beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

บรรยากาศการสอบ Apiculture


ผมนั่งคิดว่า ข้อสอบที่มีคำตอบตายตัวอยู่แล้ว สอนให้เด็กมีจินตนาการคิดสิ่งใหม่ๆ ได้หรือเปล่าหนอ.

   เมื่อเช้าวันเสาร์มีการสอบวิชาการเลี้ยงผึ้ง หรือ Apiculture (ถ้าใช้ภาษาที่ง่ายหน่อยก็เรียกว่า Beekeeping ครับ) เป็นการสอบ Final ครับ ครั้งสุดท้าย มี 100 คะแนนเต็มให้ไล่ล่ากัน

   การสอบครั้งนี้ มีนิสิตเข้าสอบ 100 เปอร์เซ็นต์ครับ จำนวนเต็มคือ 59 คน (มากที่สุดที่เคยสอนในวิชานี้ เป็นนิสิตปี 3 และปี 4 ครับ)

   พอนิสิตเข้าสอบครบ ก็เลยชักกล้องมาถ่ายไว้เป็นที่ระลึกครับ เพราะหลังจากนี้ก็จะไม่พบกันในห้องเรียนแล้ว ลองมาดูภาพกันครับ (เรียงจากซ้ายไปขวา)

     

    มีแปลกอยู่คนหนึ่งเขียนหนังสือโดยวางกระดาษขวาง แล้วถึงจะเขียนตัวหนังสือตรงได้ ลองดูว่าท่านทำแบบนี้ได้ไหม

 

    ตอนคุมสอบ 3 ชั่วโมง ผมก็นั่งดูเอกสารที่นิสิตเตรียมมา แล้วคิดอะไรตั้งหลายอย่าง อยากจะบันทึกไว้ด้วยดังนี้

  • ผมสอนเนื้อหาในห้องไม่มาก ก่อนนิสิตสอบจึงต้องไปค้นความรู้ใน internet มา
  • บางคนไปค้นสิ่งที่ beeman เขียนเกี่ยวกับเรื่องผึ้งมา รู้สึกว่ามีมากอยู่เหมือนกัน (เอกสารหนาเชียว)
  • ข้อเขียนเกี่ยวกับผึ้งใน internet ของท่านอื่น (ภาษาไทย) มีมากเหมือนกัน แต่ส่วนมากคนเขียนเป็นมือสมัครเล่น...มีมืออาชีพอยู่ไม่เกิน 3 เจ้า
  • ข้อสอบของผมเป็นข้อสอบแบบต้องคิด แล้วจึงตอบ ไม่มี Fix คำตอบไว้ก่อน ดังนั้นนิสิตต้องขยันให้ความคิดเห็นหน่อย..
  • ไม่ต้องตอบเหมือนอาจารย์ คะแนนก็อาจเต็มได้
  • บางคนคิดคำตอบไว แต่ใช่ว่าตอบไปแล้วจะถูก (ใจ)
  • บางคนคิดคำตอบช้า แต่อาจละเอียดครอบคลุมเนื้อหาก็ได้
  • ผมจึงให้เวลาเขียนเต็มที่ (ต่อเวลาให้เล็กน้อย) เพราะอยากให้ทุกคนเขียนได้เต็มที่ (ไม่เหมือนการสอบแข่งขันที่ใช้ความเร็วในการคิดตอบ โดยมีคำตอบที่ตายตัวอยู่แล้ว)
  • ผมนั่งคิดว่า ข้อสอบที่มีคำตอบตายตัวอยู่แล้ว สอนให้เด็กมีจินตนาการคิดสิ่งใหม่ๆ ได้หรือเปล่าหนอ......

 

หมายเลขบันทึก: 53965เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2006 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ข้อสอบของอาจารย์สอนให้คิดจริงๆ ค่ะอาจารย์ ไม่มีคำตอบที่ตายตัว เป็นคำตอบที่เกิดมาจากความคิดของแต่ละคนโดยแท้จริง การตอบอาจจะตอบได้หลากหลายแต่มันก็มีความเป็นอิสระในการคิดที่จะตอบดีค่ะ เป็นการสอนให้เรารู้ว่า เราไม่จำเป็นต้องคิดอยู่ในกรอบที่ตั้งไว้เสมอไป

  • ขอขอบคุณ คุณ Lemonhoney ที่เข้ามาลปรร. (แลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ)
  • แต่ว่าผมยังไม่ได้อ่านคำตอบของคุณเลย
  • ผมสังเกตว่านิสิตหญิงมีมากกว่านิสิตชาย
  • บางครั้งไม่มีผู้ชายเลย
  • ทำไมครับ ท่าทางข้อสอบจะยากนะครับ
  • ยิ้ม ยิ้ม
  • ปกติในมหาวิทยาลัย มีเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  • โดยคำตอบที่เป็นไปได้ (ทำวิจัยเล็กๆ แล้ว) คือ....เอาไว้นำไปเขียนเป็นบันทึกดีกว่า
  • ข้อสอบไม่ยากหรอกครับ
  • แต่ว่าหาว้นสอบยากจัง เพราะว่าแต่ละคนคิดถึงตัวเองเป็นหลัก..ไม่ค่อยคิดถึงคนอื่นบ้าง
ในวันนั้นข้อสอบของอาจารย์ก็ไม่ยากเท่าไร แต้มันอยู่ที่คำตอบว่าที่เราเรียนมาเราสามารถที่จะนำมาใช้อย่างไรในชิวิตจริงและในความเป็นจริงถ้าเราต้องลงมือทำ เรามีสิทธิที่จะคิดและทำ แต้จะทำให้ได้ดีเราก็ต้องมีความรู้ มีการนำความคิดของเรามาใช้
คุณ beeman คะ นับว่าท่านเป็นภูมิปัญญาอย่างแท้จริงค่ะ  ครูอ้อยจะเดินตามนะคะ  อนุญาตนะคะ
  • ขอบคุณ ครูอ้อยที่มาเยี่ยมครับ
  • สิ่งไหนที่ดีๆ และเป็นผลดีต่อลูกศิษย์ ครูอ้อยก็เลือกไปปรับใช้ได้เลยครับ
  • ครูอ้อยตื่นเช้าทุกวันเลยครับ
  • เป็นตัวอย่างของครูที่ดีนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท