวชนไทยนี่รุนแรงขึ้นทุกวันค่ะ ทำให้เด็กเรามีสมาธิสั้นลง หรือ Attention span ในการเรียนรู้ต่ำลงมากค่ะ จึงไม่น่าแปลกที่เยาวชนไทยอ่านหนังสือน้อยลงค่ะ ดิฉันคิดว่ามันแรงจนถึงขนาดเปลี่ยนสมองคนเราที่ใช้ในการ process ข้อมูลต่างๆ ได้ทีเดียวค่ะ นี่เป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งของการเรียนการสอนแบบ Flipped classroom นะคะ

ดิฉันตัดสินใจเปลี่ยนกลับไปเรียนกันในห้อง lecture เหมือนเดิมค่ะ (ดังรูป) และอนุญาตให้ผู้เรียนนำแท็บเล็ต (Tablets) หรือโน้ตบุ้ค (Notebooks) มาได้ค่ะเพื่อใช้ในการหาข้อมูลเพิ่มเติมในระหว่างเรียนค่ะ

ห้อง lecture นี่นั่งเรียนเป็นกลุ่มเพื่อทำ PBL ลำบากค่ะ ดิฉันไม่สามารถเดินไปดูผู้เรียนได้ทุกกลุ่มจำนวน 14 กลุ่ม ได้อย่างทั่วถึงค่ะ แต่ก็ดีกว่าห้องแลบที่มีจอมอนิเตอร์ตั้งกั้นหน้าผู้เรียนอยู่ทุกโต๊ะค่ะ

ข้อเสียอีกอย่างสำหรับห้อง lecture คือ ผู้เรียนไม่มีเครื่องมือในการใช้เว็บ http://ClassStart.org เพื่อบันทึกการเรียนรู้ตอนที่ดิฉันสอนอยู่ หรือส่งแบบฝึกหัดงานกลุ่มที่ทำในห้องเรียนได้ทันทีค่ะ ดิฉันแก้ไขวิธีนี้โดยการให้ผู้เรียนถ่ายภาพกระดาษคำตอบแล้วส่งเข้าแบบฝึกหัดทีหลังเมื่อกลับไปที่พักค่ะ



ภาพห้องเรียนวิชา HCI


ภาพจาก: http://blog.socialappshq.com/2012/09/26/is-social-media-ruining-our-minds/


หมายเลขบันทึก: 540136เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2013 00:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2014 10:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ใช้วิธีล็อกจอภาพ 

ใช้ได้เฉพาะโปรแกรมที่อาจารย์สอน ไม่สามรถเข้าเว็ปนอกเหนือได้

น่าจะดีมั้ยครับ


อาจารย์ครับ ลูกหมูเห็นด้วย เพราะบางครั้งลูกหมูตอนประชุมก็เผลอไปทีเดียวกลายโรคติด social media ไปมากๆครับอาจารย์ แต่พยายามดึงตัวเองเข้ามา 


อนุญาตให้ผู้เรียนนำแท็บเล็ต (Tablets) หรือโน้ตบุ้ค (Notebooks) มาได้เพื่อใช้ในการหาข้อมูลเพิ่มเติมในระหว่างเรียนน่าจะดีกว่าค่ะ ไม่ต้องมีจอคอมฯมาตั้งกั้นอยู่ตรงหน้า สะดวกในการจัดกลุ่มเรียนด้วยค่ะ 

แต่เทอมหน้าจะลองใช้วิธีอาจารย์ยงดูนะคะ เรื่องนี้ต้องแจ้งทางคณะค่ะดำเนินการเองในห้องแล็บคณะไม่ได้ซะด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

อาจารย์ยงค่ะ ขอความรู้หน่อยค่ะ ต้องลงซอฟแวร์อะไรค่ะที่ล็อกได้ว่าไม่ให้เปิดโปรแกรมอื่นและไม่ให้เปิดเว็บไซต์อื่นค่ะ

" ปัญหา Social media addiction ในการเรียนรู้และการอ่านหนังสือของเยาวชนไทยนี่รุนแรงขึ้นทุกวันค่ะ ทำให้เด็กเรามีสมาธิสั้นลง หรือ Attention span ในการเรียนรู้ต่ำลงมากค่ะ จึงไม่น่าแปลกที่เยาวชนไทยอ่านหนังสือน้อยลงค่ะ ดิฉันคิดว่ามันแรงจนถึงขนาดเปลี่ยนสมองคนเราที่ใช้ในการ process ข้อมูลต่างๆ ได้ทีเดียวค่ะ นี่เป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งของการเรียนการสอนแบบ Flipped classroom นะคะ" 

ปัญหานี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับเยาวชนระดับอุดมศึกษาหรอกจ้ะ ... ในระดับ

ประถมศึกษาก็มีปัญหานี้มากขึ้นทุกวัน  เด็ก ๆ ปัจจุบัน กลายเป็นเด็กสมาธิสั้น

เป็นส่วนมาก  รอไม่เป็น  ควบคุมตัวเองไม่ได้  ไม่อ่านหนังสือ  เห็นคอม ฯ 

กลายเป็นสิ่งที่ใช้เล่นเกม  และอีกสารพัดปัญหา... เด็ก ประถมเป็นแบบนี้ แล้ว

เด็กมัธยม  อุดมศึกษา...จะไม่เป็นแบบนี้ได้อย่าไรจ๊ะ...ครูแก้ปัญหาปลายเหตุ  

แต่ต้นเหตุอยู่ที่ไหน ?  ใครจะต้องเป็นผู้แก้ปัญหา ?...?  ใครตอบได้จ๊ะ




สวัสดีค่ะอาจารย์จันทวรรณ

  • เมื่อภาคเรียนที่ผ่านมาครูนกยังใช้ClassStart กับการสอนเคมีแต่เทอมนี้ไม่ได้ใช้ค่ะ ครูนกแพ้โหวตเด็กๆ ค่ะอาจารย์  เด็กจะนิยมSocial media มากกว่า
  • ส่วนในห้องเรียนช่วงแรกครูนกเจอปัญหานักเรียนบางคนแอบใช้ในห้องเรียนเลยยื่นกฏเหล็กค่ะ  หลังจากเตือนหากพบอีกก็จะเชิญออกนอกห้องให้เรียนรู้ด้วยตามอัธยาศัยค่ะ เพราะอยากฝึกระเบียบวินัย และการเคารพกฏ กติกาของห้องเรียน
  • เป็นกำลังใจให้นะค่ะอาจารย์จัน สำหรับ Flipped classroom วันหนึ่งจะทำได้แต่ต้องเตรียมความพร้อมเด็กๆ เรื่องวินัยในตนเองก่อนค่ะในการจะแบ่งสรรเวลาเพื่อกิจกรรมต่างๆ การเคารพกฏ กติกา  และการใฝ่เรียนรู้ที่สำคัญไม่กลัวจะเหนื่อยลำบากกับการอ่านอะไรยาวๆ

ภาคเรียนนี้ มหาวิทยาลัยก็จัดห้องคอมฯ ให้เหมือนกันครับ

ผมก็มิได้ชื่นชอบนัก เพราะรู้สึกว่า การทำกระบวนการไม่สะดวก
มีคอมฯ ขวางหูขวางตาอยู่ ;)...

หากจะเริ่มกระบวนการจริง ก็สั่งปิด "หน้าจอ" ให้ดำมืดเสียก่อน

เมื่อเสร็จกระบวนการแล้วจึงยินดีตามอัธยาศัย

ถ้าไม่ทำ ... เรียนเชิญออกไปจากห้องเรียนเลย

ไม่เคารพกติกา ก็ไม่เคารพกันน่ะครับ ;)...

เคยสอนในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในวิชาสถิติ( regression analysis) หลังจากที่ได้มีการบรรยายและฝึกปฏิบัติมาก่อนหน้าแล้ว การเข้าห้องปฏิบัติการก็เพื่อให้ฝึกทักษะการวิเคราะห์โดยใช้คอมและซอฟท์แวร์ แต่จากประสบการณ์เคยพบปัญหาอย่างที่อาจารย์ได้กล่าวไว้จึงทดลองโดยให้ปัญหา(ชิ้นงาน)ที่ไม่ซ้ำกัน(มี นศ. 15 คน) และให้นำเสนองานทุกคน โดยวิธีนี้ทำให้ทุกคนต้องรับผิดชอบก็ทำให้ทุกคนใช้เวลาและสมาธิอยู่กับงาน ถ้าไม่เสร็จก็ต้องใช้เวลานอก ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้เหมือนกัน แต่ข้อเสียคือใช้เวลาในการตรวจส่วนที่เป็นการแปลผลมากเหลือเกินเด็กก็บ่นว่าเรียนหนัก แต่ท้ายที่สุดทุกคนก็ชินและอินกับการเรียนแบบนี้ เหมือนทานมะขามป้อมที่เฝื่อนฝาดเมื่อแรกกัดแต่กล้ำกลืนสักพักก็ชุ่มคอแล้วหยิบลูกที่สอง สาม สี่ มากินต่อได้เรื่อย ๆ  ได้ข้อคิดว่าคอมเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ในการเรียนการสอนวิชาประเภทนี้ในยุคนี้  แต่ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการวางแผน เตรียมการอย่างดี คาดการณ์ปัญหาและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นและป้องกันไว้ก่อน ข้อสำคัญต้องรีบตรวจงาน ให้คะแนนอย่างเร็ว (ห้ามเก็บไว้เป็นปีเด็ดขาด) นักศึกษาจะได้มีกำลังใจทำงานในสัปดาห์ต่อ ๆไป

ขอบคุณอาจารย์ที่นำประสบการณ์มาแบ่งปันค่ะ

ส่วนตัวผมลอง flip บ้างนิดหน่อย ก็พบว่า ให้เด็กไปศึกษาเอง ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพครับ ต้องยอมรับว่าเด็กไทย ทุกระดับชั้นเรียนเองไม่ค่อยได้นะครับ แต่ผมก็ไม่เห็นด้วยกับการล็อกหน้าจอนะครับ

ผมคิดว่าเราเดินดูเอาดีกว่า เหตุผลก็คือมันเป็นการใช้ "ไม้แข็ง" เข้าควบคุม ในขณะที่วัฒนธรรมโลกกำลังเปิดขึ้นเรื่อยๆ เราปิดเขา ก็เท่ากับเราเดินสวนทาง เหมือนผู้ปกครองที่ห้ามให้ลูกทำโน่นทำนี่ แทนที่จะอธิบายเหตุผลว่าทำแล้วจะเกิดผลอะไร แล้วให้เขาคิดว่าจะจัดการชีวิตตัวเองอย่างไรดี ยิ่งเราห้าม ยิ่งเราบังคับ ก็ยากที่เด็กจะเปิดใจกับเรานะครับ

เป็นกำลังใจให้อาจารย์ค้นพบโมเดลที่เหมาะกับชั้นเรียนอาจารย์ครับ :-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท