KM00140 : คิดไปเรื่อย 32 "กระบี่เย้ยยุทธจักร"


ในบรรดาบทประพันธ์ของ "กิมย้ง" ดูเหมือนว่า "มังกรหยก" จะเป็นเรื่องที่คนรู้จักกันมากที่สุด แต่เรื่องที่ผมชอบที่สุดกลับเป็นเรื่อง "กระบี่เย้ยยุทธจักร" จำได้ว่าเมื่อก่อนเคยฉายทางทีวี "โจวเหวินฟะ" แสดงเป็น "เหล้งฮู้ชง" ได้สมบทบาทและหน้าตามาก เรื่องนี้พอนำไปทำเป็นภาพยนต์ก็ชื่อว่า "เดชคัมภีร์เทวดา" นวนิยายเรื่องแม้จะแต่งมา 50 กว่าปีแล้ว แต่กลับสะท้อนข้อเท็จจริงในสังคมได้อย่างไม่ตกยุคสมัย "เหล้งฮู้ชง" พระเอกของเรื่องเป็นตัวอย่างของคนที่คิดนอกกรอบ สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ (คิดเพลงกระบี่เอง) แต่กลับถูกอาจารย์เจ้าสำนักบอกว่า "ไม่ถูกต้องตามหลักปฏิบัติของสำนักฝ่ายธรรมมะ" การคิดนอกกรอบของ "เหล้งฮู้ชง" ไม่ได้ออกนอกลู่นอกทาง แต่นั้นกลับอยู่บนพื้นฐานของ "คุณธรรม" เป็นหลัก เลือกคบหาคนที่เป็น "คนดี" มากกว่าแค่บอกว่าคนนั้นเป็นคนของ "ฝ่ายเทพ" หรือ "ฝ่ายมาร" วิธีคิดแบบ "เหล้งฮู้ชง" ไม่เป็นที่ยอมรับใน "ฝ่ายเทพ" จึงถูกขับออกจากสำนัก แต่ก็เพราะวิธีคิดนอกกรอบแบบ "เหล้งฮู้ชง" จึงทำให้เขาพบสิ่งที่ไม่คาดหมายและสิ่งมหัศจรรย์มากมาย (แต่ในชีวิตจริงเราอาจเจอแบบ "เหล้งฮู้ชง" ยาก หากมองในเรื่อง "กรรม" ก็อาจเพราะ "เหล้งฮู้ชง" ทำกรรมดีมามาก) ตรงข้ามกับ "งักปุ๊กคุ้ง" อาจารย์ของ "เหล้งฮู้ชง" ที่เป็นเจ้าสำนักฝ่ายเทพ ที่หลายคนมองว่าเป็นคนดี มีคุณธรรม แต่ถูกปลูกฝังจากเจ้าสำนักรุ่นก่อนว่าต้องเป็น "ผู้นำชาวยุทธให้ได้" แต่อาจไม่ได้สอนเรื่องคุณธรรม (คล้ายๆ กับเด็กสมัยนี้ที่พ่อแม่สอนว่าต้องเก่งแต่ไม่ค่อยได้สอนเรื่องต้อง "ดี") "งักปุ๊กคุ้ง" จึงทำทุกวิถีทางที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ โดยไม่สนใจเรื่อง "คุณธรรม" สุดท้ายก็ต้องแสดงธาตุแท้ของตัวเองออกมา นิยายจบลงด้วยธรรมมะชนะอธรรม เช่นเดียวกับทุกเรื่อง แต่สอดแทรกปรัชญาชีวิตและเสียดสีสังคมอยู่ไม่น้อย เรียกว่าไม่ตกยุคเลยครับสำหรับเรื่องนี้ ชอบครับ

หมายเลขบันทึก: 539789เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2013 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2013 09:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท