การศึกษาล้มเหลว


ครูอาวุโสในชนบทท่านหนึ่งปรารภมาถึงเรื่องทำไมการศึกษาไทยจึงล้มเหลว โดยยกเอาประสบการณ์ของตัวเองมาเปรียบเทียบ

คุณ ครูท่านนี้เป็นครูสายงานสอนมา 37 ปี สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
พ.ศ.2503 เป็นครูสอนตามหลักสูตร พ.ศ.2503, พ.ศ.2521, พ.ศ.2521 ปรับปรุง
พ.ศ.2523, พ.ศ.2544 และ พ.ศ.2551
บอกมาว่าถึงไม่ใช่ครูที่ดีที่สุดในประเทศไทย แต่มีเกียรติบัตรครูดีเด่น
หรือเหรียญรางวัลมีบ้างนิดหน่อย ผลการสอบ O-Net
ของนักเรียนในรายวิชาที่สอนสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยระดับประเทศทุกปี

ขอ ยืนยันว่า หลักสูตรทุกฉบับมีส่วนดีในตัวทั้งสิ้น แต่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกโรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินการตามหลักสูตรไม่เกินร้อยละ 60 สุดท้ายนักวิชาการก็ออกมาพูดว่า หลักสูตรไม่ดี อย่างนี้ต้องเปลี่ยน เปลี่ยนแล้วก็เหมือนเดิม

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถ และจิตวิญญาณของครูผู้สอนร้อยละ100

ครูร้อยคนก็ร้อยอย่าง หมายความว่า ครูแต่ละคนไม่เหมือนกัน
ครูบางคนเตรียมการสอนล่วงหน้า ค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ
สอนด้วยความทุ่มเทเอาใจใส่ ถ่ายทอดความรู้เต็มความสามารถ

ครูบางคนทำ อาชีพครู
บางคนเห็นอาชีพครูเป็นอาชีพรอง
สอนนักเรียนโดยใช้หนังสือของโรงพิมพ์เอกชนเป็นหลัก
ซึ่งมักจะมีแบบฝึกหัดท้ายบทไว้ให้ทำ ไม่เกี่ยวกับหลักสูตร


ผู้บริหารโรงเรียนสมัยเป็น ครูใหญ่ จะสอนแข่งกับครูน้อย นั่งรับประทานอาหารด้วยกันกับครูน้อย มีเรื่องอะไรก็พูดคุยกัน บอกกล่าวกัน

ผู้บริหารโรงเรียนสมัยเป็น อาจารย์ใหญ่ จะสอนบ้างเป็นบางครั้ง บางวิชา
นั่งรับประทานอาหารกับครูน้อยเหมือนเดิม มีเรื่องอะไรก็พูดคุยกัน
บอกกล่าวกัน

ผู้บริหารโรงเรียนสมัยเป็น ผู้อำนวยการ จะกั้นห้องเป็นการส่วนตัว เบียดเงินรายหัวของเด็กมาติดเครื่องปรับอากาศ
ความสัมพันธ์ กับครูน้อยเป็นเจ้านายกับลูกน้องทั้งหมด บางคนมีเลขาหน้าห้อง อีกต่างหาก

การนิเทศติดตาม การกำกับดูแล การปฏิบัติราชการของครูในโรงเรียนไม่มี
เขามักพูดเสมอว่า ผู้บริหารโรงเรียนไม่จำเป็นต้องอยู่โรงเรียน จะไปไหน
เมื่อไรก็ได้ในเวลาราชการ (แม้แต่สนามไก่ชน)
เพราะถือว่ามีอำนาจอนุญาตให้ตนเองไปราชการ

การปฏิบัติราชการเป็นหน้าที่ของครูน้อยเท่านั้น ผู้บริหารคือผู้ที่ไม่ต้องทำอะไร

ผู้บริหารโรงเรียนในปัจจุบันขาดความรู้
(ผลการทดสอบผู้บริหารโรงเรียนตามโครงการพัฒนาครูทั้งระบบ
สอบผ่านเกณฑ์ไม่ถึงร้อยละ 10 ของผู้บริหารทั้งประเทศ) ขาดจิตสำนึกในความเป็นครูรู้หน้าที่แต่ขาดความรับผิดชอบ

โรงเรียนเหมือนโรงงาน ผลผลิตเป็นสิ่งสะท้อนขีดความสามารถของคนงาน (ครู=คนงาน, ผู้บริหาร=ผู้จัดการ)

ที่ กล่าวมาทั้งหมดไม่ได้มีอคติกับใคร
แต่ต้องการชี้ให้เห็นถึงสาเหตุความล้มเหลวของการศึกษาของชาติอย่างแท้จริง
ท่านผู้มีอำนาจกรุณาแก้ให้ถูกจุด

ข้อคิดนี้อาจจะกระทบกระเทียบเปรียบเปรยเอากับผู้บริหารโรงเรียนบ้างแต่บางส่วนก็เป็นความจริงใช่ไหม

“ซี.12”
ขอขอบคุณข่าวสาร/ข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

 

หมายเลขบันทึก: 538211เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2013 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2013 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

I agree with analysis of the "fault lines".

But I have a worry with the attitude "...โรงเรียนเหมือนโรงงาน ผลผลิตเป็นสิ่งสะท้อนขีดความสามารถของคนงาน (ครู=คนงาน, ผู้บริหาร=ผู้จัดการ)..." If a family is like a factory... Where is a definition of quality? What about intrinsic values like love, honesty, metta (kindness),...

We need to look beyond school=factory; children=products; teachers=assembly line workers;...

ปัญหาระดับชาติเลยค่ะท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท