ความโปร่งใสในการทำงาน


ความโปร่งใสในการทำงาน

         ถ้าจะว่าไปแล้ว ไม่ว่าองค์กรใด ๆ ก็มีความต้องการ ๆ ที่จะให้องค์กรของตนเองมีความโปร่งใส เพราะความโปร่งใสเป็นลักษณะของการแสดงถึงความถูกต้อง ยุติธรรม สามารถตรวจสอบได้ หรือพูดง่าย ๆ นั่นคือ มีความจริงใจต่อกัน เรียกว่า ปากพูดอย่างไร ในใจก็คิดและทำแบบนั้น นี่คือ ความโปร่งใสที่มนุษย์ปถุชนทั่ว ๆ ไป มีความต้องการ

         ถ้าพูดถึง "ความโปร่งใส" ความหมายของคำ ๆ นี้ ก็คือ การมองเห็นภาพโดยตลอดปราศจากประเด็นแอบแฝง ซ่อนเร้น มีข้อมูลชัดเจน ละเอียด ประกอบการประสานงาน การร่วมมือร่วมใจและการตัดสินใจ โดยความหมายของคำว่า "ความโปร่งใสในองค์กร" ตามที่ระบุไว้ในวิกิพีเดีย จะเน้นการขจัดอุปสรรค และ/หรือการอำนวยความสะดวกให้ประชาชน เข้าสู่ข้อมูลข่าวสารขององค์กร กฎหมาย กฎระเบียบ และกระบวนการทำงานโดยสะดวก จากคำจำกัดความดังกล่าว อาจสรุปได้ว่า ความโปร่งใสที่ใช้ในการบริหารงานจะหมายถึง การสร้างความเปิดเผย เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งจากภายในและภายนอกหน่วยงานสามารถเข้าถึงข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ มีการสื่อสาร การแสดงความรับผิดชอบ พร้อมกับการตรวจสอบ รวมทั้งมีกระบวนการในการติดตามและประเมินผลที่ได้รับการยอมรับว่าเที่ยงตรงและเชื่อถือได้

         ในโลกปัจจุบันจึงได้เน้นและให้ความสำคัญของความโปร่งใสว่า สามารถเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น ช่วยให้หน่วยงานและผู้ปฏิบัติมีความรับผิดชอบและมีการปฏิบัติงานหรือมีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสร้างความเป็นธรรมแก่ประชาชนหรือผู้รับบริการอย่างทั่วถึง มิใช่เฉพาะกลุ่มหรือพวกพ้อง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องมีมาตรการและแนวทางในการสร้างความโปร่งใสให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้ได้รับการยอมรับและเชื่อถือ

         สำหรับ "ความโปร่งใส" ในการทำงาน นั้น ขึ้นอยู่กับระเบียบ กฎหมาย ที่คนทำงานจะต้องปฏิบัติให้เกิดความถูกต้อง โปร่งใส ตลอดรวมถึงจิตใต้สำนึกของแต่ละบุคคลที่มีความฝักใฝ่ที่จะดำเนินการให้เกิดความถูกต้องเป็นหลัก สำหรับหน้าที่ที่ผู้เขียนได้ปฏิบัติเกี่ยวกับงานบุคคลของภาครัฐนั้น สามารถพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า การปฏิบัติงานของผู้เขียนเป็นไปด้วยความโปร่งใส มีที่มา - ที่ไป สามารถตรวจสอบได้ทุกเรื่องและทุกกระบวนการ ไม่คิดแม้กระทั่งเรียกร้องเงินทองของผู้ที่จะมาสมัครสอบ ไม่เคยคิดที่จะกระทำและก่อให้เป็นบ่อเกิดแห่งการทุจริตแต่ประการใด...มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพของตนเอง...ตระหนักถึงหน้าที่ ความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากส่วนราชการมอบหมายงานให้ตัวเราได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนี้... เพราะในจิตใต้สำนึก ผู้เขียนได้ยึดแนวทางตามพระราชดำริ พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของการปฏิบัติงานใน "การรับราชการตลอดเวลา"...การทำงานใด ๆ ในระบบราชการ ถ้าเรากระทำด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต แล้วละก็ บอกได้เลยว่า...การกระทำของเราเองที่มีแต่ความซื่อตรง ไม่คดโกงคนอื่น ประเทศชาติ บ้านเมือง จะสามารถเป็นเกาะป้องกันภัยต่าง ๆ ที่จะเข้ามาหาตัวเราได้เลยเชียวแหล่ะ!!!...ต่อให้มีคนคิดไม่ดีต่อตัวเรา ความดีนี้จะคอยป้องกันให้ตัวเราพ้นภัย...ดั่งที่คำพระท่านบอกว่า..."ความดีที่ตัวเราได้กระทำจะเป็นเกาะคุ้มครองตัวของเราเอง"...

         ทุก ๆ คนสามารถกระทำได้ ถ้าตัวเรามีจิตใต้สำนึกในการเป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ใดแล้วกระทำหน้าที่นั้นได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์กับคำสั่งที่เราได้รับมอบหมายแล้วหรือยัง?...ถ้าทุก ๆ คน กระทำได้ ผู้เขียนมีความเชื่อเลยว่า...ท่านเป็นคนหนึ่งที่ได้ร่วมมือกันพัฒนาประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป...



หมายเลขบันทึก: 537987เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2013 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กรกฎาคม 2013 14:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เป็นบทความดีมากค่ะ    ถ้าทุกคน มีความซื่อสัตย์ สุจริต  และเป็นคนดีแล้วละก็ สังคมน่าอยู่และเจริญก้าวหน้าอย่างแน่นอนเลยละค่ะ 

ถูกต้องเลยค่ะ คุณ ต้นกรูด 

ยิ่งระบบราชการ เราที่ได้ชื่อว่า เป็นคนทำงานภาครัฐ สามารถทำกันได้ เพียงแต่ว่า "จิตใต้สำนึก" ของแต่ละคนจะเหมือนกันหรือไม่ค่ะ

เป็นสิ่งที่ดี...และอยากให้มีจริง...ขอบคุณสำหรับบทความดีๆคะ

การกระทำเกี่ยวกับเรื่องการทำงานไม่ว่าเรื่องใด ๆ ถ้าตัวเรามีความคิดไม่โลภ ไม่อยากได้แล้วละก็ นั่นคือ เป็นการทำงานตามหน้าที่ที่ตัวเราได้รับมอบหมายให้กระทำให้สำเร็จตามหน้าที่ของเราค่ะ คุณนิดหน่อยเอง 

ขอบคุณแนวคิดดีที่สมควรได้รับการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอย่างทั่วถึงค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท