ยำปลานิล-ผักบุ้ง. เมนู น่าลองสำหรับการลดน้ำหนัก


                                                     หน้าฝนผักบุ้งเยอะแยะ. นำมายำรวมกับปลานิล.  สำหรับผู้รักสุขภาพ.  น่าลองนะคะ

หมายเลขบันทึก: 538166เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2013 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2013 12:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

                                                                                เพิ่มความเนียนของมื้ออาหาร. ด้วยซุปเต้าหู้. ตามด้วยแอบเปิล. ผลไม้ที่หาได้ง่ายมากในยุคนี้

รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ : รสจืดเย็นช่วยขับพิษถอนพิษเบื่อเมาผักบุ้งขาว 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 22 กิโลแคลอรี่ประกอบด้วยเส้นใย 101 กรัม แคลเซียม 3 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เหล็ก 3 มิลลิกรัม วิตามินเอ 11447IU วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.17 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.3 มิลลิกรัม วิตามินซี 14 มิลลิกรัม

                สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ทรงจัดส่งปลานิลจำนวน 50 ตัวความยาวเฉลี่ยประมาณตัวละ เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 14 กรัม มาทูลเกล้าฯถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.. 2508 นั้น  ในระยะแรกได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ปล่อยบ่อดิน เนื้อที่ประมาณ 10 ตารางเมตร ณ บริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อเลี้ยงมาได้ เดือนเศษ ปรากฏว่ามีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ที่สวนหลวงขุดบ่อใหม่ขึ้น 6บ่อ มีเนื้อที่เฉลี่ยบ่อละ 70 ตารางเมตร ซึ่งในโอกาสนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงย้ายพันธุ์ปลาด้วยพระองค์เองจากบ่อเดิมไปปล่อยเลี้ยงในบ่อใหม่ทั้ง บ่อ เมื่อวันที่ กันยายน 2508 ต่อจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมประมงจัดส่งเจ้าหน้าที่วิชาการมาตรวจสอบการเจริญเติบโตเป็นประจำทุกเดือน

โดยที่ปลาชนิดนี้เป็นจำพวกกินพืช เลี้ยงง่าย มีรสชาติดี ออกลูกดก เจริญเติบโตได้รวดเร็ว ในเวลา ปี จะมีน้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม และมีความยาวประมาณ ฟุต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้ปลาชนิดนี้แพร่ขยายพันธุ์ อันจะเป็นประโยชน์แก่พสกนิกรของพระองค์ต่อไป ดังนั้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2509 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า ปลานิล และได้พระราชทานปลานิลขนาดยาว 3 – 5 เซนติเมตร จำนวน 10,000 ตัว ให้แก่กรมประมงนำไปเพาะเลี้ยงขยายพันธ์ที่แผนกทดลองและเพาะเลี้ยงในบริเวณเกษตรกลาง บางเขนและที่สถานีประมงต่างๆทั่วราชอาณาจักร รวม 15 แห่ง เพื่อดำเนินการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์พร้อมกัน เมื่อปลานิลแพร่ขยายพันธุ์ออกไปได้มากเพียงพอแล้วจึงได้แจกจ่ายให้แก่ราษฎรนำไปเพาะเลี้ยงตามพระราชประสงค์ต่อไป           http://www.fisheries.go.th/it-network/knowledge/type%20of%20fish/typeoffish.htm

เรื่องดีๆของปลา :  

ปลามี โอเมก้า-3 เป็นกรดไขมัน ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งด้านหัวใจ และสมอง คือ
-เนื่องจากร่างกาย จะผลิตสาร ชื่อ Eicosanoids ซึ่งเป็นสาร ที่มีความเกี่ยวข้องกับ การควบคุมการแข็งตัวของเลือด การหดตัวของหลอดเลือด และการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ที่อยู่ตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุม ของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น กล้ามเนื้อมดลูก และยังต่อสู้ กับเชื้อโรค หรือความผิดปกติ ของการผลิตสาร EICOSANOIDS โดยใช้กรดไลโนเลอิก และโอเมก้า-3 ควบคู่ไปในการทำงาน ต่อร่างกาย ทำให้โอเมก้า-3 มีคุณสมบัติ ในการป้องกันเลือดแข็งเป็นลิ่ม ปวดประจำเดือน โรคหอบหืด และข้ออักเสบ
-ปัญหาการตั้งครรภ์เป็นพิษ เนื่องจากกลไก การทำงานของกรดไขมันนั้น เกี่ยวข้องกันการทำงานของเซลล์ ในร่างกายทุกชนิด โดยเฉพาะ DHA ที่พบมากในนม และรก ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญ ในการผลิตฮอร์โมนของทารก ในครรภ์ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ของเซลล์สมอง และเรติน่าของทารก เช่นเดียวกับเซลล์อื่นๆ

-โรคหัวใจขาดเลือด ปัญหาที เกิดจากการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการบริโภค ทำให้ระดับไขมันในเลือดสูง น้ำมันปลาจึงถูกนำมาใช้ เนื่องจากมีโอเมก้า-3 ซึ่งจะช่วยลดการจับตัว ของเกล็ดเลือด ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ มีการปั๊มเข้าออกของสารต่างๆ เพื่อควบคุมการยืด และหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ รวมทั้งช่วยขยายเส้นเลือด ทำให้สามารถไหลเวียน ได้อย่างปกติ ช่วยลดปัญหาหัวใจขาดเลือดได้
-โรคซึมเศร้า เนื่องจากเยื้อหุ้มเซลล์สมอง เป็นส่วนประกอบ ที่เป็นสารกรด DHA มากถึง 30% ซึ่งจิตแพทย์ด็อกเตอร์ โจเซฟ อาร์ ฮิบเบล์น (Dr.Joseph R.Hibbeln) เชื่อว่าถ้าสาร DHA ในเซลล์สมอง มีปริมาณที่ต่ำลง จะทำให้เกิดปัญหา ในการสื่อสารทางสมอง ซึ่งนำไปสู่ความผิดปกติด้านอารมณ์ นอกจากนี้ นักวิจัยชาวอังกฤษ ยังศึกษาจากกลุ่มสตรี มีครรภ์จำนวน 117,210 คน โดยให้รับประทานอาหารทะเล ที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง ระหว่างตั้งท้อง 6 เดือน พบว่าช่วยให้ อาการซึมเศร้าของพวกเธอ ลดลง แต่ข้อระวังอย่างหนึ่งคือ หากหญิงตั้งครรภ์ จะรับประทาน กรดไขมันโอเมก้า-3 ชนิดที่ผลิตเป็นอาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์เสียก่อน


 

ถึง แม้ปลาทุกชนิด จะจัดว่ามีค่าไขมัน และพลังงานต่ำกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นแล้ว อย่างไรก็ตาม ชนิดของปลายังมีผลต่อปริมาณไขมันของปลาที่มีอยู่ในเนื้อปลาสด ซึ่งผู้บริโภคควรเลือกทานตามความ เหมาะสม เราสามารถจัดแบ่งชนิดของเนื้อปลาสด ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
          
1.ปลาที่มีไขมันต่ำมาก (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 กรัมต่อ 100 กรัม) ได้แก่ ปลาไหล ปลากราย ปลานิล ปลากะพงแดง และปลาเก๋า
          
2.ปลาที่มีไขมันต่ำ (มากกว่า 2-4 กรัมต่อ 100 กรัม) ได้แก่ ปลาทูนึ่ง ปลากะพงขาว ปลาจะละเม็ดดำ และปลาอินทรี
          
3.ปลาที่มีไขมันปานกลาง (มากกว่า 4-8 กรัมต่อ 100 กรัม) ได้แก่  ปลาสลิด ปลาตะเพียน และปลาจะระเม็ดขาว
          
4.ปลาที่มีไขมันสูง (มากกว่า 8-20กรัมต่อ 100 กรัม) ส่วนมากมีเนื้อสีเหลือง ชมพูหรือเทาอ่อน ได้แก่ ปลาช่อน ปลาสวาย ปลาดุก และปลาสำลี

นอกจากนั้นแล้ว วิธีการปรุงอาหารให้สุกตามที่นิยม อย่าง การต้ม นึ่ง ทอด ย่าง และเผา ยังมีผลต่อปริมาณไขมันของปลาด้วยเช่นกัน จากการวิจัยพบว่าปลาดิบและปลา ที่ทำให้สุกโดยการต้มและนึ่งทุกชนิด จัดว่าให้ค่าไขมันและพลังงานต่ำ แต่ถ้านำปลาเหล่านี้ไปย่างหรือทอด จะให้ไขมันและพลังงานสูงขึ้น เนื่องจากน้ำที่ระเหยหายไประหว่างการย่างและน้ำมัน ที่ถูกดูดซับเข้าไปในเนื้อปลาระหว่างการทอด ดังนั้น หากเราจะเลือกเมนูปลาครั้งหน้า โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักด้วยแล้ว อย่าลืมสังเกตทั้งชนิดของปลา และวิธีการปรุงกันก่อนรับประทาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท