ครวญคิดการเมือง


เมื่อตอนวัยเด็กเราจะถูกสอนว่า  การปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น  ดีกว่า  ระบอบคอมมิวนิสต์ หรือระบอบเผด็จการ    ทำให้เหมือนเป็นการตอกย้ำวิธีคิดของเราว่า  ดีที่สุดนั้นคือ  ประชาธิปไตย

แต่เมื่อพบปะเรื่องราวเหตุการณ์บ้านเมืองมากขึ้น    มาตรองคิดดู  ไม่ว่าระบอบใดก็มีช่องโหว่ทั้งนั้น    ที่โหว่ก็เพราะ  "คน"  นั่นเอง    ถ้าคนดี  ไม่ว่าจะเป็ระบอบใดมันก็ดีหมด   จึงเริ่มเข้าใจคำว่า  ทุกอย่างมีทั้งด้านขาวและดำ   

คอมมิวนิสต์  หากเป็นอย่างแนวคิดที่เท่าเทียมกันจริง  ก็ดีเหมือนกัน   แต่ที่เห็นมาผู้นำแหละตัวดี    อำนาจตัวเองล้นเหลือ  แต่ปากพยายามบอกให้คนอื่นเท่าเทียม 

ประชาธิปไตย  ก็ดีถ้าคนมีสิทธิเสรีในการทำการใดก็ตาม  ซึ่งไม่เดือดร้อนต่อคนอื่น   แต่ที่ผ่านมา  ประชาธิปไตย  ยังคงเป็นข้อกังขาว่า   ประชา (ชน) มีสิทธิเพียงแค่ไปออกเสียงครั้งหนึ่งในรอบวาระการเลือกผู้แทนราษฎรแค่นั้นหรือ     ยังไม่รวมข้อสงสัยอื่นๆ ที่สงสัยว่า  ประชาธิปไตย นั้น สามารถใช้ได้กับทุกสถานการณ์หรือไม่    อย่างเช่น  มีพระรูปหนึ่ง มีเซียนพนันอยู่ 3 คน  หากใช้หลักประชาธิปไตยไปเสียทุกเรื่องก็น่าคิดเหมือนกันนะ

ไม่ว่าระบอบใดก็ตาม  หากมีเงามืดของ "อำนาจ" และ "ตัวกิเลส"  ที่ไม่เคยพอเพียง   แฝงอยู่ในจิตใจของผู้นำ    ประชาชนก็เป็นได้แค่เพียงหมากเบี้ยที่ต้องทนทุกข์กันต่อไป   

กลไกในระบอบก็มีส่วน    จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาทำให้เราเห็นว่ากลไกที่มีอยู่นั้น    มันใช้การไม่ได้ในหลายๆกรณี    สังคมจึงต้องมีการสร้างกลไกอะไรแปลกๆออกมาให้เราได้เห็น   เพื่อพยายามปรับสมดุลในสังคมให้หลุดจากภาวะไร้ระเบียบ (ที่นักการเมืองมักยกเอากฏระเบียบที่เป็นประโยชน์กับตัวมาอ้างเสมอว่ามันเป็นระบียบดีอยู่แล้ว)      

นี่เป็นสิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้ว่า   กฏระเบียบนั้น  ทำอย่างไรก็ไม่มีวันสมบูรณ์เป็นแน่     หากคุณธรรมพื้นฐานของคนในสังคมยังพร่องอยู่   โดยเฉพาะ "ท่านผู้นำทางการเมือง"   ที่เคารพทั้งหลาย  

แต่อย่างน้อยที่สุดสังคมไทยยังโชคดีมาก    หากเปรียบเทียบกับหลายๆประเทศ      เรามี "ในหลวง"    พ่อที่คอยปฏิบัติธรรมให้เราดูเป็นแบบอย่างที่ดี   และบอกสอนเราให้ยึดคุณธรรมเป็นฐานรากของหัวใจไว้เสมอ     หากเราหันมาสนใจเรื่องการบ่มเพาะคุณธรรมในหัวใจมากขึ้นอีกสักนิด   ตั้งแต่ในบ้าน   ในโรงเรียน  ในชุมชน  ในที่ทำงาน   ในรัฐสภา    สังคมไทยก็น่าจะร่ำรวยความสุขมากกว่านี้

หมายเลขบันทึก: 53774เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2006 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท