กรอบการเปิดเสรีภาคบริการภายใต้ AEC


กรอบการเปิดเสรีภาคบริการภายใต้ AEC มิได้เป็น ข้อผูกพันทางกฎหมายหากแต่เป็นเพียง“Roadmap” เพื่อให้การเจรจาในการเปิดเสรีภาคบริการในอาเซียน มีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนต่างจากการเจรจาใน อดีต

มายาคติ

ในปี พ.ศ. 2558 ผู้ประกอบการอาเซียนจะสามารถ

เข้ามาแข่งขันได้อย่างเสรีกับผู้ประกอบการไทย

ในทุกสาขาบริการ

ข้อเท็จจริง

1. กรอบการเปิดเสรีภาคบริการภายใต้ AEC มิได้เป็น

ข้อผูกพันทางกฎหมายหากแต่เป็นเพียง“Roadmap”

เพื่อให้การเจรจาในการเปิดเสรีภาคบริการในอาเซียน

มีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนต่างจากการเจรจาใน

อดีต

2. การเปิดเสรีภายใต้ AEC Roadmap มิใช่การเปิดเสรีที่

สมบูรณ์แบบเหมือน EU

การเจรจาด้านการค้าบริการในอาเซียน

1.การเจรจาการค้าบริการในอาเซียนซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2539 ภายใต้กรอบความตกลงการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services หรือ AFAS) ใช้รูปแบบ request/offer ซึ่งลอกเลียนมาจากการเจรจาเพื่อเปิดเสรีการค้าบริการในองค์การการค้าโลก (GATS)

2.เป็นการเปิดเสรีตามความพร้อมของรัฐสมาชิกเนื่องจากการเปิดเสรีภายใต้ AFAS ไม่คืบหน้าจึงได้มีการกำหนด“Roadmap”ในการเปิดเสรีภาคบริการในอาเซียนโดยมีการกำหนดเป้าหมายและเงื่อนเวลาในการเปิดเสรีใน AEC Blueprint เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายในการเปิดเสรีตาม Roadmap ดังกล่าวประเทศสมาชิกจะต้องยื่นข้อผูกพันที่จะเปิดเสรีภาคบริการในการเจรจาใน AFAS ครั้ง้ในปี.. 2009, 2011, 2015 และ 2016

เป้าหมายการเปิดเสรีภายใต้ AEC มีข้อจำกัด

1.กรอบการเปิดเสรีจำกัดเฉพาะ การเพิ่มสัดส่วนการถือหุุ้นของนักลงทุนอาเซียนในธุรกิจบริการไม่รวมกฎกติกาภายในประเทศที่อาจเป็นอุปสรรคกีดกันการแข่งขัน

2.กรอบแนวทางการเปิดเสรีให้ความยืดหยุ่นแก่ประเทศสมาชิกที่ไม่พร้อมที่จะดำเนินการตาม Roadmap ที่กำหนดไว้ใน AEC ทำให้การเปิดเสรีไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

ข้อสรุป

1.ชาติสมาชิกอาเซียนมิได้เดินตาม“Roadmap” ของ AEC ยกเว้นสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่เปิดอยู่แล้ว

2.ข้อเสนอการเปิดเสรีของไทยล่าสุดสะท้อนให้เห็นนโยบายที่ไม่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในการสร้างฐานการผลิตอาเซียนที่มีการค้าบริการที่เสรีระหว่างกัน

3.ความเป็นไปได้ที่อาเซียนจะเปิดเสรีภาคบริการได้ตาม Roadmap ในปี.. 2558 จึงมีน้อยมาก

ข้อมูลเบื้องต้นได้จากการนำเสนอ ของ                                                                                                       ดร.

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ 

และ ดร.วีรวัลย์ ไพบูลย์จิตต์อารี

ในงาน 

สัมมนาวิชาการประจำปี 2555 ของ 

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

26 พฤศจิกายน 2555 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ บี โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

18 มิถุนายน 2556




หมายเลขบันทึก: 539659เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2013 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2013 10:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท