KM00132 : คิดไปเรื่อย 24 "กรรมของเรา"


ศาสนาพุทธถือว่าเรื่อง "กรรม" (Kamma) เป็นเรื่องที่สำคัญ เราจึงได้ยินคำพูดนี้บ่อยๆ ในสังคมไทยซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ เช่น "กรรมตามสนอง" "เวรกรรมจริงๆ" "กรรมใครก็กรรมมัน" "อย่างจองเวรจองกรรมกันเลย" เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่มักใช้กับความหมายที่เป็น "ลบ" มากกว่าบวก ดังนั้นเราจึงมักใช้คำนี้หรือนึกถึงคำนี้เวลาเรา "ทุกข์" มากกว่า "สุข" เมื่อความทุกข์หายไป ก็มักลืมเรื่องของ "กรรม" ไป หลายคนจึงนึกว่า "ความสุขในปัจจุบัน" เป็นผลมาจาก "สิ่งที่กระทำในปัจจุบัน" โดยไม่ต้องคำนึงว่าความสุขเหล่านั้นจะได้มาจาก "กุศลกรรม" หรือ "อกุศลกรรม" หลายคนจึงพร้อมที่จะเอาเปรียบผู้อืนเพื่อให้ตังเองเป็นสุข พร้อมที่จะโกงผู้อื่น โกงคนในครอบครัว โกงเพื่อนฟูง.....ไปจนถึงโกงประเทศชาติ เพียงแค่ขอให้ "ตัวเองมีความสุข" การไม่เชื่อเรื่อง "กรรม" ทางพุทธศาสนาถือเป็น "มิจฉาทิฏฐิ" รวมไปถึงการเชื่อเรื่อง "กรรม" แบบผิดๆ ก็ถือเป็น "มิจฉาทิฏฐิ" เช่นกัน เราจึงพิธีสะเดาะเคราะห์ (กรรม) แก้กรรม ล้างกรรม ดูดวง ตามมาจากการเข้าใจเรื่อง "กรรม" ที่ผิด เมื่อกระทำสิ่งใดไปแล้วก็ย่อมต้องรับสิ่งที่กระทำหรือผลกรรมนั้น การไม่ต้องรับผลของการกระทำหรือกรรมนั้นมีเพียงสิ่งเดียวคือ "อโหสิกรรม" การสร้างกรรมไว้กับชาติบ้านเมืองหากเป็น "กรรมดี" ก็ย่อมต้องได้รับผลของการกระทำมากเพราะเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก ในทางตรงข้ามหากเป็น "กรรมไม่ดี" ก็ย่อมต้องได้รับผลตอบแทนสูงเช่นกัน การไม่ต้องรับผลกรรมที่ไม่ดีนั้นก็ยากยิ่งเพราะจะให้คนหมู่มากคิดที่จะ "อโหสิกรรม" เหมือนกันคงไม่เกิด แต่คนที่กล้าทำ "กรรมไม่ดี" ต่อประเทศชาติเหล่านี้คงคิดไม่ตกเพราะ "มิจฉาทิฏฐิ" ครอบงำหมดแล้ว คงต้องย้อนกลับมาที่เราต้องคิดว่า "กรรมของเราแท้ๆ".....เฮ้อ

คำสำคัญ (Tags): #กรรม
หมายเลขบันทึก: 537488เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2013 09:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2013 09:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท