น้ำมังคุดเพื่อสุขภาพทำได้เองมีส่วนจากในผลเพิ่มเพื่อให้ได้ประโยชน์มากขึ้น


น้ำมังคุดเพื่อสุขภาพดี

น้ำมังคุด บรรจุขวดขายหลายๆคนคงซื้อดื่มบ้างแล้ว บางคนซื้อเพราะอยากลอง บางคนซื้อเพื่อรักษาโรคหรือทำให้ร่างกายมีสุขภาพดี เพราะทราบกันบ้างแล้วว่า สารแซนโทน ที่อยู่ในลูกมังคุดส่วนเปลือกด้านในระหว่างเปลือกแข็งและเนื้อขาวๆนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมีสารอาหารมากกว่าเปลือกผลไม้อื่นๆ จึงมีผู้ผลิตขายกันมากขึ้น มังคุดเป็นผลไม้ทีไม่มีทั้งปี ช่วงนี้กำลังมีมากซึ่งราคาที่เชียงใหม่ ณ เวลานี้มังคุดราคาถูกกว่าเงาะ เมื่อปีก่อนๆเงาะจะถูกกว่ามังคุด  ในหนึ่งลูกของมังคุดเราก็จะได้กินเนื้อมังคุดเพียงนิดเดียวต่อลูก เนื้อที่ไม่มีเมล็ด และมีเมล็ดใหญ่ก็ต้องคายทิ้ง เปลือกก็ทิ้ง กินมังคุดกันทีเป็นกิโลก็เพราะหนักเปลือกนะคะ  ชวนทำนำเนื้อและเมล็ดทั้งหมดลูกมาทำน้ำมังคุดดื่ม มีเวลาหรือวันหยุดลองทำดื่มนะคะ

 

 

วิธีทำ

1. มังคุดส่วนหนึ่ง ใส่หม้อต้มในน้ำเดือดเปิดไฟอ่อนๆ

  ต้มประมาณครึ่งชั่วโมง(ต้มนานน้ำในลูกจะออกมามากขึ้นแต่ต้องไม่ให้แตก) แล้วตักมังคุดขึ้นตั้งลูกไว้

2. พอเย็นจับตรงๆอย่าเอียงลูกมังคุด ค่อยๆผ่าขวางให้รอบแล้วดึงเปลือกฝาลูกบนขึ้น

    ฝาล่างจะมีน้ำสีแดงสวยงามอยู่นิดๆไม่มากต่อลูก เก็บใส่ขวดที่ละนิดไว้

3. ลูกที่ไม่ได้ต้มก็ผ่าตามปกตินำเนื้อที่ไม่มีเมล็ดใส่ถ้วยไว้

4. เมล็ดใหญ่ที่มีเนื้อติด นำไปต้มให้สุก วางไว้ให้เย็น

5. เนื้อที่ไม่มีเมล็ดและเมล็ดต้มสุก รวมทั้งเนื้อ น้ำในลูกที่ต้ม ใส่โถปั่นเพิ่มน้ำพอประมาณ

   การเติมความหวานด้วยน้ำเชื่อม น้ำผึ้ง น้ำใบหญ้าหวาน น้ำตาลทราย แล้วแต่ผู้ดื่ม

6 ได้น้ำมังคุดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพทำได้เอง 

 


 

หมายเหตุ 

ที่ต้องต้มเมล็ดใหญ่ให้สุกก่อน

อาจารย์สุวัฒน์ ทรัพยะประภา อธิบายให้ทราบดังนี้นะคะ

 

 " ภายใน เมล็ดมี ทั้งสารแซนโธน และ น้ำย่อยโพลีฟีนอลออกซิเดส อยู่ด้วย

หากนำมาปั่นสัมผัสอากาศ สารแซนโธนจะถูกน้ำย่อยนี้ออกซิไดซ์ไปเป็น ควิโนน

ประโยชน์ที่จะได้จากสารแซนโธนก็จะเสียไป

น้ำย่อยชนิดนี้ ทำให้หมดสภาพในการทำงานได้ด้วยความร้อน

แต่คุณค่าของความเป็นราชินีผลไม้ จากเนื้อสีขาวรอบๆเมล็ดจะด้อยค่าลงไปด้วย

ถ้านำไปต้มพร้อมกัน จึงจำเป็นต้องแยกส่วนดีทั้งหลายที่มีอยู่ออกจากกันก่อน

แล้วนำมารวมกันทีหลัง เพื่อให้คงคุณค่าเต็มร้อยครับ  "

 

 ขอบคุณ อาจารย์สุวัฒน์ ทรัพยะประภา ฉายา " นักวิจัย เท้าเปล่า " ม.มหิดล

                ตู้ปณ.106 ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160 

 

 

 

น้ำมังคุด ทั้งเนื้อสดและเมล็ดเนื้อน้ำจากเปลือกต้มสุก

 

 

เนื้อในเปลือกแข็งต้มสุกส่วนนี้ หากจะใส่เพิ่มลงไปก็ได้

แต่ต้องระวังไม่ควรใส่มากเกินเพราะจะทำให้ท้องผูก และน้ำมังคุดมีรสฝาด

 

รายละเอียดเกี่ยวกับการต้มมังคุดเพื่อได้น้ำในลูกอ่านชมเพิ่มได้ที่บันทึก

 

 

มังคุดต้มสุกฯ  http://www.gotoknow.org/posts/440804

 

 

สรรพคุณประโยชน์ของมังคุด

 

 มังคุด      Mahogang

เปลือกผล  รสฝาด บดเป็นผงหรือชงหรือต้มรับประทาน แก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด แก้ไข้ท้องเสีย

                 ฝนกับน้ำปูนใส ทาแผลเน่าเปื่อยพุพอง ฝีหนอง สมานแผล

                 ต้ม       ชะล้างบาดแผล

เนื้อหุ้มเมล็ด  รสเย็น หวานอมเปรี้ยว  บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย 

                 แก้ร้อนในเนื่องจากการรับประทานทุเรียน  แสลงกับ โรคบิดมูกเลือด

 

ยางจากผล  รสฝาด รับประทาน แก้บิด ท้องร่วง ใส่แผลหนอง

 

( ขอบคุณสรรพคุณมังคุด จากหนังสือเภสัชกรรรมไทยร่วมอนุรักษ์มรดกไทย โดย วุฒิ วุฒิธรรรมเวช)

 

 

มังคุดลดไขมันในเลือด

 

สารสำคัญที่พบในในมังคุด

cadinene, xanthone B, catechin, cyaniding, gartanin, garcinia, 

mangostana xanthone, garcinone, procyanidin, glycoside, sitosterol, pyridine

 

วิธีใช้   เนื้อในผล กินเป็นของว่าง 

 

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา   ต้านเชื้อแบคทีเรีย แก้ท้องเสีย ลดการอักเสบ กดระบบประสาทส่วนกลาง

ประเทศ ที่ทำการทดลองวิจัยได้ผลว่่าลดไขมันได้จริงคือ  เกาหลี  จีน  อิสราเอล

 

( ขอบคุณมังคุดลดไขมันฯจากหนังสือสมุนไพรลดไขมันฯรวบรวมเรียบเรียงโดย เภสัชกรหญิงจุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก )

 

สำหรับสารอาหารที่ชื่อว่า แซนโทน ที่มีมากในลูกมังคุดอ่านได้ในเน็ตนะคะ มีมากมายหลายเว๊ปไซต์ให้เลือกอ่านค่ะ

 

ด้วยความปรารถนาดี  กานดา แสนมณี

 

หมายเลขบันทึก: 537973เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2013 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2013 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ถ้ารับประทานมังคุด แล้วเจอเมล็ด สามารถเคี้ยวได้เลยค่ะ  อร่อยมาก ถ้าใครที่เคยรับประทานมังคุดกวนแล้วละก็ อืมอร่อยอย่าบอกใครเลยละ

อ่านไปรู้สึกน้ำลายสอๆอยากดื่มจังเลย

แวะมาชมวิธีสะกัดน้ำมังคุดมีประโยชน์..ได้บริโภคมังคุดเชอร์เบทหวานเย็นบ่อยๆค่ะ..ห้องครัวSCB นำเสนอบ่อยๆในฤดูกาลค่ะ

  • สวัสดีครับ
  • ยังไม่เคยลองดื่มน้ำมังคุดเลย
  • สงสัยต้องลองบ้างแล้วครับ

มีประโยชน์มากเลยครับพี่กานดา ครับ

save เก็บไว้แล้ว จะหาเวลาทำดูนะครับ

นำคำอธิบายจากอาจารย์สุวัฒน์ ทรัพยะประภามาฝากนะคะ

" Suwath Sapyaprapa ในเนื้อเปลือกผลมังคุดมีสารแซนโทนมากกว่า 40 ชนิด สาร แอลฟา-แมงโกสติน เป็นผลึกสีเหลืองอยู่ภายในเนื้อเปลือก ก็เป็นสารแซนโทนตัวหนึ่งในกลุ่มสารแซนโทนที่มีอยู่ทั้งหมด ซึ่งละลายได้ในน้ำร้อน ยังมีสารแซนโทนตัวอื่นๆอีก ที่อยู่ในรูปของไกลโคไซด์ ละลายได้ในน้ำ นอกจากกลุ่มสารแซนโทนแล้ว ในเนื้อเปลือกผลมังคุดยังมีกลุ่มสารแอนโทไซยานิ และ กลุ่มสารแทนนิน แยกเป็นคอนเด้นซ์แทนนิน ไฮโดรไลซาเบิ้ลแทนนิน ซึ่งเป็นสารพวกโพลีฟีนอล เมื่อรวมกันเข้าแล้วจึงมีคุณสมบัติร่วมกันอย่างที่นำไปใช้กันอยู่ การต้ม หรือ การนึ่ง เป็นการป้องกันสารเหล่านี้ถูกออกซิไซด์ทำให้ประโยชน์ของสารเหล่านี้เสียไป เคียวด้วยไฟอ่อนก็เพื่อให้สารต่างๆที่มีอยู่ในเนื้อเปลือกดังกล่าวซึมออกมา การสกัดสารแบบนี้อาจจะได้สารที่เป็นประโยชน์ไม่มากนักอย่างที่เขาว่า แต่ก็เพียงพอต่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ ซึ่งชาวบ้านทำตามได้ง่าย ก็เรามันนักวิจัยเท้าเปล่านะครับ วิจัยแบบลูกทุ่ง เกิดประโยชน์ได้ เท่านี้ก็พอใจแล้ว ส่วนนักวิจัยตัวจริงจะวิจัยต่อยอดให้ลึกกว่านี้ ก็ไม่มีใครห้ามนะครับ การนำเอาผลมังคุดต้มสุกไปสกัดแบบน้ำหมักเอนไซม์ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่จะได้สารต่างๆที่มีอยู่ในเปลือกผลมังคุด ซึ่งสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานขึ้น แต่กว่าจะใช้ได้ก็ต้องรอนานเหมือนกัน ถ้าด่วนๆก็ต้มแล้วใช้เลย ดังนั้นจึงควรผสมผสานวิธีการนำสารในเปลือกผลมังคุด มาใช้ประโยชน์ให้ได้มากขึ้น นักวิจัยอาสา ควรทดลองทำดูแล้วรายงานผล ก็จะช่วยกันพัฒนาการดูแลสุขภาพแบบพึ่งพาตนเอง เพื่อคนไทยมีสุขภาพดีกันถ้วนหน้าต่อไปครับ "

นำคำตอบจากอาจารย์มาฝากนะคะ" Suwath Sapyaprapa ในเนื้อเปลือกผลมังคุดมีสารแซนโทนมากกว่า 40 ชนิด สาร แอลฟา-แมงโกสติน เป็นผลึกสีเหลืองอยู่ภายในเนื้อเปลือก ก็เป็นสารแซนโทนตัวหนึ่งในกลุ่มสารแซนโทนที่มีอยู่ทั้งหมด ซึ่งละลายได้ในน้ำร้อน ยังมีสารแซนโทนตัวอื่นๆอีก ที่อยู่ในรูปของไกลโคไซด์ ละลายได้ในน้ำ นอกจากกลุ่มสารแซนโทนแล้ว ในเนื้อเปลือกผลมังคุดยังมีกลุ่มสารแอนโทไซยานิ และ กลุ่มสารแทนนิน แยกเป็นคอนเด้นซ์แทนนิน ไฮโดรไลซาเบิ้ลแทนนิน ซึ่งเป็นสารพวกโพลีฟีนอล เมื่อรวมกันเข้าแล้วจึงมีคุณสมบัติร่วมกันอย่างที่นำไปใช้กันอยู่ การต้ม หรือ การนึ่ง เป็นการป้องกันสารเหล่านี้ถูกออกซิไซด์ทำให้ประโยชน์ของสารเหล่านี้เสียไป เคียวด้วยไฟอ่อนก็เพื่อให้สารต่างๆที่มีอยู่ในเนื้อเปลือกดังกล่าวซึมออกมา การสกัดสารแบบนี้อาจจะได้สารที่เป็นประโยชน์ไม่มากนักอย่างที่เขาว่า แต่ก็เพียงพอต่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ ซึ่งชาวบ้านทำตามได้ง่าย ก็เรามันนักวิจัยเท้าเปล่านะครับ วิจัยแบบลูกทุ่ง เกิดประโยชน์ได้ เท่านี้ก็พอใจแล้ว ส่วนนักวิจัยตัวจริงจะวิจัยต่อยอดให้ลึกกว่านี้ ก็ไม่มีใครห้ามนะครับ การนำเอาผลมังคุดต้มสุกไปสกัดแบบน้ำหมักเอนไซม์ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่จะได้สารต่างๆที่มีอยู่ในเปลือกผลมังคุด ซึ่งสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานขึ้น แต่กว่าจะใช้ได้ก็ต้องรอนานเหมือนกัน ถ้าด่วนๆก็ต้มแล้วใช้เลย ดังนั้นจึงควรผสมผสานวิธีการนำสารในเปลือกผลมังคุด มาใช้ประโยชน์ให้ได้มากขึ้น นักวิจัยอาสา ควรทดลองทำดูแล้วรายงานผล ก็จะช่วยกันพัฒนาการดูแลสุขภาพแบบพึ่งพาตนเอง เพื่อคนไทยมีสุขภาพดีกันถ้วนหน้าต่อไปครับ "

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท