ความรักไม่ต้องการแค่วันเดียว


เราแทนค่าของ “ความรัก” ด้วยอะไร ???

เราแทนค่าของ “ความรัก” ด้วยอะไร ??? เงื่อนไข อารมณ์ ความต้องการ หรือเรื่องราวในอดีตของตนเองหรือผู้อื่น ทั้งนี้ในสายตาของความรักไม่ได้ถูกลดคุณค่าลงไปเลยแม่แต่น้อย ความรักของเราทุกคนในที่นี้ หมายถึง ความรักที่ตระหนักอยู่บนพื้นฐานของการ “เคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” มันไม่ได้เกินจริงไปแม้แต่น้อย ก็ด้วยศักดิ์ศรีของมนุษย์นั้นธำรงค์อยู่ที่ศักยภาพในการเลือกใช้ซึ่ง “เสรีภาพและเหตุผล” ของตนเองอย่างบริสุทธิ์ในการตัดสินใจเลือก “ความรัก” สำหรับตนเอง

  แม้โดยธรรมชาติมนุษย์อาจถูกชักจูงด้วยอารมณ์สัญชาตญาณ ความต้องการ กิเลสตัณหาต่างๆ แต่มนุษย์ก็มีศักยภาพที่จะมีเสรีภาพเหนือสิ่งเหล่านั้น เสรีภาพและเหตุผลไม่ได้มีความหมายแค่ว่า “ไม่ถูกบังคับ” แต่เสรีภาพคือการกระทำตาม“อัตตาณัติ” (การกระทำที่เป็นอิสระ-autonomously) อันหมายถึง การกระทำตามกฎที่เรากำหนดให้กับตนเอง ไม่ใช่กฎของธรรมชาติ หรือธรรมเนียมของสังคม

  วิธีเข้าใจ เราต้องเปรียบเทียบ "อัตตาณัติ" กับคำนิเสธ คือ “อัญญาณัติ” (heteronomy) หมายถึง การกระทำที่เป็นผลมาจากแรงภายนอกหรือความเป็นอิสระในการตัดสินใจที่ขุ่นเคือง สังเกตได้ว่าในขณะที่ตัดสินใจนั้นเราถูกกำหนดหรือแทรกแซงด้วยข้อเท็จจริงบางประการ อธิเช่น เงื่อนไขทางสังคมหรือสถาบัน กฎหมาย จารีต ศาสนา กฎธรรมชาติ ประเพณีและพฤติกรรม ที่มีสัมผัสสะเจือปนอยู่ในเนื้อของผลการตัดสินใจอย่างแนบแน่นขึ้นตรงกับตนเอง สมมุติว่าช่วงเวลาที่เราทำตามอัญญาณัตินั้น กล่าวคือเรากำลังทำตามเหตุปัจจัยที่นอกเหนือจากตัวเอง เช่น เราหล่นจากที่สูงหรือถูกผลักให้ร่วงลงมา ณ ขณะที่เรากำลังตกลงสู่พื้น ไม่มีใครบอกว่าเราเป็นอิสระแท้จริง เราดันเชื่อว่าอิสระ แต่เพราะการเคลื่อนไหวของเราถูกกำกับด้วยแรงโน้มถ่วง ถ้าบังเอิญเราทับใครตายก็ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนั้นการใช้เสรีภาพกระทำผลถูกกำหนดโดยสิ่งอื่นๆ ทำให้การกระทำใดของเรามีค่าทางหนึ่ง

  การใช้เลือกใช้เหตุผล ที่แสดงว่ามนุษย์มีเสรีภาพเลือกกฎศีลธรรมสากล หมายถึง “เหตุผลบริสุทธิ์เชิงปฏิบัติ” (a pure practical reason) อันมาจากความอิสระจากอารมณ์ อคติ อิทธิพลของเงื่อนไขทางศาสนา สังคม วัฒนธรรม และเหตุผล นี่เองที่รู้ว่าอะไรคือความถูกต้อง และเห็นว่าความถูกต้องคือหน้าที่ที่ต้องทำ หรือทำสิ่งที่ถูกต้องเพื่อความถูกต้องไม่ใช่เพื่อจุดประสงค์อื่นใด “การวางเงื่อนไข” กับสิ่งอื่นมีค่าคล้ายกับคนที่ใช้เพื่อนมนุษย์เป็นเครื่องมือ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของพวกเขาเอง คิดแทนคนอื่นๆ ว่าเมื่อพวกเขาได้ทำสิ่งนั้น สิ่งนี้แล้วเขาจะมีความสุข เป็นคนดี ฯลฯ เป็นต้น ล้วนแต่เป็นการไม่เคารพความเป็นมนุษย์ที่มีเสรีภาพและเหตุผลในตนเอง ของคนอื่นทั้งสิ้น “เหตุผล” ในที่นี้จึงหมายถึง การมีเจตนาทำสิ่งที่ถูกต้องเพราะเห็นว่ามันถูกต้องโดยไม่ขึ้นกับเงื่อนไขว่าผลลัพธ์จะเป็นบวกหรือลบ เป็นความสุขหรือความเจ็บปวด พอใจหรือไม่พอใจ ฯลฯ สิ่งที่ถูกต้องมันถูกต้องในตัวมันเอง

  เสรีภาพและเหตุผล จึงหมายถึงการเป็นอิสระที่จะทำตามเหตุผล (ไม่ใช่ทำตามเงื่อนไขชักนำของอารมณ์ความรู้สึก กิเลส กฎธรรมชาติ ศาสนา ประเพณีฯลฯ) นักประโยชน์นิยมอาจมองว่า “เราใช้เหตุผลเป็นเครื่องมือเพื่อให้บรรลุผลประโยชน์ที่ต้องการ มันช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายบางอย่าง” ธอมัส ฮอบส์ เรียกเหตุผลว่า “แมวมองของความปรารถนา (scout for the desires)” ส่วนเดวิด ฮูม เรียกเหตุผลว่า “ทาสของอารมณ์” (slave of the passions)

  สุดท้ายนี้ความรัก ที่กล่าวถึงการ “เคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” หากหยิบยกมาอธิบายเทียบเคียงกับแก่นสาระของพระพุทธศาสนา คงเข้ากับลักษณะที่มองคุณค่าในตัวของมนุษย์ คือ “พุทธภาวะ” หมายถึง ศักยภาพที่จะมีเสรีภาพด้านใน ซึ่งเสรีภาพด้านในนี้เองที่แสดงตัวออกมาเป็นปัญญาที่ปราศจากการครอบงำ และ “ปัญญา” ก็คือ การเห็นตามเป็นจริงและเห็นว่าความถูกต้องเป็นหน้าที่ที่ต้องทำไม่ใช่ทำเพื่อพอกพูนความต้องการสิ่งอื่นๆ หรือเพื่อไปสู่เป้าหมายอื่นๆ ที่รอคอยอยู่ข้างนอกจากการกระทำที่ถูกต้องนั้นๆ ฉะนั้น “วิถีกับจุดหมายจึงเป็นหนึ่งสิ่งเดียวกัน” หรือ “จุดหมายที่ถูกต้องงอกงามออกมาจากวิถีที่ถูกต้อง” (ท่านพุทธทาสกล่าวไว้ว่า “ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่”)

  แท้จริงแล้ว มนุษย์ทุกคนคงจะไม่สามารถที่จะปฏิเสธอารมณ์ความรู้สึก ความปรารถนา ความต้องการ หรือกิเลส บนเงื่อนไขของความต้องการกับผลประโยชน์บางอย่างจาก "ความรัก" แต่เรามองว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่พื้นฐานอ้างอิงอันนำพาความรักไปสู่ความสุขได้ ความรักแท้จริงดำรงอยู่กับเสรีภาพและเหตุผลของมนุษย์ รวมทั้งต้องเป็นความรักที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเคารพคุณค่าและศักดิ์ศรีในตัวของมนุษย์เอง ไม่ใช่การใช้ตัวเองและคู่รักเป็นเครื่องมือ ฉะนั้นการตกลงกับความรักหรือคนรัก จึงเป็นหน้าที่ที่ต้องให้ความเคารพต่อคุณค่าและศักดิ์ศรีในตัวเองและของคนรัก


หมายเลขบันทึก: 539592เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2013 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2013 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท