นักศึกษาปริญญาโท
Mr. นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรและการสอน

ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็น


สัมมนาเพื่อการศึกษาไทยยุค IT

กลุ่มนักศึกษาปริญญาโท สาขา หลักสูตร และการสอน ได้จัดสัมมนา
ในหัวข้อเรื่อง การศึกษาไทยยุค IT  ว่ามีความเหมาะสมกับการศึกษาของไทยในยุคปัจจุบันหรือไม่ท่านสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นได้
ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

หมายเลขบันทึก: 53900เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2006 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 22:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
การจัดการเรียนการสอน  E-learning  เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนรู้ในโลกยุคปัจจุบัน ที่ครูผู้สอนควรได้ศึกษาไว้ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีความจำเป็นมากนักด้วยเหตุผลหลาย ๆ ประการแต่ในอนาคตอาจจะมีความสำคัญและจำเป็นมาก  การศึกษาไว้ก่อนจะทำให้ครูเป็นคนที่ "ไม่ตกยุค "  ซึ่งถ้าเราไม่สนใจว่าจะเป็นคน "ร่วมสมัย" หรือไม่ก็ตามไม่เป็นไร   แต่นักเรียนของเราไม่ควรที่จะเป็นคน "ตกยุค" เหมือนกับเรา เขาควรที่จะได้รับการจัดการศึกษาในทุกรูปแบบ  เพื่อนำไปใช้ในอนาคตข้างหน้าของเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยที่ครูเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนั้น

ในประเทศไทยที่พัฒนาแล้ว  E-learning  แพร่ขยายเข้าไปถึงการศึกษาในระบบ  การะฒนาบุคลากรในองค์การธุรกิจ  รวมถึงการเรียนรู้ส่วนบุคคล แต่สำหรับประเทศไทย การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์นับว่าเป็นเรื่องใหม่มาก และยังไม่มีการนำไปใช้มากนัก ในภาวะที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากแรงขับเคลื่อนจากกระแสโลกาภิวัตน์ การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นต้องเร่งเตรียมความพร้อมของประชาชนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต  เนื่องด้วยเหตุผลที่จะกล่าวต่อไปนี้
          การขยายโอกาสทางการศึกษา  การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะสามารถตอบสนองได้มากกว่าการจัดการศึกษาในห้องเรียน การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้โอกาสในการศึกษาของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลทำให้ประชาชนมีความรู้และทักษะที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศการศึกษาที่ต้องใช้ความรู้และเทคโนโลยีในอนาคต

 

จาก IT มาเป็น .... ICTชัยพจน  รักงาม *          ICT – Information Communication Technology   เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สำหรับติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเพื่อการศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ห่างไกล โดยอาศัยอุปกรณ์สื่อสารด้านโทรคมนาคม   และผมมั่นใจว่า ต่อไปการศึกษาของเราตามแนวหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานก็คงจะใช้สื่อการเรียนรู้ ICT มากขึ้น ในอันที่จะให้ผู้เรียนใช้เป็นสื่อเชื่อมโยงระหว่างรายวิชา-กลุ่มวิชาการต่าง ๆ  ที่ต้องถูกบังคับให้เรียนในโรงเรียน (โดยเฉพาะระดับช่วงชั้นมัธยมศึกษา) กับการบูรณาการผสมผสานความรู้ (Integrated Curriculum – IC) ที่ผู้เรียนอยากรู้ด้วยตนเอง แต่ไม่ได้สอนในโรงเรียนจึงจะมีลักษณะเป็น 3 มิติ         จากการจัดที่เน้นสาระของรายวิชา (Subjected-based) ดังตัวอย่าง ในที่นี้มี 9 รายวิชากับการพยายามบูรณาการ 8 กลุ่ม โดยใช้ ICT เป็นสื่อการเรียนรู้ มองเป็นไตรลักษณ์ (three dimension) จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้รอบด้าน     ในระยะแรก เราคุ้นเคยกับคำว่า IT มามากแล้ว คือ การมีข้อสารสนเทศ (Information) และมีเทคโนโลยี (Technology) ในที่นี้คือ คอมพิวเตอร์ที่มาแรงมากในช่วงประมาณ 2 ทศวรรษที่ผ่าน ในระยะหลัง ICT จะมีบทบาทมากกว่าคือ ได้ใช้ระบบเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารที่นอกจากจะรวมอุปกรณ์ 2 สิ่งมาใช้ คือ คอมพิวเตอร์ (Technology)   ที่ช่วยทำให้การประมวลผลข้อมูล (data) มีความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ เป็น สารสนเทศ (Information)  ที่มีความหมายในการบริหารจัดการ แล้วยังใช้อุปกรณ์ทางการสื่อสาร (Communication) ช่วยทำให้โยงใยไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกล (Remote-Area) ออกไปได้ด้วยการใช้สายโทรศัพท์หรือดาวเทียม ทำให้การรับส่งและแลกเปลี่ยนเอกสารทางอิเล็คทรอนิกส์ (electronic) ข้อมูล ข่าวสาร สามารถติดต่อกันได้อย่างง่ายดาย โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปเอง เช่น ถ้าเราอยากทำธุรกรรมติดต่อกับธนาคาร เราไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่ธนาคารเอง เพียงนั่งหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่โต๊ะทำงาน หรือในห้องนอน   หรือเช่าจากร้านเน็ตคาเฟ่ที่มุมใดมุมหนึ่งในโลก แล้วติดต่อผ่าน  internet บางทีเราจะเรียกจุดที่เรานั่งติดต่อว่าเป็นธนาคารเสมือน (Virtual Bank) เพราะไปที่ธนาคารจริงเราก็ต้องดำเนินการกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นั่นด้วยวิธีเดียวกัน                            ในทำนองนี้โลกเราก็จะมีสิ่งประดิษฐ์มีสถานที่ทั้งที่เป็นของจริงและของที่เสมือนจริง (Virtual) เช่น มีโรงงานเสมือน (Virtual Factory)   บริษัทเสมือน (Virtual Corporation) ซึ่งทั้งบริษัททั้งโรงงานจะไม่มีตึกหรือสำนักงานสำหรับพนักงาน แต่พนักงานจะกระจัดกระจายตามจุดต่าง ๆ ในโลก ติดต่อสื่อสารกันโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารต่าง ๆ   จะมีการพบกันจริง ๆ น้อยมาก ไม่แน่นะ ในอนาคตพวกเราซึ่งเป็นข้าราชการอาจนั่งทำงานที่บ้าน แล้วส่งข้อมูลติดต่อไปที่ทำงาน ประชุมก็นั่งหน้าจอรับข้อมูล ส่งข้อมุลผ่านจอคอมพิวเตอร์ (Tele-Conferrence) ประหยัดไปได้เยอะ          ที่กล่าวมาทั้งหมดคือส่วนหนึ่งของโลกยุค ICT และประโยชน์จากการนำระบบ ICT มาประยุกต์ใช้ พอสรุปได้ดังนี้      1.   ความสะดวกรวดเร็วในระหว่างการดำเนินงาน      2.   ลดปริมาณผู้ดำเนินงานและประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงได้อีกทางหนึ่ง       3.   ระบบการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีระเบียบมากขึ้นกว่าเดิม      4.   ลดข้อผิดพลาดของเอกสารในระหว่างการดำเนินการได้      5.   สร้างความโปร่งใสให้กับหน่วยงานหรือองค์กรได้     6.   ลดปริมาณเอกสารในระหว่างการดำเนินงานได้มาก (กระดาษ)     7.   ลดขั้นตอนในระหว่างการดำเนินการได้มาก     8.   ประหยัดเนื้อที่จัดเก็บเอกสาร (กระดาษ)     อย่างไรก็ดี ในความคิดที่จะนำนวัตกรรม ICT มาประยุกต์ใช้นั้น อยากเปรียบเทียบให้เห็นถึงจุดดีและจุดด้อยพอสังเขป ดังนี้    การวิเคราะห์ ข้อดี ข้อด้อย ของ ICT 
ข้อดี ข้อด้อย
การศึกษา                แหล่งข้อมูลเพื่อการศึกษาไม่ได้ขีดวงจำกัดอยู่ในโรงเรียนเท่านั้น และไม่ได้จำกัดเวลาเรียนข่วง School time                เป็นการสื่อสารทางเดียว ในตอนที่กำลังศึกษาหากมีปัญหาต้องการรู้ตอนนั้น ทำไม่ได้ทันที อาจฝากคำถามไว้ก่อนได้ และบางเรื่องก็เสี่ยงต่อศีลธรรม วัฒนธรรม ดังนั้น วุฒิภาวะของผู้เรียนจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องรู้จักพิจารณาเลือกเรียนอย่างเหมาะสม         
ผู้เยี่ยมชมผ่านมา
ผ่านมาพบ บล็อก ขอร่วมแสดงความคิดเห็นจากบทความ  แผนหลักการใช้ ICT เพื่อพัฒนาการศึกษา
ลองเปิดอ่านดูน้ะครับ
ร่วมเสนอบทความที่เกี่ยวข้อง
เรื่อง ยุทธศาสตรการพัฒนา ICT

ความเห็นส่วนตัวของอาจารย์วิเกี่ยวกับ ICT
      ICT ย่อมาจาก Information and Communication Technology  เป็นการใช้เทคโนโลยี เข้ามามีส่วนในกิจการทั้งหลาย ไม่ใช่เฉพาะการจัดการเรียนการสอน  เดิมผู้เขียนคิดว่าเราอยู่คนละยุคกับ ICT คิดว่าเราแก่เกินกว่าที่จะเข้าใจ ICT ปล่อยให้คนรุ่นใหม่เขาเรียนรู้ไปเถอะ  แต่ต่อมา ICT เริ่มเข้ามาใกล้ จนหนีไม่ได้ หลีกไม่พ้น  จึงต้องหันหน้าเข้าไปทำความรู้จักกับเขา  เรียนรู้ และนำมาใช้ หลังจากใช้ได้สักระยะหนึ่งพบว่า ICT ก็มีประโยชน์หลายอย่าง เป็นความจำเป็นที่ต้องศึกษาเรียนรู้  สิ่งที่เป็นความรู้เดิมเหมือนร้านขายของชำข้างบ้านอยากได้อะไรก็ไปซื้อ แต่ ICT เหมือนห้างสรพพสินค้าที่ใหญ่โต มีทุกอย่างที่เราต้องการ  แต่ความเป็นห้างสรรพสินค้าที่กว้างมาก  กว่าเราจะหาของที่เราต้องการก็ต้องเหนื่อย ยากพอสมควร  แตะระหว่างที่เราหาของที่ต้องการ เราก็จะพบกับสิ่งที่น่านสนใจอื่น ๆ ที่แปลกตาตื่นใจไม่น้อย  การศึกษากับ ICT คงเป็นสิ่งที่คู่กับ เอื้อต่อกัน การศึกษาทำให้เกิดการคิดเรื่อง ICT  ICT ก็ทำให้เกิดการศึกษา  ประโยชน์ในแง่อื่น อาจจะเป็นการประหยัด กระดาษ ทรัพยากร แต่เราก็ต้องเสียค่าไฟ ค่าพลังงานกับ ICT เป็นเรื่องที่ต้องศึกษา และร่วมแสดงความคิดเห็นกันต่อไป ... เพื่อน ๆ ว่าไง

พระมหาธัญพิสิทธิ์ ทองเกตุ

เรื่องไอที  นี้ทุกคนที่อยู่ในวงการศึกษาคงทราบดีเพราะการศึกษายุคปัจจุบันนี้ถ้าไม่นำเอาระบบไอทีเข้าช่วยแล้ว ก็รับรองว่า งานนั้นต้องตกยุคหรือล้าสมัยไปมากทีเดียว ไอทีมีประโยชน์นานานัปประการนับตั้งแต่มาช่วยทำให้เราทำงานได้เร็วขึ้นเป็นระเบียบเรียบร้อยและสามารถเก็บบันทึกได้ง่าย เมื่อระบบไอทีได้พัฒนาทันสมัยก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วทำให้เราต้องติดตามอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันกับการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ให้อัพเดท วงการศึกษาของมีความเจริญก้าวหน้ามากก็เพราะไอที เช่น เมื่อก่อนครูจะเตรียนแผนการสอนก็ต้องนั่งเขียนกันจนมือแทบขาด แต่มายุคนี้การสอนของครูง่ายและสดวกขึ้น การทำสื่อต่างๆ ก็ง่ายเพียงปลายนิ้วสมัผัสก็สามารถเสร็จได้ตามกำหนดและนำเสนอรูปแบบที่หลากหลายทำให้การสอนพัฒนาและผู้เรียนก็ไม่น่ากับการสอนของครู มีการนำเอาโปรแกรมสำเร็จรูปมาช่วยสอนหรือสอนผ่านเว็บก็เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งของไอทีทีช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ๆ  ไม่จำเป็นต้องเข้าไปค้นในห้องสมุดให้เสียเวลา ประหยัดและรวดเร็วทันใจ นี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบไอทีกับการศึกษา

e-Learning นับเป็นคำใหม่พอสมควร ที่มีความหมายถึงการอบรมด้วยระบบเครือข่าย หรือผ่านระบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายอินทราเน็ตในองค์กร ดังนั้น e-Learning จึงได้ผนวกเข้ากับโลกแห่งการศึกษา และวงจรธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบันนี้บริษัทหลายบริษัทพัฒนาระบบ e-Learning เพื่ออบรมพนักงานขายของบริษัท ให้ทราบและรู้จักผลิตภัณฑ์ใหม่ พร้อมเทคนิคการขาย มหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ เช่น Stanford หรือ Harvard ก็นำระบบ e-Learning มาให้บริการนิสิต นักศึกษาจากทั่วโลก เพื่อสมัครเรียนในหลักสูตรต่างๆ ที่เปิดให้บริการ ดังนั้นจึงพอจะสรุปลักษณะสำคัญของ e-Learning ได้ดังนี้ Anywhere, Anytime and Anybody คือ ผู้เรียนจะเป็นใครก็ได้ มาจากที่ใดก็ได้ และเรียนเวลาใดก็ได้ตามความต้องการของผู้เรียน เพราะหน่วยงานได้เปิดเว็บไซต์ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งบริการจัดทำเป็นชุด CD เพื่อใช้ในลักษณะ Offline ให้กับโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่สนใจ แต่ยังไม่พร้อมในระบบอินเทอร์เน็ต Multimedia สื่อที่นำเสนอในเว็บ ประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนวีดิทัศน์ อันจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี Non-Linear ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่นำเสนอได้ตามความต้องการ Interactive ด้วยความสามารถของเอกสารเว็บที่มีจุดเชื่อม (Links) ย่อมทำให้เนื้อหามีลักษณะโต้ตอบกับผู้ใช้โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว และผู้เรียนยังเพิ่มส่วนติดต่อกับวิทยากรผ่านระบบเมล์ ICQ, Microsoft Messenger และสมุดเยี่ยม ทำให้ผู้เรียนกับวิทยากรสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว

ไอซีทีกับการศึกษาไทยนี้ คนที่อยู่ในการศึกษาทุกคนได้ประโยชน์มากมายนานับประการ เราสามารถประยุกต์ใช้ในเรื่องที่ต่าง ๆ ได้ สารพัด ขอให้มีแนวคิดที่จะนำเอาเรื่องของไอซีที มาใช้ให้เป็นข้าพเจ้าเชื่อว่า มีประโยชน์ที่เป็นส่วนดีมากกว่าส่วนที่คิดว่าเป็นภัยแก่เด็ก ๆ เราต้องหาวิธีป้องกันในเรื่องที่เป็นภัยแก่เด็กแล้ว รับรองได้เลยว่า ทำคุณประโยชน์ให้ตามที่เราปรารถนาได้ ดังที่บทความต่อไปนี้

ตอนที่ 1

รศ.ดร.นาตยา ปิลันธนานนท์
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ณ วันที่ประเทศไทยประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาขนานใหญ่พอสมควร การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและมีผลต่อการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือชอบเรียกกันว่าการปฏิรูป ในด้านต่างๆ ได้แก่ การกำหนดให้มีการกระจายอำนาจการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาที่มีมาตรฐานกำกับ และการให้หลักประกันแก่ประชาชนที่จะจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ หรือการประกันคุณภาพการศึกษา ความสำคัญใน 3 ประเด็นนี้เกี่ยวข้องกัน ประการแรก รัฐมอบอำนาจให้เขตพื้นที่ และสถานศึกษาเป็นผู้บริหารจัดการศึกษาของตน โดยหวังที่จะให้การศึกษาตอบสนองสังคมและคนในพื้นที่ จากเดิมที่การจัดการถูกกำกับมาจากส่วนกลาง ประการที่สอง แม้ว่าจะมีการมอบอำนาจดังกล่าว แต่รัฐก็ยังห่วงใยในการที่จะให้สถานศึกษาจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ไม่เพียงแต่ตอบสนองสังคมและคนในพื้นที่แล้ว ยังจะต้องตอบสนองประเทศชาติด้วยรัฐ โดยกระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดมาตรฐานการศึกษาชาติขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ซึ่งเป็นหลักสูตรฉบับแรกที่ใช้มาตรฐานเป็นแนวทางจัดทำหลักสูตร ด้วยการกำหนดสาระและมาตรฐานของกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ แตกต่างจากหลักสูตรที่เคยมีมาก่อน เพื่อให้สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาของตน และประการที่สาม เมื่อมีการกระจายอำนาจการจัดการศึกษา และกำหนดมาตรฐานที่จะให้สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางจัดการศึกษาแล้ว รัฐก็ยังกำหนดให้มีการกำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ ประเมิน ว่า สถานศึกษาในเขตพื้นที่ต่าง ๆ สามารถจัดการศึกษาได้ดีเพียงไร อะไรที่ยังเป็นปัญหาอุปสรรค อะไรที่ดำเนินการได้ดี มีสิ่งใดที่ควรสนับสนุน ส่งเสริม ให้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ไป และมีสิ่งใดที่ควรได้รับการอุดหนุนช่วยเหลือ นี่คือปณิธานของพระราชบัญญัติการศึกษาฉบับนี้ มูลเหตุดังกล่าวมานี่เอง ทำให้เกิดการใฝ่ฝันที่จะมีสถานศึกษาที่มีคุณภาพ ให้เด็ก ๆ ได้เรียน ด้วยการรณรงค์ให้สถานศึกษาเดิม ๆ ปฏิรูปสถานศึกษาของตน ขณะเดียวกันก็มีความคิดที่จะสร้างโรงเรียนพันธุ์ใหม่ รูปแบบต่าง ๆ เช่น โรงเรียน 5 รูปแบบ ของกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ หรือโรงเรียน ICTเป็น 1 ใน 5 รูปแบบ นี้ และยังมีโรงเรียนหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน อีก ไว้เป็นทางเลือกสำหรับประชาชนด้วย ในบทความนี้จึงขอเสนอเฉพาะในส่วนของการจัดการศึกษาสำหรับโรงเรียนพันธุ์เก่า และโรงเรียนพันธุ์ใหม่ ที่จะเป็น โรงเรียนทางเลือก ICT

โรงเรียน ICT เป็นอย่างไร

กระทรวงศึกษาธิการได้อธิบายกรอบแนวคิดของโรงเรียน ICT ไว้ว่า "เป็นโรงเรียนที่นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการศึกษาทั้งในด้านพัฒนาองค์ความรู้ กระบวนการจัดการศึกษาและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สร้างคนรุ่นใหม่ให้เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรมจริยธรรม ในการใช้ ICT เป็นเครื่องมือเสริมแสวงหาความรู้และพัฒนาองค์ความรู้ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ซึ่งส่วนหนึ่งจะเป็นการสอนทางไกลผ่านระบบเครือข่ายเทคโนโลยีทั้งในเวลาและนอกเวลาการเรียนการสอน ทำให้ระบบการเรียนรู้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ช่วยผู้เรียนที่มีความแตกต่างทางด้านฐานะและความพร้อมมากขึ้น รวมทั้งมีศักยภาพต่างกันได้ ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา และสามารถปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในสังคมได้"

กล่าวโดยสรุป โรงเรียนที่จะเรียกว่าเป็นโรงเรียน ICT จึงต้องมีการนำ ICT มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร ใช้ ICT เป็นเครื่องมือจัดการเรียนการสอน จัดเตรียมความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐาน สื่อ และทรัพยากรการศึกษาต่าง ๆ ที่เอื้อให้เกิดการใช้ ICT ใช้ ICT เป็นทั้งเครื่องมือการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และใช้ ICT เป็นคุณลักษณะและความสามารถประการหนึ่งของผู้เรียนที่จะต้องได้รับการประเมิน การบริหารและพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาให้มีศักยภาพด้าน ICT การบริหารจัดการงบประมาณ อาคารสถานที่ต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการใช้ ICT เป็นต้น

หลักสูตร ICT ในโรงเรียน ICT เป็นอย่างไร

โดยทั่วไป เรารับรู้ว่า ICT เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็น 1 ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และในกลุ่มสาระการเรียนรู้นี้ ได้กำหนดสาระที่ว่าด้วยการออกแบบและเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ เอาไว้ ทำให้โรงเรียนใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนเรียน สภาพการณ์ที่เป็นอยู่ส่วนใหญ่โรงเรียนสร้างหลักสูตรเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แยกออกต่างหากจากหลักสูตรกลุ่มสาระฯ อื่น หรือแม้แต่ในกลุ่มสาระการงานอาชีพด้วยกัน แต่ละชั้นปี เด็กเรียนอะไรบ้าง อาจแตกต่างกันไปใน แต่ละโรงเรียน การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรลักษณะนี้ ICT เปรียบเสมือนเป็นหลักสูตรด้วย และเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ด้วย เพราะเนื้อหาสาระที่เรียนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อหรือเครื่องมือการเรียนรู้ไปในตัว

รายละเอียดของรูปแบบการเรียนการสอน อาจแตกต่างกันในครูผู้สอนเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แต่ละคน เป็นต้นว่า

1. ครูบางคนให้ผู้เรียนเรียนโดยไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น เรียกว่าศึกษาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์โดด ๆ พร้อม ๆ กับที่ครูในกลุ่มสาระฯ อื่น ก็มิได้ให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือการเรียนรู้แต่อย่างใด

2. ครูบางคนอาจมีการนำเอาสาระการเรียนรู้ของกลุ่มสาระฯ อื่น เข้ามาใช้เป็นสาระความรู้ให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เรียนรู้เรื่องเหล่านั้น แต่ครูในกลุ่มสาระฯ อื่น ก็มิได้ให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ในรายวิชาของกลุ่มสาระฯ ตน แต่อย่างใด

3. ครูบางคนอาจมีการทำงานร่วมกันกับครูที่สอนในกลุ่มสาระฯ อื่น โดยครูเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สอนการใช้ คู่ขนานกันไปกับที่ครูในกลุ่มสาระ ฯ อื่น ก็มอบหมายให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ในกลุ่มสาระฯ ของตนด้วย

นี่คือตัวอย่างของหลักสูตร และพฤติกรรมการสอนของครู ในโรงเรียนทั่วไป ที่ใช้ ICT ผู้อ่านอาจใช้วิจารณญาณตรึกตรองดูเองว่า ตัวอย่างแบบใดที่จะส่งผลต่อการทำให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะความสามารถด้าน ICT ตามที่ประเทศชาติต้องการมากกว่ากัน พฤติกรรมการสอนของครูเช่นนี้ สะท้อนว่าหลักสูตร ICT ของแต่ละโรงเรียน มีสถานะเป็นอย่างไร เป็นหลักสูตรแบบแยกรายวิชา ดังตัวอย่างที่ 1 และ 2 หรือเป็นหลักสูตรแยกรายวิชาแต่คู่ขนานกับรายวิชาอื่น ดังตัวอย่างที่ 3

อย่างไรก็ตาม ลักษณะหลักสูตรในตัวอย่างที่ 1 และที่ 2 ICT มีสถานะเป็นทั้งเนื้อหาสาระ และเครื่องมือการเรียนรู้ของครูที่สอนในกลุ่มสาระฯ นี้ แต่ครูในกลุ่มสาระฯ อื่น มิได้มอง ICT ว่าเป็นเครื่องมือการเรียนรู้กลุ่มสาระฯ ของตนและมิได้มอง ICT ว่าให้เนื้อหาสาระที่จะเชื่อมโยง บูรณาการกับกลุ่มสาระฯ ของตนได้ด้วย

ในกรณีของตัวอย่างที่ 3 ICT มีสถานะเป็นทั้งเนื้อหาสาระ และเครื่องมือการเรียนรู้ของครูที่สอนในกลุ่มสาระฯ นี้ และครูในกลุ่มสาระฯ อื่นก็มอง ICT ว่าเป็นเครื่องมือการเรียนรู้กลุ่มสาระฯ ของตนด้วยเช่นกัน แต่มิได้มองว่า ICT สามารถให้เนื้อหาสาระที่จะเชื่อมโยง บูรณาการกับกลุ่มสาระฯ ของตนได้ด้วย

หลักสูตร ICT จึงมีได้หลายรูปแบบดังกล่าวข้างต้น ลักษณะหลักสูตร ICT ดังกล่าว ปัจจุบันอาจมีอยู่ในโรงเรียนต่าง ๆ ทั้งโรงเรียนที่มีรูปแบบปกติ หรือโรงเรียนทางเลือก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียน ICT การจัดการที่จะให้ใช้ ICT เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยาก และปฏิบัติกันอยู่โดยทั่วไป แต่การจัดการที่จะให้ ICT เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ในกลุ่มสาระฯ อื่นด้วย เริ่มเป็นสิ่งยุ่งยาก และยิ่งยากไปกว่าถ้าจะคิดให้กลุ่มสาระฯ อื่น รู้จักการนำความรู้ เนื้อหาสาระ เกี่ยวกับ ICT มาบูรณาการกับกลุ่มสาระฯ ของตนด้วย

การให้ ICT เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ในกลุ่มสาระฯ อื่นด้วย จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อครูในกลุ่มสาระฯ อื่น ต้องมีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีต่อการให้ผู้เรียนใช้ ICT มาทำให้เกิดการเรียนรู้รายวิชาต่าง ๆ ในกลุ่มสาระฯ ของตน หากโรงเรียนสามารถจัดการดังว่านี้ได้ หลักสูตรเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ก็ไม่จำเป็นต้องมีจำนวนรายวิชา มีจำนวนชั่วโมงเรียนมากมาย เกิดการยื้อแย่งชั่วโมงเรียนกับกลุ่มสาระฯ อื่น เหมือนดังที่เป็นอยู่ เพราะ ICT จะถูกสอดแทรกในการเรียนรายวิชาต่าง ๆ จนเป็นปกติวิสัย สิ่งที่เป็นข้อคิดต่อไปก็คือ สถาบันฝึกหัดครูสามารถผลิตครูวิชาชีพสาขาต่าง ๆ ให้มีคุณสมบัติ ความสามารถด้าน ICT เพียงพอหรือยัง ที่จะทำให้เกิดการจัดการศึกษาในลักษณะนี้ ครูประจำการในกลุ่มสาระฯ ต่าง ๆ ได้รับการฝึกอบรม พัฒนาขีดความสามารถมากน้อยแค่ไหน ในการให้ผู้เรียนใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้รายวิชาของตน

การให้กลุ่มสาระฯ อื่น รู้จักการนำความรู้ เนื้อหาสาระ เกี่ยวกับ ICT มาบูรณาการกับกลุ่มสาระฯ ของตนด้วย วิธีการนี้ยุ่งยากที่สุด แต่เป็นวิธีการที่จะทำให้เกิดโรงเรียนทางเลือก ICT ที่สมบูรณ์แบบ นั่นคือครูทุกกลุ่มสาระฯ ตระหนักถึงการนำ ICT บูรณาการเข้าไปในสาระหลักสูตรกลุ่มสาระฯ ของตน สามารถใช้ ICT เป็นเครื่องมือการสอน และให้ผู้เรียนใช้ ICT เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาเสียใหม่ สถานศึกษาที่ต้องการเป็นโรงเรียนทางเลือกทำหลักสูตรได้ใน 2 ลักษณะคือ

1. หลักสูตรแยกรายวิชา หรือหลักสูตรที่แยกแต่ละกลุ่มสาระฯ ออกจากกันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นหลักสูตรหนึ่ง ดังกล่าวมาข้างต้น แต่หลักสูตรนี้ไม่จำเป็นต้องมีรายวิชา ชั่วโมงเรียนมากมาย อาจมีเพียงสร้างรายวิชาพื้นฐานสำหรับที่จะให้ผู้เรียนมีความสามารถนำ ICT ไปใช้ได้ ขณะเดียวกันหลักสูตรกลุ่มสาระฯ ต่าง ๆ ก็ประสานสัมพันธ์กัน ด้วยการนำ ICT เข้าไปบูรณาการในหลักสูตรของตน ไม่ว่าจะในด้านการใช้ ICT เป็นเครื่องมือการสอนของครูทุกกลุ่มสาระฯ และเครื่องมือการเรียนรู้ของผู้เรียน และในด้านเนื้อหาสาระหลักสูตร เช่น กลุ่มสาระฯ วิทยาศาสตร์ นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นสาระความรู้ในการเรียนเรื่องเสียง แสง คลื่น เคมี ไฟฟ้า ฯลฯ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ มีการนำเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นสาระในการสอนทักษะทางภาษา สังคมศึกษามีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาสะท้อนให้เห็นสภาพชีวิตของคนในสังคม คณิตศาสตร์มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นโจทย์การเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ เช่นนี้เป็นต้น

2. หลักสูตรบูรณาการ คุณค่าของหลักสูตรบูรณาการเป็นสิ่งที่ทุกคนตระหนัก รับรู้กันอยู่ แต่ปัจจุบัน เราก็ยังไม่มีหลักสูตรบูรณาการที่มีคุณภาพ หรือมี แต่ก็ไม่สามารถนำหลักสูตรบูรณาการมาใช้ได้อย่างมีคุณภาพ อันเนื่องมาจากการขาดความรู้เรื่องการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ การที่ครูต่างกลุ่มสาระฯ ไม่สามารถมาทำงานร่วมมือกันสอนได้ หลักสูตรบูรณาการมีหลายรูปแบบ อยู่ที่ว่าจะเอาอะไรมาบูรณาการกัน เช่น นำบางกลุ่มสาระฯ มาบูรณาการกัน เกิดเป็นหลักสูตรใหม่ หรือสร้างหลักสูตรที่นำแนวคิดอย่างใดอย่างหนึ่งมาเป็นแกนหลักสูตร (core curriculum) แล้วนำบางกลุ่มสาระฯ มาบูรณาการเข้าไปด้วยกันภายใต้แกนนี้ เกิดเป็นหลักสูตรที่เรียกว่า Conceptual Curriculum หรือ Thematic Curriculum เป็นต้น เช่นนำ ICT มาเป็นแกนของหลักสูตร แล้วนำกลุ่มสาระฯต่าง ๆ ที่ต้องการบูรณาการกัน มาบูรณาการภายใต้ ICT นี้

โรงเรียนในฝัน หรือโรงเรียนทางเลือก ที่จะเป็นโรงเรียน ICT มิใช่เพียงแค่มีการนำ ICT เข้ามาเป็นเครื่องมือใช้ในการเรียนการสอนเท่านั้น แต่ควรให้ ICT เป็นสาระหลักสูตรเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ ด้วย โรงเรียนที่จะเป็นโรงเรียนทางเลือก ควรมีหลักสูตรสถานศึกษาที่มีรูปแบบเอกลักษณ์ของตน สามารถกล่าวอ้างกับประชาชนได้ว่าโรงเรียนใช้หลักสูตรที่สนองกับการเป็นโรงเรียนทางเลือกแบบนั้น ๆ นั่นคือ ถ้าจะเป็นโรงเรียน ICT สถานศึกษาควรจะต้องถึงขนาดมีหลักสูตรโปรแกรม หรือสาขาวิชา ICT เลย โดยที่กลุ่มสาระฯ ต่าง ๆ ต้องปรับเปลี่ยนหลักสูตรของตน ทั้งด้วยการให้ ICT เป็นเนื้อหา และเครื่องมือการเรียนรู้ จะภายใต้หลักสูตรแยกรายวิชา หรือหลักสูตรบูรณาการ ก็ตามที

แนวคิดทำนองนี้ เราจะเห็นได้จากโรงเรียนประเภท Magnet School ที่มีหลักสูตร หรือโปรแกรมทางเลือก ที่แล้วแต่ว่าโรงเรียนต้องการโดดเด่นในด้านใด ก็จะมีโปรแกรมหลักสูตรด้านนั้น เป็นทางเลือกว่า ถ้าใครสนใจ ก็ไปเรียนที่โรงเรียนนี้ โรงเรียน Magnet School ที่เน้นด้านคอมพิวเตอร์ ก็จะคล้ายแนวคิดของโรงเรียน ICT ของเรา โดยมีหลักสูตรหรือโปรแกรมทาง ICT โดยเฉพาะ ขณะเดียวกันกลุ่มสาระฯ อื่น ๆ ก็เอื้ออำนวยด้วยการนำ ICT บูรณาการในหลักสูตรของตนด้วย ผู้เรียนจึงมิได้เรียนหลักสูตร ICT แยกออกมาโดด ๆ แม้ขณะไปเรียนกลุ่มสาระฯ อื่นๆ ก็ได้เรียน ICT เป็นเนื้อหาในหลักสูตรนั้น และเป็นเครื่องมือการเรียนรู้วิชาในหลักสูตรนั้นด้วย

เมื่อเป็นเช่นนี้จะเห็นว่าการกำหนดรายวิชาในหลักสูตรสถานศึกษาประเภทนี้ จะแตกต่างจากโรงเรียนทั่วไป โรงเรียนทางเลือกที่จัดหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สามารถสร้างหลักสูตรที่ "ส่งออก" ไปสู่อุดมศึกษาในคณะวิชา สาขาวิชา ที่สอดคล้องกันได้เลย นี่จึงเป็นโรงเรียนทางเลือกสำหรับผู้เรียนได้ ว่าถ้าต้องการที่จะไปเรียนต่อ หรือมีความเป็นเลิศในสาขาใด ก็มาเลือกโรงเรียนทางเลือกประเภทนั้น ๆ

ประเทศไทยจึงน่าที่จะสร้างโรงเรียนทางเลือก ที่เลิศในด้านต่าง ๆ ให้หลากหลาย และที่สำคัญต้องให้สถานศึกษารู้จักที่จะสร้างหลักสูตรทางเลือกด้วย มิใช่แนะนำให้สถานศึกษาทำหลักสูตรพื้นฐาน แกนกลาง แบบที่ทำกันอยู่ทั่วไปในขณะนี้ 70% แล้วจะให้มีรายวิชาเลือก 30% โรงเรียนจะสร้างความเป็นเลิศ หรือเป็นโรงเรียนทางเลือก ได้อย่างไรกับคำว่า 30% นี้ การทำหลักสูตรที่ให้เด็กเรียนรายวิชาพื้นฐานในกลุ่มสาระฯ ต่าง ๆ เหมือนกันทั่วประเทศ จากการที่ทำผังมโนทัศน์ให้ ทำตัวอย่างหลักสูตร รายวิชาพื้นฐานต่าง ๆ ให้ลอกเลียนแบบ แล้วมาแตกต่างกันที่รายวิชาเลือก จะเหลือเวลาปั้นผู้เรียนให้เลิศไปในทางที่ต้องการได้หรือ จึงควรจะต้องคิดใหม่ ทำใหม่ เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ที่ให้สถานศึกษารู้จักค้นหา และสร้างความเป็นเลิศ กำหนดการเป็นโรงเรียนทางเลือกของตน ที่สามารถสร้างหลักสูตรที่ตอบสนองหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมกับการสนองทางเลือกของตน ซึ่งก็คือการสนองชุมชนของตนนั่นเอง โดยไม่แยกส่วนกัน ความเป็นเลิศ หรือหลักสูตรทางเลือก ต้องปรากฏให้เห็นทั้งในรายวิชาที่เป็นพื้นฐาน และเสริมเพิ่มเติม ได้อย่างกลมกลืน ยิ่งไปกว่านั้น รูปแบบหลักสูตรและการเรียนการสอนในโรงเรียน ICT ดังกล่าวมาข้างต้น จะบริหารหลักสูตรแบบเดิม ๆ คงไม่ได้อาจต้องโดดเด่น มีรูปลักษณ์เฉพาะ ที่จะเป็น digital curriculum, online curriculum, หรือ distance education ด้วย ซึ่งจำเป็นต้องมีความพร้อมในด้านการบริหารจัดการทั้งส่วนสถานศึกษา และโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มมากขึ้น

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Community of Learning) เป็นอย่างไร

การจะให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะความสามารถทางด้าน ICT นอกเหนือจากการจัดหลักสูตรที่แตกต่างไปจากเดิมแล้ว ความเข้าใจในเรื่องชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ หรือ Community of Learning เป็นพื้นฐานสำคัญประการแรก ที่จะทำให้โรงเรียนจัดการศึกษาลักษณะนี้เป็นไปได้ด้วยดี

เวลาที่เราพูดถึงชุมชน ในความหมายทั่วไป คำว่า ชุมชน หรือ community หมายถึงกลุ่มคนที่อยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งมารวมอยู่ด้วยกัน กลุ่มคนเหล่านี้มีลักษณะ หรือจุดสนใจร่วมกัน ในชุมชนไม่ว่าแบบใดก็ตาม จะจัดหาสิ่งสนับสนุน อำนวยความสะดวกให้แก่สมาชิก ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ เป็นต้น ในชุมชนแห่งการเรียนรู้ การอ่าน การเขียน การพูดคุยกัน ของสมาชิกในชุมชน เป็นช่องทางที่สำคัญของการเรียนรู้ ที่จะทำให้คนมาเรียนรู้ร่วมกันได้ การให้บริการต่าง ๆ ที่จะตอบสนองคนในชุมชนได้มากขึ้น ก็อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ รวมไปถึงคอมพิวเตอร์ Internet และการพบปะกันของสมาชิก

เรารู้จักชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ในขณะนี้ ในลักษณะใดบ้าง เด็กเล็ก ๆ มีชุมชนแห่งการเรียนรู้เป็นรายการเจ้าขุนทองในโทรทัศน์ เด็กที่โตขึ้นมาอีกหน่อย รู้จักชุมชนแห่งการเรียนรู้ ในลักษณะของการได้ติดต่อ พบปะกับคนอื่น ในชุมชน เช่น ในโรงยิม การออกค่ายลูกเสือ เนตรนารี ยิ่งเมื่อโตขึ้น ๆ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของคนเราก็กว้างขวาง และต่างรูปแบบมากขึ้น ตามแต่เป้าหมายของแต่ละชุมชน จนกระทั่งถึงวัยทำงาน เราก็มีชุมชนอีก ซึ่งอาจมีชุมชนเล็ก ๆ ภายในชุมชนที่ทำงานนั้น ๆ และการปฏิสัม

แสดงความคิดเห็น เรื่อง การนำ ICT มาใช้อย่างไรจึงเหมาะสมกับการศึกษาไทย

ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการดำรงชีวิตของเรามากขึ้นในทุกด้าน  แม้กระทั่งด้านการศึกษา  ก็ได้นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้มากเพิ่มขึ้น เช่น การใช้อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูล    คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI)  การสืบค้นต่างๆด้วยระบบคอมพิวเตอร์  การติดต่อสื่อสารไร้สาย  สิ่งต่างๆเหล่านี้มีประโยชน์ถ้านำมาใช้ในทางที่ถูกต้องเหมาะสม  และมีโทษเมื่อผู้ใช้ไม่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้ตัวอย่างเช่น การนำภาพที่ไม่พึงประสงค์ตัดต่อและนำไปเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต  ทำให้เกิดความเสียหายในหลายฝ่าย  ถึงแม้มีการป้องกันแต่ก็ยังมีปัญหาเกิดขึ้นได้การที่สถาบันการศึกษาต่างๆจะนำเอาเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ทางด้านการศึกษา ต้องมีความพร้อมในหลายๆด้านเพื่อที่จะสามารถรองรับสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้นตามมาได้  ซึ่งในการที่จะนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ ต้องมีความพร้อมในด้านความรู้ในเทคโนโลยีนั้นๆ และเมื่อนำมาใช้แล้วเกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง  และสามารถพัฒนาต่อให้เป็นประโยชน์ทางด้านการศึกษาได้ สามารถเผยแพร่ได้  และที่สำคัญต้องมีจรรยาบรรณในการใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม จึงจะทำให้การนำเอา ICT มาใช้อย่างมีคุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ใช่เห็นที่อื่นเขามีก็มีบ้าง แต่เมื่อเรานำมาใช้แต่ก็ไม่เกิดประโยชน์ก็จะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณไปเปล่าๆทั้งนี้การนำเอา ICT มาใช้ในการศึกษาไทยในปัจจุบันมีความสำคัญมากและส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นอย่างยิ่ง  ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีต่างๆได้เป็นอย่างดี  ซึ่งต่างจากการศึกษาในสมัยก่อนมาก  ดังบทความที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษา โดยที่สรุปใจความสำคัญและนำมาให้ทุกท่านได้อ่านดังนี้

 

จรูญพรรณ แช่มมณี (หน่อย)

มีความเห็นเกี่ยวกับ ICT ว่า เทคโนโลยีนั้นมีความสำคัญก็จริงถ้าพูดในด้านรวมทั้งหมดของประเทศเป็นได้ทั้งตัวที่จะบอกว่าประเทศมีความก้าวหน้าในการใช้เทคโนโลยีไปได้ดีแค่ไหนและเป็นได้ทั้งตัวกำหนดว่าเมื่อเรามีเทคโนโลยีใช้แล้วจะควบคุมให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะที่ควรอย่างไรไม่ให้ประเทศลืมรากฐานอันเป็นสิ่งที่สะสมกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษของเราสรุปว่าการที่มีเทคโนโลยีมีทั้งดีและไม่ดีแต่จะอยู่ที่กระบวนการใช้มากกว่าว่าใช้เป็นหรือใช้ได้ค่ะ

อีกสักครู่หน่อยจะหาบทความที่น่าสนใจมาให้อ่านกันค่ะ

มาแล้วค่ะ คราวนี้เป็นข่าวที่น่าสนใจค่ะบทความเอาไว้ก่อนนะ

รมว.ศึกษาธิการ เปิดค่ายไมโครซอฟท์ ไอที ยูธ ชาเล้นท์ แชมป์ 2006
 (23 ต.ค.49) นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดค่าย Microsoft IT Youth Challenge Camp 2006 ภายใต้แนวคิด ไอทีสนุกคิด สนุกทำ พัฒนาทักษะไอทีแก่เยาวชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Partner in Learning โดยนายสุพจน์ ศรีนุตพงษ์ ผู้จัดการฝ่ายการศึกษาบริษัท ไมโคซอฟท์ (ประเทศไทย)จำกัด กล่าวว่าจากเยาวชนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั่วประเทศกว่า 1350 คน คัดเลือกเหลือ 250 คน มาเป็นตัวแทนระดับภูมิภาคเข้าค่ายฝึกอบรมไอที ณ ศูนย์วิชาการและนันทนาการ เซนต์คาเบียน 2000 จังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2549 ทั้งนี้จะมีการเฟ้นหานักเรียนผู้มีความสามารถยอดเยี่ยม ร่วมประกวดผลงานเพื่อชิงถ้วยรางวัลเกียรติยศจาก นายกรัฐมนตรี และเงินรางวัลกว่า 1 แสนบาท นายสุพจน์ฯ ยังกล่าวด้วยว่า นอกจากโครงการนี้แล้ว บริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ยังได้ลงนามร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการในการจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิ การอบรมผู้บริหารด้านการศึกษา การจัดการประกวดผลงานคุณครูทั้งในระดับประเทศ และระดับภูมิภาคเอเชีย เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างไม่สิ้นสุด ผลักดันให้ประเทศไทยเกิดการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน
ที่มา Thai  New
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท