จากค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ. พัฒนาจนกลายมาเป็นจุดเริ่มของ DPAC


DPAC

 DPAC ; D iet P hysical A ctivity C linic หรือเรียกชื่อย่อว่า DPAC  

ปัญหาสาธารณสุขของประเทศที่เป็น Burden อย่างมากได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง (ความชุกประมาณร้อยละ 10 ของประชากร) โรคเบาหวาน (ความชุกประมาณร้อยละ 3-5 ของประชากร) โรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการตายลำดับต้นๆ และหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุของอัมพาตหรืออัมพฤกษ์ ซึ่งขณะนี้ระบบบริการสาธารณสุขได้ใช้ทรัพยากรจำนวนมากเพื่อดูแลโรคเรื้อรังเหล่านั้น ถ้ามาดูภาวะเสี่ยงที่จะเป็น Pre Disease สำหรับ 3 โรคดังกล่าว จะพบว่า โรคอ้วนได้เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะภาวะอ้วนลงพุง ( เส้นรอบเอวเกินเกณฑ์ คือ เส้นรอบเอวมากกว่าหรือเท่ากับ 90 เซนติเมตร ในชาย และ 80 เซนติเมตรในหญิง) กลุ่มอาการทางเมตะบอลิก (Metabolic Syndrome) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการอ้วนลงพุง ร่วมกับภาวะดังต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อ ได้แก่ ระดับนำตาลเริ่มสูง (FBS >=100 mg/dl หรือมีภาวะ Impaired Fasting Glucose หรือ IFG) ความดันโลหิตเริ่มสูงขึ้น (Systolic >=130 mmHg หรือ Diastolic >=85 mmHg) ไขมันไม่ดีเพิ่มขึ้น (Triglyceride >=150 mg/dl) และไขมันดีลดลง (HDL- C < 40 mg/dl ในหชาย หรือ < 50 mg/dl ในหญิง) International Diabetic Federation (IDF) ได้ระบุว่า ร้อยละ 40-50 ของผู้ที่มีภาวะ Impaired Glucose Tolerance (IGT) จะกลายเป็นโรคเบาหวาน (Type II) ภายใน 2 ปี และจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ภายใน 10 ปี และแถบ South East Asia หรือประเทศ ASEAN นั้นมีความชุกของ IGT สูงที่สุดในโลกคือพบร้อยละ 13.2 ของวัยผู้ใหญ่ (ค่าเฉลี่ยของระดับโลกเท่ากับร้อยละ 8.2) และร้อยละ 30 ของผู้ที่มี IGT นั้น ผลเลือดกลับมาสู่ปกติได้โดยไม่ได้ก้าวหน้าไปเป็นเบาหวานได้ ซึ่งยังเป็นความหวังของประเทศไทย เพราะถ้าสามารถที่จะค้นหาผู้ที่ยังเป็นเบาหวาน มีเพียง IGT และมาปรับพฤติกรรมก็สามารถที่จะทำให้ Convert กลับมาเป็นปกติ ซึ่งจะลดภาระ (Burden of disease) ลงไปอย่างมาก

เมื่อมาพิจาณาปัจจัยที่เป็นปฐมเหตุของ IGT , Metabolic Syndrome Obesity ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ก็จะพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือดต่อไป ก็คือ วิถีการดำเนินชีวิตของเราที่เปลี่ยนไป จากการทำงานที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย มาเป็นงานในสำนักงานที่ไม่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย หรือที่เรียกว่า Sedentary Life Style จากการบริโภคอาหารที่มี ผัก ผลไม้มาก มาเป็นการบริโภคอาหาร ที่ หวาน มัน เค็มมากขึ้น หรือจะกล่าวได้ว่า การจะลดภาระโรค (Burden of disease) ที่ประเทศไทยกำลังประสบ คือ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจาก Sedentary Life Style มาเป็น Physical Activity Life Style จากการบริโภคมากทั้งปริมาณ และแย่เชิงคุณภาพ (อาหาร หวาน มัน เค็ม) เปลี่ยนมาเป็นอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ( เครดิตจาก http://hpe4.anamai.moph.go.th/hpe/ms/index_DPAC.php )


    หมายเลขบันทึก: 537619เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2013 23:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2013 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (4)

    วันนี้เป็นวันที่ทีมงานโพนนาแก้วกำลังพัฒนา. และสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ DPAC.  Clinic. โดยได้share ผ่าน Facebook นี้. ผู้สนใจลองเข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปพร้อมๆกันคะ

    https://www.facebook.com/kunnong.aeinglukkha?hc_location=timeline. 

                    เพาะถั่วงอกไว้ทานเอง

    เป็นโครงการที่ดี....เคยเข้าร่วมโครงการ....น้ำหนักลดลง....เดินขึ้นที่สูงไม่เหนื่อย...ใส่ใจสุขภาพ ดีครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท