ปริญญาเอก การจัดการนวัตกรรม มรภ.สวนสุนันทา รุ่นที่ 7


          สวัสดีครับลูกศิษย์ ป.เอก สวนสุนันทา และ ผู้ที่ติดตาม Blog ของผม

         ขอต้อนรับ ป.เอกสวนสุนันทาซึ่งรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 7 ผมได้มาสอนที่นี่อย่างต่อเนื่อง ขอต้อนรับเข้าสู่ชุมชนการเรียนรู้ด้วยความจริงใจ ผมทำมาแล้ว 6 รุ่น รุ่น 7 น่าจะเป็นรุ่นที่สำคัญ ที่จะปรับปรุงการเรียน การสอน การทำวิจัย Ph.D ให้มีคุณค่าต่อทุกคน การทำงานแบบต่อเนื่องมา 7 ปีน่าจะช่วยได้ว่ามูลค่าและคุณค่าจะเป็นอย่างไร

        Blog รุ่น 7 น่าจะดีที่สุด แต่ขอให้ดูแลอย่างต่อเนื่องอย่าให้หยุดหลังจากเรียนจบเพื่อเป็นชุมชนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องอยากให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศต่อไป ขอให้โชคดี รุ่น 6 ได้จุดประกายเรื่อง 3V คือ

      Value Added การสร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งที่มีอยู่

      Value Creation การสร้างมูลค่าเพิ่มจากการสร้างสรรค์ แนวคิดใหม่ๆ

      Value Diversity การสร้างมูลค่าเพิ่มจากความหลากหลาย

มีการสร้าง Out line หนังสือ มีการจัด Public Seminar เพื่อขยายไปสู่วิทยานิพนธ์ภายหลัง

ผมหวังว่ารุ่นที่ 7 น่าจะต่อเนื่องสิ่งที่ได้ทำมาแล้ว แต่ก็หวังว่าก็หวังว่าจะเกิด Concept ใหม่ๆที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นทรัพย์สินของรุ่น 7

อย่าลืมว่านักเรียนต้องเก่งกว่าครูเสมอ ผมต้องการให้ทุกคนในรุ่น 7 มีแรงบันดาลใจไปสู่ความเป็นเลิศ ยิ่งนักศึกษาคนเก่งมีสมดุล ผมยิ่งภูมิใจ

Dream big and execute ให้ได้ ทำอะไรที่ยิ่งใหญ่ดีกว่าทำไปเรื่อยๆ

                                                                                            จีระ หงส์ลดารมภ์







หมายเลขบันทึก: 539397เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2013 09:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2013 08:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (87)

จุดประสงค์ในการเรียน ป.เอก

ธนาคม : เป็นอาจารย์สอนนิเทศศาสตร์ เป็นนักสื่อสาร จบ ป.ตรีจาก ม.ธรรมศาสตร์ คณะสื่อสารมวลชน มีความเห็นว่าบทความเรื่อง “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” ของอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นวรรณกรรมที่ครอบคลุมเรื่องทุนมนุษย์

เรียนในครั้งนี้คาดหวังว่า จะนำประโยชน์เรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์มาใช้บริหารจัดการเรื่องการสื่อสาร เนื่องจากทุกวันนี้การสื่อสารมีบทบาทสูงในทุกเรื่องเป็นอำนาจและเครื่องมือสำคัญ ในการต่อลอง อยากนำความรู้ใหม่ มุมใหม่ ไปสอน นศ.ของตนเอง

อ.จีระ :   ในห้องนี้มีเรื่องใหม่เกิดขึ้นเสมอ

·  เพราะเราต้องปลูกและเก็บเกี่ยวคือการ motivate, Inspire ไปสู่ความเป็นเลิศ และสุดท้ายคือ execution

·  Contribution ให้แก่องค์กรและสังคม

·  Convergent ต้องหาสิ่งที่มาบรรจบกันให้ได้ สิ่งที่มาบรรจบกันคือเรื่องใหม่-idea ใหม่ แล้วแต่การนำไปใช้


สกาว : ทำงานด้าน IT ที่มาเรียนเพราะตอนนี้ Social Media มีบทบาทสูงเราต้องรู้จักการบริหารจัดการแบบนวัตกรรม


ดร.พงษ์ไพโรจน์ : เป็นเจ้าของโรงเรียนเพชรรัตน์ การมาเรียนเนื่องจากกฎหมายออกมาเมื่อปีที่แล้วว่าผู้ที่เป็นเจ้าของสถานศึกษาต้องจบครุศาสตร์การศึกษา


ลดาพร  : เป็นอาจารย์สอนเรื่อง IT เพื่อธุรกิจ เรียนทางด้าน IT เน้นเรื่องบริหารธุรกิจ ชอบการเรียนรู้สิ่งใหม่จึงมาเรียน Ph.D เป็นการท้าทายและพิสูจน์ตัวเอง


สมทบ : เป็นอาจารย์สอนการสื่อสารผ่านสื่อใหม่ การที่มีเรียน ป.เอก เพื่อการเพิ่ม Self-Confident ในเรื่องการบริหารจัดการ

อ.จีระ : ต้องฝึกให้มีความคิดเป็นระบบ คิดทุกวันว่าจะได้อะไรกับตัวเองและสังคม

ทุนมนุษย์ในมหาวิทยาลัยตกเรื่องการเก็บเกี่ยวเพราะอยู่ในวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เอื้อต่อการเก็บเกี่ยวกฎระเบียบเยอะ  มีเจ้านาย ทุกคนมุ่งการทำงานไปสู่ตำแหน่งที่สูงกว่าเห็นแก่ตัวเอง ลืมการสร้างคุณภาพของเด็ก การสร้างคนเกิดจากการสร้างศรัทธา trust ใช้ความศรัทธาสร้างให้เขาไปสู่ความเป็นเลิศให้ได้


เปรมใจ : อยากมาเรียนเพราะสอนเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ เพื่อให้ได้แนวคิดไปสอนนักเรียนใหม่ๆ

อ.จีระ : การเกิด Idea ใหม่เกิดจากการเรียนของนักเรียนในห้องด้วย แต่ต้องดูที่พื้นฐานเป็นอย่างไรถ้าอ่อนในฐานะที่เราเป็นครูเราต้องติวเพื่อสร้างพื้นฐานระบบการคิด การสอนอย่ายัดเหยียดให้ เราต้องสร้างแรงบันดาลใจสู่ความเป็นเลิศ


จริญา : การมาเรียนเพื่อการพัฒนาตนเอง และสนใจเรื่องอาเซียนว่านักเรียนที่สอนจะสู้เขาได้อย่างไรในอาเซียน

อ.จีระ : อาเซียนเป็นแรงกระตุ้นจากข้างนอกเพื่อให้คนไทยเกิดความกระตือรือร้น เราสื่อสารไม่เป็น  คิดวิเคราะห์ไม่เป็น อาเซียนเป็นแรงกระตุ้นให้เรากลับมามองตัวเอง แต่เราไม่ได้สู้กับอาเซียนเราต้องพัฒนามาตรฐานไปสู้กับเรื่องโลกาภิวัตน์ เป็นมาตรฐานระดับโลก เรื่องอาเซียนต้องช่วยกันคิดช่วยกันทำ ไม่ให้อาเซียนล้มเหลว อาเซียนเป็นการรวมต่อกันเพื่อต่อรองระดับโลก เราไม่ใช่เก่งในอาเซียนแต่เราต้องเก่งระดับโลก


กนกวรรณ : เป็นคนชอบเรียนเรื่องใหม่ เพื่อเรียนรู้ idea และแนวคิดใหม่

อ.จีระ : เราต้องสร้าง idea ให้เกิด Value ขึ้นมา เพราะเราขาดแรงบันดาลใจ ยกตัวอย่าง คนทำงานจาก Mckenzie Consulting และ เด็กอายุ 18 ปี ที่อเมริกาจัดโครงการนำเด็กจบใหม่มาทดลองงาน 6 เดือนเพื่อให้ทำงานเป็น เราต้อง Do มากกว่า Know


สุพัตรา : สนใจเรื่องความแตกต่างที่มีความหลากหลายของทุนมนุษย์ เราสามารถนำความหลากหลายมาพัฒนาศักยภาพได้


รัศมี : การมาเรียนเพราะว่าต้องการบังคับตัวเองเพราะเรื่อง ดร. เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับหน้าที่การงาน


การเรียนในครั้งนี้เน้น learning how to learn  เพื่อให้ทุกท่านนำไปสอนลูกศิษย์

วิธีการ 4L 

          Learning Methodology วิธีการเรียนที่สร้างโอกาสให้เกิดการเรียนรู้

          Learning Environment บรรยากาศต้องสร้างให้เกิดการปะทะกันทางปัญญา

          Learning Opportunities การมีโอกาสทั้งในและนอกห้องเรียน

          Learning Communities วัฒนธรรมในการใฝ่รู้

2 R’s

         •  Reality  

         •  Relevance

สร้อยสุคนธ์ : ยินดีที่ได้มาร่วมในการเรียนการสอนครั้งนี้ การได้อะไรมาด้วยความเหนื่อยยากแต่มีคุณค่า อ.จีระ ต้องการปรับมนุษย์พันธุ์ใหม่ให้ออกไปสู่ภายนอก ในครั้งนี้เริ่มต้นที่ประเทศลาว  การเรียน ป.เอกต้องท่องไปในโลกของความรู้ ต้องคิดเรื่องการวิจัยตั้งแต่เนิ่นๆ ต้องตกผลึกให้ได้  

การบ้าน

1.  สรุปได้อะไร 3 เรื่องในการเรียนครั้งแรก

ตัวเอง

องค์กร

ประเทศ

ระดับโลกาภิวัตน์

2.  แรงบันดาลที่ได้รับในครั้งนี้จะช่วยให้การเรียนและการวิจัยมีความสำเร็จอย่างไร

เรียน ศ.ดร.จีระ 

         ผมขออนุญาตเข้ามาทักทายและทดลองใช้พื้นที่ "แบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้"แห่งนี้  ประเดิมในเรื่องของการแสดงความรู้สึกจากการพบอาจารย์ครั้งแรกก่อน  ( ส่วนการบ้านขอค้างไว้ก่อนสักสองสามวันนะครับ )

         ผมขอเรียนจากใจจริงว่า  ตลอดเวลาหลายชั่วโมงที่ฟังอาจารย์แนะนำหลักสูตรและแผนการเรียนนั้น  เลือดลมของผมมันสูบฉีด  สมองของผมมันพลุ่งพล่าน  ต่อมความคิดและต่อมขี้สงสัยของผมมันเหมือนโดนประจุกระแสไฟฟ้าอะไรสักอย่างเข้าไปชอร์ตจนรู้สึกคันยุบๆ ยิบๆไปหมด 

         " โอ อะไรกันนี่ ท่านปรมาจารย์กำลังทะลวงจุดชีพจรหยิมต๊กให้เราอยู่หรือกระไร ? " บางห้วงสำนึกผมไถ่ถามตัวเอง

         ที่ผ่านมา เคยได้ยินสำนวนฝรั่งที่ว่า " ชีวิตเริ่มต้นเมื่อ 40 " แต่ผมไม่เคยเชื่อ เพราะคิดว่าตัวเลขเป็นเพียงสิ่งสมมติ  ในเมื่อปัจจัยทั้งภายนอกและภายในของแต่ละคน แต่ละพื้นที่ แต่ละวัฒนธรรมมีความแตกต่างกัน คนหลายคนก็อาจจะตั้งหลักปักฐานได้ก่อนหรือหลังอายุ40  ก็อาจเป็นไปได้ไม่ใช่หรือ

         แต่ตอนนี้ ในวันที่อายุผมเพิ่งผ่านช่วง 40 มาได้ไม่นานนัก  -  แต่ผมชักเริ่มจะเชื่อแล้วว่า  "ชีวิตผมอาจจะเริ่มต้นเมื่อ 40 " จริงๆก็เป็นได้    

          นั่นคือ "ชีวิตทางการเรียนรู้"  ที่มีระบบ ที่มีปรัชญาและวิธีคิดรองรับ

          การก้าวผ่านสู่ชีวิตทางการเรียนรู้ครั้งสำคัญนี้ จะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าไม่มี "คุรุ" หรือครูบาทางวิชาการคนสำคัญท่านหนึ่งคอยเปิดประตูบานใหญ่ให้เมื่อวันเสาร์ที่ 15 มิ.ย.56 ที่ผ่านมา

          คุรุท่านนั้นชื่อ " ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์" 

          โปรดรับการคารวะจากศิษย์ด้วยครับ


when you do something you reflect how you do and learn from experience

"...ผมมาเรียน เพราะอยากรู้ สิ่งไม่รู้

จับ-ฟัง-ดู  แค่ภายนอก  แต่"บอก"ไม่ได้

อยาก"ตระหนัก" อยาก"รักเป็น" เห็นภายใน

อยากเข้่าใจ โลก/ชีวิต มิบิดเบือน

  

  ในยุคที่ อวิชชา คลุมฟ้าหม่น

ปัญญาชน จริง/แท้ หรือแค่เสมือน

ได้พบครู วาบความคิด จิตสะเทือน

ได้พบเพื่อน ร่วมทาง  ร่วมสร้างตน


   สวนสุนันทา รุ่นเจ็ด ขอฟันฝ่า

ด้วยศรัทธา มุ่งมั่น หมั่นฝึกฝน 

หลอมสร้างสรรค์ ทุนมนุษย์ ทุนชุมชน

เราเริ่มต้น  เริ่มเรียนรู้  สู่ฝันเอย...."

know must link with your own and 2R

สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

ยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับโอกาสจากท่านอจ.จีระและได้้มีส่วนร่วมรับใช้ม.สวนสุนันทา การพัฒนาการทรัพยากรมนุษย์ด้วยทฤษฎี8k5k กำลังนำไปสู่3v ทฤษฎีแห่งมูลค่าเพิ่ม value added การศึกษาในปัญหาความเป็นจริงที่เกิดขึ้นนักศึกษาสามารถฝึกปฏิบัติที่สรวมบทบาทภาวะผู้นำ 9ลักษณะของ. Leadership role of chira hongladarom style. และอีก4มิติของผู้บริหารที่ต้องเปลี่ยนแปลงตนเองให้รู้หลายเรื่องวิเคราะห์เป็น มีกลวิธีสู่กลยุทธ์. และสามารถแก้ปัญหาที่มองทะลุถึงอนาคต. ซึ่ง4มิติดังกล่าวเป็นกระบวนการที่มีความเห็นว่า การเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้หรือการพัฒนาการใดๆก็ตามทฤษฎี single loop. Double loop. และพัฒนาไปสู่.  Third. Loop. รู้ว่าทำอะไร.  ทำให้ดีขึ้น. และทำให้ดียิ่งขึ้นไปอีก. อาจทำซ้ำ วน loop. จนสู่ความสำเร็จเป็นเลิศในที่สุด

ขอเสนอแนะแนวคิดของศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์กับดร.howard gardnerการพัฒนาทุนมนุษย์ในอนาคต เพื่อการสร้างสรรค์จิต 5 ด้านสามารถบูรณาการกับการบริหารจัดการการศึกษาในบริบทของการเรียนการสอนของครู และการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียน ตามทฤษฎี2r หลักการปฏิบัติจริงและต่อเนื่องตรงประเด็น โดยมีv1 v2 v3เแ็นทิศทางเป้าหมายการวัดผล  1จิตแห่งวิทยาการ ตรงกับ v1   2จิตสังเคราะก์ กับ v2    3จิตสร้างสรรค์ กับ v3      4จิตเคารพ กับ v3     5จิตคุณธรรมกับ  v3    สรุปได้ว่า  five mminds for the  future  เป็นแนวติดการพัฒนาทุนมนุษย์ในอนาคต เพื่อการสร้างสรรค์จิต 5 ด้าน โดยสร้างนวัตกรรมการวัดผลด้านมูลค่าเพิ่มด้วย v1 v2  v3 น่าจะสามารถใช้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่จะเสริมสร้างทุนมนุษย์ให้มีคุณต่าเชิงบวกที่เข้มแข็งในศตวรรษที่ 21 ที่จะยังมีการเปลี่ยนแปลงท้าทายการพัฒนาทุนมนุษย์ในอนาคจในระยะต่อไป

สวัสดีค่ะอาจารย์ ของส่งการบ้านครั้งที่ 1 ค่ะ

1.  สรุปได้อะไร 3 เรื่องในการเรียนครั้งแรก

-ตัวเอง

o  ได้รับความรู้เรื่องทุนมนุษย์เพิ่มเติม ทำให้รู้ว่าตัวเราเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญ แต่ๆละคนจะมีทุนมนุษย์ทั้งที่ติดตัวมาแต่กำเนิดหรือเกิดจากการสะสมเรียนรู้ ไม่เท่ากัน ดังนั้นเราไม่ควรหยุดนิ่งในการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ และต้องเปิดโลกทรรศน์ให้กว้างอยู่เสมอเพื่อจะนำความรู้ที่ได้มาทำการตกผลึกและใช้สำหรับการพัฒนาคุณภาพของตนเองต่อไป

o  ได้รู้ว่าการทำสิ่งใดก็ตามจะต้องหาความหมาย(Meaning) ของสิ่งที่จะทำ และจะต้องกำหนดเป้าหมาย(Target) ให้ชัดเจน จากนั้นก็สร้างกระบวนการทางความคิดและลงมือปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมายเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ตัวเอง

o  ได้รับความรู้เกี่ยวกับความหลากหลายของทุนมนุษย์ มาต่อยอดทางความคิดเกี่ยวกับการทำงานซึ่งเป็นงานด้านการสอนที่จะพบความหลากหลายของนักศึกษาอยู่เสมอๆ ไมว่าจะเป็นด้านเพศ ด้านสถาบัน  ด้านค่านิยม  เป็นต้น ซึ่งเราควรจะต้องพัฒนาศักยภาพจากความหลากหลายมากกว่ามองเพียงแค่เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง

องค์กร

o  ได้แนวทางในการนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎี 4L’s นั่นคือ  มีการใช้วิธีเรียนรู้ผ่านการ workshop มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่ผ่อนคลายสนุกสนาน สร้างโอกาสให้ทุกคนในหน่วยงานพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งสร้างชุมชนการเรียนรู้ผ่านระบบดิจิตอล เช่น การใช้ Blog , Facebook ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรมีการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน

o  ได้แนวทางในการนำความรู้ไปพัฒนาคนในองค์กรพร้อมทั้งการสร้างแรงจูงใจในการทำงานซึ่งจะนำมาซึ่งทุนแห่งความสุข (Happiness Capital)ให้กับคนในองค์กร และจะนำไปสู่องค์กรแห่งความสุข (Happy workplace) นั่นก็จะส่งผลให้องค์กรมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงและจะนำไปสู่การพัฒนาเติบโตอย่างต่อเนื่องขององค์กร

o  ได้ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพสำหรับเป็นทุนสำคัญสำหรับการพัฒนาองค์กรให้สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน

-  ประเทศ

o  เมื่อประเทศมีทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพก็จะสามารถเข้าใจได้ว่าทุนมนุษย์มีความหลากหลาย เมื่อสามารถเข้าใจความหลากหลายของทุนมนุษย์ได้ ก็สามารถที่จะสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความหลากหลายเหล่านั้นได้ ซึ่งจะส่งผลให้ทุนมนุษย์ถูกพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้องและเหมาะสมซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

o  ได้แนวทางในการปลูกทุนมนุษย์ให้มีคุณภาพ เพื่อจะสามารถเก็บเกี่ยวทุนมนุษย์เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศให้เจริญและยั่งยืนต่อไป

o  ได้แนวทางในการสร้างมนุษย์พันธ์ใหม่ที่สามารถสร้างเครือข่ายทางสังคม วางเป้าหมายในการทำงาน รวมทั้งสามารถตกผลึกทางความคิดและสามารถนำความคิดที่ผ่านการตกผลึกแล้วไปพัฒนาประเทศได้ ซึ่งจะทำให้ประเทศสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้

-  โลกาภิวัฒน์

o  ได้แนวทางการปลูกทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ ที่จะไม่มองเพียงแค่การแข่งขัน แต่จะสามารถมองได้ว่าควรแข่งขันกับใคร หรือเพื่อสร้างความได้เปรียบหรือสร้างความเข็มแข็งควรจะรวมกลุ่มกับใคร ตัวอย่างเช่น การเข้าสู่ AEC ไม่ใช่เพียงแค่การแข่งขันเพราะถ้าใน Asian มัวแต่แข่งขันกันเองก็จะไม่สามารถพัฒนาให้สามารถแข่งขันกับส่วนอื่นๆของโลกได้ ซึ่งในความเป็นจริงควรจะรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างความเข้มแข็ง เป็นต้น ซึ่งจะสามารถทำให้เป็นเลิศได้อย่างแท้จริงในยุคโลกาภิวัฒน์ซึ่งสภาพแวดล้อมมีทางการแข่งขันกันค่อนข้างสูงมากทั้งภายในและภายนอกประเทศ

o  ได้แนวทางเก็บเกี่ยวทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ ให้สามารถวิเคราะห์จากสภาพปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงของโลกตามความเป็นจริง (Reality) และความต้องการในปัจจุบันอย่างตรงประเด็น (Relevance)นั่นก็คือสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองหรือองค์กร  แล้วเริ่มลงมือปฏิบัติได้ในทันที กล่าวคือสามารถแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างศักยภาพได้ในเฉพาะจุดที่มีความต้องการเร่งด่วน ซึ่งจะทำให้สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้อย่างยั่งยืนบนเวทีโลก

o  ได้แนวทางการสร้างมูลค่า (Value Creation) ทุนมนุษย์ให้มีคุณภาพโดยการประทะทางความคิด การสร้างเครือข่ายทางสังคมจากบุคคลที่ต่างศาสตร์กัน และโดยผ่านทุนทางเทคโนโลยี (Digital Capital) เช่น website webboard เป็นต้น ซึ่งจะทำให้สามารถเรียนรู้ และมีแนวคิดใหม่ๆ สำหรับการปรับตัวให้เข้ากับโลกาภิวัฒน์ได้ภายใต้การกำกับของทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital)

2.  แรงบันดาลที่ได้รับในครั้งนี้จะช่วยให้การเรียนและการวิจัยมีความสำเร็จอย่างไร

แรงบันดาลใจที่ได้รับคือ มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต เพียงแค่ค้นหาตัวเองให้ได้  ซึ่งถ้าค้นหาตัวเองเจอว่าเป้าหมาย (Target) ของเราคืออะไร ก็จะสามารถทำการหาจุดมุ่งหวังในระยะสั้น เพื่อที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่แท้จริงได้ นั้นก็คือจะต้องค้นตัวเองให้เจอว่ามาเรียนเพื่ออะไร แล้วจะทำวิจัยด้านไหนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อะไร โดยทำการตกผลึกทางความคิดเพื่อที่จะนำความคิดเหล่านั้นไปลงมือปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่องและตรงประเด็น (ทฤษฏี 2R’s)ในด้านการเรียนและการวิจัย  ซึ่งก็จะน่าจะเป็นการสร้างโอกาสที่จะช่วยให้การเรียนและการวิจัยมีความสำเร็จได้


นายสกาว ภู่ไชยเจริญ

1.ได้อะไรในการเรียนครั้งแรก

ตัวเอง
-ได้แรงบัลดาลใจที่จะค้นหา value ที่มีอยู่ในตัวเองให้เจอ
-ได้เรียนรู้ที่จะนำสิ่งที่อาจารย์สอนไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง
-ได้ตระหนักถึงความสำคัญ ในการพัฒนาตนเองอยู่เสมอเพื่อสามารถเอาตัวรอดได้ในโลกยุคปัจจุบันและในอนาคต

องค์กร
-เรียนรู้ที่จะค้นหาว่าจะนำความหลากหลายที่มีอยู่ในองค์กรมาทำให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร
-เรียนรู้ที่จะแลกเปลี่ยนความรู้กันในองค์กร
-รู้จักที่จะมองหาเป้าหมายในงานที่ตัวเองทำ เพื่อจะได้ทำงานอย่างมีความสุขที่แท้จริง

ประเทศ
-เปลี่ยนมุมมองทางความคิด ว่าเราจะทำอะไรให้เกิดประโยชน์ส่วนรวม คิดถึงสังคมและประเทศชาติอยู่ตลอดเวลา
-ได้รู้จักค้นหาประโยชน์จากความหลากหลายของคนในประเทศ
-ได้รู้จักคิดค้นต้นทุนใหม่ๆออกมา เพื่อให้เกิดมูลค่าในระดับประเทศได้

ระดับโลกาภิวัตน์
-มีการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตัวเองเพื่อแข่งขันได้ในระดับโลก ไม่ใช่แค่แข่งกับ 10 ประเทศอาเซียน ทำให้เกิดการก้าวไปข้างหน้าของโลก
-ได้รู้ว่าโลกในยุคปัจจุบันเป็นยุคที่มีการแข่งขันสูง เราต้องสร้าง value ขึ้นมาให้ได้ เพื่อจะสามารถเอาตัวรอดได้ในโลกยุคนี้
-สิ่งที่ครอบเราอยู่ไม่ใช่แค่ในระดับองค์กร แต่ให้มองว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของโลกใบนี้

2.แรงบันดาลที่ได้รับในครั้งนี้จะช่วยให้การเรียนและการวิจัยมีความสำเร็จอย่างไร
ได้แนวทางในการเลือกหัวข้อวิจัยว่าจะต้องเป็นสิ่งที่ชอบ สนใจ และอยากจะค้นหาความจริง อยากจะนำไอเดียใหม่ๆมาพิสูจน์หรือท้าทายหลักการเดิมๆว่าถูกต้องหรือไม่ และการที่อาจารย์ช่วยกระตุ้นให้ออกความเห็น ให้มีการคิดวิเคราะห์ต่างๆอยู่ตลอด จะทำให้ในที่สุดจะได้ค้นพบ value ที่มีอยู่ในตัวเอง และค้นเจอเป้าหมายของตัวเอง จะนำไปสู่หัวข้อการวิจัยและผลงานวิจัยที่ดีได้

สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

                                  

แนวคิดของศาสตราจารย์ DR. CHIRA HONGLADALOM  กับศาสตราจารย์  DR.HOWARD GARDNER

ขอเสนอแนะแนวคิดของศาสตราจารย์ ดร.CHIRA HONGLADALOM กับศาสตราจารย์ ดร. Howard Gardner, เป็นอาจารย์ด้านจิตวิทยาที่ Harvard ผู้เป็นเจ้าของทฤษฎี Multiple Intelligence ได้เสนอแนวคิดในหนังสือ 21 st Century Skills : Rethinking How Student Learn เรื่อง Five Minds for the Future เป็นแนวคิด การพัฒนาทุนมนุษย์ในอนาคต เพื่อการสร้างสรรค์จิต 5 ด้านนั้น สามารถบูรณาการกับการบริหารจัดการการศึกษาในบริบทของการเรียนการสอนของครู และการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียน ตามทฤษฎี 2 R หลักการปฏิบัติจริงและต่อเนื่องตรงประเด็น โดยมี V1 V2 และ V3 เป็นทิศทางเป้าหมายการวัดผล ได้แก่

1. The Disciplined Minds (จิตชำนาญการ หรือจิตแห่งวิทยาการ)

เรียนรู้ในแง่ของปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นและมีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ การเรียนรูู้้ตลอดชีวิตคิดเป็น ทําเป็น ปรับปรุงสิ่งที่เล่าเรียนมาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

V1 มูลค่าเพิ่มด้านทุนปัญญา ทุนจริยธรรม และทุนความสุข

2. The Synthesizing Mind (จิตสังเคราะห์)เน้นไปที่การรู้จักเลือกใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร มาสังเคราะห์ เกิดการสั่งสม ต่อยอดและสร้างนวัตกรรมความรู้

V2 มูลค่าเพิ่มด้าน ทุนสร้างสรรค์ ทุนนวัตกรรม ทุนDigital และทุนTalent(Knowledge,Skill, Attitude)

3. The Creating Mind (จิตสร้างสรรค์)

ความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ สร้างแนวคิดใหม่ พร้อมตั้งคำถามที่แตกต่างไปจากเดิม เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์สร้างด้วยการหมั่นฝึกฝน

V2 มูลค่าเพิ่มด้าน ทุนสร้างสรรค์ ทุนนวัตกรรม ทุนDigital และทุนTalent(Knowledge,Skill, Attitude)

4. The Respectful Mind (จิตเคารพ)

ความอ่อนน้อมถ่อมตน ใส่ใจและเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น ยอมรับในความแตกต่างของบุคคล ให้เกียรติผู้อื่น เปิดใจกว้างพร้อมรับฟังทุกความคิดเห็น

V3 มูลค่าเพิ่มที่มีการบริหารจัดการความหลากหลายหรือความแตกต่างด้วย Acknowledge Accept Understanding Managing และ Celebrating

5. The Ethical Mind (จิตคุณธรรม)

ความคิดเชิงคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ความรู้คู่คุณธรรมนําการพัฒนา

V3 มูลค่าเพิ่มที่มีการบริหารจัดการความหลากหลายหรือความแตกต่างด้วย Acknowledge Accept Understanding Managing และ Celebrating

สรุปได้ว่า Five Minds for the Future เป็นแนวคิด การพัฒนาทุนมนุษย์ในอนาคต เพื่อการสร้างสรรค์จิต 5 ด้าน โดยสร้างนวัตกรรมการวัดผลด้านมูลค่าเพิ่มด้วย V1 V2 V3 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่จะเสริมสร้างทุนมนุษย์ให้มีคุณค่าเชิงบวกที่เข้มแข็งในศตวรรษที่21 ที่จะยังมีการเปลี่ยนแปลงท้าทายการพัฒนาทุนมนุษย์ในอนาคต ในระยะต่อไป


สวัสดีครับท่านอาจารย์ ขอส่งการบ้านครั้งที่ 1 ครับ

การบ้านข้อ 1. 

สรุปได้อะไร 3 เรื่องในการเรียนครั้งแรก

  ผมขออนุญาตตอบรวมไม่แยกข้อ เพราะผมคิดว่า มันเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันหมดครับ พัฒนาตัวเองก็ย่อมนำไปสู่การพัฒนาองค์กรและประเทศอยู่แล้ว  ทุนมนุษย์คือทุนที่เกี่ยวข้องทุกระดับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว

การเรียนครั้งแรกได้อะไรต่อตัวเอง  องค์กร และประเทศ

 1.ได้รู้จักและสัมผัสผู้ชายชื่อ "จีระ หงส์สดารมภ์"ตัวเป็นๆครั้งแรก  อึ้ง ทึ่ง และศรัทธาครับ  จากที่เคยรู้จักผ่านสื่อต่างๆ แต่เมื่อได้พบตัวจริง สัมผัสได้เลยถึงความเป็น "ตัวจริง" และท่านมีความจริงใจมากในการอบรมตักเตือนและกระตุ้นพวกเรา   ผมคิดว่าอาจารย์นั้น "เหมือนจะติติงแต่คือ..ตักเตือน  เหมือนจะยั่วยุแต่คือ...ท้าทาย"

2.ได้รับความรู้เรื่องทุนมนุษย์  ทำให้รู้ว่า ความรู้เรื่องทุนมนุษย์จะเป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและผลักดันให้เรามีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตการงานและชีวิตสังคม  รวมทั้งความรู้เรื่องทุนมนุษย์จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนระดับปริญญาเอก และในการเตรียมนำเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ต่อไป 

3.ขอบคุณท่านอาจารย์จีระที่สอนว่า "ในการเรียนอย่าเรียนคนเดียว ต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆกันกับเพื่อน ต้องคิด ต้องคุย ต้องถาม ต้องตอบ จึงจะนำไปสู่ Knowledgeใหม่ๆ "

4. ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการมอง คิดวิเคราะห์ และศึกษาเรียนรู้แบบเชื่อมโยงศาสตร์สาขาต่างๆแบบมองให้เป็นองค์รวม (Holistic)มากขึ้น  เพราะตัวเองเคยทำงานเป็นสื่อมวลชนมานาน เคยเป็นนักข่าว เป็นบรรณาธิการนิตยสาร มานานก็จะติดยึดจากประสบการณ์และมุมคิดจากวิชาชีพตรงนั้นมานานแทบเกาะลึกในจิตใจในสมอง  พอมาเป็นอาจารย์สอนหนังสือ เป็นนักวิชาการก็ปรับตัวยากหน่อย  เพราะการเป็นนักวิชาการต้องใฝ่รู้และเรียนรู้เพิ่มตลอดเวลาและไม่ด่วนสรุปอะไรง่ายๆ แต่บางครั้งผมก็เผลอยึดติดแนวคิดสื่อมวลชนในอดีตมาบ้าง เช่น ด่วน"ฟันธง"กับอะไรบางอย่างแบบเร่งรีบด้วยแนวคิดเชิงเดี่ยวแบบอัตวิสัยเพราะเชื่อว่า เคยผ่านมา เคยเห็น เคยรู้มาก่อน ฯลฯ การได้เรียนกับอาจารย์จีระวันแรก ที่อาจารย์เน้นย้ำว่า ต้องมองภาพรวม และเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆให้ได้ แม้แต่การมองในเชิงพื้นที่ ก็อย่าไปมองแยกส่วน เช่นต้องไทยเท่านั้น หรืออาเซียนเท่านั้น แต่ต้องมองทะลุทะลวงเชื่อมโยงถึงโลกทั้งใบ ตามคำที่อาจารย์ใช้ก็คือ " ต้องมุ่งสู่ความเป็นเลิศในระดับ Globalให้ได้"

5.ได้ทดลองเรียนรู้และใช้สารสนเทศเข้ามาร่วมในการจัดการเรียนรู้  โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยน ส่งงานผ่าน www.Gotoknow.org  และชุมชนการเรียนรู้ใน Blog chira Acadamy แห่งนี้ ซึ่งเป็นการบูรณาการการเรียนรู้กับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่น่าสนใจมาก เพราะประหยัด สะดวกและรวดเร็วดีมากครับ

6.ผมสนใจเรื่องทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ที่อาจารย์สอนและเขียนลงในหนังสือมาก  เพราะทุกวันนี้แนวโน้มสังคมมุ่งไปในแต่ในเรื่องทุนอื่นๆที่เน้นเชิงปริมาณ หรือตัวเลข หรือตัวชี้วัดทางกายภาพมากกว่าความสุขซึ่งน่าจะเป็นเป้าหมายสำคัญจริงแท้ของชีวิตมนุษย์มากกว่า  ในอนาคตผมอยากศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติมครับ

7. ได้เรียนรู้ทฤษฎี 3 V’s ( Value Added + Value Creation + Value Diversity) ซึ่งถือว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างสูง  โดยเฉพาะ V 2 ตัวหลัง เพราะถ้าเราเข้าใจความหลากหลายของคุณลักษณะมนุษย์แล้ว เรายังมีขีดความสามารถในพัฒนาความคิดสร้างสรรค์มาต่อยอดการพัฒนาทุนมนุษย์อีกย่อมได้ผลสัมฤทธิ์ของงานมากกว่าแน่นอน 

8. ผมลองใช้ความรู้เรื่องการมองภาพรวมจากท่านอาจารย์จีระมาลองตีโจทย์ข่าวสักเรื่องนะครับ 

-กรณีควันไฟป่าลามจากอินโดนีเซียลอยเหนืออากาศไปปกคลุมไปยังประเทศเพื่อนบ้านเช่น มาเลเซีย และสิงคโปร์  ดูจากข่าวเผินๆ เน้นที่ชาวสิงคโปร์เดือดร้อนมากกับสิ่งที่(ตัวเองคิดว่า)ไม่ได้ก่อปัญหาแต่มารับกระทบและออกมาโวยอินโดนีเซีย แต่ผมกลับมองในเชิงองค์รวมตามที่อาจารย์สอนว่า จะไม่เกี่ยวกันได้อย่างไร ในเมื่อ

8.1ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ อากาศนั้นล้วนเชื่อมโยงกัน ประเทศเพื่อนบ้านย่อมควรเรียนรู้และรับผิดชอบในการจัดการปัญหาทรัพยากรร่วมกันอยู่แล้ว

8.2 ข้อมูลเชิงลึกระบุว่า ไฟป่าที่อินโดเกิดจาก 2 สาเหตุคือ ธรรมชาติ(ต้นไม้เสียดสีจากความร้อนแล้ง) กับ ชาวบ้านเผาป่าเพื่อทำไร่(ไฟเลยลุกลามไปติดป่า) ถ้าเป็นเช่นสาเหตุหลังจริง  หลายคนคงไม่ทราบว่า ชาวบ้านรายย่อยในอินโดไม่ได้เป็นตัวการในการเผาที่ดินเพื่อทำไร่หรอก  แต่มาจากนโยบายส่งเสริมเกษตรเชิงเดี่ยว(Monocrop)เรื่องปลูกปาล์มน้ำมันซึ่งช่วงนี้ราคาดี  วิธีการเตรียมแปลงปลูกปาล์มที่ราคาถูกที่สุดและใช้เวลาสั้นที่สุดสำหรับนายทุนสวนปาล์มขนาดใหญ่หลายพันหลายหมื่นไร่ก็คือ จ้างชาวบ้านเผาป่า แล้วทราบไหมครับว่า นายทุนปาล์มน้ำมันรายใหญ่ของอินโดเป็นใคร  คำตอบคือ ชาวสิงคโปร์ครับ  นี่เองที่บอกว่า เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดวง นายทุนสิงคโปร์อาจคิดว่า เผาป่าเล็กน้อยในอินโดไม่กระทบอะไรกับบ้านเกิด(กู)ที่สิงคโปร์  แต่สุดท้ายปัญหาก็ลุกลามทำให้ควันไฟป่าลอยข้ามไปบดบังเหนือพื้นที่ประเทศสิงคโปร์จนถึงขั้นวิกฤติที่สุดในประวัติศาสตร์

  ---------------------------------------

การบ้านข้อ  2. 

แรงบันดาลใจที่ได้รับในครั้งนี้จะช่วยให้การเรียนและการวิจัยมีความสำเร็จอย่างไร

  แรงบันดาลใจที่ได้รับจากท่านอาจารย์จีระคือ  ผมมั่นใจมากขึ้นในการยืนยันแนวคิดที่ว่า "ถ้าเราเรียนรู้อย่างบ้าคลั่ง ตะลุยเรียนรู้อย่างเต็มกำลังความสามารถ เปิดใจรับสิ่งใหม่ๆที่อาจจะไม่เคยพบเจอมาก่อน  เราก็จะสามารถค้นพบความเป็นเลิศทางวิชาการ ซึ่งนั่นหมายความเราจะต้องเข้าใจกรอบเดิมที่มีอยู่ กฏเกณฑ์ที่มีอยู่อย่างถ่องแท้ จากนั้นค้นหาความเป็นตัวเองให้พบและสะสมทุกอย่างจนตกตะกอนหรือตกผลึก จากนั้นจึงค่อยแหกกรอบ นอกรอบ สร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา และก้าวขึ้นมาชี้นำสังคม  โดยต้องมีจริยธรรมกำกับ  เพราะนักวิชาการที่เก่งผู้นำที่เลิศแต่โกงแต่เลว ก็มีค่าไม่ต่างอะไรกับโจร"  อาจารย์ทำให้ผมมั่นใจและมีแรงบันดาลใจที่จะก้าวไปตามแนวคิดนี้มากขึ้นครับ

  เรื่องการวิจัยผมยังไม่ชัดเจนครับ ขอเวลาศึกษาตัวเองและปัจจัยต่างๆก่อน  ตอนนี้สนใจทำวิจัยเรื่องเกี่ยวกับ ภูมิปัญญาในนิยายกำลังภายใน ที่นำมาใช้ในการนวัตกรรมการบริหารองค์กรหรือสังคมให้เจริญก้าวหน้า เช่น คุณก่อศักดิ์ กับบริษัทซี.พี.ออลล์  แต่คงต้องขอรวบรวมข้อมูลและติดอาวุธทางปัญญาจากการเรียนกับท่านอาจารย์ไปสักพักก่อนครับ


สรุปการเรียนรู้ วันที่22 มิถุนายน 2556

Innovative เป็นวิชาที่ Managing Human Capital for Innovation

ในส่วนหนึ่งของ ใน 5k 8k มีเรื่อง Creativity and Innovation  ความคิดสร้างสรรค์ต้องมาก่อนถึงจะมีนวัตกรรม

การดูและเรื่องทุนมนุษย์ต้องตอบโจทย์เรื่อง Innovation ให้ได้ ปัจจุบันใช้ทฤษฏี 3V มาจัดการเพื่อให้เกิด Innovation

Producer and Consumer คุยกันบ่อย ก็ทำให้รู้ว่าความต้องการที่แท้จริงคืออะไร

การคิดแบบ Single Loop คือการคิดและแก้ไขปัญหาจากบริบทที่มีอยู่ เผชิญอยู่จริง, Second Loop คือการคิดว่าเราคิดวิธีการแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร

คุณพิชญ์ภูรี : สิ่งที่ยิ่งใหญ่คือเรื่ององค์ความรู้ ตอนนี้เราอยู่ที่ second loop คือเรื่อง Learning how to learn เป็นกระบวนยุทธ์ของการเรียนรู้

การเรียนเพื่อการ improve ตัวเอง การเรียน ป.เอก ต้องผ่านงานวิทยานิพนธ์เพื่อให้เรียนจบ วิทยานิพนธ์คืองานวิจัย  1 ชิ้นเราต้องทำในสิ่งที่ใกล้ตัว โดยใช้วิธีการง่ายๆ

·  เลือกหัวข้อ

·  ลำดับความคิดจากองค์ความรู้ที่เรามี

·  วิเคราะห์ SWOT เพื่อเลือกที่จะ Add Value

·  เลือกวิธีการเพื่อให้สมองแตกตัว

·  วิเคราะห์สิ่งที่เราได้ทั้งหมดเพื่อผนวกเป็นงานวิจัย

สร้อยสุคนธ์ : ต้องเข้า Blog เพื่อหาความรู้ในเรื่องเก่าๆ ทุกสิ่งที่อยู่ใน Blog เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ สิ่งแรกที่จะให้เป็นระบบ เรื่อง 2r และ 3v

ลองทดลองในองค์กรก่อนว่า 2r คืออะไร

R เรื่องที่ล้มเหลวและความสำเร็จ

R ต่อเนื่องและตรงประเด็น

การทำงานในแต่ละ  Project โดยใช้หลัก 3v ไม่จำเป็นต้องมี V เดียว อาจะมีทุก V ก็ได้ และไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับก่อนหลัง

นศ. ในห้องนี้มาจากภาคการศึกษา ให้ในทฤษฎีของอาจารย์จีระมาพัฒนาแนวการสอนแบบ Innovation

อ.จีระ : ปลูกคือเรื่องสร้าง HRD ยกตัวอย่างเรื่องการปลูกของตัวอาจารย์จีระ

·  สิ่งที่ทำให้ได้ดีคือเรื่องครอบครัวสร้างพื้นฐานที่ดี

·  โรงเรียนเป็นที่ปลูกฝังสิ่งที่ดี

·  การไปเรียนที่เมืองนอกสร้างความอดทน

·  มาทำงานที่ธรรมศาสตร์ได้รับมอบหมายให้ทำงานยาก

สิ่งที่ถูกปลูกฝังคือคุณธรรมจริยธรรมในทุกที่ เมื่อพื้นฐานเรื่องนี้อ่อนจะเป็นทุนมนุษย์ที่ล้มเหลว การที่มหาวิทยาลัยสอนเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์เอาตำราจากตะวันตกมาสอน แต่การบริหารทุนมนุษย์แบบตะวันออกเป็นการบริหาร Intangible ด้านในของมนุษย์

การเก็บเกี่ยวคือเรื่องการบริหารจัดการคน เราต้องเอา Maximum Benefit หรือการให้เขาแสดงศักยภาพของเขาออกมาแล้วเราจะเก็บเกี่ยวอย่างไรเป็นเรื่องการนำมาสร้าง Innovation

ยกตัวอย่างการเก็บเกี่ยว

·  Empowering มอบให้ทำงานใหญ่

·  ให้ Incentive โดยสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี

·  สิ่งที่น่ากลัวคือการให้แบบ Tangible เช่น เงิน ตำแหน่ง เพราะแต่สิ่งที่ต้องการคือ intangible นำไปสู่ความเป็นเลิศ

เรื่องทุนมนุษย์ยากมากคือเรื่อง execution หรือ get thing done เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยคือทำเยอะแต่ไม่สำเร็จ

สิ่งที่ยากต่อการพัฒนามนุษย์คือเรื่อง Environment ในองค์กร

How to ทำเยอะ แต่ How to do it successfully นั้นยาก

ประเทศที่ล้มเหลวเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์คือ สิงค์โปร เพราะสำเร็จหลายเรื่องแต่คนของเขาไม่มีความสุขในการใช้ชีวิต

ทุนคืออะไร?

·  คือสิ่งที่ต้องเสียแล้วถึงได้

·  คือจะไม่ได้มาง่าย ๆ หรือที่เราเรียกว่า Investment

·  คือ ต้องลงทุนก่อน และหวังว่าผลตอบแทนจะคุ้มกับที่ลงทุนไป

ทุนทางเศรษฐกิจ

·  ทุนที่มาจากธรรมชาติ – ที่ดิน

·  ทุนที่มาจากการเงิน

·  ทุนที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งอาจจะหมายถึงเทคโนโลยีหรือเครื่องจักร

ทุนมนุษย์นั้นจะแตกต่างจากทุนในด้านอื่น เพราะคิดได้ มีอารมณ์อยากทำหรือไม่อยากทำก็ได้ และต้องศึกษามนุษย์มากกว่าวัตถุ เป็นสิ่งที่บริหารยากมาก เพราะมีความหลากหลาย ภายในตัวมนุษย์เองมีความหลากหลายมาก เราไม่สามารถ treat มนุษย์เหมือนกันหมด สิ่งเหล่านี้เป็น Feeling บริหารยาก

ทุนมนุษย์มีความสัมพันธ์กับทุนอื่น ๆ มาก เพราะจะเกี่ยวข้องกัน และหากทุนการเงินไม่มีทุนมนุษย์ก็จะไม่เกิดผลผลิตขึ้นมา จึงเป็นทุนที่สำคัญมาก ๆ และในการทำกิจการทางเศรษฐกิจหรือธุรกิจจึงขาดไม่ได้ ถึงแม้ว่าตอนหลังตอนหลังจะมีการทดแทนด้วยเทคโนโลยี เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ ATM แต่ก็ต้องมีอาชีพใหม่ ทุนมนุษย์ที่มีความสามารถมากขึ้นในระบบธนาคาร เช่น จะต้องเป็นนักการตลาด เป็นนักวิเคราะห์ เป็นต้น

เมื่อก่อนเราวัดทรัพยากรมนุษย์เป็นจำนวนคน แต่ตอนนี้วัดเป็นคุณภาพ

ในด้านวรรณกรรม มีใครในโลกทางเศรษฐศาสตร์เขียนเกี่ยวกับทุนมนุษย์ไว้บ้าง ที่เด่น ๆ มากก็คือ

Adam Smith ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์รุ่นเก่ามาก ๆ สมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบันอาจจะพูดได้ว่าเป็นผู้ริเริ่ม คำว่า “ทุนมนุษย์” แต่ในช่วงแรกไม่ได้เรียกว่าทุนมนุษย์โดยตรง Adam Smith ยกตัวอย่างว่า.. ค่าจ้างของแรงงาน 2 คน ไม่เท่ากัน และก็ถามว่าทำไม? ส่วนหนึ่งก็มาจากบุคคลหนึ่งอาจจะมีความรู้ ทักษะมากกว่าอีกคนหนึ่ง

ต่อมาอีกคนหนึ่งที่ University of Chicago คือ Prof. Gary Becker ก็ได้วิเคราะห์ว่า ถ้าแรงงานมีการลงทุนด้านการศึกษาไม่เท่ากัน แค่วัดจากปีที่เรียนก็พอว่ารายได้ก็ไม่เท่ากันจึงเป็นการค้นพบว่า การศึกษา คือ การลงทุนที่สำคัญของทุนมนุษย์ ใครมีการศึกษามากกว่าคนนั้นก็จะมีรายได้มากกว่า หรือมีทุนมนุษย์มากกว่า

 E = α0 + α1Y1 + α2Y2 + x

E= รายได้, Y= Education

α1คือ ถ้า Y เพิ่ม E เพิ่มเท่าไหร่? ซึ่งได้มีการวิจัยว่า α1มีนัยยะสำคัญทางสถิติและเป็น+

 ซึ่งการวิเคราะห์ของ Becker ก็เป็นที่มาของรางวัล Nobel ทางเศรษฐศาสตร์

ส่วนอีกท่านหนึ่ง คือ P. Schultz จาก University of Chicago ก็ทำวิจัยใช้หลักของ Becker พบว่า ชาวนาในสหรัฐ ถ้าคนไหนมีความรู้หรือปัญญามาก.. ผลผลิตของสินค้าเกษตรหรือ Labor Productivity ของเขาก็เพิ่มขึ้น

ปัจจุบันปี 2556 การวิเคราะห์ทุนมนุษย์ก็ได้เปลี่ยนไปมาก ซึ่งก็คือประเด็นที่เราจะพูดกันในวันนี้

Hypothesis แรกก็คือ ปริมาณหรือการมองการศึกษาแบบเป็นทางการว่าจบอะไร ปริญญาตรีต้องดีกว่า ม.6 ก็ยังสำคัญอยู่ แต่จะสำคัญน้อยลง เพราะพบว่าคนเรียนน้อยก็อาจจะมีคุณภาพดีเท่ากับหรือมากกว่าคนเรียนมากก็ได้หรือที่มีคำว่า“ปัญญาอาจจะไม่ใช่ปริญญา” บุคคลที่เป็นตัวอย่างในเรื่องนี้คือ “Bill Gates

ดังนั้น ตัวผมเองก็เลยได้วิเคราะห์ตัวเองซึ่งถือว่าได้ลงทุนในด้านทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์มามากพอควร แต่จบปริญญาเอกก็คงไม่ได้ดีกว่าคนจบปริญญาตรีอีกต่อไป อยู่ที่ว่าจบมาแล้วมีคุณสมบัติอย่างไร?

จึงเป็นที่มาของทฤษฎี 8 K’s และ 5 K’s (ใหม่) 

ที่ใช้ “K” แทนคำว่าทุนนั้นเพราะ “K” มาจากคำว่า “Kapital” เป็นภาษาเยอรมัน แปลว่า “ทุน” หมายถึงทุนทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่ง Karl Mark ได้เขียนทฤษฎี “The Kapital” ไว้กว่าร้อยปีแล้ว ใน 8 K’s ผมเริ่มด้วย Human Capital แต่ Human Capital ไม่ใช่วัดจากปริมาณมากแต่ต้องเน้นคุณภาพจึงเป็นที่มาของทุนที่สำคัญอีก 7ทุน

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital  ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital  ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capital    ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital  ทุนทางความรู้

Innovation Capital  ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital    ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital    ทุนทางวัฒนธรรม

พิชญ์ภูรี : นศ. เป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษาเราได้เปรียบ ในการที่เราจะเอาทุนต่างๆ ไปเป็นต้นแบบในการสอนของเราเพื่อปลูกฝังให้นักเรียนเราได้

การคิดเร็วหรือคิดช้า ไม่เกี่ยวกับเก่งหรือไม่เก่ง แต่คนไม่เก่งแต่ถ้าคิดได้อาจจะคิดไปไกล แต่คนคิดเร็วจะเปลี่ยนเรื่องไปเรื่อยๆ การให้ 8k 5k เพื่อปลูกคนให้อยู่กับโลกแห่งความเสี่ยงสูง เพื่อให้เจริญงอกงามและยั่งยืน แต่จะประสบความสำเร็จได้ต้องงอกงามจากสิ่งเหล่านี้ ทฤษฏี อาจารย์บวกองค์ความรู้ มีปัญญามากกว่าปริญญา

Workshop

1. ระบบการศึกษาไทยช่วยหรือทำลาย 8k 5k ในด้านไหนยกตัวอย่าง

  จุดแข็งคืออะไร

  จุดอ่อนคืออะไร

2. แนวคิด 8k 5k มีจุดแข็ง ด้านใดและจุดอ่อนด้านใด ยกตัวอย่างรูปธรรมให้ชัดเจน

ข้อ 1. การศึกษาในบ้านเราเป็นระบบการศึกษาที่รูปแบบของการเน้นย้ำไม่เท่ากัน ทั้ง 8k 5k ทุนทางจริยธรรมไปเน้นเรื่องศาสนา เป็นการสอนแบบท่องจำนำ สอนแยกเป็นส่วนไม่สอนให้คนเอาปัญหามาใช้ อย่างสอนเรื่องจริยธรรมแต่ไม่สอนเรื่องระบบการคิดตั้งแต่เด็ก เด็กก็ไม่สามารถเอามาใช้ได้ ยกตัวอย่างเรื่องการให้ทุนยังแยกระหว่างเด็กเรียนเก่ง กับเด็กที่มีความประพฤติดี ถ้าเด็กเรียนเก่งแต่เห็นแก่ตัวไม่เห็นประโยชน์ส่วนรวมก็ยังได้ทุน นี่เป็นการแบ่งแยกเป็นส่วนอย่างชัดเจน  

ข้อ2.

·  จุดอ่อน การที่นำทุน 5k 8k มาใช้ต้องมีพื้นฐานทางความรู้ในระดับหนึ่ง ชาวบ้านทั่วไปนำมาใช้ยากในบริบทต่างๆ แต่ละ  K นำหนักไม่เท่ากัน

·  การพัฒนาทุนมนุษย์ให้ดีต้องใช้ k ทุกตัวเลยหรือเปล่า

อ.จีระ :

เรื่อง 8k 5k เอาชีวิตปราชญ์มาดูเขาจะมี 8k 5k ของเขาไหม ปราชญ์ชาวบ้าน Back to Basic  อย่างเรื่องครูประยงค์ มีแค่ 3 อย่างที่ครูคิดคือยางยังไม่โตจะกินอะไร, ถ้าน้ำยางพาราตกตะทำอย่างไร

คุณพิชญ์ภูรี : เรื่องการทำ workshop ไม่มีใครถูกผิด ประเด็นสำคัญคือการที่อาจารย์จีระกระตุ้นให้พวกเราเกิดการคิดและแลกเปลี่ยน กระตุ้นพวกเราจากภายใน เป็นวิธีการให้เกิดการเรียนรู้เป็นวิธีการ ประชุมกับปฏิบัติการ เกิดจากองค์ความรู้เดิม ให้ความสำคัญที่เวลาจำกัด เข้าไปสู่วิธีการแบ่งบทบาทอย่างชัดเจน เป็นการวิเคราะห์ 5K 8K แบบ 2r คือเป็นการเลือกข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ เอาความเป็นจริงมาพูดอย่างตรงประเด็น

การบ้านส่งก่อนวันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน 56

1. 8k 5k กระทบตัวเราอย่างไร และ 8k 5k ขาดอะไร น่าจะมีอะไรเพิ่มเติม

2. องค์กรได้อะไรจาก 8k 5k

3. 8k 5k ให้อะไรกับประเทศไทย

4. ระดับโลกาภิวัตน์ ได้อะไรจาก 8k 5k


นายสกาว ภู่ไชยเจริญ

1. 8k 5k กระทบตัวเราอย่างไร และ 8k 5k ขาดอะไร น่าจะมีอะไรเพิ่มเติม


- เป็นสิ่งที่ทำให้รู้ว่า เราทุกคนมีทุนอยู่ในตัวเอง เราเป็นทรัพยากร ที่มีค่าในสังคม
- 8k-5k ให้มุมมองในการมองเห็นทุนในด้านต่างๆ เป็นเหมือน checklist ให้เรานำมาใช้สำรวจตัวเองว่า ทุนที่ตัวเรามีอยู่แล้วคืออะไร และที่ยังขาดไปนั้นเป็นทุนด้านใด จะได้เร่งสร้างทุนเหล่านั้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ให้ตัวเอง
- ถ้าเราศึกษา จนเข้าใจถึงทุนต่างๆ จะเกิดประโยชน์กับตัวเอง แต่ถ้าเราไม่เริ่มสนใจตั้งแต่วันนี้ อาจจะทำให้เรามองไม่รอบด้าน พัฒนาได้ไม่ทันคนอื่น และขาดตกในทุนบางอย่างที่เราไม่รู้ตัวและอาจส่งผลเสียหายได้ในอนาคตโดยไม่คาดคิด
- สามารถยึดเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตได้ ก่อนหน้าที่จะรู้จัก 8k-5k ตัวเราเองอาจจะมีทุนในบางด้านอยู่แล้ว และอาจจะประสบความสำเร็จได้
แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะล้มเหลวในบางแง่มุม 8k-5k จึงเป็นสิ่งที่เสริมให้เราเติมเต็มในสิ่งที่เราอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนว่าต้องมี หรือสามารถใช้เป็นทุนของตัวเราเองได้

ทุน 13 อย่างจาก 8k-5k ครอบคลุมมากพอที่จะทำให้คนคนหนึ่งมีคุณค่าเพิ่มขึ้นมาอย่างมหาศาล แต่ถ้าจะให้เพิ่มเติม คิดว่าจะเพิ่ม ทุนด้านการสื่อสาร เพราะการสื่อสารที่ถูกต้อง ตรงประเด็น ไม่คลาดเคลื่อนจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ฟัง
คนที่เก่งทางด้านสื่อสาร จะสามารถส่งต่อความรู้ ความคิด และอีกหลายๆอย่าง ของตัวเองไปให้คนอื่นๆได้มาก

2. องค์กรได้อะไรจาก 8k 5k


- องค์กรจะได้แนวทางที่ใช้พัฒนาคนในองค์กร จะทำให้เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ได้อย่างยั่งยืน
- ได้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีทุนแห่งความสุข ชอบงานที่ทำ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
- เมื่อคนในองค์กร มีทุนในด้านต่างๆเพิ่มขึ้น องค์กรก็จะได้รับประโยชน์จากคนเหล่านั้น

3. 8k 5k ให้อะไรกับประเทศไทย


- เปลี่ยนมุมมองให้มองมนุษย์ ว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่า ออกนโยบายได้ตรงจุด เน้นพัฒนาคน เพื่อเพิ่มศักยภาพโดยรวมของคนในประเทศ ด้วยประสบการณ์ทำให้กลั่นกรองออกมาเป็นทุนด้านต่างๆที่เหมาะสมกับประเทศไทย
- ทำให้ประเทศได้รู้ถึงแนวทางในการพัฒนาประเทศ ว่าจะต้องเริ่มที่คน หันมาให้ความสำคัญและลงทุนในทุนมนุษย์มากขึ้น
- ให้มองเห็นสิ่งที่ประเทศยังขาดอยู่ โดยเฉพาะเรื่องจริยธรรม ถ้าเน้นที่จะพัฒนาทุนด้านนี้ให้กับประเทศจะทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าไปได้อีกมาก

4. ระดับโลกาภิวัตน์ ได้อะไรจาก 8k 5k


- การอยู่รอดอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะกับประชาคมอาเซียนที่กำลังจะมาถึง จะยิ่งทำให้ประเทศพร้อมแข่งกับคู่แข่งระดับ อาเซียนและระดับโลก
- ได้เห็นว่าประเทศไทยเรามีทุนทางวัฒนธรรมอยู่มากมาย เราสามารถนำมาเป็นจุดขายของประเทศได้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่มีชาติใดในโลกเหมือน

ส่งการบ้านครั้งที่ 2 ค่ะ

1.   8k 5k กระทบตัวเราอย่างไร

-  ตัวเอง

ประกาศแรกสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวผู้เรียนเองภายหลังจากได้เรียนรู้เกี่ยวกับ 8K’s และ 5K’s คือ เริ่มต้นการพิจารณาตนเองว่าตัวผู้เรียนเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพเพียงใด มีความโดดเด่นด้านทุนใดมากที่สุด  และยังมีทุนด้านใดที่ยังต้องเติมให้มากขึ้นเพื่อให้ตัวผู้เรียนเองกลายเป็นทุนที่มีคุณภาพให้มากที่สุดและมากเพียงพอที่จะนำสิ่งที่มีอยู่สร้างประโยชน์และถ่ายทอดสู่ผู้อื่นได้  ลำดับต่อมาก็คิดในฐานะที่ตัวผู้เรียนเป็นอาจารย์ว่าจะต้องทำและถ่ายทอดสู่ลูกศิษย์อย่างไรเพื่อที่ลูกศิษย์จะได้เป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถ มีกระบวนการคิดเป็นระบบด้วยการใช้สติปัญญา สามารถออกไปสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคมได้ โดยทรงไว้ซึ่งคุณธรรมและจริยธรรม และที่สำคัญจะต้องมีความสุขกับทุกๆการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน รวมทั้งยังสามารถที่จะต่อยอดความรู้ความสามารถในการสร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณค่าไปเรื่อยๆ

-  องค์กร

ในฐานะที่ตัวผู้เรียนเป็นบุคลากรในองค์กรการศึกษาซึ่งมีทั้งลูกศิษย์ซึ่งเป็นผู้ที่จะได้รับถ่ายทอดความรู้จาก มีเพื่อนร่วมงาน มีลูกน้องภายใต้การบังคับบัญชา จึงสามารถนำความรู้ที่ได้รับทางด้าน 8K’s และ 5K’s ไปถ่ายทอดและพัฒนาองค์กรในด้านของการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ให้สามารถคิดวิเคราะห์ อย่างสร้างสรรค์  สามารถแก้ไขปัญหาในการทำงานอย่างเป็นระบบแบบตรงประเด็นบนฐานของความเป็นจริง รวมทั้งสามารถสร้างให้เกิดการทำงานแบบสร้างเครือข่ายแบบข้ามศาสตร์เพื่อที่ได้แนวคิดหลากหลายมุมมองเพียงพอที่จะนำมาสร้างศักยภาพให้เกิดขึ้นกับตนเองและงานได้ และเหนือสิ่งอื่นใดในการทำงานผู้เรียนได้นำทุนทางด้านจริยธรรมไปปฏิบัติเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์สุจริต เป็นต้น และชี้ชวนให้ผู้ร่วมปฏิบัติงานปฏิบัติตนไปในทิศทางเดียวกัน และด้วยศาสตร์ทางการศึกษาของผู้เรียนซึ่งมีทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นทุนเดิมซึ่งสามารถนำความรู้ความสามารถเหล่านี้ไปเสริมทุนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับบุคลากรในองค์กรในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานได้มากขึ้นโดยผ่านการฝึกอบรม ซึ่งแน่นอนเมื่อบุคลากรในองค์กรได้เรียนรู้และแนวทางของ 8K’s และ 5K’s แล้วนำไปสู่การพัฒนาจริง องค์กรก็จะมีทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ เมื่อองค์กรถูกเติมเต็มด้วยทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพองค์กรก็น่าจะสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในสภาวการณ์ต่างๆได้อย่างยั่งยืน

-  ประเทศ

ในสภาวะแวดล้อมที่การแข่งขันค่อนข้างสูง อีกทั้งสภาพทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของประเทศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ประเทศย่อมต้องการคนที่มีคุณภาพเพื่อที่จะร่วมกันคิดและกระทำเพื่อให้ประเทศเกิดความมั่นคง มีภูมิคุ้มกันเพียงพอที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมทั้งสามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจได้ ซึ่งเมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจ 8K’s และ 5K’s อีกทั้งนำไปแนวทางสำหรับสร้างลูกศิษย์ที่มีคุณภาพ ทั้งในความรู้ด้านรู้ ความสามารถ ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ ทักษะด้านการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ภายใต้แรงกดดัน และสามารถดำรงชีวิตภายใต้คุณธรรมจริยธรรม และศีลธรรมได้ เมื่อลูกศิษย์เหล่านั้นสำเร็จการศึกษาไปปฏิบัติงานอยู่ในองค์กรใดๆย่อมทำให้องค์นั้นมืทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพพร้อมที่จะนำองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้า และเมื่อทุกๆองค์กรมีทุนมนุษย์ที่คุณภาพย่อมที่จะส่งผลให้ประเทศมีความเจริญ รุ่งเรือง และพัฒนาไปสู่การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันกับอาณาประเทศได้อย่างยั่งยืน  

-  โลกาภิวัตน์

เมื่อคนในประเทศมีคุณภาพ ก็ย่อมมีกระบวนการคิดด้วยการใช้ปัญญา  รู้คิด รู้ทำ ดำรงตนอยู่ในกรอบของศีลธรรมอันดีงาม รวมทั้งมุ่งเน้นที่จะนำความรู้ความสามารถ มาพัฒนาประเทศ ประเทศก็ย่อมมีภูมิคุ้มกันเพียงอยู่รอดและรุ่งเรืองภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ว่ากระแสโลกจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดก็จะสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้ และแน่นอนว่าน่าจะนำมาซึ่งความสุขของทุกคนบนโลกนี้ได้อย่างยั่งยืน  

2.   8k 5k ขาดอะไร น่าจะมีอะไรเพิ่มเติม

จากการศึกษา 8K’s และ 5K’s  พบว่าทุนเหล่านี้น่าจะเพียงพอในการพัฒนาคนให้มีคุณมาสำหรับพัฒนาตนเอง องค์กร ประเทศ และโลกาภิวัตน์ แต่ถ้าจำเป็นจะต้องเพิ่มทุนใดทุนหนึ่ง ดิฉันคิดว่า น่าจะเพิ่ม Health Capital นั่นคือทุนทางสุขภาพ (ร่างกาย) เนื่องด้วยสุขภาพร่างกายเป็นสิ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนวงจรการดำเนินชีวิตของมนุษย์เพราะไม่ว่ามนุษย์จะมีปัญญาเพียงใด ความรู้ความสามารถมากมายเพียงใด แต่ปราศจากร่างกายที่แข็งแรง ก็คงขาดแรงและพลังที่จะนำทุนอื่นๆที่มีอยู่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ดังนั้นทุนทางสุขภาพน่าจะเป็นหนึ่งในทุนที่จะเสริมให้มนุษย์เป็นทุนที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง


ขอเพิ่มเติมด้านผลกระทบต่อประเทศนะคะ

เมื่อวันใดวันหนึ่งลูกศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดด้าน 8K’s และ 5K’s และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงมีโอกาสก้าวเข้าไปสู่การบริหารประเทศก็ย่อมที่นำความรู้ ความสามารถ และทุนทั้ง 8K’s และ 5K’s ที่มีอยู่ในตัวเองบริหารแบบธรรมาภิบาล เน้นประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เน้นการพัฒนาประเทศมากกว่าการเล็งที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง  นั่นก็จะนำมาซึ่งความสุข  สงบ และมั่นคงของประเทศชาติได้ 


การบ้านครั้งที่1 --- human Capital Management

1.  สรุปได้อะไร 3 เรื่องในการเรียนครั้งแรก
ตัวเอง
---การจัดการด้านทุนมนุษย์ทำให้ทราบถึงทุนในตัวเองที่มีอยู่ และสิ่งที่ต้องปลูกและเก็บเกี่ยว ในพื้นฐานทางความรู้ รวมถึงองค์ความรู้ที่มีอยู่ในแต่ละด้าน รวมถึงผลกระทบจากสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อทุนมนุษย์ที่ก่อให้เกิดความแตกต่างกันขอลทุนมนุษย์ รวมไปถึงการสร้างแรงจูงใจให้ชีวิตในทุกๆด้านของ happiness Capital เป็นทุนที่สำคัญอย่างนึงในทุกๆด้านของการใช้ชีวิต
องค์กร
--- การบริหารจัดการองค์กร ควรเริ่มจากการบริหารทุนมนุษย์ จากทรัพยากรบุคลากรที่มีอยู่ก่อนเพื่อให้สามาระเสริม สร้างทักษะที่ตรงตรมทุนเดิมของบุคคลนั้นๆ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาองค์กรเช่นกันหากบุคลากรได้ถูกพัฒนาศักยภาพที่ถูกทิศถูกทาง องค์กรก็สามารถเติบโตได้อย่างสวยงาม
ประเทศ
---แนวทางในการบูรณาการสอนในเชิงการปลูกความคิดให้เยาวชน นักศึกษา ให้รู้จักคิดและปฏิบัต เป็นมากกว่ายึดติดกับแค่วุฒิการศึกษา 
---แนวทางการคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับการทุนมนุษย์ที่มีผลต่อการพัฒนาตั้งแต่เริ่มจากทุนมนุษย์เพียง1คน สามารถทำให้ประเทศ เติบโตแข่งขันในระดับโลกได้เช่นกัน
ระดับโลกาภิวัตน์
--- ได้แนวทางในการเริ่มต้นพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีกระบวนการ ปลูก เก็บ เกี่ยว / input>process>output นำไปสู่การทำงานเป็นระบบและเข้าสู่กระบวนการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง สามารถสร้างมูลค่าขึ้นมาได้ ก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

2.  แรงบันดาลที่ได้รับในครั้งนี้จะช่วยให้การเรียนและการวิจัยมีความสำเร็จอย่างไร
--- แรงบันดาลใจที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดคำถามในหัวข้อวิจัยที่ชัดเจนขึ้น ควรทำวิจัยที่ก่อให้เกิดประโยชน์แลถนำไปใช้จริงได้ โดยพึงคำนึงถึงองค์ความรู้เดิมที่มี ผนวกกับทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวเองรวมถึงสามารถนำการพัฒนาทุนมนุษย์มากำหนดเป้าหมายของวิจัยได้ชัดเจนมากขึ้น สามารถนำมาสร้างกรอบของวิจัยให้ก่อเกิดเป้าหมายที่ชัดเจนและมีแนวทางทฤษฎีที่สามารถนำมาใช่ให้เป็นจริงได้


การบ้านครั้งที่2

1. 8k 5k กระทบตัวเราอย่างไร และ 8k 5k ขาดอะไร น่าจะมีอะไรเพิ่มเติม
--- สำหรับ8K's ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทุนทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาตัวเองจากทุนเดิมที่มีอยู่ 8K's จึงเสมือนสิ่งที่สามารถตอบโจทย์และเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาศักยภาพตนเองให้ถูกทางตามทุนที่มีอยู่แตกต่างกันในตัวบุคคล เมื่อค้นพบตัวเองก็สามารถไปถึงจุดหมายได้เร็วขึ้น
--- สำหรับ5K's ทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในโลกโลกาภิวัฒน์ เมื่อปรับพื้นฐานของทุนมนุษย์ได้สิ่งต่อมาที่ควรมีควบคู่กับ8K's เพื่อสร้างกระบวนการให้ป้องกันความเสี่ยง ในโลกปัจจุบัน และโลกอนาคต มีความเสี่ยงรอบด้านซึ่งมาคู่กับการเปลี่ยนแปลงของโลกรอบตัวเรา 
=== และเมื่อเรามี8K's+5K's =>ก็จะทำให้เราสามารถพัฒนาทุนมนุษย์พื้นฐานที่มีอยู่ให้เติบโตโดยสู่กับความเสี่ยง และเมื่อเราสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์ความรู้อื่นๆที่มี ทำให้ก่อเกิด "ปัญญา"ที่ดี
2. องค์กรได้อะไรจาก 8k 5k
---สิ่งที่องค์กรได้รับจากทฤษฏี8K's องค์กรจะสามารถใช้ในการบริหารจัดการองค์กร ความสามารถพื้นฐานของบุคคลากรในองค์กรได้อย่างถูกต้องตามทุนที่บุคลากรมีอยู่ และดึงทุนในด้านที่บุคลากรถนัด เด่น ออกมาพัฒนาต่อยอดให้มีศักยภาพ
---สิ่งที่องค์กรได้รับจากทฤษฏี5K's เมื่อองค์กรนำ5K's มาใช้เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถสร้างสิ่งที่เหมาะสมกับโลกาภิวัตน์ หากองค์กรและบุคคลากร คิดเป็นกระบวนการโดยผ่านการสังเคราะห์ การพัฒนาคนก็คือการพัฒนาองค์กรเช่นกัน
3. 8k 5k ให้อะไรกับประเทศไทย
---สิ่งที่8K 5K สามารถช่วยประเทศได้จากการเริ่มปรับความเข้าใจเกี่ยวกับทุนที่แท้จริง คือ ทุนมนุษย์ ประเทศไทยมีทรัพยากรมนุษย์ที่ดีหลากหลายอาชีพแทบทุกด้าน แต่หากประเทศไทยยังขาดการพัฒนาคนอย่างมีศักยภาพ เน้นทำงานเป็นมากกว่าปริญญา หากทุกคนในประเทศได้ปลูกพื้นฐานมาครบ8K และสามารถนำไปต่อยอดกับ5Kโดยเฉพาะจริยธรรม ประเทศจะมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพมากพอที่จะพาประเทศสามารถสู้กับความเสี่ยง พัฒนาสู่โลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะขณะนี้หากประเทศไทยสามารผลักดันการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างมีศักยภาพให้เต็มที่ได้ ประเทศไทยอาจจะมีศักยภาพที่มากพอที่จะเป็นผู้นำสำหรับการเข้าสู่ AEC 
4. ระดับโลกาภิวัตน์ ได้อะไรจาก 8k 5k
---ความสำคัญของ8K’s & 5K’s นอกจากเน้นการพัฒนาคนจากทุนมนุษย์แล้ว ความสำคัญของ8K’s & 5K’sอีกอย่างคือการทำให้ทุนมนุษย์ นอกจากความรู้และปัญญาหากสามารถสร้างสิ่งใหม่ๆที่เกิดจากคิดอย่างเป็นระบบ สู่กระบวนการ ที่สามารถวิเคราะห์ และสังเคราะห์ออกมาได้ ทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ องค์ความรู้ใหม่ๆที่เท่าทันโลกาภิวัตน์

1.8K’s& 5K’s นั้นกระทบกับตัวเราที่เราสามารถสร้างทุนได้ทั้ง 8K’s& 5K’sหากการที่เราจะตระหนักถึงความสำคัญและการดึงทุนมนุษย์เหล่านี้ออกมาใช้ได้ตามเวลาและโอกาสที่เหมาะสมก็จะสามารถทำให้การทำสิ่งใดก็ตามนั้นสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีส่วนสิ่งที่8K’s& 5K’s ขาดนั้น ควรจะทุนทางทางภูมิคุ้มกัน คือการวร้างความเข้มแข็งให้กับตนเองในด้านของร่างกาย อารมณ์สังคมและสติปัญญา

2.องค์กร จะได้8K’s& 5K’s นั้นอยู่ที่บุคลากรในองค์กรนั้นมีการนำ 8K’s& 5K’s มาใช้ในการดำเนินงาน จัดการบริหารองค์กรได้มากน้อยแค่ไหน หากมีการให้ความรู้เกี่ยวกับ8K’s& 5K’s ในองค์กรเพื่อให้ บุคลากรเข้าใจและนำออกมาใช้ได้ก็สามารถทำให้องค์กรมีความเจริญงอกงาม แต่ถ้าหากขาดขาดทุนทางด้าน ปัญญาและจริยธรรมซึ่งสำคัญกับทุนมนุษย์ในทุกๆส่วนไม่เกิดขึ้นจึงทำให้องค์กรไม่เกิดความเจริญก้าวหน้าขึ้น

3.ประเทศต้องประกอบด้วยมนุษย์ องค์กรหรือหน่วยงาน หลายๆองค์กรหรือหน่วยงานหากทุกๆฝ่ายมี8K’s& 5K’sก็สามารถทำให้ ประเทศมีการพัฒนา เจริญก้าวหน้า และทำให้ประเทศมีความแข็งแกร่ง งาม แต่ถ้าหากขาดขาดทุนทางด้าน ปัญญาและจริยธรรมซึ่งสำคัญกับทุนมนุษย์ในทุกๆส่วนไม่เกิดขึ้นจึงทำให้ประเทศไม่เกิดความเจริญก้าวหน้าขึ้นเมื่อมีการนำงาม แต่ถ้าหากขาดขาดทุนทางด้าน ปัญญาและจริยธรรมซึ่งสำคัญกับทุนมนุษย์ในทุกๆส่วนไม่เกิดขึ้นจึงทำให้องค์กรไม่เกิดความเจริญก้าวหน้าขึ้น

4.เมื่อทุกๆบุคคล ทุกองค์กรและทุกประเทศเล็งเห็นความสำคัญของ8K’s& 5K’sและนำไปใช้แล้วเกิดผลสัมฤทธิ์จะมีการบอกต่อและปฏิติตามทำให้ส่งผลในทางบวกไม่ว่าจะในทาง สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ประเพณีวัฒนธรรมฯลฯ ทำให้เกิดการพัฒนทั้งองค์ความรู้ใหม่ๆ นวัตกรรมทางความคิด เทคโนโลยีเกิดขึ้นมากมาย


(ส่งวันพฤหัสทั้งวันไม่่ได้เลย  เลยลองส่งไปที่ เมล์ดร.จีระ และคุณจงกลกรก่อนหนึ่งทาง  แต่เช้าวันศุกร์ตื่นมาลองส่งเข้าบล็อกอีกที)

ปริญญาเอก นวัตกรรมการจัดการ สวนสุนันทา รุ่น 7

การบ้านครั้งที่ 2  ส่ง 27 มิ.ย.56

 นายธนาคม  พจนาพิทักษ์

1. 8k 5k กระทบตัวเราอย่างไร และ 8k 5k ขาดอะไร น่าจะมีอะไรเพิ่มเติม


- 8k 5k  ให้ความเข้าใจเรื่องทุนประเภทต่างๆ จะสร้างประโยชน์ต่อการพัฒนาและบริหารจัดการทุนมนุษย์ได้อย่างไร เพราะโครงสร้างและหน้าที่ของทุนแต่ละประเภทมีระบบย่อยของตัวมันเองที่ไม่เหมือนกัน  เช่น ทุนแห่งการสร้างสรรค์ (ใน 5 k) ช่วยสร้างประโยชน์ต่อทุนมนุษย์ด้านขยายขอบเขตแห่ง Creative และ Design แนวคิดใหม่ๆในการพัฒนาทุนมนุษย์ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด  ในขณะที่ทุนแห่งวัฒนธรรม(ใน 5 k) ช่วยสร้างประโยชน์ในการเชื่อมโยง(Connect) ความเข้าใจมิติแห่งชีวิตที่ลึกซึ้งไม่ว่าในทางมานุษยวิทยาหรือสังคมวิทยามาช่วยขยายความเข้าใจในการพัฒนาทุนมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น เป็นต้น

 - สำหรับผม 8k 5k กระทบต่อตัวเราในแง่ดีเท่านั้น หากนำไปมาใช้ในเชิงวิชาการ จะเป็นพื้นฐานในการศึกษาพิเคราะห์เรื่องทุนมนุษย์ได้อย่างหนักแน่นไม่หลุดหรอบ  และหากนำไปใช้ในเชิงบริหารจัดการ จะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในพัฒนาทุนมนุษย์ได้อย่างรวดเร็ว และตรงประเด็นมากขึ้น ไม่เสียเวลาในการบริหารงาน 

  - 8k 5k ขาดอะไร  บอกได้เลยว่าครอบคลุมชัดเจนดีมากสำหรับสภาวการณ์ปัจจุบัน  แต่ในอนาคต 5 ปีข้างหน้าไปแล้ว เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุควิกฤติทรัพยากร น้ำท่วม สึนามิ และแผ่นดินไหวมากขึ้น  อาจต้องมีการทบทวนเพิ่มเติมอีกบางเรื่อง  เช่น ต้องเพิ่ม Environment Capital (ทุนแห่งสิ่งแวดล้อม) เข้ามาด้วยอีกตัวหนึ่ง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรู้จักและประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรมาใช้ในการพัฒนาทุนมนุษย์ด้วย 

- 2. องค์กรได้อะไรจาก 8k 5k


- องค์กรจะได้แนวทางที่ใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร จะทำให้เพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เท่าทันสถานการณ์  และล้ำหน้าได้ด้วยสามารถคาดการณ์หรือพยากรณ์อนาคตของตลาดและสังคมได้
- องค์กร ที่มีความรู้ในเรื่องทุนด้านต่างๆ และสามารถเรียนรู้ได้อย่างชาญฉลาด  และยังสามารถหลอมรวม(Convergence) จุดแข็งของทุนต่างๆได้   องค์กรนั้นจะเจริญก้าวหน้าอย่างสูงโดยที่ใช้การลงทุน(ด้านทรัพยากร)ที่น้อย


3. 8k 5k ให้อะไรกับประเทศไทย

- 8k 5k ให้ความรู้ต่อการบริหารประเทศไทยว่า ต้องชัดเจนในเข้าใจถึงศักยภาพจากทุนประเภทต่างๆ ซึ่งต้องเริ่มจากการสามารถจำแนกทุนในด้านต่างๆ ได้ว่า ว่าแต่ละทุนนั้นมีรูปแบบ ลักษณะ และปฏิสัมพันธ์ต่อระบบต่างๆเช่นเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และสังคมที่แตกต่างกัน เช่น ทุนทางจริยธรรม(ใน 8 k)มีผลต่อการกำกับการใช้อำนาจในระบบการเมือง ขณะที่ทุนทาง IT (ใน 8 k)มีผลต่อการขยายสมรรถนะการผลิตของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น
-กระตุ้นเตือนให้ผู้บริหารประเทศไทยได้ตระหนักว่า ต้องมาให้ความสำคัญและลงทุนในการพัฒนาทุนมนุษย์มากขึ้น โดยต้องกำหนดเป็นนโยบายและวาระเร่งด่วนของชาติ


- 4. ระดับโลกาภิวัตน์ ได้อะไรจาก 8k 5k


- การปรับตัวในยุคโลกาภิวัฒน์ จำเป็นต้องใช้ความรู้เรื่อง 8k 5k อย่างเหมาะสม เพื่อสามารถอยู่รอดในสังคม"โลกใบเดียวกัน"ได้อย่างกลมกลืน เท่าทัน และก้าวหน้า

- จากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในอดีต ที่จำเป็นที่ต้องรู้แค่เรื่องทุน เครื่องจักร และตลาด  แต่ยุคสังคมข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน ต้องรู้ลึกไปถึงปัจจัยภายในและแนวทางพัฒนาทุนมนุษย์แต่ละทุนย่อยทั้ง  8k และ 5k จึงจะสามารถเป็นผู้นำในระดับโลกาภิวัฒน์ได้ เพราะขณะนี้หลายตลาดย่อยกลายเป็นตลาดโลก บางบริษัทธรรมดากลายเป็นบรรษัทข้ามชาติ  บางประเทศกลายเป็นผู้นำกลุ่มความร่วมมือระดับภูมิภาคหรืออนุทวีป  ความรู้ความเข้าใจเรื่อง 8k 5k จึงเป็นกระจกส่องทางที่ช่วยให้ความสว่างในวันที่พรมแดนของความเป็นชุมชน เมือง และความเป็นชาติเริ่มพร่าเลือนและมืดมน  ความรู้ความเข้าใจเรื่อง 8k 5k ยังเป็นอาวุธสำคัญช่วยเราปกป้ององค์กร กิจการ และสังคมประเทศชาติของเราได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน


3v is very clear to improve economy of thailand but understanding of 8k 5k first

innovation with out  basics of human capital is not possible


3v for agriculture is so important

we have the best food industry in the world but we do have 3V

เมื่อวานนี้เป็นวันเบาๆของผม แต่วันเบาๆอาจไปสู่ความสำเร็จบางเรื่องก็ได้ หรือเรียกว่า “Light อาจไปสู่ Might” ซึ่งนอกจากผมไปตรวจสุขภาพ ตอนบ่ายนั่งอ่านหนังสือที่ร้าน Asia book โรงแรมแลนด์มาร์ค เป็นมุมสงบของผม 

ผมหารือกับรองผู้จัดการร้านก็แนะนำหนังสือเล่มหนึ่ง ผมไม่คาดมาก่อนว่าตรงกับช่วงเวลาและความสำคัญ หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า “The Human Equity Advantage” โดย Trevor Wilson สำนักพิมพ์ Jossey Bass ไม่แน่ใจ หนังสือเล่มนี้ผมไม่แน่ใจว่าเขานำผม หรือ ผมนำเขา 

เพราะหนังสือเล่มนี้นำไปสู่แนวคิด diversity ซึ่งผู้เขียนได้ให้เห็นว่าถ้าจะบริหาร value diversity ต้องใช้คำว่า beyond diversity ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมคิดอยู่ เพราะการบริหารdiversity ต้องดูจุดแข็ง หรือความเป็นเลิศของแต่ละคน แล้วนำมาผสมด้านปลูก เก็บเกี่ยว และ Execution ในหนังสือเล่มนี้อาจจะไม่ได้พูดใน process แต่diversity ต้องเอาความเป็นเลิศ และต้องเอามาอย่างทัดเทียมกันด้วย 
ผมเอาแนวคิดนี้มาใช้ในเรื่องศักดิ์ศรีและการยอมรับ ซึ่งความแตกต่างต้องยกย่องให้แต่ละคนเท่ากัน ผมขอเรียนว่าต้อง Light&Might

                                                       

สุพัตรา กาญจโนภาส

การบ้านครั้งที่ 3

1.  สรุปและวิจารณ์หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ HR CHAMPIONS” และหนังสือ “8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน” ถึงแม้ในหนังสือทั้ง 2 เล่มนี้จะกล่าวถึงบริบทที่ต่างกันนั่นคือหนังสือ  “ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ HR CHAMPIONS”  จะมุ่งเน้นความสำคัญของคุณภาพคนในสเกล  Micro คือระดับองค์กร ในขณะที่หนังสือ  “8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน” จะมุ่งเน้นในสเกล Macro คือระดับประเทศ ระดับประชาคมอาเซียน แต่เนื่องด้วยการจัดการคุณภาพคนในระดับองค์กรย่อมส่งผลกระทบต่อระดับประเทศและระดับโลกเช่นกัน ภายหลังการอ่านหนังสือทั้ง 2 เล่มข้าพเจ้าได้พบว่าผู้ที่ต้องการเป็นทุนมนุษย์ที่เป็นเลิศไม่ว่าจะเป็นระดับตนเอง องค์กร ประเทศ หรือโลก รวมถึงผู้บริหารองค์กรที่ต้องการสร้างคุณภาพคนให้เป็นเลิศและพร้อมจะจงรักภักดีต่อองค์กร ไม่ควรพลาดการอ่านหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งเลย จากการอ่านทำให้รู้ว่า คนคือทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดที่องค์กรจะต้องลงทุนพัฒนาศักยภาพ ซึ่งอาจผ่านการฝึกอบรม การเอาใจใส่ ให้เต็มที่เพื่อที่องค์กรจะสามารถใช้ทักษะ ความรู้ ความสามารถของคนในองค์กรสร้างมูลค่าเพิ่มในด้านการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาต่างๆเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเต็มไปด้วยการคุกคามทั้งโอกาสและความเสี่ยง ทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นตัวแปรที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าตัวแปรด้านทรัพยากรเงินทุน ทรัพยากรทางด้านเทคโนโลยี หรือแม้แต่ทรัพยากรทางธรรมชาติเลย ดังนั้นเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันองค์กรจำเป็นจะต้องมีทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่มีคุณภาพมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาได้เก่ง (Intellectual Capital) แต่คนที่จะพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้นั้นเก่งอย่างเดียวคงไม่พอแต่จะต้องเป็นคนดี ดำรงตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต (Ethical Capital) ด้วย ซึ่งการลงทุนด้านคนขององค์กรทั้งด้านปัญญาและด้านคุณธรรมจริยธรรมจะเป็นกลไขขับเคลื่อนให้พาองค์กรอยู่รอดอย่างยั่งยืนในสภาวการณ์ที่ไม่แน่นอน ถึงแม้ทฤษฏีของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ จะมีความแต่ต่างกันบ้างแต่จุดหมายปลายทางของทั้ง 2 ท่านไม่ต่างกันคือการมุ่งเน้นในการพัฒนาทุนมนุษย์ ถึงแม้ทุนมนุษย์ของคนแต่ละคนอาจไม่เท่ากันแต่ถ้าผู้บริหารองค์กรมีความจริงใจ ใส่ใจ ที่จะพัฒนา ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มของคน ทั้งนี้ทั้งนั้นในการพัฒนาทุนมนุษย์ระดับองค์กรจำเป็นจะต้องมีองค์ประกอบ ทั้งตัวพนักงานเองที่พร้อมจะเอาใจใส่ในการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้ที่เอาใจใส่และสร้างแรงจูงใจพร้อมทั้งดูแลการพัฒนาตนเองของผู้ใต้บังคับบัญชาว่าแต่ละคนสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากน้อยเพียงใด จะต้องให้โอกาสในการพัฒนาศักยภาพให้แก่ทุกคนอย่างเท่าเทียม และพร้อมทั้งสร้างโอกาสในการพบปะ แสดงความคิดให้กับทุกๆคน  และที่สำคัญคือองค์กรจะต้องมีการกำหนดแผน นโยบายในการพัฒนาบุคลากรพร้อมด้วยสนับสนุนด้านค่าใช้จ่ายอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะเป็นได้จากตัวอย่างการบริหารงานของบริษัทในเครือปูนซีเมนต์ไทยที่สามารถนำพาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศได้ ซึ่งเมื่อความเลิศขององค์กรดำเนินไปพร้อมๆกับการมีคนที่มีคุณภาพ มีทุนมนุษย์ที่พร้อมจะพัฒนาและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าองค์กรหรือประเทศจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณ์ใดก็จะยังคงได้เปรียบทางการแข่งขันอยู่เสมอๆทั้งในระดับองค์กร ระดับประเทศ และระดับโลก สำหรับประเทศไทยซึ่งกำลังจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น คงไม่สามารถแยกการพัฒนาทุนมนุษย์ระดับองค์กร ออกจากการพัฒนาทุนมนุษย์ระดับประเทศได้อย่างแน่นอนเพราะตราบใดที่องค์กรสามารถพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีศักยภาพ ก็ย่อมส่งผลต่อศักยภาพพร้อมสำหรับการแข่งขันหรือรวมกลุ่มกันเพื่อต่อรองกับอาณาประเทศนอกประชาคมอาเซียนได้อย่างแข็งแกร่งด้วย ซึ่งจากแนวคิดทฤษฎีพื้นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ทั้ง 8 ทุน (8K’s) และทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อพัฒนาศักยภาพการแข่งขันให้อยู่รอด(5K’s) ของ ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์นั้น เริ่มจากการมองว่าคนแต่ละคนมีทุนที่แตกต่างและไม่เท่ากัน ความสำเร็จที่ได้มาในแต่ละคนไม่ใช่ความบังเอิญแต่จะเกิดจากการพัฒนาและเรียนรู้เพื่อหลอมรวมให้เป็นคนที่มีคุณภาพ ซึ่งจากทฤษฎี 8K’s นั้นได้กล่าวไว้ว่า K1 : ทุนมนุษย์ (Human Capital) ซึ่งคนไทยจะมีคุณภาพก็จำเป็นต้องมีการลงทุนในการพัฒนา การให้การเรียนรู้ทั้งในระบบการศึกษาและการฝึกอบรมที่ดี รวมถึง การเลี้ยงดูจากครอบครัว การให้โภชนาการที่มีประโยชน์ แต่เพียงแค่ K1 ยังไม่เพียงพอให้คนไทยมีกระบวนการคิด วิเคราะห์ แก้ไขปัญญาได้อย่างมีคุณภาพ จำเป็นจะต้องมี K2: ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ซึ่งการคิดเป็น หาทางออกเป็นก็จะทำให้สามารถอยู่รอดได้ในโลกแห่งกาเปลี่ยนแปลง สามารถสร้างความพร้อมทางด้านการแข่งขันในระดับอาเซียนได้ แต่ถึงแม้คนจะมีปัญญาแต่ไร้ซึ่ง  K3: ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม(Ethical Capital)ก็ใช่จะสามารถอยู่รอดในสังคมการเปลี่ยนแปลงได้ เพราะถ้าคิดเก่ง วิเคราะห์เก่งแต่นำไปใช้ในทางที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อองค์กร ต่อประเทศชาติ คิดเพียงแค่ประโยชน์ตนมากกว่าประเทศชาติ ก็นำมาซึ่งความสูญสิ้นของชาติได้เช่นกัน ดังนั้นเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในประชาคมอาเซียนนอกจากเก่งแล้วต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีจิตสาธารณะด้วยเพราะการรวมกลุ่มกันไม่ใช่เพียงแค่หวังเพื่อการแข่งขันกันเองแต่เพื่อสร้างความร่วมมือกันสร้างความแข็งแกร่งให้ประชาคมสามารถมีอำนาจต่อกับนานาประเทศได้อย่างได้เปรียบทางการแข่งขันบนฐานของธรรมาภิบาล แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการเป็นคนที่มีคุณภาพภายใต้ความเก่งและมีความดีแล้วคนจะต้องมี K4: ทุนทางความสุข (Happiness Capital) เพราะในโลกแห่งการแข่งขัน ถ้ามีปราศจากความสุขชีวิตก็จะขาดความสมดุล ซึ่งก็จะไม่ใช่ความสำเร็จที่ยั่งยืน นับวันจะมีแต่ความเครียดซึ่งจะส่งผลต่อศักยภาพในการสร้างสรรค์ผลงานลงนั่นเอง  และทุนต่อไปคือ K5: ทุนทางสังคม (Social Capital) ซึ่งก็คือการสร้างเครือข่ายทางสังคม เป็นที่แน่ชัดว่าการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือกันของทั้งองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน อย่างกว้างขวางเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและศักยภาพทางการแข่งขัน รวมทั้งจะต้องมีการสร้างเครือข่ายกับกลุ่มประเทศในอาเซียนอย่างแท้จริงด้วยการเข้าใจความหลากหลาย ความแตกต่างที่มี แล้วหยิบจับความหลากหลาย ความแตกต่างเหล่านั้นมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นให้ได้ซึ่งในการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ในด้านต่างๆ จะต้องคิดถึงผลที่จะตามมาในระยะยาว ต้องพัฒนาให้เป็นไปในทิศทางของการอยู่รอดในระยะยาว K6: ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainable Capital) ให้ได้ โดยการค่อยเป็นค่อยๆไปโดยดูจากพื้นฐานของประเทศเป็นหลัก สำหรับประเทศไทยถือว่าโชคดีมากที่มีแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจากพ่อหลวงที่จะสามารถสร้างความยั่งยืนให้กับประชาชนได้ ซึ่งถ้านำแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาองค์กร พัฒนาประเทศก็จะสามารถทำให้ประเทศสามารถอยู่รอดในประชาชนเศรษฐกิจอาเซียนได้ แต่การที่ประเทศไทยจะอยู่รอด สามารถมีศักยภาพทางการแข่งขันได้อย่างยั่งยืนคงปฏิเสธการรับสิ่งใหม่ๆที่ทันสมัย K7:ทุนทางด้านเทคโนโลยี (Technology Capital) คงไม่ได้ เพราะการจะแข่งขันได้ คงต้องรู้เข้า รู้เรา วางแผนอนาคตในระยะยาวได้ในทิศทางที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปล ซึ่งเทคโนโลยีจะทำให้เราสามารถรับรู้ข่าวสารที่ใหม่ ทันสมัย ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงสามารถประมวลผลข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างแม่นยำ และทันเวลา ซึ่งในโลกไร้พรมแดนมีข้อมูลมากมายให้คนไทยได้เรียนรู้ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และที่สำคัญก็คือภาษา ไม่ว่าจะเป็น ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้านให้กลุ่มประชาคมอาเซียน เป็นต้น และทุนสุดท้ายแต่ไม่ได้สำคัญน้อยไปกว่าทุนอื่นๆเลยคือ K8:ทุนอัจฉริยะ (Talented Capital) คือคนต้องมีอัจฉริยภาพในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถของตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อเตรียมตัวเองให้พร้อม รวมทั้งต้องมีทัศนคติที่เป็นบวกต่อการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ประชาคมอาเซียนนั่นเอง ซึ่งทั้ง 8 ทุนสามารถสร้างคนให้มีคุณภาพสำหรับการเข้าสู่อาเซียน แต่เพื่อให้มีศักยภาพเพียงพอสำหรับการแข่งขัน และมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competiveness)  และสามารถอยู่รอดในสังคมอาเซียนได้อย่างสง่างาม จำเป็นจะต้องมี 5K’s ไม่ว่าจะเป็น ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital) ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) และทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) นั่นคือ การคิดอย่างสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ เพื่อตกผลึกทางความคิดและก่อเกิดองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ ที่สามารถมูลค่าเพิ่ม หรือการสร้างมูลค่าจากความหลากหลายได้โดยเฉพาะในอาเซียนซึ่งมีความหลากหลายมากมายพร้อมให้นำมาสร้างมูลค่า หรือเพิ่มมูลค่า แต่ต่อให้ได้ความรู้ใหม่ๆดีๆแค่ไหนจะมีประโยชน์อะไรถ้าไม่สามารถนำไปสู่การทำสิ่งที่มีคุณค่าได้ดังนั้นจะต้องนำองค์ความรู้นำไปสู่การสร้างนวัตนกรรมใหม่ๆที่มีคุณค่าสำหรับการพัฒนาประเทศได้โดยจะต้องตระหนักถึงวัฒนธรรมอันดีงามที่มีอยู่เก่าก่อนภายใต้อารมณ์ที่สุขุมรอบคอบ มีสติสัมปชัญญะ เพียงพอ  ซึ่งจากแนวคิดทั้งหมดในหนังสือทั้ง 2 เล่ม สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อ่านเป็นอย่างยิ่งที่จะนำแนวทางและทฤษฏีเหล่านี้ไปเป็นแนวทางพัฒนาตนเองให้เป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพขององค์กรและพร้อมที่จะเป็นฟันเฟืองที่มีคุณภาพของประเทศชาติ และเป็นทางทางในการสร้างที่พร้อมไปด้วยคุณภาพทั้ง ด้านสติปัญญา คุณธรรมจริยธรรม และการเปิดโลกทัศน์ เพื่อที่บุคคลเหล่านั้นจะเป็นแรงกำลังที่สำคัญในการพัฒนาองค์กร ประเทศชาติ และความแข็งแกร่งให้เกิดขึ้นกับประชาคมอาเซียนต่อไปได้อย่างยั่งยืน 


สุพัตรา กาญจโนภาส

2 วิเคราะห์การดูรายการทีวี ซึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ กับ คุณศุภชัย หล่อโลหการ (ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ)  ซึ่งได้สาระสำคัญคือ ได้ทราบว่า งานทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) และ งานนวัตกรรม (Innovation) มีความสัมพันธ์กัน เพียงแต่ งานทรัพยากรมนุษย์เป็นงานต้นน้ำนั่นคือการสอน การพัฒนา การฝึกอบรม ในขณะที่งานนวัตกรรมเป็นงานปลายน้ำคือการปฏิบัติหรือทำจริง  แต่ทั้งสองงานมีความสำคัญที่จะต้องบริหารจัดการดี โดยผู้บริหารต้องสนใจเรื่องคนและต้องรอบรู้หลายด้านเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จด้านนวัตกรรม  ซึ่งในโลกปัจจุบันนั้นนวัตกรรมได้รับความสนใจอย่างมาก แต่ถ้าถามว่านิยามของนวัตกรรมนั้นคือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการคิดอย่างสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ต่อสั่งคม โดยความสำคัญของนวัตกรรม (Innovation) จะเน้นให้คิด ทำในสิ่งใหม่ ๆ คิดนอกกรอก และนวัตกรรมเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก แต่ CEO ระดับโลกมองว่านวัตกรรมจะต้องคำนึงถึงทั้งระดับองค์กร (Micro) และระดับประเทศ (Macro) โดยนวัตกรรมถูกแบบออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงแรกเป็นช่วงเกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดความรู้อย่างเป็นระบบ ช่วงต่อมาเป็นการเปลี่ยนแนวคิดไปสู่การปฏิบัติและช่วงสุดท้ายคือการทำให้สำเร็จ โดยนวัตกรรมจะเป็นการลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจหรือสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติมองว่าเมื่อมีนวัตกรรมนั้นกลไกทางตลาดมีความสำคัญเพราะนวัตกรรมต้องลงสู่ตลาด หาซื้อได้ ในมุมมองของคุณศุภชัยเกี่ยวกับ HR ออกมาในรูปแบบของทฤษฏี 3 C คือ

C1 คือ คนไทยไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ซึ่งในความเป็นจริงต้อง Ready to Change (ต้องพร้อมที่จะเปลี่ยน)

C2 ที่คือ คนไทยไม่เน้นลูกค้า (Customer base) ซึ่งในความจริงควรมี Marketing Mind อีกทั้งคนไทยชอบเป็น Supply Side ทั้งๆที่ในโลกความเป็นจริงควรดูที่ Demand Side  

C3 คือ คนไทยที่เป็นหัวหน้าหรือผู้นำไม่ชอบฟังลูกน้องขัดความคิดเห็น  ซึ่งจริงๆต้อง Listen to learn

ในขณะที่ ดร.จีระ เสนอ ทฤษฏี  5 k's  คือทุนแห่งการสร้างสรรค์ (Creativity Capital)  ทุนทางความรู้ (Knowledge  Capital) ทุนทางนวัตกรรม (Innovation  Capital)  ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural  Capital ) และ ทุนทางอารมณ์ (Emotional  Capital )  

สรุปคือ การสร้าง Innovation นั้น บุคลากรจะต้องได้รับการสนับสนุน หรือ กระตุ้นให้เกิดความคิดอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างสิ่งใหม่ ๆ จากผู้บริหารที่ไม่ยึดติดกับกรอบเดิม พร้อมรับฟังความคิดเห็นที่สร้างสรรค์จากผู้ใต้บังคับบัญชาและพร้อมที่จะรับกับการเปลี่ยนแปลง  ซึ่งทฤษฏี 5K's มีความสำคัญที่จะช่วยเสริมให้การจัดการนวัตกรรมได้เป็นอย่างดี และมีประสิทธิภาพมากขึ้น 


ข้อสอบปริญญาเอก ม.ราชภัฎสวนสุนันทา 

1.  ปรัชญาที่คุณพารณปลูกฝังมาเกี่ยวกับทุนมนุษย์ คืออะไร

เป็นส่วนไหนของเรื่อง

-   ปลูก

-  เก็บเกี่ยว

-  Execution

ให้อธิบายและวิจารณ์

2.  Happiness capital กับ Happy workplace แตกต่างกันอย่างไร และจำเป็นต้องมีทั้ง 2 เรื่องหรือไม่ เพื่อสร้าง 3 V

3.  หนังสือ Human Equity Advantage ของ Travor Wilson  เกี่ยวอะไรกับ value diversity 2 แนวจะ Complement กันได้อย่างไร  (ให้ค้นหาข้อมูลในInternet)

4.  ทุนมนุษย์ของไทยมีจุดแข็ง จุดอ่อนอย่างไร ในการเข้า ASEAN 2015

-  ถ้ามีจุดอ่อนปรับปรุงอย่างไร

-  จุดแข็งจะต่อยอดได้อย่างไร

5.  เบื้องหลังแนวคิดของ 3V มีทฤษฎีอะไรอยู่เบื้องหลัง

-  มีจุดแข็งอะไร

-  มีจุดอ่อนอะไร อธิบาย

ยกกรณีตัวอย่างที่ชัดเจนว่าแต่ละ V มีบทบาทอย่างไร หรือมีบทบาทเชื่อมโยงกันอย่างไร

-  ปลูก

-  เก็บเกี่ยว

-  Execution 

จำเป็นต่อ 3V อย่างไร

6.  นำเสนอประสบการณ์ที่ผ่านมาในองค์กรของท่านที่ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรม โดยสรุปกระบวนการและผลลัพธ์ที่อาจสำเร็จหรือล้มเหลว และวิเคราะห์การบริหารทรัพยากรมนุษย์สามารถบูรณาการเข้ากับทฤษฎี 8k5k มีจุดอ่อนหรือจุดแข็งอย่างไร ผลลัพธ์สามารถบูรณาการกับ มูลค่าเพิ่มระดับใด ของ v1, v2,v3 และเสนอกรอบแนวคิดที่สร้างสรรค์ในอนาคต 

7.   ให้นักศึกษาเลือกวิจารณ์หนังสือแนะนำเล่มใดเล่มหนึ่งเฉพาะประเด็นที่สามารถประยุกต์และบูรณาการกับองค์ของท่านสู่ความสำเร็จ โดยเสนอแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับ HRDS ที่จะนำไปบูรณาการกับองค์กรของท่าน 

8.   การเตรียมความพร้อมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรของท่านมีจุดอ่อนและจุดแข็งใดบ้างเพื่อก้าวสู่อาเซียนอย่างมืออาชีพในพันธกิจและวิสัยทัศน์ขององค์กรของท่าน วิเคราะห์โดยอ้างอิงแหล่งข้อมูลหรือบทวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง


I will select only 3 questions

exam next Saturday for 1 hour only

you can work and consult before exam but no more during exam ,it is not open book

is it because exam ,only one person sent blog

you have to do your homework too

exam is only to test your brain

(8K’s)ที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นการพูดถึงเรื่องทุนมนุษย์ซึ่งโดยพื้นฐาน ทรัพยากรมนุษย์ที่พึงต้องมี(5 K’s)ที่สำคัญสำหรับทรัพยากรมนุษย์ที่ควรต้องมีเพิ่มในยุคโลกาภิวัตน์

ทุนทั้ง13ตัวนี้ถูกหลอมรวมกันในตัวตนของมนุษย์หนังสือเล่มนี้ได้สอนให้ผมรู้ว่าอาจารย์ได้ทำการ สังเคราะห์ออกมาเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นชัดเจนว่าในตัวเรานั้นมีทุนทางมนุษย์อะไรบ้างและสามารถสร้างทุนอะไรจากสิ่งที่มีอยู่ได้บ้างและอีกทั้งยังสามารถนำทุนไปใช้ได้อย่างไรบ้างให้เกิดประโยชน์กับตนเองก่อนและสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์กับประเทศหรือใช้ทุนอย่างไรให้มีความทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์นี้ซึ่ง โลกของAECก็เป็นเรื่องที่เข้ามามีบทบาทกับตัวเองกับคนรอบข้างกับสังคมและประเทศเพราะฉะนั้นทุนที่เราได้สะสมและเพิ่มพูนทุนในด้านใดก็ตามเรานั้นตัวเราเองจะสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ที่พบเจอต่างๆและนำความรู้ความสามารถนั้นๆออกมาใช้ได้อย่างเป็นระบบเพราะเรามีพื้นฐานทางความคิด เรื่องทุนมนุษย์ที่ดีย่อมทำให้การใช้ชีวิตและการทำงานนั้นสามารถไปถึงเส้นชัยได้โดยไม่เสียเวลาหลงทาง

ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ HR CHAMPIONSนั้นผมอ่านทีหลังเล่ม8และ5k’sทำให้ผมรู้ว่าเราจะทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จโดยทั้งอาจารย์และคุณพารณได้นำประสบการณ์จริงที่ท่านได้พบเจอและได้นำหลักของทุนมนุษย์มาใช้ในการบริหารงานซึ่งผมเองก็รู้สึกว่าถ้าเราหยิบสิ่งดีๆที่ท่านได้นำมาเผยแพร่มาใช้ในการทำงานตัวเราเองจะเป็นผู้ที่ได้รับและก็สามารถเอาชนะตนเองได้เซึ่งการเอาชนะตนเองถือว่าเป็นสิ่งที่ยากที่สุดและถ้าเราสามารถเอาชนะตนเองได้ไม่ว่าจะงานใดๆก็ตามเราก็สามารถข้ามผ่านอุปสรรคต่างได้อย่างไม่เสียเวลาเพราะเรามีผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ที่ดีมากมาเขียนเป็นหนังสือให้เราอ่านและความรู้หรือประสบการณ์นี้ยังสามารถดึงออกมาใช้ได้ทุกโอกาสเหมือนกับการรู้เขารู้เราย่อมมีชัยชนะไปกว่าครึ่งอีกทั้งยังสามารถนำสิ่งดีๆนี้ไปถ่ายทอดสอดแทรกในการสอนในรายวิชาเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของตนเองและโลกภายนอกที่กำลังจะพบเจอในไม่ช้าแทนที่จะคิดถึงเรื่องผลกำไรก่อนและจึงคิดถึงคุณภาพของคนทีหลังเพราะว่าเงินทองมีมากแค่ไหนวันนึงก็สามารถหมดได้แต่หากว่าเรานั้นมีการนำความรู้ทางทรัพยากรมนุษย์มาใช้เราเองที่จะถือว่ามีคุณภาพและสามารถทำให้องค์กรของตนนั้นมีคุณภาพอย่างยั่งยืน

สรุปหนังสือทั้งสองเล่มที่อ่านนั้นสามารถทำให้เราเล็งเห็นความสำคัญของคำว่า"ทุนมนุษย์"และทำอย่างไรจึงสามารถนำไปปฏิบัติใช้ปฏิบัติชอบได้ตรงตามบริบทเรื่องราวต่างๆของงานใดก็ตามหรือแม้กระทั่งการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีเหตุมีผล มีสติและคุณธรรม โดยอาศัยพื้นฐานที่ได้ศึกษาจากหนังสือทั้ง2เล่มนี้

จากการที่ได้ดูการสนทนาระหว่าง ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ กับ คุณศุภชัย หล่อโลหการ แล้วทำให้เข้าใจว่าไม่ว่าจะเป็น8k'sหรือ5k'sย่อมเป็นบ่อเกิดของinnovationและinnovationก็เป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึงพื้นฐานของทุนมนุษย์เนื่องจากinnovationนั้นเกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสังเกต จดจำและนำไปใช้ดังนั้นการจะสร้างinnovationไม่ว่าจะเป็นinnovationทางความรู้หรือinnovationทางเทคโนโลยีก็ดีจะสะท้อนให้เห็นพื้นฐานทางความคิดที่ดีและการต่อ ยอดทางความคิดนั้นต้องเปิดตา เปิดหู เปิดใจและลองผิดลองถูกเพื่อให้ได้มาซึ่งinnovationและinnovationต้องตอบสนองและมีimpactต่อผู้นำinnovationไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงสอดคล้องกับผู้ใช้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันต่อโลกโลกาภิวัฒน์

นายสกาว ภู่ไชยเจริญ

สิ่งที่ได้จากหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ HR.CHAMPIONS (เล่มดำ)

1.วิธีการบริหารคนแบบ Management by walking around หรือ การลงไปคลุกกับพนักงานทุกจุด เป็นการสร้างแรงจูงใจ และกำลังใจให้พนักงาน

2.เน้นการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และสนใจในศาสตร์หลายแขนง

3.การรักษาบุคลากรให้อยู่กับองค์กร หรือ วิธีการที่จะทำให้เราได้เก็บเกี่ยวสิ่งที่เราเพาะปลูกไว้ ปัญหาที่มีคือ เราลงทุนไปกับพนักงาน แล้วพนักงานลาออกไปอยู่กับบริษัทอื่น เราจะมีวิธีจัดการยังไง นอกเหนือจาก ค่าจ้างเงินเดือน ผลตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสมแล้ว ต้องทำให้พนักงานมีแรงจูงใจ และพอใจที่จะอยู่กับองค์กร มอบหมายงานที่ท้าทาย ให้โอกาสในการพิสูจน์ตัวเอง และให้มีส่วนร่วมในบริษัท ดูแลทุกคนอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม
เมื่อเราเอาใจใส่ดูแลพนักงาน พัฒนาให้เขาก้าวหน้า เขาก็จะรู้สึกผูกพันกับองค์กร รักบริษัทและจะทำงานเพื่อบริษัทตอบแทน จะเป็น win-win ด้วยกันทั้งสองฝ่าย
สรุปคือ ผู้นำจะต้องมีความสามารถในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้วย ต้องบริหารความจงรักภักดี
ต้องปลูกฝังและสร้างบรรยากาศของความจงรักภักดีในองค์กร เน้นเรื่องความผูกพันแน่นแฟ้นของคนในองค์กร โดยต้องเริ่มจากการให้ความรัก ความห่วงใย ให้เกียรติ ตามคำพูดที่ว่า "ถ้าเรารักเขาแล้ว หนีไม่พ้นที่เขาจะต้องรักเรา" ตรงกันกับ วงกลมวงที่ 3 ของ ทฤษฎี 3 วงกลมของ ดร.จีระ คือ Motivation เป็นการสร้างแรงจูงใจ ซึ่งไม่ใช่รูปแบบที่เป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียว

4.ทุนทางปัญญา จะนำไปสู่ V ตัวแรกคือ Value Added จากแนวคิดเรื่อง 3V คือการนำความรู้ที่เรามีไปสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งต้องใช้ทุนทางปัญญา ต้องมีความสามารถ
ในการคิดวิเคราะห์เป็น เอาความรู้ที่มีไปใช้ วางแผน แก้ปัญหา คิดค้นสิ่งใหม่ๆ

5.การพัฒนาฝึกอบรมพนักงาน การลงทุนในเรื่องคน ไม่ใช่ต้นทุน ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่สูญเสียไป แต่เป็นการลงทุนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เพราะในระยะยาวแล้วจะคืนทุนให้กับองค์กร

6.เป็นต้นแบบใน 4 เรื่อง 1.เป็นคนเก่ง-คนดี 2.ให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์ 3.ดูแลทุกข์สุขของคนใกล้ชิด 4.การทำงานเป็นทีม

7.การฝึกอบรมคนใน 3 ทักษะ 1.ทักษะในงานที่ทำ 2.ฝึกแนวคิด 3.ฝึกบุคลิกภาพและการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดย 1และ 2 เน้นให้เป็นคนเก่ง ส่วนข้อ 3 เน้นให้เป็นคนดี

8.บันไดแห่งความเป็นเลิศ 4 ขั้น 1.Good ideas > Action > ผลสำเร็จ 2.Focus ต้องจัดลำดับความสำคัญ 3.Participation ต้องทำงานเป็นทีม 4.Ownership ต้องมีคนเป็นเจ้าของงาน

9.ขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรม 1.ความคิดใหม่ๆ 2.ลงมือทำ 3.ทำให้สำเร็จและต่อเนื่อง ซึ่งตรงกันกับ บันไดแห่งความเป็นเลิศ ขั้นที่ 1

10.มองบริษัทเป็นเหมือนคน คนที่มีจริยธรรมคนนั้นก็จะก้าวหน้า บริษัทที่มีจริยธรรมบริษัทนั้นก็เจริญก้าวหน้า

11.คิดงานก่อนแล้วค่อยหาเงินทีหลัง ให้ความสำคัญกับเป้าหมายและคุณภาพการทำงานมากกว่าคิดเรื่องทุน

12.ต้องการสร้างเด็กไทย ให้เป็น Global Citizen โดยการเรียนรู้แบบ Constructionism หรือ ทฤษฎีสร้างสรรค์ด้วยปัญญา บอกว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี เมื่อได้ลงมือปฏิบัติในสิ่งที่ชอบ ดังนั้นจึงปล่อยให้ได้ทำในสิ่งที่ชอบก่อน แล้วค่อยหาโอกาสแทรกความรู้เข้าไปทีหลัง

13.ต้องมองมายังคนข้างล่าง ไม่ใช่มองขึ้นไปข้างบน คือ ต้องดูแลลูกน้องและคนที่อยู่รองลงมา ไม่ใช่คอยเอาใจหัวหน้า

ข้อคิดเห็น

1.มีข้อความเดิม หรือพูดถึงเรื่องเดิม กระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ซ้ำๆกัน

2.หน้า 47 พิมพ์ชื่อผิด มีชื่อคุณพารณทั้ง 2 คอลัมน์ ไม่มีชื่อ อาจารย์จีระ

3.หน้า 70 ชื่อไม่เป็นตัวหนา

4.หน้า 127 พิมพ์ผิด ตรงคำว่า กอปร

==================================================

สิ่งที่ได้จากหนังสือ 8K's+5K's ทุนมนุษย์ของคนไทย รองรับประชาคมอาเซียน (เล่มฟ้า)

1.ได้เรียนรู้และศึกษาถึงแนวคิดและแนวทางที่ทำให้เกิดขึ้นมาเป็นทฤษฎี 8K's 5K's

2.ทฤษฎี 8K และทฤษฎี 5K
Human Capital ทุนมนุษย์
Intellectual Capital ทุนทางปัญญา
Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม
Happiness Capital ทุนทางความสุข
Social Capital ทุนทางสังคม
Sustainable Capital ทุนทางความยั่งยืน
Digital Capital ทุนทาง IT
Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

Creativity Capital ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์
Knowledge Capital ทุนทางความรู้
Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม
Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม
Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

3.การพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ ด้วย ทฤษฎี 8K's 5K's จะทำให้คนไทยอยู่รอดและแข่งขันได้ในอาเซียน

4.ทฤษฎี 4L
Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี ทันสมัย
Learning Environment มีบรรยากาศการเรียนที่ สนุก น่าสนใจ ผ่อนคลาย
Learning Opportunities สร้างโอกาสให้ได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้กัน
Learning Communities ขยายชุมชนการเรียนรู้

5.ทฤษฎี 2R
Reality เรียนรู้จากเรื่องจริง
Relevance เรื่องที่ตรงประเด็นเกี่ยวข้องกับตัวเรา

6.ทฤษฎี 2i
Inspiration สร้างแรงบัลดาลใจให้ผู้เรียน
Imagination ทำให้ผู้เรียนมีจินตนาการ

ข้อคิดเห็น

1.ชอบตรงที่มีตัวอย่างความคิดเห็นจากหลายท่าน จึงทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติม และเห็นการยกตัวอย่างจากเรื่องจริงทำให้เข้าใจได้มากขึ้น

2.ตรงสารบัญ ชื่อบทที่ 8 สลับกับ ชื่อบทที่ 10

3.หน้า 171 นำเข้า พิมพ์ผิด และ ขาดเว้นวรรค ระหว่างคำ วิศวะ บัญชี

4.หน้า 230 พิมพ์ ดู เป็น คู่

==================================================

ความเห็นที่มีจากการดู Video รายการคิดเป็น ก้าวเป็นกับ ดร.จีระ

1.เห็นถึงความสัมพันธ์กันของ HR(ทุนมนุษย์) กับ Innovation(ทุนทางนวัตกรรม) โดย HR จะเป็นการพัฒนาคนให้มีคุณภาพในด้านต่างๆก่อน แล้ว Innovation จะเป็นการนำไปลงมือทำให้เกิดประโยชน์

2.เข้าใจความหมายของคำว่า นวัตกรรม คือ การทำสิ่งใหม่ๆ ที่มีประโยชน์ โดยใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์

3.แนวคิดหลายๆอย่างด้าน Innovation ค่อนข้างตรงกันกับของ อาจารย์จีระ

4.สิ่งที่ได้ดูนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับ วิชาที่กำลังเรียนอยู่ก็คือ ทุนมนุษย์ และหลักสูตรนี้ก็เป็นหลักสูตร นวัตกรรม

1. สรุปและวิจารณ์หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ HR CHAMPIONS” และหนังสือ “8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน”


หนังสือ“ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ HR CHAMPIONS” ท่านพารณ และท่านอาจารย์ ดร.จีระ ทั้ง2ท่านมีความเป็นคนพันธ์แท้ในด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่แท้จริง ซึ่งทั้ง2ท่านเป็นผู้ริเริ่มเห็นความสำคัญของการพัฒนาคนก่อนเพื่อเป็นรากฐานในการสร้างความมั่นคงทางจิตใจเป็นสิ่งแรก และให้ความสำคัญกับการสร้างเยาวชนให้เป็น Global Citizen ตามแนวคิด Constructionism
เมื่อพัฒนาโดยมุ่งเน้นการเรียนรู้(4L's)ให้มีศักภาพได้ มุมของผู้บริหารหรือหัวหน้าต้องมีการจัดการเกี่ยวกับการสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นกับองค์กรโดยเริ่มจาก ต้องเข้าใจในคุณค่าของมนุษย์เสียก่อนรู้จักจุดแข็งจุดอ่อนของลูกน้อง สวัสดิการที่ดี ปกครองอย่างเป็นธรรม ความรัก ความสำคัญ การทำงานเป็นทีม สร้างความผูกพันในองค์กรให้กลายเสมือนเป็นองค์กรที่มีชีวิต อีกสิ่งที่ช่วยให้องค์กรมุ่งสู่ความเป็นเลิศได้คือแรงจูงใจที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลจริงบนงานที่มีการเปลี่ยนแปลง
Global Citizen นำไปสู่การสร้างการเรียนรู้แบบ Learner Centered Learning Technology integrated การเปลี่ยนบทบาทครู สร้างคุณค่า เสริมความคิดให้เด็ก ผลักดันการเรียนรู้โดยปฏิบัติจริง จะทำให้เขารู้จริงและติดตัวเขาไปได้นาน
ท่านพารณ ได้สร้างกรณีศึกษา โครงการเพื่อนำไปใช้กับ รร.ดรุณสิขาลัย การเรียนรู้ในแบบConstructionism 8ขั้นตอนโดยทุกๆขั้นตอนเกิดการเรียนรู้จากต้นจนจบกระบวนการ
ท่านอาจารย์ ดร.จีระ ได้สร้างกรณีศึกษากับ รร.เตรียมอุดมน้อมเกล้าโดยใช้นวัตกรรม3ขั้นตอน 1.ต้องมาจากความคิดใหม่ๆ หาความรู้ตลอดเวลา 2.เมื่อได้สิ่งใหม่ๆต้องลงมือทำ 3.ต้องทำให้สำเร็จและต่อเนื่อง พร้อมทั้งใช้ทฤษฏี4L'sเป็นแนวทาง


"หนังสือ “8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน”
จากหนังสือเล่มนี้ได้ความรู้เกี่ยวกับที่มาของทฤษฎี8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ ในหนังสือเล่มนี้ให้ความรู้ในการวิเคราะห์การพัฒนาเพื่อรองรับAECคนไทยต้องมีการเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อแข่งขันในภาวะการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ความได้เปรียบการสร้างทุนพื้นฐาน8K's ขั้นพื้นฐาน เริ่มจากการศึกษา สู่สร้างปัญญาควบคู่จริยธรรม ก่อให้เกิดทุนแห่งความสุขในการทำงาน เพิ่มคุณภาพด้วยทุนทางสังคม เพื่อเพิ่มเครือข่ายสู่ความสำเร็จ ส่งผลให้เกิดทุนแห่งความยั่งยืนที่ทำให้อนาคตชัเจนขึ้น ในขณะที่ยุคการสื่อสารไร้พรมแดน ITจึงเป็นทุนอย่างนึงในการช่วยพัฒนาได้ในทุกๆด้าน และสุดท้ายทุนอัจฉริยะเป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะด้านทัศนคติ สู่ประสบความสำเร็จ
5K’s ทุนใหม่5ประการที่เข้ามามีส่วนช่วยเสริมให้สามารถสร้างคุณค่าให้กับตัวมนุษย์ให้มีศักยภาพ ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital) ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) และทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital)
ทั้ง5ประการนี้คือจุดเริ่มต้นของความคิดสู่นวัตกรรมใหม่ๆให้เกิดสิ่งใหม่ๆเกิดความรู้ใหม่ๆที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ในการเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่AEC หากเราสามารถพัฒนาศักยภาพทั้ง5ประการนี้ได้ เราก็สามารถยืนอยู่ได้ในโลกนี้
นำ8K’s+5K’s สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางกับการเปลี่ยนแปลง สู่การรองรับประชาคมอาเซียน ซึ่งจากบทสรุปSWOTในท้ายเล่มเราจะสั่งเกตุเห็นได้ว่า *จุดอ่อนที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเมื่อเข้าสู่AEC ที่ต้องรีบแก้ไขฝีมือแรงงาน เพราะคนไทยยังขาดทักษะด้านการปฏิบัติจริง การปฏิรูปการศึกษารูปแบบการศึกษาแบบสังคมกาาเรียนรู้ เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่สูงขึ้น เริ่มจากการสร้างความเข้มแข็งจากทุนมนุษย์ให้มีศักยภาพที่เต็มที่ก่อน



2 วิเคราะห์การดูรายการทีวี บทสนทนาระหว่าง ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ กับ คุณศุภชัย หล่อโลหการ
นวัตกรรม (Innovation) เป็นสิ่งที่เข้ามามีบทบาทมากตอนนี้ทั้งในระดับระดับองค์กร (Micro) และระดับประเทศ (Macro) สิ่งที่คนไทยต้องทำ 3C ได้แก่ C1 คือ คนไทยไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แต่ ณ ตอนนี้ ต้องพร้อมที่จะเปลี่ยน. C2 Customer base หากมองในมุมของลูกค้า Demand Side คือสิ่งที่สำคัญที่สุด. C3 Listen to learn การรับฟังที่ต้องมีมากขึ้นในสังคมทำงา

หนังสือปกฟ้า - 8 K’s + 5 K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

หนังสือเล่มนี้ให้ความรู้ ให้ความคิดและแนวทางการวิเคราะห์ที่เป็นระบบในศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่ง ทฤษฎี 8 K’s ที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ , 5 K’s new รวมทั้ง 4 L’s และ 2 R’s ซึ่งทุกทฤษฎีช่วยให้มองได้ทั้งภาพรวมและสามารถนำมาปรับใช้ได้ในภาพย่อย (ทั้ง Macro และ Micro )

1.หนังสือเล่มนี้ได้สรุปทุกทฤษฎี ดังนี้

ทฤษฎี 8K และทฤษฎี 5K
Human Capital ทุนมนุษย์
Intellectual Capital ทุนทางปัญญา
Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม
Happiness Capital ทุนทางความสุข
Social Capital ทุนทางสังคม
Sustainable Capital ทุนทางความยั่งยืน
Digital Capital ทุนทาง IT
Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

Creativity Capital ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์
Knowledge Capital ทุนทางความรู้
Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม
Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม
Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

ทฤษฎี 2R
Reality เรียนรู้จากเรื่องจริง
Relevance เรื่องที่ตรงประเด็นเกี่ยวข้องกับตัวเรา

ทฤษฎี 4L
Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี ทันสมัย
Learning Environment มีบรรยากาศการเรียนที่ สนุก น่าสนใจ ผ่อนคลาย
Learning Opportunities สร้างโอกาสให้ได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้กัน
Learning Communities ขยายชุมชนการเรียนรู้

2.การพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ ด้วย ทฤษฎี 8K's 5K's จะทำให้คนไทยอยู่รอดและแข่งขันได้ในอาเซียนได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

-ปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงยุคโลกไร้พรมแดน

-พัฒนาและยกระดับตัวเองให้เท่าทันนานาประเทศ

-เร่งพัฒนาเรื่องทุนทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการแข่งขัน

หนังสือปกดำ - HR.CHAMPIONS ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

หนังสือเล่มนี้ช่วยจุดประกาย (Inspiration) ความรู้ ความคิด ให้แก่ผู้อ่านอย่างมาก

สิ่งที่ทั้งสองท่านเหมือนกัน

1.ความมุ่งมั่นที่จะทำงานเพื่อพัฒนา “คน” เพราะคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของโลก และมีผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และต่อระบบเศรษฐกิจโลก

2.มีความเชื่อเหมือนกันว่าการพัฒนาทุนมนุษย์จะนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาองค์กร สังคมและประเทศชาติ

3.มีความเชื่อและครองตนครองใจได้เหมือนกันในเรื่องธรรมาภิบาล คุณธรรมและจริยธรรม ท่านพารณดูแลเครือSCGด้วยธรรมาภิบาล ขณะที่ดร.จีระรักษาชื่อเสียงในแวดวงวิชาการไว้ได้อย่างไม่มัวหมองด้วยหลักจริยธรรมแห่งปัญญาชน

สิ่งที่สองท่านแตกต่าง

ท่านพารณเน้นกรณีศึกษาที่เป็นประสบการณ์จริงและเชิงลึกมาก ส่วนท่านจีระประมวลความรู้โดยสร้างทฤษฎีที่ขยายความเชื่อมโยงในภาพกว้าง สรุปคือ ท่านหนึ่งเด่นเรื่องลึก ท่านหนึ่งเด่นเรื่องกว้าง

ข้อเด่นของหนังสือ

1.มีการนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณที่เป็นทั้งผลจากการวิเคราะห์ และวิจัย รวมทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพที่เกี่ยวกับเรื่องของคนไว้อย่างชัดเจน พอเหมาะ พอดี

2.การสอดแทรกทฤษฎีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นของทั้งสองท่านเอง หรือของผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ได้อย่างน่าสนใจดูน่าเชื่อถือ

3.ภาษาเขียนอ่านง่าย สำนวนกระชับ ตรงประเด็น ทำให้น่าติดตาม ไม่ทำให้หนังสือเล่มนี้ดูเป็นวิชาการมากเกินไป

ข้อด้อยของหนังสือ

1.หนังสือเล่มนี้มีปกสีดำ ทำให้ดูทึบทึมไม่สะดุดตาสะดุดใจชวนให้ซื้อให้อ่าน

2.ในหมวดของคำนิยม ใช้คนรุ่นเก่ามากไป ในการจัดพิมพ์ครั้งต่อไป ควรขอคำนิยมจากผู้นำทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่เป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่มีชื่อเสียงในหมู่คนทั่วไป เพื่อดึงดูดใจกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่เป็นคนรุ่นใหม่

สรุป ความรู้ที่ได้การดู VDOรายการ “คิดเป็น ก้าวเป็นกับ ดร.จีระ”

คุณศุภชัย ผอ.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ มองว่า นวัตกรรมมีความสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยต้องอาศัยกลไกทางตลาดเข้ามาช่วย และเสนอปัญหาใหญ่ในการพัฒนานวัตกรรมของสังคมไทยจากทฤษฏี 3 C คือ

C1 คือ คนไทยไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ซึ่งในความเป็นจริงต้อง Ready to Change

C2 ที่คือ คนไทยไม่เน้นลูกค้า (Customer base) ซึ่งในความจริงควรมี Marketing Mind

C3 คือ คนไทยที่เป็นหัวหน้าหรือผู้นำไม่ชอบฟังลูกน้องขัดความคิดเห็น

ดร.จีระสรุปให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมกับการพัฒนาทุนมนุษย์ไว้ว่า

-ความหมายของคำว่า นวัตกรรม คือ การทำสิ่งใหม่ๆ ที่มีประโยชน์โดยใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์

- HR(ทุนมนุษย์) กับ Innovation(ทุนทางนวัตกรรม) มีความสัมพันธ์กันโดย HR จะเป็นการพัฒนาคนให้มีคุณภาพในด้านต่างๆก่อน แล้ว Innovation จะเป็นการนำไปลงมือทำให้เกิดประโยชน์

- แนวคิดหลายๆอย่างด้าน Innovation ที่สำนักงานคุณศุภชัยทำอยู่ ค่อนข้างตรงกันกับของ อาจารย์จีระสอน อยู่แล้ว

- นวัตกรรมจะเกิดได้อย่างแน่นอนและยั่งยืน หากมีการนำเอาความรู้เรื่องทุนมนุษย์ทั้ง 8 K’s และ 5 K’s มาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

หนังสือปกฟ้า - 8 K’s + 5 K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

หนังสือเล่มนี้ให้ความรู้ ให้ความคิดและแนวทางการวิเคราะห์ที่เป็นระบบในศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่ง ทฤษฎี 8 K’s ที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ , 5 K’s new รวมทั้ง 4 L’s และ 2 R’s ซึ่งทุกทฤษฎีช่วยให้มองได้ทั้งภาพรวมและสามารถนำมาปรับใช้ได้ในภาพย่อย (ทั้ง Macro และ Micro )

1.หนังสือเล่มนี้ได้สรุปทุกทฤษฎี ดังนี้

ทฤษฎี 8K และทฤษฎี 5K
Human Capital ทุนมนุษย์
Intellectual Capital ทุนทางปัญญา
Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม
Happiness Capital ทุนทางความสุข
Social Capital ทุนทางสังคม
Sustainable Capital ทุนทางความยั่งยืน
Digital Capital ทุนทาง IT
Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

Creativity Capital ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์
Knowledge Capital ทุนทางความรู้
Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม
Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม
Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

ทฤษฎี 2R
Reality เรียนรู้จากเรื่องจริง
Relevance เรื่องที่ตรงประเด็นเกี่ยวข้องกับตัวเรา

ทฤษฎี 4L
Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี ทันสมัย
Learning Environment มีบรรยากาศการเรียนที่ สนุก น่าสนใจ ผ่อนคลาย
Learning Opportunities สร้างโอกาสให้ได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้กัน
Learning Communities ขยายชุมชนการเรียนรู้

2.การพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ ด้วย ทฤษฎี 8K's 5K's จะทำให้คนไทยอยู่รอดและแข่งขันได้ในอาเซียนได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

-ปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงยุคโลกไร้พรมแดน

-พัฒนาและยกระดับตัวเองให้เท่าทันนานาประเทศ

-เร่งพัฒนาเรื่องทุนทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการแข่งขัน

หนังสือปกดำ - HR.CHAMPIONS ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

หนังสือเล่มนี้ช่วยจุดประกาย (Inspiration) ความรู้ ความคิด ให้แก่ผู้อ่านอย่างมาก

สิ่งที่ทั้งสองท่านเหมือนกัน

1.ความมุ่งมั่นที่จะทำงานเพื่อพัฒนา “คน” เพราะคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของโลก และมีผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และต่อระบบเศรษฐกิจโลก

2.มีความเชื่อเหมือนกันว่าการพัฒนาทุนมนุษย์จะนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาองค์กร สังคมและประเทศชาติ

3.มีความเชื่อและครองตนครองใจได้เหมือนกันในเรื่องธรรมาภิบาล คุณธรรมและจริยธรรม ท่านพารณดูแลเครือSCGด้วยธรรมาภิบาล ขณะที่ดร.จีระรักษาชื่อเสียงในแวดวงวิชาการไว้ได้อย่างไม่มัวหมองด้วยหลักจริยธรรมแห่งปัญญาชน

สิ่งที่สองท่านแตกต่าง

ท่านพารณเน้นกรณีศึกษาที่เป็นประสบการณ์จริงและเชิงลึกมาก ส่วนท่านจีระประมวลความรู้โดยสร้างทฤษฎีที่ขยายความเชื่อมโยงในภาพกว้าง สรุปคือ ท่านหนึ่งเด่นเรื่องลึก ท่านหนึ่งเด่นเรื่องกว้าง

ข้อเด่นของหนังสือ

1.มีการนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณที่เป็นทั้งผลจากการวิเคราะห์ และวิจัย รวมทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพที่เกี่ยวกับเรื่องของคนไว้อย่างชัดเจน พอเหมาะ พอดี

2.การสอดแทรกทฤษฎีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นของทั้งสองท่านเอง หรือของผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ได้อย่างน่าสนใจดูน่าเชื่อถือ

3.ภาษาเขียนอ่านง่าย สำนวนกระชับ ตรงประเด็น ทำให้น่าติดตาม ไม่ทำให้หนังสือเล่มนี้ดูเป็นวิชาการมากเกินไป

ข้อด้อยของหนังสือ

1.หนังสือเล่มนี้มีปกสีดำ ทำให้ดูทึบทึมไม่สะดุดตาสะดุดใจชวนให้ซื้อให้อ่าน

2.ในหมวดของคำนิยม ใช้คนรุ่นเก่ามากไป ในการจัดพิมพ์ครั้งต่อไป ควรขอคำนิยมจากผู้นำทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่เป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่มีชื่อเสียงในหมู่คนทั่วไป เพื่อดึงดูดใจกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่เป็นคนรุ่นใหม่

สรุป ความรู้ที่ได้การดู VDOรายการ “คิดเป็น ก้าวเป็นกับ ดร.จีระ”

คุณศุภชัย ผอ.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ มองว่า นวัตกรรมมีความสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยต้องอาศัยกลไกทางตลาดเข้ามาช่วย และเสนอปัญหาใหญ่ในการพัฒนานวัตกรรมของสังคมไทยจากทฤษฏี 3 C คือ

C1 คือ คนไทยไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ซึ่งในความเป็นจริงต้อง Ready to Change

C2 ที่คือ คนไทยไม่เน้นลูกค้า (Customer base) ซึ่งในความจริงควรมี Marketing Mind

C3 คือ คนไทยที่เป็นหัวหน้าหรือผู้นำไม่ชอบฟังลูกน้องขัดความคิดเห็น

ดร.จีระสรุปให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมกับการพัฒนาทุนมนุษย์ไว้ว่า

-ความหมายของคำว่า นวัตกรรม คือ การทำสิ่งใหม่ๆ ที่มีประโยชน์โดยใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์

- HR(ทุนมนุษย์) กับ Innovation(ทุนทางนวัตกรรม) มีความสัมพันธ์กันโดย HR จะเป็นการพัฒนาคนให้มีคุณภาพในด้านต่างๆก่อน แล้ว Innovation จะเป็นการนำไปลงมือทำให้เกิดประโยชน์

- แนวคิดหลายๆอย่างด้าน Innovation ที่สำนักงานคุณศุภชัยทำอยู่ ค่อนข้างตรงกันกับของ อาจารย์จีระสอน อยู่แล้ว

- นวัตกรรมจะเกิดได้อย่างแน่นอนและยั่งยืน หากมีการนำเอาความรู้เรื่องทุนมนุษย์ทั้ง 8 K’s และ 5 K’s มาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

จากการบ้านของนศ.มีมูลค่าเพิ่มจากการอ่านหนังสือแสดงถึงความเข้าใจเพิ่มเกิดนวัตกรรมทางความคิดเช่นเสนอ ทุนสภาพแวดล้อม listen to learn มองภาพความสัมพันธ์ micro macro ความสัมพันธ์ขออAEC โลกาภิวัตน์ และมีความสนใจกับการสร้างทฤษฎีว่าด้วยความเสมอภาคในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์กับ HRDS ของดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

แค่สะดุด แต่ระดับยักษ์แล้วคงยากที่จะล้ม เพราะการสั่งสมทุนมนุษย์ K ต่างๆมีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนานและหยั่งรากลึกพอ สถานการณ์ที่เผชิญอยู่จึงเป็นบททดสอบการก้าวผ่านอีกครั้งหนึ่งเท่านั้น

ยักษ์ใหญ่แอฟริกาเหนือ-อียิปต์ กำลังเข้าสู่โหมดการผ่านเปลี่ยนสู่รูปแบบการปกครองที่สามารถสร้างสมดุลระหว่างประชาธิปไตย อิสลามนิยม และกองทัพ

ยักษ์ใหญ่ลาตินอเมริกา-บราซิล มีประเด็นเรื่องการลงทุนขนาดใหญ่ว่าจะเลือกอะไรระหว่างเมกะโปรเจกท์อย่างเจ้าภาพฟุตบอลโลกเรื่องเดียวหรือนำมากระจายให้วงการศึกษา สุขภาพและ วิสาหกิจชุมชน

มาช่วยเอาใจช่วยยักษ์กันครับ

นายสกาว ภู่ไชยเจริญ

สรุปบทความที่ให้ไปอ่าน

อเมริกาสามารถสร้างและทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ สร้างความสุขให้กับคนในประเทศได้มาโดยตลอดตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เขาจะเน้นปลูกฝังเรื่องการค้นหาความสุขกันมาก
แต่เมื่อได้สิ่งที่ต้องการแล้ว ก็จะเกิดความเคยชิน และอยากจะได้มากขึ้นกว่าเดิม ทุกวันนี้จึงเกิดการพยายามกันมาก เพื่อที่จะทำให้ตัวเองมีความสุขมากขึ้นไปเรื่อยๆ
แต่ก็ยังทำได้ไม่ดีพอ ดังนั้น สิ่งแรกที่จะทำให้เรามีความสุข ก็คือเราต้องเข้าใจความหมายของความสุขก่อน แล้วเราจึงจะสามารถมีความสุขกับสิ่งต่างๆได้ เช่น มีความสุขจากงานที่ทำ
ความหมายของความสุขคือการที่เราได้ทำตามความฝัน ความสุขก็จะเกิดขึ้นได้ ถึงแม้ว่าจะยังทำไม่สำเร็จก็ตาม
และจะต้อง focus กับเป้าหมายที่ทำ ไม่ให้ถูกรบกวนจากสิ่งต่างๆด้วย
ซึ่งตรงกันกับ ทุนแห่งความสุข ที่เป็นส่วนหนึ่งของ ทฤษฎี 8K-5K ของ อาจารย์จีระ ที่บอกไว้ว่า ค้นหาตัวเองให้เจอ ว่าเราชอบและถนัดสิ่งไหน แล้วทำงานที่ตรงกับสิ่งที่ชอบอย่างมีเป้าหมายและรู้คุณค่าของงาน จะทำให้เรามีความสุขในชีวิตได้
เงินก็สามารถทำให้เรามีความสุขได้ ถ้าเงินนั้นสามารถตอบสนองความต้องการของเราได้ แต่ถึงแม้ว่าเราจะมีเงินเยอะแค่ไหน ถ้าไม่เพียงพอกับความต้องการ เราก็จะไม่มีความสุขอยู่ดี ดังนั้น มันจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่มี แต่มันขึ้นอยู่กับความพอดีของเราเอง
เงินทำให้เรามีความสุขได้ แต่เราต้องใช้มันให้เป็นด้วย เพราะถ้าเราใช้เงินฟุ่มเฟือยเพื่อไปซื้อของใช้แพงๆ แล้วเอามาอวดเอามาโชว์คนอื่น จะไม่ทำให้เรามีความสุขที่แท้จริง

send homework please reading times and comment

ready to learn from Peter Bjork this Saturday about leadership in SWEDEN

ask yourself what did you learnt from the class that creates 3v

จากบทความนี้ทำให้เห็นถึงการสร้างความสุขโดยพื้นฐานของชาวอเมริกา ที่มีมาตั้งแต่อดีต โดยการค้นหาแรงกระตุ้นของความสุข ค้นหาความสุขในรูปแบบของตัวเองจากการปลูกฝังจากครอบครัว(นำไปสู่การสร้างทุนมนุษย์ในตัวเอง) และค้นวิธีการกำหนดเป้าหมายที่เหมาะสมในการไปถึง เมื่อต่อมาโลกมีการเปลี่ยนแลงจากปัจจัยหลายๆอย่าง ความสุขก็เปลี่ยนแปลงไปหรืออาจจะมีมากขึ้น เพื่อทำให้ตัวเองมีความสุขมากขึ้นกว่าเดิม ดำเนินไปสู่ความสุขที่ตั้งเป้าหมายไว้ นำไปสู่การเลือกทำงานในองค์กรที่สามารถตอบสนองเป้าหมายของทุนแห่งความสุขเราได้ จากบทความ Get Rich , Get Happy กล่าวว่าเงินอาจจะไม่ใช่ปัจจัยแห่งความสุข แต่อาจจะช่วยตอบสนองให้เพิ่มความสุขบางอย่างได้ แต่สุดท้ายแล้วเงินทำให้เรามีความสุขได้ หากเรารู้จักที่จะใช้มันให้เป็น
   สุดท้ายมนุษย์ก็มีรูปแบบของความสุขของแต่ละคนแตกต่างกันไป อาจจะขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยที่มีการเปลี่ยนแปลง แต่มนุษย์มีพื้นฐานความสุขเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์นั่นเอง
 
 

การบ้านครั้งที่ 4

อเมริกาเป็นดินเดนที่เริ่มต้นด้วยความอุดมสมบูรณ์ด้วยอาหาร แร่ธาตุ ป่าไม้ มากมาย มีการให้สิทธิพื้นฐานของมนุษย์ สิทธิในการดำรงชีวิตและเสรีภาพที่สามารถขับเคลื่อนไปสู่ การแสวงหาความสุข คนอเมริกาดูน่าจะมีความสุขและสนุกกับการดำรงชีวิตในดินแดนอเมริกา อีกทั้งตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันนี้มาได้มีการคิดค้นและสร้างสิ่งใหม่ๆมากมายเพื่อตอบสนองความสุขและสร้างความโดดเด่นให้กับประเทศแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้าง เช่น เขื่อนฮูเวอร์ สะพานโกลเด้นเกท ตึกเอ็มไพลร์  สิ่งประดิษฐ์ เช่น หลอดไฟ โทรเลข กล้องถ่ายหนัง เครื่องบิน  วัคซีนป้องกันโรค สื่อสังคม iphone เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงความสุขจากการมีสิ่งของเหล่านั้นครบครันเป็นเพียงแค่การบริโภคความสุข คือไม่ใช่เป็นการปลูกความสุขแต่เป็นความสุขที่เกิดจากการเก็บเกี่ยว ไม่ต่างกับการมีความสุขจากการนั่งดูทีวีในห้องนั่งเล่นใหม่ไม่ใช่ความสุขจากการสร้างบ้าน  ซึ่งเป็นความสุขที่ไม่มั่นคงถาวร ความสุขแบบนี้อาจเป็นเป้าหมายในการทำงานแต่เมื่อเป้าหมายนี้ประสบความสำเร็จซักครั้งหนึ่งแล้วอาจทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายได้  ด้วยเหตุนี้เองความสุขเหล่านี้จึงเป็นความสุขที่ไม่เคยพอต้องแสวงหาความสุขเพิ่มอยู่ตลอดเวลา ชาวอเมริกันผู้ซึ่งอยู่ในดินแดนที่มีความเจริญแต่กลับไม่ได้มีความสุขอย่างแท้จริง ประชากรจำนวนมากเป็นโรคซึมเศร้า ต้องพึ่งยาแก้ซึมเศร้า ต้องทานอาหารปรับอารมณ์ ต้องใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการปรับปรุงตัวเองหรือสร้างแรงบันดาลใจ เป็นต้น โดยอเมริกามีค่าดัชนีความสุขอยู่ในอันดับที่ 23 จาก การสำรวจ 50 ประเทศ ในขณะที่หลายๆประเทศซึ่งความเจริญน้อยกว่าแต่กลับมีดัชนีความสุขที่มากกว่า

 

                ความสุขที่แท้จริงไม่ใช่เพียงทำงานแล้วได้เงินมากมาย ถึงแม้ว่าในยามที่รู้สึกเครียดอาจพบว่าเงินสามารถซื้อความสุขได้แต่ก็เป็นได้เพียงบางสถานการณ์เท่านั้น และไม่ได้หมายความว่าเมื่อทำงานแล้วรายได้เพิ่มขึ้นจะทำให้ความสุขเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่เท่ากัน เป็นไปได้ที่คนมีรายได้เพิ่มเพียงเล็กน้อยจะมีความสุขกว่าคนที่รายได้เพิ่มเยอะถ้าเพียงสามารถปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้น ในขณะการเพิ่มเยอะก็ไม่ได้สร้างความสุขอะไรถ้าไม่เพียงพอกับความปรารถนาที่จะจ่าย  อีกทั้งความสุขที่แท้จริงไม่ใช่เพียงแค่เวลาที่รู้สึกสนุกสนานหรือเวลาเพียงแค่หน้ายิ้มๆ เท่านั้น แต่ความสุขที่แท้จริงต้องเกิดจากภายในจิตใจ การมองโลกในแง่ดี  การมุ่งอยู่กับปัจจุบันมากกว่าอดีตและอนาคต  การทำงานที่รักและรักสิ่งที่เราทำ มีการตั้งเป้าหมายในสิ่งที่เราต้องแสวงหาและทำตามเป้าหมายนั้น ซึ่งตรงกับทุนแห่งความสุขของ ทฤษฏี  8K’s ในส่วนของ Happiness capital (ทุนแห่งความสุข) ของ ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ คือเงินอย่างเดียวหรือวัตถุนิยมไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด ต้องมีเป้าหมายและรู้ความหมายของงานที่ทำ ต้องรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจให้พร้อมไม่หักโหม สรุปคือทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพจะต้องเริ่มต้นจากการปลูกทุนแห่งความสุข และเก็บเกี่ยวความสุขจากที่ปลูกไว้ ไม่ใช่เป็นเพียงหาความสุขจากวัตถุนิยมซึ่งไม่ใช่ความสุขที่ยั่งยืน 

จากบทความนั้นคนอเมริกานั้นเสพความสุขจาดสิ่งที่ตนสร้างขึ้นมาเพื่อชดเชยกับสิ่งที่ตนเองอาจจะไม่ได้รับจากข้างในเนื่องจากต้องทำงานแข็งกับเวลาและต้องตื่นตัวในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงไปของประเทศและโลกที่เปลี่ยนแปรผันดูได้จากดทคโนโลยีที่เกิดขึ้นนั้นผู้คืดค้นนั้นสร้างขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการและเพื่อให้ความสุขกับมนุษย์โดยใช้เงินตราแลกเปลี่ยนเพื่อได้มา จึงเห็นว่าเป็นแค่ความสุขที่ผมคิดว่าเป็นความสุขเสมือนมากกว่าความสุขที่แท้จริงซึ่งเกิดขึ้นภายในตนเองก่อนที่จะพึ่งแวดล้อมต่างๆสามารถเปรียบได้กับคำว่า happyness capital ซึ่งท่านอาจารย์ได้ให้คำจัดความว่าจะต้องเกิดจากภายในมิได้เกิดจากแวดล้อมซึ่งก็ีือhappy workpress ดังนั้นคนอเมริกันจึงไขว่คว้าเพื่อได้มาซึ่งความสุขจากภายนอกเพื่อชดเชยความสุขภายในที่ตนได้เสียไปดังบทความที่ได้กล่าวถือว่าเป็นอันตรายต่อตนเองประเทศและโลกของเรานี้ เพราะความสุขเหล่านี้อาจจะทำให้เกิดการแข่งขัน แย่งชิง หรืออาจจะถึงขั้นฆ่าแกงกันก็เป็นได้

ดังนั้นจึงควรฝึกฝนการสร้างความสุขจากภายในมากกว่าภายนอกครับเพราะการที่เราจะสามารถมีทุนแห่งความสุขได้ทุกที่แม้กระมั่งที่ในสถานการณ์หรือแวดล้อมที่ไม่มีhappy workpress ครับ

ขอแก้ไขคำบางคำที่ผิดครับ

  จากบทความนั้นคนอเมริกานั้นเสพความสุขจากสิ่งที่ตนสร้างขึ้นมาเพื่อชดเชยกับสิ่งที่ตนเองอาจจะไม่ได้รับจากข้างในเนื่องจากต้องทำงานแข็งกับเวลาและต้องตื่นตัวในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงไปของประเทศและโลกที่เปลี่ยนแปรผันดูได้จากเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นนั้นผู้คิดค้นนั้นสร้างขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการและเพื่อให้ความสุขกับมนุษย์โดยใช้เงินตราแลกเปลี่ยนเพื่อได้มา จึงเห็นว่าเป็นแค่ความสุขที่ผมคิดว่าเป็นความสุขเสมือนมากกว่าความสุขที่แท้จริงซึ่งเกิดขึ้นภายในตนเองก่อนที่จะพึ่งแวดล้อมต่างๆสามารถเปรียบได้กับคำว่า happyiness capital ซึ่งท่านอาจารย์ จีระ ได้ให้คำจัดความว่าจะต้องเกิดจากภายในมิได้เกิดจากแวดล้อมซึ่งก็คือ happy workpress ดังนั้นคนอเมริกันจึงไขว่คว้าเพื่อได้มาซึ่งความสุขจากภายนอกเพื่อชดเชยความสุขภายในที่ตนได้เสียไปดังบทความที่ได้กล่าวถือว่าเป็นอันตรายต่อตนเองประเทศและโลกของเรานี้ เพราะความสุขเหล่านี้อาจจะทำให้เกิดการแข่งขัน แย่งชิง หรืออาจจะถึงขั้นฆ่าแกงกันก็เป็นได้

ดังนั้นจึงควรฝึกฝนการสร้างความสุขจากภายในมากกว่าภายนอกครับเพราะการที่เราจะสามารถมีทุนแห่งความสุขได้ทุกที่แม้กระมั่งที่ในสถานการณ์หรือแวดล้อมที่ไม่มีhappy workpress ครับ

 

 

Spelling workplace not work presswork press

ธนาคม พจนาพิทักษ์ (ส่งวันศุกร์ไม่ได้เลยทั้งวัน เลยส่งไปเข้าอีเมล์อาจารย์และคุณเอ้ก่อน แต่ลองปรับปรุงนิดหน่อยแล้วส่งตรงนี้อีกที คืนวันเสาร์)

สรุปบทความ 

ทุนแห่งความสุข เป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการพัฒนาสังคมและชาติให้พัฒนาได้    ความรู้เรื่องทุนแห่งความสุขเป็นสิ่งที่เพิ่งค้นพบใหม่  แต่เดิมคิดว่า Happiness เป็นเพียงภาวะทางอารมณ์  แต่ไม่มีใครสามารถศึกษาถึงระบบเหตุและผลของความสุข ตลอดจนการนำเอาความสุขมาเป็นทุนในการพัฒนาตนเอง องค์กร และชาติได้  และตอนนี้ที่อเมริกาคนเริ่มหันมาสนใจเรื่องของทุนแห่งความสุขกันอย่างจริงจัง เพราะเห็นแล้วว่าเป็นหนึ่งในการสร้างอเมริกาให้เข้มแข็งขึ้นมาได้

ผมขอยกตัวอย่างเพิ่มเติมนอกบทความ เช่น ตอนนี้ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศยิ่งใหญ่ที่สร้างสิ่งยิ่งใหญ่มาโดยตลอด  ส่วนหนึ่งก็เพื่อต้องการสร้างความสุขให้กับชาวอเมริกันบางรัฐอย่างลอสแองเจลิส ที่มีเมืองฮอลลีวูด ถึงขนาดมีพันธกิจในการสร้างสรรค์ความสุขให้กับชาวอเมริกันและชาวโลก

ความหมายของความสุข เกิขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนของ ความฝัน  สู่การลงมือทำ และจะต้อง focus กับเป้าหมายที่ทำให้สำเร็จ

สำหรับบทความนี้ ยังอธิบายได้ไม่ครอบคลุมกับทฤษฎี  ทุนแห่งความสุข ที่เป็นส่วนหนึ่งของ ทฤษฎี 8K-5K ของ อาจารย์จีระ

 ข้ออ่อนของบทความนี้คือ ถอดบทเรียนจากอเมริกาแค่มุมเดียว   แต่ไม่ได้ศึกษาครอบคลุมถึงเอเซีย  รวมทั้งปรัชญาและศาสนาต่างๆ  นับเป็นบทความที่ดีที่ยืนยันว่า ทุนแห่งความสุขมีความสำคัญและกำลังมาแรง   
แต่ยังอธิบายได้ไม่กว้างขวางและลึกซึ้งพอครับ

ส่งการบ้านค่ะ

1. ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียน

    1. ตัวผู้เรียน :  ได้รับความรู้ด้านทุนมนุษย์จากผู้เชี่ยวชาญโดยตรงช่วยให้มองเห็นภาพได้กว้างและลึกขึ้นกว่าเดิม ได้ทราบถึงทฤษฎี 8K's + 5K's 3V โลภาภิวัฒน์ และโดยเฉพาะ Innovation ที่มีความสำคัญกับโลกปัจจุบัน

    2. องค์กร :  การพัฒนาครูผู้สอนให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าในฐานะที่เป็นสถานบันที่มุ่งผลิตบัณฑิตเพื่อรับใช้สังคม การมุ่งเน้นให้นักศึกษาเป็นผู้ใฝ่รู้ และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรม ตามปณิทานของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งจะส่งผลให้มหาวิทยาลัยฯ บรรลุเป้าหมายในการผลิตบัณฑิต

    3.ประเทศได้พลเมืองที่มีความรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ส่งผลให้พลเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ประเทศมี GDP สูงขึ้น ช่วยให้สามารถพัฒนาประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน อันเนื่องมาจากความพร้อมในการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา

    4.ระดับโลก : เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ และสามารถลดต้นทุนจากการผลิต ช่วยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก และแรงงานก็สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานที่ไหนก็ได้ในโลก

2. การพัฒนาไปสู่หัวข้อการวิจัย

   ความตระหนักรู้และการเตรียมความพร้อมสู่อาเซียน

 

 

 

ส่งการบ้านค่ะ

1. ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียน

    1. ตัวผู้เรียน :  ได้รับความรู้ด้านทุนมนุษย์จากผู้เชี่ยวชาญโดยตรงช่วยให้มองเห็นภาพได้กว้างและลึกขึ้นกว่าเดิม ได้ทราบถึงทฤษฎี 8K's + 5K's 3V โลภาภิวัฒน์ และโดยเฉพาะ Innovation ที่มีความสำคัญกับโลกปัจจุบัน

    2. องค์กร :  การพัฒนาครูผู้สอนให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าในฐานะที่เป็นสถานบันที่มุ่งผลิตบัณฑิตเพื่อรับใช้สังคม การมุ่งเน้นให้นักศึกษาเป็นผู้ใฝ่รู้ และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรม ตามปณิทานของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งจะส่งผลให้มหาวิทยาลัยฯ บรรลุเป้าหมายในการผลิตบัณฑิต

    3.ประเทศได้พลเมืองที่มีความรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ส่งผลให้พลเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ประเทศมี GDP สูงขึ้น ช่วยให้สามารถพัฒนาประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน อันเนื่องมาจากความพร้อมในการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา

    4.ระดับโลก : เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ และสามารถลดต้นทุนจากการผลิต ช่วยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก และแรงงานก็สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานที่ไหนก็ได้ในโลก

2. การพัฒนาไปสู่หัวข้อการวิจัย

   ความตระหนักรู้และการเตรียมความพร้อมสู่อาเซียน

 

 

 

1.    1.  สิ่งที่ได้จากการเรียนจาก Mr.Peter จำนวน 3 เรื่อง คือ

-          การพัฒนาหรือส่งเสริมทางด้านการศึกษาของประเทศเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่ผู้นำของประเทศจะต้องให้ความสำคัญเพราะเมื่อเราพัฒนาคนด้วยการศึกษา ความคิดแบบสร้างสรรค์ของคนก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้มากขึ้น  คนเหล่านั้นจะนำความรู้กลับมาพัฒนาประเทศทำให้เกิดผลต่อเศรษฐกิจของประเทศในเชิง เศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์

-          การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม : ในสังคมๆหนึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมดังนั้นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ควรมีแนวคิคด้านการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เพราะการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจะทำให้เกิดความรู้สึกถึงการให้ความสำคัญทางวัฒนธรรมของอีกฝ่ายหนึ่ง นั่นก็จะนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีเกิดขึ้นนั่นเอง ตัวอย่างเช่น ในประเทศสวีเดนมีศาลาไทย เป็นต้น

-          ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ประเด็นของภาวะผู้นำ ว่าผู้นำที่ดีความจะมีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งเพื่อนร่วมงาน และลูกน้อง โดยเฉพาะกับลูกน้องจะต้องทำให้เกิดการสื่อสารแบบ 2 ทางไม่ใช่การสั่งการอย่างเดียว ต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดการทำงานเป็นทีม โดยการเป็นผู้นำจะต้องพิจารณาบริบทขององค์กร และวัฒนธรรมองค์กร สังคม ด้วยเช่นกัน  ซึ่งความรู้นี้สามารถที่จะนำไปเพิ่มสมรรถนะการทำงานของตัวเองให้เกิดการพัฒนาองค์กร อีกทั้งยังสามารถนำไปถ่ายทอดยังเพื่อนร่วมงาน และลูกศิษย์ได้ด้วย

2. 2.      ผู้นำลักษณะใดสำคัญสุด สำหรับการสร้างและวัฒนธรรมองค์กรแบบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

 ผู้นำที่สำคัญที่สุดต่อการสร้างและวัฒนธรรมองค์กรแบบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม คือ visible leader นั่นคือ

-          ต้องเป็นผู้นำที่มีรองรับ การเปลี่ยนแปลง ต้องสามารถนำการเปลี่ยนแปลงนั้นมาสร้างเป็นแนวคิดทางบวกโดยผ่าน  ความคิดใหม่ๆ โครงการใหม่ๆ ให้ได้ และภายใต้ความเสี่ยงมากมายจะต้องมีวีการรองรับความเสี่ยงโดยจะต้องรู้จักการประเมินความเสี่ยงล่วงหน้า มองอนาคตให้ออก นอกจากนื้เมื่อเกิดสภาวะเร่งด่วนจะต้องตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น 

-          ต้องเป็นผู้นำที่รู้จักการวางแผนงานที่จะทำอย่างรัดกุม โดยจะต้องมีการประมาณการต่างๆได้อย่างถูกต้องอีกทั้งจะต้องสามารถควบคุมให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผน สามารถสั่งการและรับผิดชอบต่อหน้าที่ต่างๆได้

-          ต้องเป็นผู้นำที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้ทั้งเพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง เปิดโอกาสให้เกิดการแสดงความคิดเห็น ต้องมอบทั้งอำนาจและหน้าที่ให้กับลูกน้อง สร้างโอกาสให้เกิดการเรียนรู้เกิดขึ้นในองค์กร

 

และเหนือสิ่งอื่นๆใดภาวะผู้นำ ควรมี ธรรมมาภิบาล นั่นคือ บริหารจัดการภายใต้คุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้เกิดความสำเร็จควบคู่กับความผาสุขกับองค์กร

3.       3. ยกตัวอย่างผู้นำ ไทย หรือ สากล ที่มีความเข้มแข็งเรื่อง relation,structure and change

ขอยกตัวอย่างผู้นำซึ่งเป็นที่รักยิ่งของคนไทยทั้งประเทศ นั่นคือ ในหลวงของปวงชนชาวไทย (รัชกาลที่ 9) พระองค์ทรงเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อประเทศอย่างใหญ่หลวง มีการคิดค้นโครงการใหม่ๆเพื่อที่จะสร้างให้ประเทศไทยสามารถปรับตัวได้ และอยู่อย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นโครงการหลวงต่างๆที่สร้างอาชีพและรายได้ให้กับชาวไทยที่ยากจนและอยู่ห่างไกล ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งสอนให้พิจารณาตัวเองและใช้ชีวิตให้พอเพียงซึ่งจะนำไปสู่การดำรงชีวิตอย่างมีความสุขและยั่งยืน โครงการฝนหลวงซึ่งนำมาซึ่งน้ำที่เพียงพอต่อการทำเกษตรกรรมของประเทศ โดยโครงการของพระองค์เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ เช่น ประเทศออสเตรเลีย ได้มาศึกษาวิธีการทำฝนหลวง จากประเทศไทย พระองค์ก็ทรงกรุณาให้ผู้ที่เกี่ยวข้องถ่ายทอดความรู้ ในความเป็นผู้นำของพระองค์นั้นพระองค์ได้สร้างความสัมพันธ์ทางการฑูตกับประเทศอื่นๆมากมาย  จะเห็นได้ว่าพระราชภารกิจของพระองค์ในฐานะกษัตริย์ของประเทศพระองค์ทรงเป็นผู้นำที่สร้างความมั่นคงให้กับประเทศอย่างยั่งยืน และทรงเป็นผู้นำแบบชัดเจน (Visible)ที่มีความเข้มแข็งทั้งด้าน relation,structure and change

 

สมาชิกในทีมคือ

1.       ดร.พงษ์ไพโรจน์ รัชตะทรัพย์

2.       สมทบ แก้วเชื้อ

 

3.       สุพัตรา กาญจโนภาส

1.    1.  สิ่งที่ได้จากการเรียนจาก Mr.Peter จำนวน 3 เรื่อง คือ

-          การพัฒนาหรือส่งเสริมทางด้านการศึกษาของประเทศเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่ผู้นำของประเทศจะต้องให้ความสำคัญเพราะเมื่อเราพัฒนาคนด้วยการศึกษา ความคิดแบบสร้างสรรค์ของคนก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้มากขึ้น  คนเหล่านั้นจะนำความรู้กลับมาพัฒนาประเทศทำให้เกิดผลต่อเศรษฐกิจของประเทศในเชิง เศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์

-          การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม : ในสังคมๆหนึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมดังนั้นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ควรมีแนวคิคด้านการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เพราะการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจะทำให้เกิดความรู้สึกถึงการให้ความสำคัญทางวัฒนธรรมของอีกฝ่ายหนึ่ง นั่นก็จะนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีเกิดขึ้นนั่นเอง ตัวอย่างเช่น ในประเทศสวีเดนมีศาลาไทย เป็นต้น

-          ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ประเด็นของภาวะผู้นำ ว่าผู้นำที่ดีความจะมีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งเพื่อนร่วมงาน และลูกน้อง โดยเฉพาะกับลูกน้องจะต้องทำให้เกิดการสื่อสารแบบ 2 ทางไม่ใช่การสั่งการอย่างเดียว ต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดการทำงานเป็นทีม โดยการเป็นผู้นำจะต้องพิจารณาบริบทขององค์กร และวัฒนธรรมองค์กร สังคม ด้วยเช่นกัน  ซึ่งความรู้นี้สามารถที่จะนำไปเพิ่มสมรรถนะการทำงานของตัวเองให้เกิดการพัฒนาองค์กร อีกทั้งยังสามารถนำไปถ่ายทอดยังเพื่อนร่วมงาน และลูกศิษย์ได้ด้วย

2. 2.      ผู้นำลักษณะใดสำคัญสุด สำหรับการสร้างและวัฒนธรรมองค์กรแบบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

 ผู้นำที่สำคัญที่สุดต่อการสร้างและวัฒนธรรมองค์กรแบบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม คือ visible leader นั่นคือ

-          ต้องเป็นผู้นำที่มีรองรับ การเปลี่ยนแปลง ต้องสามารถนำการเปลี่ยนแปลงนั้นมาสร้างเป็นแนวคิดทางบวกโดยผ่าน  ความคิดใหม่ๆ โครงการใหม่ๆ ให้ได้ และภายใต้ความเสี่ยงมากมายจะต้องมีวีการรองรับความเสี่ยงโดยจะต้องรู้จักการประเมินความเสี่ยงล่วงหน้า มองอนาคตให้ออก นอกจากนื้เมื่อเกิดสภาวะเร่งด่วนจะต้องตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น 

-          ต้องเป็นผู้นำที่รู้จักการวางแผนงานที่จะทำอย่างรัดกุม โดยจะต้องมีการประมาณการต่างๆได้อย่างถูกต้องอีกทั้งจะต้องสามารถควบคุมให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผน สามารถสั่งการและรับผิดชอบต่อหน้าที่ต่างๆได้

-          ต้องเป็นผู้นำที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้ทั้งเพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง เปิดโอกาสให้เกิดการแสดงความคิดเห็น ต้องมอบทั้งอำนาจและหน้าที่ให้กับลูกน้อง สร้างโอกาสให้เกิดการเรียนรู้เกิดขึ้นในองค์กร

 

และเหนือสิ่งอื่นๆใดภาวะผู้นำ ควรมี ธรรมมาภิบาล นั่นคือ บริหารจัดการภายใต้คุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้เกิดความสำเร็จควบคู่กับความผาสุขกับองค์กร

3.       3. ยกตัวอย่างผู้นำ ไทย หรือ สากล ที่มีความเข้มแข็งเรื่อง relation,structure and change

ขอยกตัวอย่างผู้นำซึ่งเป็นที่รักยิ่งของคนไทยทั้งประเทศ นั่นคือ ในหลวงของปวงชนชาวไทย (รัชกาลที่ 9) พระองค์ทรงเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อประเทศอย่างใหญ่หลวง มีการคิดค้นโครงการใหม่ๆเพื่อที่จะสร้างให้ประเทศไทยสามารถปรับตัวได้ และอยู่อย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นโครงการหลวงต่างๆที่สร้างอาชีพและรายได้ให้กับชาวไทยที่ยากจนและอยู่ห่างไกล ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งสอนให้พิจารณาตัวเองและใช้ชีวิตให้พอเพียงซึ่งจะนำไปสู่การดำรงชีวิตอย่างมีความสุขและยั่งยืน โครงการฝนหลวงซึ่งนำมาซึ่งน้ำที่เพียงพอต่อการทำเกษตรกรรมของประเทศ โดยโครงการของพระองค์เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ เช่น ประเทศออสเตรเลีย ได้มาศึกษาวิธีการทำฝนหลวง จากประเทศไทย พระองค์ก็ทรงกรุณาให้ผู้ที่เกี่ยวข้องถ่ายทอดความรู้ ในความเป็นผู้นำของพระองค์นั้นพระองค์ได้สร้างความสัมพันธ์ทางการฑูตกับประเทศอื่นๆมากมาย  จะเห็นได้ว่าพระราชภารกิจของพระองค์ในฐานะกษัตริย์ของประเทศพระองค์ทรงเป็นผู้นำที่สร้างความมั่นคงให้กับประเทศอย่างยั่งยืน และทรงเป็นผู้นำแบบชัดเจน (Visible)ที่มีความเข้มแข็งทั้งด้าน relation,structure and change

 

สมาชิกในทีมคือ

1.       ดร.พงษ์ไพโรจน์ รัชตะทรัพย์

2.       สมทบ แก้วเชื้อ

 

3.       สุพัตรา กาญจโนภาส

สุพัตรา กาญจโนภาส

จากการเรียนร่วมกันของนักศึกษาทั้ง 3 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมานั่น  ตามความรู้สึกของข้าพเจ้านั้นต้องขอสารภาพตรงๆว่าแรกๆที่รู้ว่าจะต้องเรียนร่วมกันก็รู้สึกเกร็งเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาต้องเป็นเจ้าภาพ ทำให้ต้องกังวลว่าควรจะต้อนรับอย่างไร จะต้อนรับแขกผู้มาเยือนได้ดีหรือไม่ จะสามารถสร้างความประทับใจได้มากน้อยเพียงใด แต่ก็พยายามบอกกับตัวเองเพื่อให้เกิดความรู้สึกสบายใจว่าให้ต้อนรับให้ดีที่สุดตามศักยภาพที่เราทำได้ ให้ตอนรับด้วยใจแล้วผู้มาเยือนก็คงจะรับรู้ได้ด้วยใจเช่นกัน และเมื่อถึงเวลาที่นักศึกษาของทั้ง 3 สถาบันมาเจอกันและนั่งรวมกันในห้องเล็กๆกลับมีเพียงแค่ความรู้สึกดีๆ ถึงแม้ว่าทุกคนจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อนแต่ทุกคนพร้อมที่จะเป็นเพื่อน เป็นพี่เป็นน้องกัน พร้อมที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่วมประทะทางปัญญาเพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้น โดยที่ห้องเล็กๆไม่ได้เป็นอุปสรรคหรือสามารถจำกัดความคิดของทุกคนให้เล็กลงไปด้วยเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออาจารย์จีระ หงส์ลดารมย์และทีมงานของอาจารย์ได้ร่วมสร้างบรรยากาศให้ห้องเล็กๆนั้นให้กลายเป็นห้องแห่งความสุข โดยอาจารย์ได้บรรยายเรื่อง ทุนแห่งความสุข-เพื่อชีวิตที่สมดุล โดยได้เรียนรู้เกี่ยวกับทุนแห่งความสุข (happiness capital) และองค์กรแห่งความสุข(Happyworkplace) ซึ่งควรจะมีทั้ง 2 ความสุขนี้ในองค์กร เพราะถ้าคนมีความสุขและผู้บริหารสามารถทำองค์กรให้มีความสุข ก็จะทำให้คนเกิดความคิดสร้างสรรค์และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์ได้ (Value added) จากนั้นเมื่ออาจารย์มอบหมายให้ทำงานร่วมกับ โดยในแต่ละกลุ่มมีสมาชิกที่มาจากนักศึกษาทั้ง 3 สถาบัน ยิ่งเป็นช่วงเวลาที่สนุกมาก ทุกคนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ร่วมกันวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมกับข้อคำถามนั้นๆ ซึ่งจากการทำงานร่วมกันทำให้เห็นได้ชัดขึ้นว่าทุนแห่งความสุขสามารถสร้าง productivity ได้ จากความแตกต่างของแต่ละบุคคลเมื่อเรามีการแลกเปลี่ยนทางความคิด มีการปะทะทางปัญญากันแล้วดึงคุณค่าจากความแตกต่าง (Value diversity) ออกมาสามารถเพิ่มมูลค่า (Value Added)ให้กับงานที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์และสำหรับตัวข้าพเจ้าเองคิดว่าความคิดเห็นที่ได้รับฟังจากเพื่อนร่วมกลุ่ม และจากการนำเสนอของเพื่อนอีกกลุ่มสามารถเพิ่มมูลค่าทางความรู้ ความคิดให้กับตัวเองได้อย่างมาก อีกทั้งการทำงานร่วมกันยังสามารถทำให้ได้แนวคิดใหม่ๆ เป็นการสร้างมูลค่า (Value Creation) ให้เกิดขึ้นเป็นหัวข้อ ด้วยเวลาที่อาจารย์มอบหมายให้ทำงานร่วมกันผ่านไปอย่างรวดเร็วด้วยความสนุกสนาน มีความสุขที่ได้ร่วมกันคิดเพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีๆมีคุณค่า แต่การเรียนครั้งนี้ไม่ใช่เพียงแค่สร้างความสุขในห้องเรียนเท่านั้น แต่พวกเรายังได้สร้างทุนทางด้านสังคม เป็นเครือข่ายทางสังคม ที่พร้อมจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนอกห้องเรียนต่อไป สุดท้ายต้องขอบคุณอาจารย์จีระ ที่สร้างโอกาสที่ดีเหล่านี้ให้เกิดขึ้น เป็นศูนย์กลางที่สร้างให้เกิดบรรยากาศของห้องเล็กๆเป็นห้องแห่งความสุข เป็นห้องแห่งการเรียนรู้ เป็นห้องแห่งที่ก่อให้เกิดจุดเล็กๆของความคิดสร้างสรรค์     

สุพัตรา กาญจโนภาส

จากการเรียนเรื่องภาวะผู้นำ ทำให้รู้ว่า ในสภาวะที่โลกมีความไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆและไม่สามารถทำนายได้ ผู้นำมีความสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์การประสบความสำเร็จ ดังนั้นคุณลักษณะของภาวะผู้นำนอกจากด้านความสามารถในการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ผู้นำยังต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มองภาพใหญ่ ซึ่งอาจจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีทางด้านข้อมูลข่าวสารต่างๆเป็นเครื่องมือในการที่จะรวบรวมข้อมูลต่างๆทั้งด้าน ความเคลื่อนไหวของคู่แข่งขัน ความต้องการของลูกค้า ปัญหาอื่นๆที่มีผลต่อธุรกิจหรือ องค์การ ฯลฯ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนและดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิผล ถึงแม้ว่าในเชิงรายละเอียดภาวะผู้นำแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกันไปตามพื้นฐานทางสังคมหรือวัฒนธรรม แต่หลายๆคุณสมบัติที่เหมือนๆกันในทุกวัฒนธรรม ก็คือ  ผู้นำต้องมีความสามารถพิเศษ สามารถสร้างแรงบันดาลใจ และมีวิสัยทัศน์กว้างไกล มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม  มุ่งเพื่อความเป็นเลิศขององค์การ และควรใช้วิธีแก้ปัญหาแบบ win-win  และนอกเหนือจากนี้เพื่อความเป็นเลิศด้านประสิทธิผลอย่างยั่งยืนผู้นำยุคใหม่ควรจะต้องสามารถบริหารการเปลี่ยนแปลง ใช้หลักการบริหารคนด้วยการบอกว่าพวกเขาควรทำอะไร หรือทำไมต้องทำ ไม่ใช่บอกว่าต้องทำอย่างไร มองอนาคตหรือทำนายอนาคตข้างหน้า เน้นการสร้างความเชื่อมั่น เพิ่อให้เกิดความยั่งยืนระยะยาว  ขอยกตัวอย่างผู้นำท่านหนึ่งเพิ่มเติมจากเอกสารการสอนของอาจารย์ คือ ท่าน อองซาน ซูจี ถึงแม้จะไม่ได้อยู่ในตำแหน่งผู้นำของประเทศแต่ก็เป็นผู้นำที่ดีมาก มีบารมีเป็นผู้นำในฝันของชาวพม่ารวมถึงของชาวเอเชียหลายๆคนด้วย เนื่องด้วย มีความรู้ความสามารถแบบคนสมัยใหม่ มีการเชื่อมโยงการบริหารจัดการกับอุดมการณ์ทางศาสนา สามารถสร้างความศรัทธาจากชาวพม่าได้มากมาย ท่านไม่ได้คิดถึงแต่ตัวเองแต่คิดถึงประชาชน คิดถึงประเทศชาติเป็นหลัก ถึงแม้ท่านจะถูกกักขังเป็นระยะเวลานานแต่ในระหว่างนั้นท่านได้ปฏิบัติสมาธิภาวนาซึ่งทำให้ท่านสามารถประคับประคอบจิตใจท่ามกลางแรงกดดันและคมอาวุธของฝ่ายตรงข้าม เมื่อท่านถูกปล่อยออกมาก็ไม่ได้แสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อฝ่ายเผด็จการ ท่านพร้อมที่จะพูดคุย เจรจากับทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อนำพาประเทศพม่าเดินหน้า สิ่งเหล่านี้ทำให้ท่านเข้าไปนั่งอยู่ในหัวใจคนพม่าเกือบค่อนประเทศ แถมยังได้รับคำชื่นชมจากนานาประเทศอย่างกึกก้อง ทุกคนพยายามเอาใจช่วยเธอ ให้สามารถฟันฝ่าอุปสรรค ไปได้

 

นายสกาว ภู่ไชยเจริญ

การเรียนรู้ เรื่องทุนแห่งความสุข

ปัจจุบันมีคนให้ความสนใจในเรื่องการสร้างความสุขมากขึ้นเรื่อยๆ และมีนิยามของคำว่าความสุขแตกต่างกันไป และแนวทางที่จะทำให้เกิดความสุขมีมากมายหลากหลาย
แต่เมื่อลองศึกษาดูจึงได้เห็นว่า ทุกแนวคิด จะเหมือนกันอยู่สิ่งหนึ่งคือ เราต้องทำสิ่งที่เราชอบ และเราต้องชอบสิ่งที่เราทำจริงๆ 
เมื่อเราชอบสิ่งที่เราทำ จึงจะเกิด happiness capital ขึ้นมาได้ ซึ่งเป็น สิ่งแรก ก่อนจะนำไปสู่ happy workplace และ happy at work และยังเป็นจุดเรื่มต้นนำไปสู่ทุนด้านอื่นๆอีกมาก เช่น creativity capital และอาจจะไปถึง innovation capital เพราะเมื่อเรามีความสุข ไม่เครียด ความคิดสร้างสรรค์ก็จะเกิดอย่างเต็มที่

สรุป workshop

ข้อที่ 1 ปลูก เก็บเกี่ยว leadership

ข้อที่ 2 ทุนมนุษย์ไปสู่นวัตกรรมมีบทบาทอย่างไร

ข้อที่ 3 จุดอ่อนจุดแข็งอย่างไรของหลักสูตร

ลดาพร

ข้อที่ 1  เรื่องการเอามาประยุกต์ใช้กับเรื่องการทำงานสอนโครงเรื่องภาษาอังกฤษ และ ทำงานวิจัยในชั้นเรียน วิธีการ

  1. ต้องปลูกก่อน โดยการอธิบายใช้ตำราภาษาอังกฤษ
  2. เชิญวิทยากรมาสอนโดยการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตจริง
  3. เก็บเกี่ยวคือการได้ผลของงานวิจัยเรื่องวิธีการเรียนในชั้นเรียน
  4. Execution ต้องรอว่า สิ่งที่คาดไว้ติดตัวเขาไปหรือเปล่า
  5. ทั้งสามเรื่องก็สามารถปลูก Happiness ได้เลย โดยการสร้างความเคยชินก่อนเพื่อเป็นแรงบวก

ข้อที่ 2

เรื่องทุนมนุษย์ไม่ได้จากการเรียนอย่างเดียว แต่มาจากการดำเนินชีวิต และสิ่งแวดล้อม และการสร้างแรงบันดาลใจ ยกตัวอย่าง Mark Zuckerberg  ที่สร้าง Face book โดยแรงบันดาลใจ

ข้อที่ 3

แต่ละคนมีทุนที่ไม่เท่ากันหรืออย่างเถ้าแก่น้อยเขามีทุนแต่ยังหาไม่เจอ

อ.จีระ

FB หรือ Apple หรือ Samsung เป็นเรื่องของ Product

Service Innovation มีมูลค่าสูง tourism Health care ต้องสร้าง Innovation   ในเรื่องที่เราถนัด เพราะเรามี knowledge ในเรื่องที่เราจะทำ

 

Innovation = Ideal ใหม่+สร้างสรรค์+basic Knowledge  

ธนาคม

ข้อที่ 1  

เป็นการเก็บเกี่ยวเรื่อง Diversity เพราะเจอความหลากหลายมากแต่เราต้องรู้จักบริหารให้เป็น

ข้อที่ 2

เรื่อง Leadership ฝึกการเป็นผู้นำและนำมาใช้ในองค์กร

ข้อที่ 3

เรื่องวิธีการสอนเป็นแบบ Coaching

จุดแข็งสามารถเอาวิชานี้ไปใช้ได้เลย

จุดอ่อน คือตัวผู้เรียนเรื่องการบริหารจัดการเวลาไม่ได้

อ.จีระ :

  • Km เป็นอดีต แต่เราต้องมี LC เพื่อให้เกิด LO
  • ปรับพฤติกรรมคนไทยเพื่อให้อ่านหนังสือจากนั้นก็มา Share และต้องดูว่าอ่านในสิ่งที่ตรงประเด็น ต้องอ่านอะไรที่มันจะต้องเกิดขึ้นกับเรา

 

สมทบ

  • เรื่องทุนมนุษย์ที่เป็นนามธรรม แต่เราสามารถทำรูปธรรมเป็นนวัตกรรม เป็นรูปแบบที่จำต้องได้ นำความคิดและทุนในตัวเองออกมาใช้ได้เหมาะ
  • จุดอ่อนคือการเรียนเราฟัง เหมือนเข้าใจ พอฟังมากเริ่มรวนไม่ได้แบ่งเป็นช่องไว้ ไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยากแต่ต้องใส่ใจ

สกาว

ข้อ 1 ได้แรงบันดาลใจจากการทำงาน จากอาจารย์ที่ทำงานยากให้เป็นงานง่าย มองอาจารย์ว่าอาจารย์เอาประสบการณ์มาใช้

ข้อ 2 เน้นเรื่องความสุข ในการทำงาน

ข้อ 3 จุดแข็งการได้ฝึกการเขียนการบ้าน ข้อสอบ เป็นการเสริมเรื่องความจำ

ความรู้ เอกสารเยอะมากอ่านไม่หมด

 

สุพัตรา

เอามาประยุกต์ใช้กับเรื่องการทำงานได้ โดยสร้างความสุขในการเรียนให้กับ นศ.ที่สอน

พิชญ์รีย์

การที่เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้แต่ละคนเกิดทฤษฏีใหม่ และเราต้องเอามาฝึกฝน เพื่อให้เกิดการ Execution

สร้อยสุคนธ์

  • เป็นทฤษฏี GAP and Balancing
  • Gap คือเรื่องการปรับจุดอ่อน ปรับให้เกิดbalancing โดยใช้ 8 k 5k โดยการหาจังหวะใส่เข้าไป และกระตุ้นให้เกิดความสุข

อธิคม

  • ทุกวันนี้มองเรื่องทุนมนุษย์มองเรื่องทุนมนุษย์เป็นเฟื่องไปสู่ความรำรวย แต่ของอาจารย์จีระ จะเป็น HSHR = Happiness Sustainability และ  Happiness in Human capital
  • 8k 5k เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล เป็นการปลูก แต่การเก็บเกี่ยวต้องดูสภาพแวดล้อมด้วย เราต้องมองอนาคต มองวันนี้เพื่ออนาคตที่ดีขึ้น

 

วันนี้เจอสิ่งดีๆ และได้มองเห็นคนที่ไม่มีทุนทางกาย(ตา)เหมือนคนปรกติแต่ เค้าสามารถนำสิ่งรอบตัวมาประยุกต์ใช้ให้คนตาบอดคนนึงได้เป็น สมาชิกวุฒิสภา ทำให้มองเห็นถึงแรงบันดาลใจอีกอย่างเรื่องทุนของคนเราที่ต่างกัน ไม่เท่ากัน >>> แต่อยู่ที่ว่าใครจะดึงทุนที่เหลือออกมาใช้ได้เต็มศักยภาพให้มากที่สุดค่ะ

ขอบคุณ ที่มาจาก ... ท่านชูวิทย์ ( https://www.facebook.com/ChuvitOnline )

เรื่องดีๆเกิดขึ้นที่สภาฯได้เหมือนกัน

หมู่นี้มีแต่ข่าวที่ก่อให้เกิด "ความเสียหาย" แก่ชื่อเสียงของสภาฯเป็นประจำ ไม่ว่าเรื่อง ส.ส. ดูภาพหวิว ส.ส. เล่นเกมส์ ส.ส. ประท้วง อย่าง "ถึงลูกถึงคน" รวมไปถึง การ "ผลาญงบฯ" จัดซื้อนาฬิการาคา "แพงลิบ" และเก้าอี้หลุยส์ชุดละล้านที่ผมเปิดเผย

แต่มีผู้ที่ตั้งใจทำงาน "ส.ว. มณเฑียร บุญตัน" ตาบอดตั้งแต่กำเนิด เป็นลูกชาวนาจังหวัดแพร่ ประชาชนหลายคนอาจไม่รู้จัก ท่านไม่เคยย่อท้อยอมแพ้ต่อชะตาชีวิต ได้รับการแต่งตั้งเป็น "สมาชิกวุฒิสภา" ประเภท "สรรหา"

ในระหว่างประชุมรัฐสภา ส.ว.มณเฑียรฯ ใช้ Iphone และ Ipad ในการทำงาน ใช้ Iphone Voice Over ช่วยการสัมผัสหน้าจอ ใช้ Siri สั่งงานด้วยเสียง ส่ง SMS ส่งอีเมลล์ ค้นหาข้อมูลต่างๆ และใช้ Keyboard พิมพ์งานอย่างคล่องแคล่ว ไม่ต้องมีใครมาช่วย รู้จักใช้อุปกรณ์ IT ให้เป็นประโยชน์ 

ส.ว.มณเฑียรฯ สะท้อนให้เห็นว่าเงินของผู้เสียภาษีไม่ได้ "สูญเปล่า" และทำหน้าที่รับผิดชอบต่อตำแหน่งอย่างคุ้มค่า

ท่านได้กรุณาอธิบายวิธีการใช้โปรแกรม ผ่าน Iphone และส่งเป็น SMS ถึงผมว่า 

"สวัสดีครับ นี่เป็นการทดสอบวิธีการใช้ Iphone ถึงคุณชูวิทย์ จาก ส.ว.มณเฑียร" 

ข้อความดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษ ผมแปลเป็นภาษาไทย ท่านสั่งงานเป็นภาษาอังกฤษด้วยความชำนาญ เพราะ Siri ค่อนข้างหยิ่ง ต้องพูดสำเนียง "เป๊ะ" เสียด้วย ถึงจะยอมเชื่อฟัง 

วันนี้ผมอยากแสดงให้เห็นว่า "เรื่องดีๆ" เกิดขึ้นในสภาฯได้เหมือนกัน ประชาชนอย่าเพิ่ง "หมดหวัง" 

ดูสิครับ ท่าน "ตาบอด" แท้ๆ แต่สมอง "ปราดเปรื่อง" ส่วนคน "ตาดี" สมองดัน "ลามก" 

พระเจ้าท่านเที่ยงธรรมแท้ๆ

เรื่องดีๆเกิดขึ้นที่สภาฯได้เหมือนกัน

 แต่มีผู้ที่ตั้งใจทำงาน "ส.ว. มณเฑียร บุญตัน" ตาบอดตั้งแต่กำเนิด เป็นลูกชาวนาจังหวัดแพร่ ประชาชนหลายคนอาจไม่รู้จัก ท่านไม่เคยย่อท้อยอมแพ้ต่อชะตาชีวิต ได้รับการแต่งตั้งเป็น "สมาชิกวุฒิสภา" ประเภท "สรรหา"...

ในระหว่างประชุมรัฐสภา ส.ว.มณเฑียรฯ ใช้ Iphone และ Ipad ในการทำงาน ใช้ Iphone Voice Over ช่วยการสัมผัสหน้าจอ ใช้ Siri สั่งงานด้วยเสียง ส่ง SMS ส่งอีเมลล์ ค้นหาข้อมูลต่างๆ และใช้ Keyboard พิมพ์งานอย่างคล่องแคล่ว ไม่ต้องมีใครมาช่วย รู้จักใช้อุปกรณ์ IT ให้เป็นประโยชน์

ส.ว.มณเฑียรฯ สะท้อนให้เห็นว่าเงินของผู้เสียภาษีไม่ได้ "สูญเปล่า" และทำหน้าที่รับผิดชอบต่อตำแหน่งอย่างคุ้มค่า

ท่านได้กรุณาอธิบายวิธีการใช้โปรแกรม ผ่าน Iphone และส่งเป็น SMS ถึงผมว่า

"สวัสดีครับ นี่เป็นการทดสอบวิธีการใช้ Iphone ถึงคุณชูวิทย์ จาก ส.ว.มณเฑียร"

ข้อความดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษ ผมแปลเป็นภาษาไทย ท่านสั่งงานเป็นภาษาอังกฤษด้วยความชำนาญ เพราะ Siri ค่อนข้างหยิ่ง ต้องพูดสำเนียง "เป๊ะ" เสียด้วย ถึงจะยอมเชื่อฟัง

วันนี้ผมอยากแสดงให้เห็นว่า "เรื่องดีๆ" เกิดขึ้นในสภาฯได้เหมือนกัน ประชาชนอย่าเพิ่ง "หมดหวัง"

ดูสิครับ ท่าน "ตาบอด" แท้ๆ แต่สมอง "ปราดเปรื่อง" ส่วนคน "ตาดี" สมองดัน "ลามก"

พระเจ้าท่านเที่ยงธรรมแท้ๆ

 

 


 

ธนาคม พจนาพิทักษ์

ผู้นำในแนวคิด

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                เป็นมุมองของผู้นำในยุคที่ 4 (Fourth Wave) ที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Speed of Chang)

มีความไม่แน่นอน (Uncertainly) และทำนายไม่ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น (Unpredictable)

                ดังนั้นแนวคิดด้านผู้นำจึงมุ่งเน้นไปที่ความยั่งยืน(Sustainability) ความชาญฉลาด (Wisdom)  

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) นวัตกรรม (Innovation)  และ ทุนทางปัญญา (Intellectual capital) อันประกอบด้วย

1. Crisis management    การจัดการภาวะวิกฤต

2. Anticipate change      การมีส่วนร่วมในความเปลี่ยนแปลง

3. Motivate others to be excellent         การกระตุ้นผู้คนสู่ความยอดเยี่ยม

4. Conflict resolution     การแก้ไขความขัดแย้ง

5. Explore opportunities    การสร้างโอกาสแก่ผู้อื่น

6. Rhythm & Speed                รู้จักใช้จังหวะและความ รวดเร็ว

7. Edge (Decisiveness)          กล้าตัดสินใจ

8. Teamwork                          ทำงานเป็นทีม

9. การบริหารความไม่แน่นอน                                                               

 

ผู้นำในแนวคิด

Peter Drucker

8 ข้อ ถูกแบ่งได้ 3 กลุ่มคือ

1.  การได้มีซึ่งองค์ความรู้

—     Ask what need to be done ถามว่าจะอะไรที่จำเป็นต้องทำ เมื่อรู้ว่าอะไรที่ต้องทำ ก็ดูว่าอะไรที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์นั้น จะมุ่งเน้นแค่ 1 งานที่เวลาเดียว โดยการจัดลำดับความสำคัญโดยอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง

—     Ask what’s right for the enterprise ถามว่าอะไรคือสิ่งที่เหมาะสม สิ่งที่ถูกต้อง  สำหรับองค์กร อย่าต้องไปทุกข์ใจกับว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดีที่สุดกับองค์กร ผู้ลงทุน พนักงาน หรือลูกค้า เพราะสุดท้ายการตัดสินใจว่าที่มีความเหมาะสมสำหรับองค์กรของคุณจะเหมาะสมกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด

 

2. เปลี่ยนองค์ความรู้ไปสู่สิ่งที่ต้องทำ

—     Develop  action plans การพัฒนาแผนงาน สร้างแผนที่ระบุผลลัพธ์ที่ต้องการรวมถึงเงื่อนไข จุดตรวจสอบ เวลาที่ต้องใช้ทำงาน และมีการทบทวนแผนเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงโอกาสใหม่ๆ

—     Take responsibility for decisions รับผิดชอบต่อการตัดสินใจ การตัดสินใจทำสิ่งใดๆในแต่ละครั้งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อรู้ว่าใครรับผิดชอบต่อการตัดสินใจนั้น  เงื่อนของเวลา (deadline) และคนที่จะได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจนั้น รวมถึง คนที่จะต้องถูกแจ้งเกี่ยวกับการตัดสินใจนั้นถึงแม้การตัดสินใจนั้นจะไม่กระทบต่อเค้าก็ตาม ซึ่งการทำลักษณะนี้เพื่อเน้นให้คิดทบทวนการตัดสินใจให้ดีก่อนนำไปใช้แล้วเกิดความเสียหาย

 

—     Take responsibility for communication รับผิดชอบต่อการสื่อสาร แผนงานและข้อมูลความต้องการจะต้องเป็นที่เข้าใจก่อนนำไปใช้ คือจะต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แนวคิด จากผู้ร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็น ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน รวมถึงพวกเขาจะต้องรู้ว่าข้อมูลอะไรที่จำเป็นต้องได้รับจากงานที่ทำ

 

—     Focus on opportunities not problem มุ่งเน้นที่โอกาส ไม่ใช่ปัญหา แน่นอนว่าปัญหาเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข แต่ก็ต้องใช้ประโยชน์จากโอกาสในการผลิตผลลัพธ์ ต้องระบุการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี ผลผลิต นวัตกรรมใหม่ๆ โครงสร้างทางการตลาดใหม่ เป็นต้น การถามว่า เราสามารถใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร? จากนั้นกำหนดคนที่ดีที่สุดกับโอกาสที่ดีที่สุดนั้น

 

3. ประกันว่ารับผิดชอบร่วมกันทั้งองค์กร

 

—     Run  productive meetingดำเนินการประชุมอย่างมีประสิทธิผล  กำหนดจุดมุ่งหมายการประชุมที่ต่อเนื่อง เมื่อประชุมเรียบร้อยในแต่ละครั้งจะต้องบรรลุวัตถุประสงค์การประชุม ติดตามออกมาการด้วยสื่อสารสั้นๆ เป็นการสรุปการอภิปราย ชี้แจงการมอบหมายงานใหม่ เงื่อนเวลาที่จะทำให้สมบูรณ์

—     Think and say “We” not “I” คิดและพูดว่าเรา  อำนาจหน้าที่มาจากความเชื่อมั่นขององค์กรต่อตัวผู้นำคนนั้นๆ ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ต้องพิจารณาความต้องการและโอกาสขององค์กรก่อนตัวเอง

 

                                                                                ในแนวคิดของ peter

                ผู้นำไม่จำเป็นต้องมีพรสวรรค์ ทักษะที่เหมาะสม หรือ ส่วนประสมอื่นๆที่เป็นความลับอะไร เพียงแค่ ได้รับองค์ความรู้ ที่จำเป็นต่อการตัดสินใจที่มีศักยภาพ สามารถเปลี่ยนองค์ความรู้ไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิผล และ สามารถรับประกันได้ว่าความรับผิดชอบเกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร ก็ถือว่าเป็นผู้นำได้แล้ว

 

สรุปเพิ่มเติม คือ ฟังก่อน พูดทีหลัง

 

 

 

ดร.พงษ์ไพโรจน์ รัชตะทรัพย์

1.สรุปได้อะไร 3 เรื่องในการเรียนครั้งแรก

- ตัวเอง

ในฐานะที่เป็นนักธุรกิจ   กระผมได้รับความรู้เกี่ยวกับความหลากหลายของทุนมนุษย์ มาต่อยอดทางความคิดเกี่ยวกับการทำงาน ไมว่าจะเป็นด้านเพศ ด้านสถาบัน  ด้านค่านิยม  เป็นต้น ซึ่งเราควรจะต้องพัฒนาศักยภาพจากความหลากหลายมากกว่ามองเพียงแค่เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง และยังได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาตนเองอยู่เสมอเพื่อสามารถเอาตัวรอดได้ในโลกยุคปัจจุบันและในอนาคต

-องค์กร

                การบริหารจัดการองค์กร ควรเริ่มจากการบริหารทุนมนุษย์ จากทรัพยากรบุคลากรที่มีอยู่ก่อนเพื่อให้สามารถเสริมสร้างทักษะที่ตรงตรงทุนเดิมของบุคคลนั้นๆ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาองค์กรเช่นกันหากบุคลากรได้ถูกพัฒนาศักยภาพที่ถูกทิศถูกทาง องค์กรก็สามารถเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ และได้แนวทางในการนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎี 4L’s นำความรู้ไปพัฒนาคนในองค์กรธุรกิจโรงแรมและอสังหาฯของกระผม  พร้อมทั้งการสร้างแรงจูงใจในการทำงานซึ่งจะนำมาซึ่งทุนแห่งความสุข รู้จักที่จะมองหาเป้าหมายในงานที่ตัวเองทำ เพื่อจะได้ทำงานอย่างมีความสุขที่แท้จริง

-ประเทศ

ได้แนวทางในการสร้างมนุษย์พันธ์ใหม่ที่สามารถสร้างเครือข่ายทางสังคมและวางเป้าหมายในการทำงาน รวมทั้งสามารถตกผลึกทางความคิดสามารถนำความคิดที่ผ่านการตกผลึกแล้วไปพัฒนาประเทศได้ รู้จักค้นหาประโยชน์จากความหลากหลายของคนในประเทศ

-โลกาภิวัตน์

                กระผมคิดว่านำทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพมาปรับใช้ทำให้เราสามารถวิเคราะห์จากสภาพปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงของโลกตามความเป็นจริง และความต้องการในปัจจุบันอย่างตรงประเด็น และยังทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายทางสังคมจากบุคคลที่ต่างศาสตร์กัน และโดยผ่านทุนทางเทคโนโลยี

2.แรงบันดาลใจที่ได้รับในครั้งนี้จะช่วยให้การเรียนและการวิจัยมีความสำเร็จอย่างไร

 

                กระผมคิดว่าแรงบันดาลใจที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดคำถามในหัวข้อวิจัยที่ชัดเจน สามารถทำวิจัยที่ก่อให้เกิดประโยชน์และนำไปใช้จริงได้ โดยนำความรู้ที่มีอยู่เดิมบวกกับทุนมนุษย์ที่ได้เรียน และนำมาพัฒนาคู่กับแนวทางทฤษฎีที่สามารถนำมาใช้ให้เป็นจริงได้

ดร.พงษ์ไพโรจน์ รัชตะทรัพย์

1.8k1. 8k 5k กระทบตัวเราอย่างไร และ 8k 5k ขาดอะไร น่าจะมีอะไรเพิ่มเติม

สิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวกระผมเองภายหลังจากได้เรียนรู้เกี่ยวกับ 8K’s และ 5K’s คือ กระผมเริ่มต้นที่จะพิจารณาตนเองว่ากระผมเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพเพียงใด มีความโดดเด่นทุนใดมากที่สุด  และมีทุนด้านใดที่ยังต้องเติมให้มากขึ้นเพื่อให้ตัวกระผมเองกลายเป็นทุนที่มีคุณภาพที่สุดและนำสิ่งที่มีอยู่สร้างประโยชน์ สามารถถ่ายทอดไปสู่ผู้อื่นได้ 

                กระผมคิดว่าทุน 8k และ 5k  มากพอที่จะสามารถครอบคลุมมนุษย์ได้ในทุกๆด้าน คือ  Human Capital ทุนมนุษย์ Intellectual Capital ทุนทางปัญญา , Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม ,  Happiness Capital ทุนแห่งความสุข Social Capital ทุนทางสังคม , Sustainability Capital  ทุนแห่งความยั่งยืน , Digital Capital ทุนทาง IT  , Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ , Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ , Knowledge Capital  ทุนทางความรู้ , Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม  , Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ และ Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม    

2. องค์กรได้อะไรจาก 8k 5k

กระผมคิดว่า 8k และ 5kสามารถนำมาถ่ายทอดและพัฒนาองค์กรในด้านของการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ให้คิดวิเคราะห์ อย่างสร้างสรรค์  สามารถแก้ไขปัญหาในการทำงานอย่างเป็นระบบแบบตรงประเด็นบนฐานของความเป็นจริง  ซึ่งแน่นอนเมื่อบุคลากรในองค์กรได้เรียนรู้และแนวทางของ 8k และ 5kแล้วนำไปสู่การพัฒนาจริงองค์กรก็จะมีทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ เมื่อองค์กรถูกเติมเต็มด้วยทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพองค์กร ก็น่าจะสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างยั่งยืน

3. 8k และ 5k ให้อะไรกับประเทศไทย

จากประสบการณ์ทางธุรกิจกระผมคิดว่าในสภาวะแวดล้อมที่การแข่งขันค่อนข้างสูง อีกทั้งสภาพทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของประเทศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ประเทศย่อมต้องการคนที่มีคุณภาพเพื่อที่จะร่วมกันคิดและกระทำเพื่อให้ประเทศเกิดความมั่นคง ดั้งนั้น 8k และ 5k  เป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพจะนำประเทศไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และพัฒนาไปสู่การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันกับอาณาประเทศได้อย่างยั่งยืน  

4. ระดับโลกาภิวัตน์ ได้อะไรจาก 8k 5k

กระผมคิดว่าในระดับโลกาภิวัตน์  8k  และ 5k สามารถนำไปใช้แล้วเกิดผลสัมฤทธิ์และปฏิติตามทำให้ส่งผลในทางบวกไม่ว่าจะในทาง สังคม เศรษฐกิจ การเมืองทำให้เกิดการพัฒนาทั้งองค์ความรู้ใหม่ๆนวัตกรรมทางความคิด เทคโนโลยีเกิดขึ้นมากมาย    5k กระทบตัวเราอย่างไร และ 8k 5k ขาดอะไร น่าจะมีอะไรเพิ่มเติม

สิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวกระผมเองภายหลังจากได้เรียนรู้เกี่ยวกับ 8K’s และ 5K’s คือ กระผมเริ่มต้นที่จะพิจารณาตนเองว่ากระผมเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพเพียงใด มีความโดดเด่นทุนใดมากที่สุด  และมีทุนด้านใดที่ยังต้องเติมให้มากขึ้นเพื่อให้ตัวกระผมเองกลายเป็นทุนที่มีคุณภาพที่สุดและนำสิ่งที่มีอยู่สร้างประโยชน์ สามารถถ่ายทอดไปสู่ผู้อื่นได้ 

                กระผมคิดว่าทุน 8k และ 5k  มากพอที่จะสามารถครอบคลุมมนุษย์ได้ในทุกๆด้าน คือ  Human Capital ทุนมนุษย์ Intellectual Capital ทุนทางปัญญา , Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม ,  Happiness Capital ทุนแห่งความสุข Social Capital ทุนทางสังคม , Sustainability Capital  ทุนแห่งความยั่งยืน , Digital Capital ทุนทาง IT  , Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ , Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ , Knowledge Capital  ทุนทางความรู้ , Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม  , Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ และ Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม    

2. องค์กรได้อะไรจาก 8k 5k

กระผมคิดว่า 8k และ 5kสามารถนำมาถ่ายทอดและพัฒนาองค์กรในด้านของการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ให้คิดวิเคราะห์ อย่างสร้างสรรค์  สามารถแก้ไขปัญหาในการทำงานอย่างเป็นระบบแบบตรงประเด็นบนฐานของความเป็นจริง  ซึ่งแน่นอนเมื่อบุคลากรในองค์กรได้เรียนรู้และแนวทางของ 8k และ 5kแล้วนำไปสู่การพัฒนาจริงองค์กรก็จะมีทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ เมื่อองค์กรถูกเติมเต็มด้วยทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพองค์กร ก็น่าจะสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในสภาวการณ์ต่างๆได้อย่างยั่งยืน

3. 8k และ 5k ให้อะไรกับประเทศไทย

จากประสบการณ์ทางธุรกิจกระผมคิดว่าในสภาวะแวดล้อมที่การแข่งขันค่อนข้างสูง อีกทั้งสภาพทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของประเทศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ประเทศย่อมต้องการคนที่มีคุณภาพเพื่อที่จะร่วมกันคิดและกระทำเพื่อให้ประเทศเกิดความมั่นคง ดั้งนั้น 8k และ 5k  เป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพจะนำประเทศไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และพัฒนาไปสู่การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันกับอาณาประเทศได้อย่างยั่งยืน  

4. ระดับโลกาภิวัตน์ ได้อะไรจาก 8k 5k

 

กระผมคิดว่าในระดับโลกาภิวัตน์  8k  และ 5k สามารถนำไปใช้แล้วเกิดผลสัมฤทธิ์และปฏิติตามทำให้ส่งผลในทางบวกไม่ว่าจะในทาง สังคม เศรษฐกิจ การเมืองทำให้เกิดการพัฒนาทั้งองค์ความรู้ใหม่ๆนวัตกรรมทางความคิด เทคโนโลยีเกิดขึ้นมากมาย    

ดร.พงษ์ไพโรจน์ รัชตะทรัพย์

1.สิ่งที่ได้จากหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ HR.CHAMPIONSและ สิ่งที่ได้จากหนังสือ 8K's+5K's ทุนมนุษย์ของคนไทย รองรับประชาคมอาเซียน

จากการที่กระผมได้อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ HR CHAMPIONS โดยหนังสือเล่มนี้จะมุ่งเน้นความสำคัญของคุณภาพคนในระดับองค์กร คือ องค์กรจะสามารถใช้ทักษะ ความรู้ ความสามารถของคนในองค์กรสร้างมูลค่าเพิ่มในด้านการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาต่างๆเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเต็มไปด้วยการคุกคามทั้งโอกาสและความเสี่ยง ทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นตัวแปรที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าตัวแปรด้านทรัพยากรเงินทุน ทรัพยากรทางด้านเทคโนโลยี หรือแม้แต่ทรัพยากรทางธรรมชาติ

ดังนั้น กระผมคิดว่าความสำคัญของการพัฒนาควรจะเริ่มที่คนก่อนเพื่อเป็นรากฐานในการสร้างความมั่นคงทางจิตใจเป็นสิ่งแรก และให้ความสำคัญกับการสร้างเยาวชนให้เป็น Global Citizen ตามแนวคิด Constructionism เมื่อพัฒนาโดยมุ่งเน้นการเรียนรู้(4L's)ให้มีศักภาพได้ มุมของผู้บริหารหรือหัวหน้าต้องมีการจัดการเกี่ยวกับการสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นกับองค์กรโดยเริ่มจาก ต้องเข้าใจในคุณค่าของมนุษย์เสียก่อนรู้จักจุดแข็งจุดอ่อนของลูกน้อง สวัสดิการที่ดี ปกครองอย่างเป็นธรรม ความรัก ความสำคัญ การทำงานเป็นทีม สร้างความผูกพันในองค์กรให้กลายเสมือนเป็นองค์กรที่มีชีวิต อีกสิ่งที่ช่วยให้องค์กรมุ่งสู่ความเป็นเลิศได้คือแรงจูงใจที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลจริงบนงานที่มีการเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่กระผมได้จากการอ่านหนังสือ 8K's+5K's ทุนมนุษย์ของคนไทย รองรับประชาคมอาเซียน คือ  ได้เรียนรู้และศึกษาถึงแนวคิดและแนวทางที่ทำให้เกิดขึ้นมาเป็นทฤษฎี 8K's 5K's อันได้แก่ คือ  Human Capital ทุนมนุษย์ Intellectual Capital ทุนทางปัญญา , Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม ,  Happiness Capital ทุนแห่งความสุข Social Capital ทุนทางสังคม , Sustainability Capital  ทุนแห่งความยั่งยืน , Digital Capital ทุนทาง IT  , Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ , Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ , Knowledge Capital  ทุนทางความรู้ , Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม  , Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ และ Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม   เป็นที่แน่ชัดว่าการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือกันของทั้งองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน อย่างกว้างขวางเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและศักยภาพทางการแข่งขัน รวมทั้งจะต้องมีการสร้างเครือข่ายกับกลุ่มประเทศในอาเซียนอย่างแท้จริงด้วยการเข้าใจความหลากหลาย ความแตกต่างที่มี แล้วหยิบจับความหลากหลาย ความแตกต่างเหล่านั้นมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นให้ได้ซึ่งในการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ในด้านต่างๆ จะต้องคิดถึงผลที่จะตามมาในระยะยาว ต้องพัฒนาให้เป็นไปในทิศทางของการอยู่รอดในระยะยาว

2.ความเห็นที่มีจากการดู Video รายการคิดเป็น ก้าวเป็นกับ ดร.จีระ
               
วิเคราะห์การดูรายการทีวี ซึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ กับ คุณศุภชัย หล่อโลหการ (ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ)    กระผมได้เรียนรู้สาระสำคัญคือ คำว่านวัตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ที่เกิดจากการคิดอย่างสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ต่อสั่งคม โดยความสำคัญของนวัตกรรม (Innovation) จะเน้นให้คิด ทำในสิ่งใหม่ ๆ คิดนอกกรอก และนวัตกรรมเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก แต่ CEO ระดับโลกมองว่านวัตกรรมจะต้องคำนึงถึงทั้งระดับองค์กร (Micro) และระดับประเทศ (Macro)

 

                คุณศุภชัย ผอ.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ มองว่า นวัตกรรมมีความสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยต้องอาศัยกลไกทางตลาดเข้ามาช่วย และเสนอปัญหาใหญ่ในการพัฒนานวัตกรรมของสังคมไทยจากทฤษฏี 3 C คือ  C1 คือ คนไทยไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ซึ่งในความเป็นจริงต้อง Ready to Change  C2 คือ คนไทยไม่เน้นลูกค้า (Customer base) ซึ่งในความจริงควรมี Marketing MindC3 คือ คนไทยที่เป็นหัวหน้าหรือผู้นำไม่ชอบฟังลูกน้องขัดความคิดเห็น

ดร.พงษ์ไพโรจน์ รัชตะทรัพย์

สรุปบทความที่ให้ไปอ่าน

 

                 จากบทความที่ได้ไปอ่านมาทำให้กระผมเห็นถึงการสร้างความสุขโดยพื้นฐานของชาวอเมริกา โดยการค้นหาแรงกระตุ้นของความสุข ค้นหาความสุขในรูปแบบของตัวเองจากการปลูกฝังจากครอบครัว(นำไปสู่การสร้างทุนมนุษย์ในตัวเอง)  คนอเมริกานั้นเสพความสุขจากสิ่งที่ตนสร้างขึ้นมาเพื่อชดเชยกับสิ่งที่ตนเองอาจจะไม่ได้รับจากข้างในเนื่องจากต้องทำงานแข็งกับเวลาและต้องตื่นตัวในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงไปของประเทศและโลกที่เปลี่ยนแปรผันดูได้จากเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นนั้นผู้คิดค้นนั้นสร้างขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการและเพื่อให้ความสุขกับมนุษย์โดยใช้เงินตราแลกเปลี่ยนเพื่อได้มาดังนั้นคนอเมริกันจึงไขว่คว้าเพื่อได้มาซึ่งความสุขจากภายนอกเพื่อชดเชยความสุขภายในที่ตนได้เสียไปดังบทความที่ได้กล่าวถือว่าเป็นอันตรายต่อตนเองประเทศและโลกของเรานี้ เพราะความสุขเหล่านี้อาจจะทำให้เกิดการแข่งขัน แย่งชิง หรืออาจจะถึงขั้นฆ่าแกงกันก็เป็นได้

ดร.พงษ์ไพโรจน์ รัชตะทรัพย์

จากการเรียนร่วมกันของนักศึกษาทั้ง 3 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้กระผมเข้าใจในเรื่องทุนแห่งความสุข จากหลักคำสอน แนวคิด และทฤษฎีดังกล่าวต้องแยกให้ออกระหว่าง ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) กับHappy workplace  โดย Happy  workplace  หมายความว่า Unit 0f Analysis จะเป็นองค์กร คือ CEO + HR   สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความสุข  แต่ Happiness Capital คือส่วนบุคคล (Individual) เกิดขึ้นเพราะชอบงาน มีความสุขที่ได้ทำงาน

 

 

ธนาคม พจนาพิทักษ์

เปรียบเทียบแนวคิดผู้นำ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Peter Drucker

Integrity Leadership Style

- Edge ( Decisiveness ) กล้าตัดสินใจ

- Take responsibility for decision รับผิดชอบ            ต่อการตัดสินใจ

Transparency Leadership Style

- Conflict resolution การแก้ไขความขัดแย้ง

- Ask what’s right for  enterprise เน้นความ            ถูกต้อง ความเหมาะสม

- Think  and say  We not  I คิดอะไร พูดอะไร    ส่วนรวมขององค์กรมากก่อน ตนเอง

 

Grooming Future Leaders

- Motivate others to be excellent การกระตุ้นผู้คนสู่ความยอดเยี่ยม

- Explore opportunities การสร้างโอกาสแก่         ผู้อื่น

- Develop  action  plans การพัฒนาแผนงาน

- Focus on opportunities not problem  มุ่งไป        ที่โอกาสจากสิ่งที่เกิดภายในและนอก

Global Network Leadership

- Teamwork ทำงานเป็นทีม

 

 

- Think  and say  We not  I 

- Take responsibility for communication               มีการติดต่อ แลกเปลี่ยนกันระหว่างกลุ่มคน

- Ask what needs to be done  ถามความสิ่งที่ต้องทำ จากหลายๆฝ่าย

Balancing Style Leadership

- Explore opportunities การสร้างโอกาสแก่      ผู้อื่น

- Conflict resolution การแก้ไขความขัดแย้ง

- Rhythm & Speed รู้จักใช้จังหวะและความ รวดเร็ว

- Take responsibility for communication           เมื่อแผนงาน หรืองานที่จะทำ ได้มีการสื่อสารระหว่างทุกกลุ่ม ก็จะส่งผลให้เกิดความสมดุลได้

Leadership of Diversity and Innovations

- Conflict resolution การแก้ไขความขัดแย้ง

- Teamwork ทำงานเป็นทีม

- Ask what need to be done ถามความต้องการจากหลายๆคน

- Take responsibility for communication          การสื่อสารกับกลุ่มคนหลายๆประเภท หลายๆ ระดับชั้น

- Run productive meeting  ต้องให้การประชุมเกิดประสิทธิผล

ธนาคม พจนาพิทักษ์

เป็นสุดยอดแห่งบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เลยครับ   เพราะว่าบรรยากาศการเรียนเป็นที่น่าตื่นเต้นที่ได้เรียนร่วมทั้ง 3 สถาบัน ป.เอกจากลาดกระบัง จุฬาฯ และสวนสุนันทาเรียนร่วมกัน ในเนื้อหาทุนแห่งความสุข โดยผู้นำต้องสร้างความสุข ใช้หลักคำสอนพระพุทธเจ้าดำเนินชีวิต การสร้างทุนแห่งความสุข ( Happiness Capital ) จำเป็นต้องสร้างให้เกิดทั้งตนเองและที่ทำงาน ชีวิตที่บ้านกับที่ทำงานต้องสมดุลกัน หรือที่เรียกว่า work life balance ซึ่งตรงตามทฤษฎีจักรยาน ( Bicycle Theory ) กล่าวคือ ต้องสมดุลระหว่างล้อหน้าและล้อหลัง รถจักยานจึงจะวิ่งได้ ถ้าล้อเสียหรือพังข้างใดข้างหนึ่งแล้วรถก็จะวิ่งไม่ได้ ดังนั้นความสุขต้องเกิดทั้งที่บ้านและที่ทำงาน

ประโยชน์ 10 ข้อ ของการมีทุนแห่งความสุข โดย Alexander Kjerulf 

1  ช่วยทำให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ง่ายและได้ผลสูงสุด

2  ทำให้ตัวเองมี Creativity สูงขึ้น

3  ทำให้เรามีทางออกแทนที่จะบ่นว่าปัญหายากจัง

4  มองโลกในแง่ดี ( Optimism)

5  มีพลัง ( Energy ) เพิ่มขึ้น

6  ทำให้กระตุ้น/Motivate and Inspired ได้ง่ายกว่า

7  ไม่ค่อยจะป่วย

8  สามารถเรียนรู้ได้เร็วและสนุก สร้าง Learning Culture ได้ดีกว่าคนไม่มีความสุข

9  มีความมั่นใจว่าจะกล้าทำอะไรนอกกรอบได้มากขึ้น โดยไม่กลัวว่าจะมีความผิดพลาด

 

10  ทำให้ตัดสินใจได้ดีละรอบคอบ

ํ๊ธนาคม พจนาพิทักษ์

ข้อสรุปแนวคิดเรื่องผู้นำ ทั้งจาก ศ.ดร.จีระ ,ปีเตอร์ ดรักเกอร์ และงานวิจัยรวมหลายท่าน     ตลอดจนตารางเปรียบเทียบ (ซึ่งจริงๆควรอับต่อเนื่องกัน   แต่โดนการบ้านของดร.พงษ์โฃไพโรจน์ปาดหน้าเค้กแทรก  555)   เป็นผลงานรวมพลังของรุ่น 7 ทั้งรุ่นนะครับ   แค่ใช้ชื่อผมเป็นคนส่ง  

สุำพัตรา กาญจโนภาส

การบ้าน CEO,Smart HR และ non-HR

                การจะพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ไม่ใช้เป็นหน้าของส่วนงานใดส่วนหนึ่งแต่ ทั้งCEO,HR และ non-HR จะต้องช่วยกันทำให้พนักงานทุกคนรู้สึกว่าได้รับการเอาใจใส่ มีความสำคัญกับองค์กร และเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ไม่ใช่เพียงแค่มาทำงานตามหน้าที่  เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วพนังงานก็จะไม่มีความสุขในการทำงาน เพราะรู้สึกว่าชีวิตไม่ได้มีความมั่นคง โดยในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น

                CEO ซึ่งเป็นผู้นำองค์กรจะต้องกำหนดทิศทางให้ได้ว่าจะนำองค์กรไปในทิศทางใด และจะต้องประกาศให้ทุกคนได้รับรู้ เพื่อที่พวกเขาจะได้รู้ว่าต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างไร และทิศทางที่องค์กรจะไปส่งผลดีหรือผลกระทบต่อพวกเขาอย่างไร โดยจะต้องรับฟังความคิดเห็นของพนักงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการด้านความก้าวหน้าและทำให้ความต้องการของพนักงานสอดรับกับความก้าวหน้าขององค์กรเพื่อเมื่อองค์กรสำเร็จต้องเป้าหมายก็คือการที่บุคลากรในองค์กรก้าวหน้าดังเป้าหมายด้วยเช่นกัน   รวมถึงจะต้องสร้างแรงจูงใจ (Motivation) ให้พนักงานเชื่อมั่นในทิศทางขององค์กรและพร้อมจะให้ความร่วมมือเพื่อพัฒนาองค์กร สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่สามารถเกิดขึ้นตลอดเวลา ต้องสร้างเครือข่ายทางสังคม (Network)  

                ในส่วนของ non-HR ถึงแม้จะไม่ใช่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์โดยตรง แต่เป็นส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร หรือพนักงานเป็นอย่างมาก เช่น ผู้จัดการฝ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายการผลิต ฝ่ายการบัญชี ฝ่ายการตลาด เป็นต้น non-HR จะใกล้ชิดกับพนักงานที่สุด ดังนั้นการนำนโยบายจาก CEO สู่การปฏิบัติจะต้องเป็นหน้าที่ของ non-HR   และเมื่อมีความใกล้ชิดก็ย่อมสามารถเห็นถึงสมรรถนะ ศักยภาพ ของพนักงานโดยตรง ดังนั้น non-HR จะต้องมีความสามารถในการดึงสมรรถนะของพนักงานออกมาก่อเกิดประโยชน์กับองค์กรในเชิงของการเพิ่มมูลค่า หรือสร้างมูลค่า ให้ได้  รวมถึงการพิจารณารางวัลตอบแทน หรือ บทลงโทษต่างๆ  

                ในขณะที่ HR ซึ่งเป็นส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์โดยตรง จะมีภารกิจหลัก เกี่ยวกับการสรรหา การจ่ายค่าตอบแทน การฝึกอบรมและพัฒนา  รวมถึงสวัสดิการต่างๆ  เป็นต้น

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถึงแม้ว่าแต่ละฝ่ายไม่ว่าจะเป็น CEO , HR หรือ แม้แต่ non-HR จะมีหน้าที่ๆเกี่ยวข้องทรัพยากรมนุษย์หลักของตนเองแต่องค์กรจะก้าวไปข้างหน้า หรือเป็นองค์กรแห่งความสุขไม่ได้ ถ้าไม่เกิดการทำงานเป็นทีม (Teamwork) ดังนั้นจึงมีอีกหลายๆงานที่จะต้องมีการประสานงาน หรือ ทำงานร่วมกันของแต่ละส่วนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่พนักงาน เช่น

การกำหนดกลยุทธ์ทางทรัพยากรมนุษย์  ไม่ว่าจะเป็น นโยบายการบริหารคนเพื่อให้อยู่กันอย่างมีความสุข เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้พนักงานมีความผูกพันกับองค์กร ทั้ง HR และ non-HR จะต้องทำงานคู่ขนานกันไป และร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้ได้สิ่งที่เกิดคุณค่าต่อทั้งองค์กรและพนักงาน และที่ขาดไม่ได้คือ CEO ต้องสนับสนุนโดยการลงนามอนุมัติเพื่อให้เกิดการนำไปสู่การปฏิบัติ

 

ภายในองค์กรที่มีความหลากหลาย ทั้งเพศ การศึกษา หน้าที่การงาน ความต้องการ ย่อมเป็นการยากที่จะทำให้ทรัพยากรมนุษย์ให้ทุ่มเทให้แก่องค์กร ถ้าผู้ที่เกี่ยวข้องไม่จริงจังในการพัฒนา แต่ถ้าผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น CEO,HR หรือแม้แต่ non-HR ทำงานร่วมกันอย่างมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร โดยดูว่าบริบทขององค์กรคืออะไร มีความเอื้ออำนวยแค่ไหน มองลงไปให้ลึกถึงสมรรถนะที่มีแล้วดึงมาใช้ ที่ขาดแล้วพัฒนาเพิ่ม รวมถึงมีการสร้างแรงจูงใจที่มีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถนำความหลากหลายของทรัพยากรมนุษย์เหล่านั้นมาสร้างหรือเพิ่มมูลค่าเพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่มีประโยชน์กับองค์กรได้อย่างยิ่งยืน รวมถึงจะทำให้เป็นการเพิ่มทุนแห่งความสุขให้กับพนักงาน และนำมาซึ่งองค์กรที่ผาสุกได้เช่นกัน  

1.     งานเกี่ยวกับ ภาวะผู้นำ องค์กร และนวัตกรรม ของ A.K.Sravat    

       1. สิ่งแวดล้อมทางธุรกิจและความ ท้าทายของกลุ่มบริษัทยทาทา (TaTa Group)

                ในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีความไม่แน่นอน การเปลี่ยนแปลงสามารถเกิดขึ้นตลอดเวลา และไม่สามารถทำนายได้ การทำธุรกิจเป็นเรื่องยากลำบาก อีกทั้งยังเป็นกลุ่มบริษัทของประเทศในที่มีข้อจำกัดการการทำธุรกิจ การแบ่งชนชั้นทางสังคม ซึ่งยากที่จะผลิตผลิตภัณฑ์สำหรับตอบสนองความต้องการของคนในประเทศได้ทุกๆระดับของประชากร และไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่กลุ่มธุรกิจจากทวีปเอเซียจะเปิดตลาดสู่สากลไปสู่ทวีปอื่นๆ เช่น อเมริกา ยุโรป ซึ่งมีบริษัทชั้นนำระดับโลกอยู่มากมาย  อีกทั้งในยุคเศรษฐกิจเสรี ธุรกิจสามารถแข่งขันกันได้อย่างเสรี มีคู่แข่งจากประเทศต่างๆ สามารถเข้ามาทำธุรกิจได้ในประเทศได้อย่างเสรี แต่กลุ่มบริษัท TATA กลับมองเป็นความท้าทายในการแข่งขัน เป็นความท้าทายของผู้นำจะหาวิธีการเพื่อให้องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตไปอย่างยั่งยืน เช่น การควบกิจการเข้ากับบริษัทของต่างชาติ การรวมกลุ่มบริษัทเพื่อให้มีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็ง เป็นต้น

 2. รูปแบบและคุณลักษณะของผู้นำของกลุ่มทาทา

-          มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล เช่น ในสภาวะที่มีเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ยังสามารถเปลี่ยนความผันผวนให้กลายเป็นโอกาส เช่น การกล้าหาญที่จะเข้าควบรวมกิจการ และลงทุนในตลาดโลกมากมาย

-          สามารถนำแนวคิดสู่การปฏิบัติ  และนำการปฏิบัติสู่ความสำเร็จได้จริง  โดยลงทุนในหลายๆกิจการและพยายามสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน เพื่อนำกลุ่มบริษัทไปสู่การมีชื่อเสียงระดับโลก

-          กล้าตัดสินใจ  และกล้ารับผิดชอบต่อการตัดสินใจไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร

-          ให้โอกาสผู้อื่น  ผู้ใดภายใต้การบังคับบัญชาที่มีแนวคิดที่ดี และสามารถสร้างแผนงาน แผนเวลาเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติได้ ก็จะไม่มีการลังเลที่จะให้นำไปสู่การปฏิบัติ

-          ลงมือปฏิบัติให้เห็นเป็นตัวอย่าง ไม่ใช่เพียงแค่พูดหรือสั่งสอน

-          มีคุณธรรมจริยธรรม  มนุษยธรรม เมตตากรุณา ความชื่อสัตย์ 

-          มีฟังความคิดเห็น ก่อนที่จะตัดสินใจจะรับฟังข้ออภิปรายจากคนทุกๆระดับ

-          เน้นการทำงานเป็นทีม

-          กล้าที่จะเผชิญกับปัญหา และแก้ไขโดยไม่ลังเล โดยมองเห็นทุกโอกาสจากปัญหาที่เผชิญ

-          รับผิดชอบต่อสังคม เช่น จะเป็นการบริจาคเงินเพื่อการศึกษา  และรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม ไม่สร้างโรงงานที่ทำลายสิ่งแวดล้อม

-          สร้างแรงจูงใจคนได้ดี ไม่ว่าจะเป็นคนงาน  ผู้ร่วมทุน ผู้ถือหุ้น เป็นต้น

-          สุภาพอ่อนโยน ทั้งคำพูดและการกระทำ

-          จะไม่มีการพูดว่า ไม่รู้

-          รักชาติ ภูมิใจในประเทศของตนเอง เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะมีการธุรกิจประเทศใดๆทั่วโลก  ก็ยังคงนำเสนอเสมอว่าเป็น ยี่ห้อของอินเดีย

3. แรงขับเคลื่อนและแรงต้น

แรงขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายของ TaTa Group

-          องค์กรมีนโยบาย ด้านการขยายกิจการ ด้านบุคลากรที่ชัดเจน

-          บุคลากรมีความสามารถมากมาย

-          CEO’s มีความสามารถทางการบริหารจัดการที่แข็งแกร่ง

-          ผู้นำมีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล มุ่งเน้นการเจริญเติบโตระยะยาว

-          มีการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ

-          การสร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคลากรขององค์กร

-          การใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย

-          มีการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการ

-          มีการสื่อสารที่ดีในองค์กร โดยทำให้เกิดการบริหารจัดการที่ สามารถพูดคุยกันได้ทุกระดับ รับฟังความคิดเห็นกัน  ผู้บริหารลงมารับฟังความคิดเห็นของคนงานระดับล่าง มีการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

-          มีผู้นำมุ่งเน้นประสิทธิผลของการทำงาน

 

แรงต้าน

-          การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง เช่นการประท้วง

4. ความสำเร็จและความล้มเหลว

 

ความสำเร็จ

-          ผู้นำสามารถนำองค์กรเจริญเติบโตทั้งในด้านประเภทธุรกิจที่หลากหลาย  ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ จำนวนสาขามากมายทั่วโลก สามารถควบรวมกิจการและสร้างกำไรให้กับองค์เพิ่มขึ้นมากมาย จนทำให้กลุ่มบริษัทเป็นมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วโลกในนามของ บริษัทของประเทศอินเดีย

-          สามารถทำให้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเชื่อมั่นว่าองค์กรจะเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน และพร้อมที่จะทำงานกับบริษัทได้อย่างยาวนาน  ด้วยความภักดีกับองค์กร โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงพนักงานบ่อย

-          สามารถสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรที่มีจิตวิญญาณของความเป็นอินเดีย และเป็นแบบอย่างองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคม ต่อสิ่งแวดล้อม

ความล้มเหลว

-          เขาไม่เคยมีความสามารถที่จะสร้าง "องค์กรแบบเปิด แบนและโปร่งใส" ได้เลย  และทางกลุ่มบริษัทไม่สามารถที่จะสร้างความสำเร็จในการโอบอุ้มลูกค้าเท่าที่ควรจะเป็น

-          กลุ่มบริษัทไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มประชากรได้มากเท่าที่คาดหวัง เช่นตัวอย่างของ รถนาโน ก็ไม่สำเร็จในการเป็นนวัตกรรมที่เพียงพอ

5. กระบวนการความสอดคล้องในองค์กร (Alignment process)  

 

              โดยมีการจัดส่วนต่างๆของ บริษัท ให้ทุกๆส่วนงานสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างกลมกลืนและมุ่งหน้าไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งในกลุ่ม TATA มีกระบวนการคือ

              -มีการกำหนดนโยบาย และเป้าหมายขององค์กร ว่าจะเป็นบริษัทในนามของประเทศอินเดียที่มีชื่อเสียงในระดับโลก

              -มีการสื่อสารไปยังบุคลากรในองค์กร เพื่อบอกกล่าวถึงทิศทางขององค์กร รวมทั้งการสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนในองค์กรว่าองค์กรจะก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่งคง

               -ร่วมกันทำงานเป็นทีม เพื่อที่จะก้าวไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ นั้นก็คือ การเติบโตของธุรกิจในตลาดโลกและสร้างความยั่งยืนของการเติบโตให้แก่องค์กร

               -คืนกำไรสู่สังคม เพื่อทำให้สังคมเจริญเติบโตไปควบคู่กับองค์กร

 

 

จากการศึกษากรณีศึกษาของกลุ่มบริษัท TATA จะเห็นว่า การจะก้าวไปสู่การแข่งขันระดับโลกไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะต้องฝ่าฟันกับการผันผวนไม่ว่าจะเป็น ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทั้งของระดับองค์กร ระดับประเทศและระดับโลก แต่ถ้าขาดแล้วซึ่งความกล้าหาญก็จะไม่สามารถสร้างความเจริญเติบโตของธุรกิจได้เช่นกัน และอาจไม่สามารถพาองค์กรให้อยู่รอดได้ ดังนั้นในยุคโลกาภิวัตน์นี้จะต้องอาศัยผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่มีความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะในการมองเห็นการเปลี่ยนแปลง มองการเปลี่ยนแปลงให้เป็นโอกาส มีความกล้าตัดสินใจ และที่สำคัญจะต้องรู้จักบริหารทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีชีวิตให้ร่วมทำงานกับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพราะถ้าขาดซึ่งบุคลากรที่มีความสามารถแล้วนั้นองค์กรก็ขาดซึ่งทุนทางด้านปัญญา ในการขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมต่างๆ เป็นต้น ซึ่งถ้าผู้นำสามารถมีความมุ่งมั่นก็จะสร้างโอกาสในการนำธุรกิจไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเหนือสิ่งอื่นใดที่จะขาดไม่ได้ก็คือผู้นำที่ดีจะต้องอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรม รับผิดชอบต่อสังคม ในการก่อให้เกิดการเติบโตแบบยั่งยืนและสามารถยืนอยู่ได้อย่างมั่นคงบนโลกที่ปรวนแปร

 

สมาชิกคือ 

1. ดร.พงษ์ไพโรจนื รัชตะทรัพย์

2. สมทบ แก้วเชื้อ

3. สุพัตรา กาญจโนภาส

 

 

ธนาคม พจนาพิทักษ์

ส่งการบ้าน Short Paper  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

นายธนาคม  พจนาพิทักษ์   ปริญญาเอกนวัตกรรมการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

---------------------------------------------------

ทุนแห่งความสุข( Happiness Capital)

หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ที่ทรงตรัสไว้ว่า ทำความดี  ละเว้นความชั่ว  ทำจิตใจให้ผ่องใส”  เปรียบเสมือนการสอนให้คนเรารู้จักการสร้างทุนความสุข ( Happiness Capital) ให้กับตนเอง ให้รู้จักการดำเนินชีวิตด้วยทางสายกลางไม่หนักไป ไม่เบาไป มีความสมดุล แสดงให้เห็นว่าวิธีการสร้างทุนแห่งความสุขมีมาตั้งนานแล้ว  แต่ทุกคนก็มีทุนแห่งความสุขที่แตกต่างกัน คนที่ประสบความสำเร็จทั้งด้านส่วนตัวและชีวิตการทำงานจะเป็นบุคคลที่รู้จักการนำเอาทุนแห่งความสุขมาใช้  เหมือนกับ Claudian ที่กล่าวไว้ว่า  “Nature  has  given the opportunity  of  Happiness to all ,everybody knows , but the successful  one  know  how to use it”

หลักการทำงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสไว้ว่า ทำงานกับฉันฉันไม่มีอะไรจะให้ ฉันมีแต่ความสุขที่ร่วมกันในการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นเท่านั้นทำอะไรต้องมีความสุขด้วย เพราะศึกครั้งนี้ยาวนาน ถ้าเราทำอย่างไม่มีความสุขจะแพ้แต่ถ้าเรามีความสุขเราจะชนะ...” 

ประโยชน์ 10 ข้อของการมีทุนแห่งความสุข

1.      ช่วยทำให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ง่ายและได้ผลสูงสุด

2.      ทำให้ตัวเองมี Creativity สูงขึ้น อันนี้ผมเห็นด้วย ผมชอบแนวคิดนี้ ถ้าเราไม่มีความสุขเราก็คิดอะไรไม่ออก แถมยังคิดแง่ลบด้วย

3.      ทำให้เราหาทางออกแทนที่จะบ่นว่าปัญหายากจัง

4.      มองโลกในแง่ดี (Optimism)

5.      มีพลัง (Energy) เพิ่มขึ้น

6.      ทำให้กระตุ้น/Motivate and Inspired ได้ง่ายกว่า

7.      ไม่ค่อยจะป่วย..เป็นโน่นเป็นนี่บ่อย ๆ

8.      สามารถเรียนรู้ได้เร็วและสนุก สร้าง Learning Culture ได้ดีกว่าคนที่ไม่มีความสุข

9.      มีความมั่นใจว่าจะกล้าทำอะไรนอกกรอบได้มากขึ้น โดยไม่ต้องกลัวว่าจะมีความผิดพลาด อันนี้จริงเพราะถ้าเรามีความกลัว (Fear) เราก็ไม่สำเร็จ ต้องมั่นใจว่ากล้าทำ

10.  ทำให้ตัดสินใจได้ดีและรอบคอบ อันนี้จริง เพราะถ้าคน IQ สูงแต่เครียดมักจะผิดพลาดเรื่องการตัดสินใจ

ทฤษฎีทุนแห่งความสุข

จุดแข็งของทุนแห่งความสุขคืออะไร

จุดอ่อนของทุนแห่งความสุขคืออะไร

          จากสมการ  CEO + HR  ที่จะเป็นส่วนช่วยส่งเสริมบุคลากรให้ได้พัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาทุนแห่งความสุขอย่างยั่งยืน

       เมื่อได้รับการพัฒนาไปสู่ทุนแห่งความสุขที่ยั่งยืนแล้ว จากนั้นก็จะนำไปสู่ 3 V คือ Value Added, Value Creation ,Value Diversityเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกับ และเกิดการพัฒนาร่วมกัน  สิ่งที่จะตามมาก็คือความสุข

 

          การประยุกต์ใช้สมการ CEO + HR ในวงการศึกษาต้องมีความสอดคล้องกับความเหมาะสมในองค์กรนั้นๆ เพราะว่าองค์กรมีรูปแบบและเป้าประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น องค์กรด้านการศึกษา หาก CEO + HP ไม่สมบูรณ์พบว่ายังไม่มีความสุขเท่าที่ควร  อาจจะทำให้บางส่วนในองค์กรขาดประสิทธิภาพไปได้

           ความสุขในองค์กรจะวัดได้อย่างไร และเมื่อองค์กรมองว่าความสุขเป็นของแต่ละบุคคล  ดังนั้นองค์กรควรมี norm ที่เป็นตัวบ่งชี้ความสุขแบบพอดีๆ หรือเป็นแบบอย่างให้ CEO + HR  รวมถึง Stakeholder ใช้เป็นต้นแบบในการค้นหายว่าความสุขนั้นคืออะไร  เพื่อให้ทุนแห่งความสุข

 

ทฤษฎี HRDS – เป็นแนวทางที่ผมใช้เพื่อสร้าง  Wisdom  และสร้างทุนแห่งความสุข

•  Happiness  แชร์ความสุขให้คนในองค์กร เมื่อเกิดความลำบากก็อดทนร่วมกัน

•   Respect  อย่ามองคนด้วยตำแหน่งหรือ positionในองค์กร ต้องให้เกียรติยกย่องคนให้เสมอภาคกัน  อย่าไปติดระบบราชการมากเกินไป

•  Dignity  มองคนด้วยความเป็นศักดิ์ศรีของมนุษย์

•  Sustainability มองการเก็บเกี่ยวให้สามารถอยู่ในระยะยาวร่วมกันได้  เก็บเกี่ยวตัวเราและผู้ถูกบริหารได้มีประโยชน์ร่วมกัน ให้มี Lifelong learning

คำว่า ทุนมนุษย์” Human Capital ได้ถูกนำมาใช้ในสองความหมาย ตาม อดัมสมิท ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 Gary Becker ได้ศึกษาค้นคว้ากำหนดทฤษฎีทุนมนุษย์โดยมุ่งเน้นการลงทุนไปที่ขีดความสามารถและทักษะในการทำงานของบุคลากรในองค์กร William R.Tracey ได้ให้คำนิยามทุนมนุษย์ไว้ว่า หมายถึงผลตอบแทนที่องค์กรได้รับจากความจงรักภักดี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความพยายามความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของบุคลากรในองค์กรTheodoreW. Schultz นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลได้ให้ไว้ในปี ค.ศ. 1961 (พ.ศ. 2504) ในบทความชื่อ Investment in Human Capital ในวารสาร American Economic โดย Schultz ให้ความหมายคำว่า ทุนมนุษย์ว่าความสามารถหลายๆอย่างที่อยู่ในตัวคนทั้งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (Innate) หรือเกิดจากการสะสมเรียนรู้โดยแต่ละบุคคลที่เกิดมาจะมียีนส์เฉพาะของแต่ละบุคคลซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ความสามารถคุณลักษณะเหล่านี้เป็นคุณลักษณะที่มีคุณค่า ซึ่งคุณค่านี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการลงทุนที่เหมาะสม

Lynda Gratton และ Sumantra Ghoshal ได้ให้ความหมายของ ทุนมนุษย์ว่าหมายถึงส่วนผสมของ 3 สิ่งคือ 

1. ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)

2. ทุนทางสังคม (Social Cpital)

3. ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital)

 

 

 

 

 

 

 

ความแตกต่างระหว่างทุนมนุษย์  (HumanCapital) และทุนทางกายภาพ(Physical Capital)

1.      ทุนทางกายภาพสามารถซื้อขายได้แต่ทุนมนุษย์ไม่สามารถซื้อขายได้

2.      ทุนทางกายภาพสามารถแยกออกจากเจ้าของทุนได้แต่ทุนมนุษย์จะติดกับตัวที่เป็นเจ้าของทุนเสมอไม่สามารถแยกออกจากกันได้

3.      ทุนทางกายภาพสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องสนใจว่าใครเป็นผู้ใช้ทุนนั้นแต่ทุนมนุษย์จะเกิดประโยชน์ก็ต่อเมื่อ  เจ้าของทุนเป็นผู้นำมาใช้ประโยชน์เองเท่านั้น

4.      ทุนทางกายภาพบางครั้งจะมีอายุยืนนานกว่าเจ้าของทุนแต่ทุนมนุษย์จะสูญหายไป  พร้อมกับชีวิตของเจ้าของทุน

5.      ทุนทางกายภาพเช่น เครื่องจักร เครื่องมือ หรือทุนอื่นๆ ทางวัตถุ ถ้ายิ่งนำไปใช้จะยิ่งเสื่อมราคา เสื่อมมูลค่าส่วนทุนมนุษย์นั้นเมื่อนำไปใช้ก็มีแนวโน้มจะเป็นการเพิ่มประสบการณ์และเพิ่มการเรียนรู้ให้แก่มนุษย์เจ้าของทุน

ทุนมนุษย์ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในมุมมองของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หลากหลายแง่มุม

1.  เปลี่ยนจากการมองคนเป็นค่าใช้จ่ายไปสู่การมองคนเป็นสินทรัพย์

2. มองทุนมนุษย์ในลักษณะที่เป็นคุณสมบัติแยกออกต่างหากจากตัวบุคคล

3. เกิดแนวคิดคู่ประสานระหว่างการสร้างความผูกพันและการพัฒนาทุนทางปัญญา

4. ให้ความสำคัญกับคุณสมบัติด้านเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์

5.เน้นคุณค่าของคนและวิธีการที่ใช้ในการบริหารคนมากกว่าหน้าที่เฉพาะบุคคล นิยามคำว่า ทุนมนุษย์ในลักษณะที่เป็นนามธรรมไม่ได้ส่งผลแต่เฉพาะในส่วนแนวคิดของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เท่านั้นยังส่งผลต่อแนวคิดของการบริหารหรือการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วย Andrew Mayo กล่าวว่า Human Resource Management (HRM) และ Human Capital Management (HCM) มีความแตกต่างกันในสองเรื่อง คือ การบริหาร ทุนมนุษย์จะเน้นคุณค่าของคน (Value of People) และสิ่งที่คนสร้างมากกว่าสนใจตัวกระบวนการหรือหน้าที่ด้านบุคคล (HR Function) และ การบริหาร ทุนมนุษย์จะให้ความสำคัญกับการประเมินวิธีการที่ใช้ในการบริหารคนและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

6. เกิดแนวคิดการวัดค่าสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เนื่องจาก ทุนมนุษย์เป็นทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน
และการบริหาร ทุนมนุษย์จะเน้นที่คุณค่าของคน ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือแล้วจะวัดค่าของ ทุนมนุษย์ได้อย่างไร ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามแนวความคิดแบบเก่าจะใช้จำนวนบุคลากรและจำนวนผู้ที่เข้ารับการอบรม หรือ อัตราการเข้าออกจากงาน (TurnOver) หรือประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นจากการทำงานเป็นตัวชี้วัดคุณค่าของบุคคลแต่ตัวชี้วัดดังกล่าว ไม่สามารถนำมาใช้ได้กับการวัดค่าของ ทุนมนุษย์จากวลียอดฮิตในวงการ BalanceScorecard ของ David P. Norton ที่ว่า หากคุณไม่สามารถวัดมันได้ คุณก็จะไม่สามารถจัดการกับมันได้”  (Robert S. Kaplan, David P. Norton, JaniceKoch and Cassandra A. Frangos, สะท้อนให้เห็นความสำคัญของการต้องรู้จักสิ่งที่เราจะเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการในลักษณะเดียวกับสุภาษิตจีนที่ว่า  รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง”  ที่ผ่านมาวงการธุรกิจทั้งหลายได้ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Balance Scorecard ด้วยการจัดทำแผนที่กลยุทธ์ (strategymap) และนำมาใช้ในการวัดกลยุทธ์ขององค์กรซึ่งก็ได้รับการยอมรับกันทั่วไปในฐานะการเป็นตัวแบบการจัดการในสามด้าน คือด้านการเงิน  ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน

 7. ทำให้การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องของทุกฝ่ายในองค์กร8.  กลยุทธการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุนมนุษย์เป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้แต่พัฒนาได้โดยมีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับกลยุทธ์ขององค์กรและเป็นเรื่องของทุกฝ่ายไม่เฉพาะกับฝ่ายทรัพยากรบุคคล

นอกจากนี้ ปรัชญาการศึกษาของจอน ดิวอี้ ที่กล่าวถึงแนวทางการศึกษาจะเกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติจริงซึ่งการปฏิบัติจริงก็ได้สร้างนักวิทยาศาสตร์ตลอดจนคนที่ประสบความสำเร็จมากมายซึ่งคนที่จะสบความสำเร็จจะต้องนำหลักการเพิ่มมูลค่าหรือ(3V) มาใช้ในกระบวนการทำงาน

V ตัวแรก คือ Value Added แปลว่า มีศักยภาพตัวเอง ใฝ่รู้ คุณค่า ตั้งใจทำให้เกิดผลงานที่ดีมีมูลค่าต่างจากเดิม มูลค่าเพิ่ม (Value Added) สร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า ทำให้ขายได้ราคาสูงขึ้น คุ้มค่ากับทรัพยากรที่ได้ใช้ไป ถือได้ว่าเป็นงานที่มีมูลค่าเพิ่ม ในทางกลับกันหากงานเป็นงานที่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูญเปล่า ไม่มีคุณค่ามีแต่การเพิ่มต้นทุน ถือได้ว่าเป็นงานที่ไม่มีมูลค่าเพิ่ม คน มีทุนมนุษย์เท่ากันแต่ถ้ามีคุณสมบัติเหล่านั้นทำให้เพิ่มทุนของความเป็นมนุษย์ให้สูงขึ้น ประกอบอาชีพเลี้ยงชีพได้ มีงานที่ดีได้ ร่ำรวยได้ มีเกียรติ เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ

V ตัวที่ 2 คือ Value Creation มาจากการการเป็นคนที่ช่างคิด สร้างขึ้นใหม่ ไอเดียใหม่ๆ ไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆก็คือ Value  V  ตัวที่ 2 จะทำงานดี คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ยิ่งถ้าขยายไปเป็นการทำงานเป็นทีม องค์กรจะเจริญล้ำหน้า กว่าใคร การสร้าง Network ระหว่างคนในองค์กรสำคัญ ผู้บริหารที่เก่งต้อง บริหาร “ทุนมนุษย์” จะเน้นคุณค่าของคน (Value of People) และสิ่งที่คนสร้าง มากกว่าสนใจตัวกระบวนการหรือหน้าที่ด้านบุคคล (HR Function) สนใจความพอใจของลูกค้า

V ตัวที่ 3 คือ Value Diversity 

ธนาคม พจนาพิทักษ์

***การบ้าน Short Paper ต่อจากข้างบนครับ******

V ตัวที่ 3 คือ Value Diversity  เป็นการบริหารความหลากหลาย ด้านทรัพยากรบุคคลหมายถึง การที่องค์กรเห็นคุณค่าของความแตกต่างและมีแนวทางในการดึงจุดแข็งจากลักษณะเฉพาะของผู้ปฏิบัติงานหรือกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ออกมาใช้เพื่อให้องค์กรบรรลุ เป้าหมาย  การสร้างความยืดหยุ่นในการบริหารงานโดยคำนึงถึงความสามารถเป็นหลักมอบหมายงานตรงกับความสามารถ ความชอบความสนใจ

ทฤษฎีทุน 8 ประการ (8 K’s) เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นการพูดถึงเรื่องทุนมนุษย์ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว ทรัพยากรมนุษย์ควรจะมีทุนดังต่อไปนี้

1.   Human Capital ทุนมนุษย์ คือ ทุนเริ่มต้นของคนแต่ละคนที่เกิดมามีร่างกาย รูปร่างหน้าตา สติปัญญาที่แตกต่างกัน

2.    Intellectual Capital ทุนทางปัญญา คือ ทุนที่เกิดจากการศึกษาเรียนรู้ที่ทำให้คนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และสามารถนำความรู้ที่มีไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้

3.    Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม คือ ทุนภายในส่วนลึกหรือสามัญสำนึกของจิตใจคน ซึ่งจะส่งผลต่อทุนทางปัญญาที่จะคิดวิเคราะห์ด้วยความดี มีศีลธรรม มุ่งประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

4.    Happiness Capital ทุนแห่งความสุข คือ ทุนที่อยู่ภายในจิตใจของคน ในการลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากแรงบันดาลใจ ที่จะส่งผลให้เกิดความสุขความอิ่มเอมใจในการกระทำสิ่งเหล่านั้น เป็นแรงผลักดันให้การทำงานมีเป้าหมายที่ชัดเจน

5.    Social Capital ทุนทางสังคม คือ ทุนที่ได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว หรือสังคมภายนอกในการหล่อหลอมตัวตนของแต่ละบุคคลให้เป็นไปในทางดีหรือทางเสื่อมขึ้นอยู่กับทุนทางจริยธรรมของแต่ละบุคคลที่จะมุ่งสร้างคุณงามความดี หรือจะกระทำความเดือดร้อนให้แก่คนรอบข้างและสังคม

6.    Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน คือ ทุนที่เกิดจากการกระทำของคนที่มุ่งหวังผลในระยะยาวโดยเริ่มต้นจากการกระทำความดีต่างๆ อยู่ตลอดเวลา

7.    Digital Capital ทุนทางไอที คือ ทุนความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถนำเครื่องมือเครื่องใช้ด้านไอทีต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และสังคมโดยรวมได้

8.    Talented Capital ทุนทางความสามารถพิเศษ คือ ทุนที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์ทักษะความรู้ บ่มเพาะจนเป็นผู้เชี่ยวชาญมีความชำนาญในด้านต่างๆ ตามแต่ความถนัดและทัศนคติของแต่ละบุคคล

ทฤษฏีทุนใหม่ ๕ ประการ (5K’s)เป็นทุนที่สำคัญสำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ ประกอบด้วย

1.    Knowledge Capital ทุนทางความรู้ คือ ทุนในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เจาะลึกความรู้ทั่วไปภายใต้มิติเดียว ไปสู่การรอบรู้อย่างลึกซึ้งในหลากหลายมิติ

2.    Creativity Capital ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ คือ ทุนในการคิดดัดแปลง คิดประยุกต์ใช้ คิดขึ้นใหม่ และคิดพัฒนาโดยมุ่งให้เกิดความเจริญในทางบวก

3.    Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม คือ ทุนในการพัฒนาต่อยอดจากของเดิมไปสู่สิ่งใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้น

4.    Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม คือ ทุนในการเรียนรู้ ค่านิยม แนวคิดหรือความเชื่อของคนที่เราติดต่อสัมพันธ์ด้วยเพื่อให้เข้าใจและเข้าถึงความคิดของบุคคลนั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง

5.    Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ คือ การบริหารจัดการ EQ ซึ่งจะส่งผลถึงทุนในด้านต่างๆ ให้พัฒนาไปอย่างยั่งยืน

                 ดังนั้น ถ้าจะถามว่าผมชอบทุนไหนมากที่สุด ทุนที่ผมชอบ คือ Happiness Capital ทุนแห่งความสุข หมายถึง ทุนที่อยู่ภายในจิตใจของคน ในการลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากแรงบันดาลใจ ที่จะส่งผลให้เกิดความสุขความอิ่มเอมใจในการกระทำสิ่งเหล่านั้น เป็นแรงผลักดันให้การทำงานมีเป้าหมายที่ชัดเจน

                 การสร้างทุนแห่งความสุข ( Happiness Capital) จำเป็นต้องสร้างให้เกิดทั้งตนเองและที่ทำงาน ชีวิตที่บ้านกับที่ทำงานต้องสมดุลกัน หรือที่เรียกว่า work life balance ซึ่งตรงตามทฤษฎีจักยาน ( BicycleTheory ) กล่าวคือ ต้องสมดุลระหว่างล้อหน้าและล้อหลัง รถจักยานจึงจะวิ่งได้ ถ้าล้อเสียหรือพังข้างใดข้างหนึ่งแล้ว รถก็จะวิ่งไม่ได้ ดังนั้นความสุขต้องเกิดทั้งที่บ้านและที่ทำงาน

 

 .........................................................................................................................................

งานที่5    ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนวิชานี้ ตัวเง องค์กร ประเทศ โลก การพัฒนาจากการเรียนไปสู่หัวข้องานวิจัย

จากการบ้านข้อนี้ขออธิบายโดยยกตัวอย่างสตีปจ๊อบ ผู้ที่เปลี่ยนโลก ด้วยนวัตกรรมของเค้าที่เค้าคิดขึ้นมาจากพื้นฐานที่คิดนอกกรอบแบบเดิม เลิกเดินตามผู้อื่นอย่างIBM

สตีปจ๊อบ สร้างทุนมนุษย์ของตัวเองขึ้นมาจากการเรียนรู้ศาสตร์หลายๆศาสตร์ด้วยตัวเอง เป็นการสร้างศักยภาพให้ตัวเองในเชิงKMที่กว้างในขณะเดียวกันเค้ามีความบ้าคลั่งในการสร้างนวัตกรรมใหม่ตลอด และพยายามหาสิ่งที่คนต้องการมากกว่าแค่การขายสิ่งๆนึงให้ได้มาซึ่งกำไรทางธุรกิจเพียงอย่าง แต่สิ่งที่เค้าทำนั่นคือการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของโลกแห่งนวัตกรรม นั่นมาจากแรงบันดาลในก่อให้เกิดการสร้างทุนให้แก่ตัวเองจากKMหลายๆศาสตร์สู่การนำไปประยุกต์ใช้

องค์กร:สตีปจ๊อบ พยายมจะทำให้องค์มีความยั่งยืนจากทุนของเค้า โดยการเปลี่ยนโลกอุตสหกรรมแบบเดิม ที่มานั่งแก้ไขปัญหาของคอมพิวเตอร์ไปวันๆ สตีปจ๊อบพยามที่จะให่อง๕กรมีความตื่นตัวและสร้างสิ่งใหม่ๆขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา เพื่อการเป็นผู้นำในโลกธุรกิจที่ยั่งยืน

ประเทศ: เห็นได้ชัดว่า ผลจากการทำงานของสตีปจ๊อบ ทำให้ตลาดหลักทรัพย์มีการผันแปรได้ และเป็นประเทศผู้นำในด้านนวัตกรรม โดยทันใด

หัวข้อวิจัย:ทุนมนุษย์เป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถคำนึงหาKMของตัวเองที่มีอยู่และผนวกกับทุนมนุษย์ที่เรามีอยู่หรือชำนาญการนั่น หากยังคงขาดสิ่งใดในทุนที่จำเป็นต้องใช้ในการทำวิจัย เราสามารถค้นพบได้เร็วและแสวงหาทุนหรือศาสตร์นั่นได้ทันที และทุนมนุษน์ทำให้สามารถมองเห็นการทำงานที่ประความสำเร็จจริงๆไม่ใช่แค่ศาสตร์1ศาตร์เท่านั่น แต่มันมาจากการร่วม ผสานกันระหว่างการข้ามศาสตร์ที่ได้มาซึ่งสิ่งที่สมดุลของงานวิจัย

 

 

6.สิ่งที่ได้จากการเรียนร่วม3มหาวิยาลัย

 

จากการเรียนร่วมกันในครั้งนี้ ได้พบกับบรรยากาศที่เปลี่ยนไปของการเรียนเนื่องจากทั้ง3สถาบันมีความแต่กต่างทางลักษณะของวัฒนธรรมของการเรียนรู้อย่างเห็นได้ชัด แต่ทำให้ได้พบวัฒนธรรมการเรียนอีกมุมนึงของอีกทั้ง2สถาบันที่สามารถนำมาเสริมใช้ในการเรียนและหลักกการในการศึกษาหาข้อมูลก่อนทำวิจัย ร่วมถึงการเรียนรู้วัฒนธรรรมและแนวคิดที่แตกต่างอกไปจากทุกท่านค่ะ นอกจากนี้ยังได้รับแนวคิดของการใช้3Vของแต่ละคนที่มีความแตกต่างกันไป ได้รับความรู้ใหม่ๆจากประสบการณ์ที่แตกต่างกันออกไป

7.สิ่งที่ได้จากการเรียนเรื่องLeadership จาก Mr.Peter 

1.    สิ่งที่ได้จากการเรียนจาก Mr.Peter จำนวน เรื่อง คือ

-         Leadership styles

ลักษณะของผู้นำที่ประสบความสำเร็จนั่น สิ่งที่ผู้นำคำนึงมากที่สุดคือ ผลลัพย์ที่ได้มาซึ่งคุณภาพในการพัฒนาองค์กร การศึกษาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทุกคนต้องมีการพัฒนาศักยภาพอยู่ตลอดเวลาเพื่อตัวเอง องค์กร

-         Positive&Changs

การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรคือสิ่งที่อาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้อย่าง แต่หากเปลี่ยนแปลงมันได้โดยการทำให้ทุกคนเข้าใจและยอมรับในการเปลี่ยนแปลง ให้ทุกคนมองเห็นถึงความเชื่อมั่นในสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลง องค์กรก็จะสร้างสิ่งใหม่ๆได้ไม่ยาก เช่น เว็บไซต์ที่มีแค่ สารบัญภาพ ที่มีภาพนักศึกษาทำกิจกรรมในหลาย ๆ โรงเรียน กลายเป็นFacebook จากแรงบันดาลใจที่ว่า "สิ่งที่ผมใส่ใจมากเกี่ยวกับภารกิจนี้ ก็คือทำให้โลกเปิดกว้างขึ้น" 

-         จากFARAX profiles

จากตารางนี้ทำให้เราพบว่า การเป็นผู้นำ หากสามารถมีทั้ง relation,structure and change 3สิ่งนี้ ผู้นำสามารถใช้ความสัมพันธ์เหล่านี้ในการสร้างการเปลี่ยนขององค์ได้ตามวิสัยทัศฯที่ต้องการให้เกิด เช่น

มาร์ก เอลเลียต ซักเคอร์เบิร์ก ผู้สร้างFacebook เค้าคือคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ในตัวแต่เด็ก และเค้าใช้โครงสร้างของชุมชนในโรงเรียนสร้างความสัมพันธ์ให้ทุกคนในโรงเรียน เกิดความสัมพันธ์กัน จากเว็บไซร์ที่เค้าเขียนขึ้นมาและขยายออกไปจนในปัจจุบัน จากเว็บไซร์ชุมชนของโรงเรียนกลายเป็น องค์กรขนาดใหญ่ระดับโลกที่สร้างความสัมพันธ์ของทุกสิ่งในโลกเข้าด้วยกันได้

 

2.    ผู้นำลักษณะใดสำคัญสุด สำหรับการสร้างและวัฒนธรรมองค์กรแบบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

ยกตัวอย่างมาร์ก เอลเลียต ซักเคอร์เบิร์ก ผู้สร้างFacebook จากความคิดเริ่มต้นแค่ต้องการสร้างชุมชนออนไลน์ จากเว็บไซต์ที่มีแค่ สารบัญภาพ ที่มีภาพนักศึกษาทำกิจกรรมในหลาย ๆ โรงเรียน โดยนักศึกษาสามารถเข้ามาให้ข้อมูล อย่างเช่น ชั้นปีที่ศึกษา เพื่อนใกล้ชิด หมายเลขโทรศัพท์ และสู่แรงบันดาลใจที่ว่า "สิ่งที่ผมใส่ใจมากเกี่ยวกับภารกิจนี้ ก็คือทำให้โลกเปิดกว้างขึ้น" เค้าได้สร้างวัฒนธรรมขึ้นจากนวัตกรรมของเค้าจากภายในองค์กรที่แค่ระดับมหาลัยขายไปสู่มหาลัยอื่นๆ และกลายมาเป็นโวเซียลเน็ตเวิกที่มีอิทธิพลมากในขณะนี้

 

3.    ยกตัวอย่างผู้นำ ไทย หรือ สากล ที่มีความเข้มแข็งเรื่อง relation,structure and change

ขอยกตัวอย่างท่านอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หลังจากที่ท่านได้รับตำแหน่งอธิการบดี ท่านได้ใช้ความสัมพันธ์ในการทำงานของมหาวิทยาลัยสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดผลงานสร้างความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยให้เดินไปสู่นโยบายที่ตั้งไว้ โดยการวางโครงสร้างที่สอดแทรกการทำงานเน้นและกระตุ้นการทำงานวิจัยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้งพัฒนาศักภาพ(ทุน)ของทุกคนไปพร้อมๆกัน โดยใช้โครงสร้างทางวัฒนธรรมขององค์กรเป็นตัวบังคับโดยลดแรงต้านได้จากโครงสร้างที่ชัดเจนนี้ให้เข้าไปมีบทบาทกับทุกคน ในขณะเดียวกันนี้คือการเปลี่ยนแปลงทิศทางของมหาวิทยาลัยที่ทำให้มีศักยภาพมากขึ้นในทุกๆด้านจากการแทรกโครงการของการเปลี่ยนแปลงลงไปในวัฒนธรรมขององค์กร ทั้งหมดคือการพัฒนาศักยภาพจากบุคคล->หน่วยงาน->องค์กรย่อย(คณะ/หน่วยงาน)->มหาวิทยาลัย ->AEC

 

นายสกาว ภู่ไชยเจริญ

อาจารย์จริญา  

 

ลดาพร  พิทักษ์

ธนาคม พจนาพิทักษ์

CEO Smart HR  และ  Non  HR

HRDS  การจัดการทรัพยากรมนุษย์ หรือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ การใช้กลยุทธ์เชิงรุกที่มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดในองค์กร นั่นคือบุคคลที่ทำงานทั้งกรณีที่ทำงานรวมกันและกรณีที่ทำงานคนเดียวเพื่อบรรลุเป้าหมายHRDS  เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาและบริหารจัดการในการขับเคลื่อนทุนมนุษย์เพื่อนำเอาทุนที่มีอยู่ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นเลิศ ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร  โดยมุ่งหวังให้เกิดสภาพในการทำงานภายในองค์กร ดังนี้
  1  Happiness  ทำให้บุคลากรทุกคนในองค์กร ทั้ง CEO HR  และ Non  HR  มีความสุขในการทำงาน
  2  Respect  การยอมรับ  การเคารพผู้อื่น มองคนอย่างเท่าเทียม  มีประชาธิปไตย  และมีความเสมอภาค
  3  Dignity  การบริหารอย่างมีศักดิ์ศรี  มีความสง่างาม  มีความภูมิฐาน
  4  Sustainability  ทำให้เกิดผลอย่างยั่งยืน  เป็นวัฒนธรรม  ในระยะยาว
               ความแตกต่างระหว่าง  ทฤษฏีแรงจูงใจของ Herzberg (Herzberg's Motivation-Hygiene Theory)  กับ  HRDS  คือ ทฤษฏีแรงจูงใจของ Herzberg  จะเป็นปัจจัยจูงใจที่องค์กรจัดให้กับบุคลากรในสังกัด ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยค้ำจุน (maintenance factors หรือ hygiene factors)  และปัจจัยแรงจูงใจ  (motivation factor)  โดยผู้บริหารองค์กรจำเป็นต้องเสริมสร้างให้มีปัจจัยจูงใจอย่างเหมาะสมเพียงพอ รวมทั้งต้องจัดให้มีปัจจัยค้ำจุนขึ้นเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความรู้สึกพึงพอใจในงานอันจะเป็นส่วนช่วยส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานอย่างเต็มความสามารถ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด แต่ HRDS  เป็นกระบวนการการบริหารและพัฒนาบุคลากรในองค์กร ให้ไปสู่จุดหมายที่ต้องการตามเป้าหมายที่กำหนด โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น การฝึกอบรม  การประชุม สัมมนา ศึกษาดูงาน การให้ความรู้ในด้านต่างๆ  เป็นต้น 

เพื่อนำสู่เป้าหมายปลายทาง คือ  Happiness  ทำให้บุคลากรทุกคนในองค์กร ทั้ง CEO HR  และ Non  HR  มีความสุขในการทำงาน   Respect  การยอมรับ  การเคารพผู้อื่น มองคนอย่างเท่าเทียม  มีประชาธิปไตย  และมีความเสมอภาค Dignity มีการบริหารอย่างมีศักดิ์ศรี  มีความสง่างาม  มีความภูมิฐาน  และ  Sustainability  ทำให้เกิดผลอย่างยั่งยืน  เป็นวัฒนธรรม  ในระยะยาว

 

 

 

นายสกาว ภู่ไชยเจริญ

CEO, HR และ Non HR

ตามมุมมองของคุณไกรสิทธ์ อนุกูลอุทัยวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บริษัท IRPC
มองทุนมนุษย์ตรงกันกับแนวคิดด้านทุนมนุษย์ของ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
โดยมีแนวคิดว่าคนในองค์กรไม่ใช่ค่าใช้จ่ายอย่างในอดีตที่เคยมอง แต่มองว่าคนในองค์กรเป็นทรัพย์สินที่สามารถทำประโยชน์ให้องค์กรได้

โดยการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นไม่ใช่หน้าที่ของ HR เพียงอย่างเดียว แต่เป็นหน้าที่ของทุกๆฝ่ายที่จะต้องทำงานร่วมกัน
คือผู้นำองค์กร หัวหน้าฝ่ายต่างๆ รวมถึง HR และ Non HR
โดยจะมีบทบาทหน้าที่ ที่แยกกันปฏิบัติชัดเจน จะไม่ซ้อนทับกัน

CEO ที่ถือว่าเป็นบทบาทที่สำคัญมาก มีหน้าที่บริหารคนและคอยปรับมุมมองด้านทุนมนุษย์
Non HR มีหน้าที่พัฒนาความสามารถของตนเองอย่างสม่ำเสมอ
ส่วน HR มีหน้าที่ในการสร้างคน

แนวคิดนี้ สามารถนำไปใช้ได้กับทุกองค์กร ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

นายสกาว ภู่ไชยเจริญ

สิ่งที่ได้เรียนกับ Mr.Saravat เรื่อง Leadership and Innovation

นวัตกรรมของกลุ่มบริษัททาทา

1.สิ่งแวดล้อมทางธุรกิจและความท้าทายของกลุ่มบริษัททาทา
กลุ่มบริษัททาทาเป็นบริษัทระดับโลก มีการลงทุนธุรกิจในหลายๆด้านและติดอันดับท็อปของโลก
ในแนวทางการทำธุรกิจของกลุ่มบริษัททาทา ทาทาเปิดให้หลายๆฝ่ายได้มีส่วนร่วมกับบริษัททั้งในองค์กรเองและจากสังคม
เช่น การนำเงินไปบริจาคให้สังคมทำให้บริษัททาทาเป็นบริษัทที่มีภาพพจน์ที่ดี

2.ลักษณะของผู้นำของกลุ่มบริษัททาทา
ผู้นำของกลุ่มทาทามีลักษณะของการตัดสินใจที่รวดเร็ว
เมื่อเกิดปัญหาหรือเกิดวิกฤตต่างๆ ผู้นำจะมีการตัดสินใจดำเนินการในทันที ภายใน 1-2 วัน
และยังเปิดรับฟังความคิดเห็น จากทุกคนในองค์กร

3.แรงขับเคลื่อนและแรงต้านของกลุ่มบริษัททาทา
แรงขับเคลื่อนของบริษัทคือ การที่ทุกคนในองค์กรมีการทำงานเป็นทีม
แรงต้านของบริษัทคือ ความเสี่ยงของกลุ่มบริษัททาทาที่ทำการเปิดตลาดในประเทศอื่นๆ เพราะต้องมีการแข่งขันอย่างสูงกับรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่นและจากยุโรป

4.ความสำเร็จและความล้มเหลวของกลุ่มบริษัททาทา
ความล้มเหลวของกลุ่มบริษัททาทาที่เกิดขึ้นคือการที่องค์กรมีการทำงานแบบครอบครัว โดยมีการสืบทอดธุรกิจจากพ่อสู่ลูก
ความสำเร็จของกลุ่มบริษัททาทาคือการเป็นผู้นำในด้านนวัตกรรมและนำมาใช้ในองค์กรจนประสบความสำเร็จ
และมีความกล้าหาญในการเปิดตลาดเข้ามาในเอเชีย

5.กระบวนการทำงานในองค์กรของกลุ่มบริษัททาทา
กลุ่มบริษัททาทา มีวิศัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ทางธุรกิจที่ชัดเจนและมีความทันสมัย
มีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน
มีโครงสร้างขององค์กรที่เข้มแข็ง
มีวัฒนธรรมขององค์กรที่ดี
มีการทำงานเพื่อประโยชน์ต่อสังคม

สมาชิกในกลุ่ม
1.ธนาคม พจนาพิทักษ์
2.จิรญา โพธิเวชเทวัญ
3.สกาว ภู่ไชยเจริญ

นายสกาว ภู่ไชยเจริญ

การเรียนรู้ร่วมกัน 3 สถาบัน ในหัวข้อทุนแห่งความสุข

สิ่งที่ได้รับในวันนี้คือการได้รู้จักเพื่อนๆ พี่ๆ และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องของทุนแห่งความสุขผ่านการทำ Workshop

สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนคือ
ได้รู้ว่าความสุขเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยหลายๆคนให้นิยามของคำว่าความสุขแตกต่างกันไป และมีแนวทางที่จะทำให้เกิดความสุขมากมายหลากหลาย
แต่เมื่อลองศึกษาดูจึงได้เห็นว่า ทุกแนวคิด จะเหมือนกันอยู่สิ่งหนึ่งคือ เราต้องทำสิ่งที่เราชอบ และเราต้องชอบสิ่งที่เราทำจริงๆ
เมื่อเราชอบสิ่งที่เราทำ จึงจะเกิด happiness capital ขึ้นมาได้ ซึ่งเป็น สิ่งแรก ก่อนจะนำไปสู่ happy workplace และ happy at work และยังเป็นจุดเรื่มต้นนำไปสู่ทุนด้านอื่นๆอีกมาก เช่น creativity capital และอาจจะไปถึง innovation capital เพราะเมื่อเรามีความสุข ไม่เครียด ความคิดสร้างสรรค์ก็จะเกิดอย่างเต็มที่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท