อย่าปล่อยให้ราชาศัพท์กั้นศาสนา


ช่วงวันวิสาขที่ผ่านมาผมได้เขียนบทความ ๖ บทด้วยหวังว่าจะให้แง่คิดแปลกๆแก่ผู้อ่านแทนการเดินเวียนเทียนตามประเพณี โดยลึกๆแล้วมีแต่เจตนาที่จะจรรโลงศาสนา   แต่ดูเหมือนว่ามีผู้อ่านบางท่านไม่เข้าใจ และไม่พอใจที่ผมใช้ภาษาแบบชาวบ้านเกินไป โดยลึกๆแล้วคงหาว่าผมกำลังทำลายศาสนา   ต้องการให้ผมใช้ภาษาแบบเคารพเทิดทูน 


 ซึ่งผมว่านี่เป็นอาการ”ยึดติด”อย่างหนึ่ง ซึ่งพพจ.ท่านสอนว่าการยึดติดนี่แหละคือต้นเหตุแห่งความทุกข์

สมัยท่านพุทธทาสภิกขุเทศนาธรรมยุคแรกๆ  ท่านยกประเด็นว่าพระพุทธรูปคือเครื่องกำบังธรรมะ เพราะคนเอาแต่กราบพระพุทธรูปจนมองไม่เห็นหลักศาสนา  ปรากฎว่ามีพระที่ไม่เข้าใจ ที่ยังยึดติด ออกมาด่าท่านมาก  แต่วันนี้ก็ดวงตาเห็นธรรมกันพอควร  เอาเรื่องพระพุทธรูปบังธรรมมาสอนกันมากแล้ว 

 ต่อมาท่านพุทธทาสก็พยายามรณรงค์ให้เลิกใช้ราชาศัพท์กับพระพุทธเจ้า เพราะมันทำให้พพจ. ดูห่างเหินกับคนทั่วไป  แต่เรื่องนี้ไร้ผล

การเคารพพพจ. นั้นเราเคารพในความรู้ที่ท่านแสวงหามาสอนเรา เคารพด้วยใจลึกๆ  เงียบๆ  ส่วนการเคารพเชิงรูปแบบด้วยการแสดงออกทางวาจา ด้วยการบูชากราบไหว้นั้นสำหรับผมทางสายกลาง ไม่ตึงไม่หย่อนเกินไป  ส่วนท่านที่ชอบแสดงออกทางกายวาจา ก็ไม่ว่ากันหรอกครับ ถือเป็นรสนิยมทางศาสนา และเป็นวิวัฒนาการทางจิตวิญญาณ 


ศาสนาเปรียบหน้าผา ที่ให้เราปีนไปสู่ยอดเขา ควรมีชองเจาะหลายระดับเพื่อให้ส่ำสัตว์ผู้แสวงหาได้เข้าไปพักพิงตามระดับแห่งการปีนป่ายเฉพาะตน 


ผมได้เขียนวิจารณ์ในหลายแห่ง รวมทั้ง กทน. ว่าวันนี้เรากำลังช่วยกันทำลายศาสนาด้วยการยกพระให้มีสมณศักดิ์สูงส่งหลายระดับ มียศ(พัดยศ) ยังกะตำรวจ ทหาร อำมาตย์  ลูกชาวไร่ชาวนาบวชเรียนหนีจน สร้างโบสถ์ สร้างวัด  กลายเป็นพระสมณศักดิ์สูงที่เราต้องพูดด้วยด้วยราชาศัพท์ (แล้วพระเองท่านก็ชอบเสียด้วย   (ผมกล้าวิจารณ์ชนทุกเหล่าแหละครับ  เอาตัวเข้าแลกเพื่อฝากแรงกระตุกไว้เสมอ  ยอมโดนด่า  โดนขู่ก็มี   บางท่านยังคิดว่าผมไม่กล้าวิจารณ์ อภิสิทธิ์  สนธิ  ธ่อ...พพจ. พระสมเด็จ ผมยังกล้า สำมะหากะสองคนนี้ อิอิ )

ส่วนพพจ.  นั้น เรายกให้ท่านเป็น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปแล้ว  เท่ากับว่าเรากำลังโง่เขลาสร้างชั้นเยื่อขึ้นมากั้นให้คนธรรมดาเข้าถึงศาสนาของสมณโคดมได้ยากขึ้นทุกทีหรือไม่???   ผมว่า พพจ .ท่านมาได้ยินเข้าคงจะส่ายพระพักตร์ (ราชาศัพท์นะเนี่ย) ไม่ยอมรับยศนี้เป็นแน่ 


เราจะต้องล้มพระพุทธรูปกี่องค์ แหวกม่านประเพณีอีกกี่ม่าน กว่าจะเข้าถึงธรรมที่สมณโคดมได้ประกาศไว้


...คนเถียงธรรม (๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๖)

ปล. How many Buddhas must a man put aside, before he see the great Tao?

The answer my friend is blowing out the church, the answer is blowing out the church


หมายเลขบันทึก: 537342เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2013 10:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2013 10:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

แวะมาอ่านบทความดีๆค่ะพี่ชายสบายดีนะคะ ช่วงนี้ยุ่งค่ะพอดีเป็นครูป.1มือใหม่ เด็กก็เยอะตั้ง 37 คนค่ะ ยังเคารพและห่วงใยเช่นเดิมนะคะ พี่คนถางทางรักษาสุขภาพด้วยช่วงนี้ฝนกำลังตกชุกเลย แล้วจะแวะมาแซวใหม่ค่ะ

I am with you on language and rank issues. Prince Siddhartha (Gautama) left the Palace and Kingdom to become a samana (beggar). He did away with status, wealth and power. We can agree on that He had discovered and taught a truly great Dhamma for 45 years. He had established a movement that fitted well among people of various classes (in His way, people are more equal and can potentially become enlightened regardless of gender, class, vocation and education). His Teaching and His way of life are expressed in many different ways, many times over for different people -- kings, brahmins, ... paupers. (Let us learn Buddhism by His Teaching, not by buying our way to Heavens or better next life.)

I disliked your recent suppositions not because of the language but because of the "OFF" colours that you used to paint the Buddha "in ONE SWOOP". I see the World Visak day as a great occasion for people to ponder about life ("whatever we are born, whatever we become, we die"), the whole spectrum  in one single day. Meditating on "birth, best, death" we may have a resolution for the rest of our life. Your supposition somehow masked and marred the great message of Visak day.

In two month time, we'll have Buddhism Foundation Day or Dhamma Day (อาสาฬหบูชา: [-สานหะ-, -สานละหะ-] น. การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๘ ซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา). The day of First Teaching, First Arahanta, and First Sangha (as a body or society of Buddhists) to make the Three Gems (รัตนตรัย) for the first time.

Magha-puja is the day for all of us (Buddhists), The day to re-confirm our faith or conviction (not to commit any sins; do only good; and purify our mind). On this Buddhist Day we strive to become "true Buddhist" and carry on.We should understand the significance of very few Buddhist Days and let us use these few occasions to further Buddhism -- in any language.


มูลเหตุหนึ่งที่ พุทธเถรวาทแบบไทย ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในหมู่คนฉลาดฝรั่งก็เพราะเรื่องที่พิธีกรรมมากเกินไปนี่แหละ ฝรั่งที่นิยมพทุธไทยลองไปทำสถิติดูครับ ส่วนใหญ่เป็นผัวของเมียคนไทย  พวกนักฟิสิกส์โนเบลไม่ค่อยมีหรอก   (อ้าว พูดแบบนี้วอนโดนด่าอีกแล้ว  หาว่าดูถูกกัน)  

 คนพวกนั้นเขาหันไปนิยมเซ็นกันเสียเป็นส่วนใหญ่ เพราะพวกนี้เขาเน้นปัญญามากกว่าพิํธีกรรมและการกราบไหว้เคารพบูชา      สตีฟ จอบส์ ก็เป็นพุทธเซ็น 

 

 คนเราพอศึกษาไปถึงระดับหนึ่งแล้วเราจะเลิกพิธีกรรม รูปแบบ แต่หันมาเคารพกันที่สติปัญญามากกว่า   ไม่ต้องกราบไหว้ พูดคำหวานเราก็รู้เคารพกันได้ด้วยใจที่สื่อถึงกัน 

I am not addicted to ritual practices. I don't go out to offend rituals either.

I learned that Rituals (rites, protocols, ceremonies, courtesy, ...) are parts of cultures (or expressions of civilization). People have their ways of bringing in 'togetherness'; belonging to the same group by doing the same things; relaxing in acceotable/usual/common atmosphere/environment of "like minded"; ...

I also learned that rituals become tradition and powertools in social networks (used) in conjunction with "Laws/Justice/Power/Control/Money...". As tradition, when something don't go as (people) expected, they are at odds/in error/exceptions/... raising curiosity/suspicion/caution and prejudicial/differentiative/emotional reactions. Even scientists know and love "regularity" and curse "irregularity". Not all of us would look and learn from oddity.  As tool, when a group of people come together to perform 'same' routines, they become more united, synchronized, and more uniformed (mentally) (like soldier drills).

And lately I have learned that thinking out of the box means looking at many many different boxes and thinking with some acceptable links to those boxes or my thought will be a distant star -- shining brightly only in my dream. -- obscure/disjoint to all others' eyes.

I still find it very difficult to rationalize 'money making or commercial rituals and rites'. (The differences between "a money box in the corner" or passive charity and "door-to-door collection" are very much in the purpose and urgency for such methods.) I would participate in rituals to reach a higher goal. I would even make up a ritual if I believe the ritual can build a good habit in a group and cohere members for a higher goal. Enough to say that rituals are tools. Tools are used by both sides -- good and bad.

You and I know, we have many problems before we can achieve a true 'knowledge and good society'. Many problems can be solved with technological approaches. Many problems can be solved with cultural approaches. Techological approaches are usually based on high money, high knowledge and high energy (pollution). Cultural approaches are based on high (people) participation, low knowledge and low energy (dissipation). We can choose and use solutions that best fitted the expected outcome.

(Jees, I am really raving in my old age ;-)

ท่าน sr ครับ ผมเองไม่ได้ดูถูกศาสนประเพณีอะไรนักหรอก เพราะผมก็เชื่อตามที่ท่านพุทธทาสว่าไว้คือมันเป็นเครื่องยึดสำหรับผู้ที่ยังอ่อนแอ พอให้ประคองอยู่ได้ไปพลางก่อน  จนกว่านะวิวัฒน์ไปเรื่อยๆ 


อ้าว หมูจ๋า  บรรจุแล้วหรือ  ดีใจด้วยนะ พระคุ้มครองให้เป็นครูเก่งดี มีศิษย์รักเยอะๆ 

ลองก่อนอย่าเชื่อ

เมื่อเราทุกคน เคารพรัก และ เชื่อฟังในคำสอนของพระพุทธเจ้า ปฎิบัติตามคำสั่งใช้และไม่ทำในข้อห้ามต่างๆ ที่ท่านสอนสั่งเสมอ. หากเราตายไป รอการเปิดบัญชีสอบสวน. วันนั้น ส่วนหนึ่งของเรา ย่อมมุ่งหวังที่จะพบ พระพุทธเจ้าที่เราเคารพรักกัน หากพบ เรามีโอกาสถามคำถามหนึ่งว่า. พระพุทธเจ้าค่ะ ท่านห้ามกตัญญูต่อ ผู้ให้ออกซิเจนท่านหายใจ เมื่อครั้งดำรงชีวิตในโลกุตระหรือ ผู้นั้นที่ชาวโลกเขากล่าวกันว่า เป็นเจ้าเมืองธรรมชาติ แถมมีหลักฐานว่า ผู้นั้นคือผู้สร้างจรรโลง บริหารระบบธรรมชาติ จัดการกรรม และมอบสิ่งเสพต่างให้เราทุกคนด้วยปราณีเสมอ. หลักฐานนั้นก็มีมาก่อนท่านเข้าวงสังสารวัฎ หลายพันปีอีกด้วย. พระพุทธเจ้าทราบดีว่า นั่นคือ กตัญญูกตเวทิตาธรรม อันเป็นองค์ธรรมที่สำคัญ ท่านก็คงจะตอบว่า ใครไปห้ามท่านมีธรรมล่ะ. เอาล่ะซิครับพี่น้อง ใครที่เคยกตัญญูต่อพระเจ้าไปพลางๆ ไม่ปฎิเสธปิดกั้น หรือ ไม่เคยมีการก่อจิตที่เนรคุณต่อผู้มีพระคุณนั้นก็เบาสบายไร้ทุกข์. แต่ผู้ที่ปฎิเสธเนรคุณไปพลางๆ ก็มีเหตุแห่งทุกข์กังวลขึ้นมาข้อนึงแล้ว. หากจะดับเหตุแห่งทุกข์ในวันนั้น ก็สมควรที่จะกตัญญูไปพลางๆก่อน เพราะ สากลทั่วโลก เขาก็กตัญญูไปพลางๆ ทั้งๆที่ยังไม่พบรูป แต่เข้าถึงคุณค่าของนาม. อีกทั้งต้องเสพสิ่งต่างๆจากการสร้าง จากหลักฐานการเป็นเจ้าของที่มีมาก่อนพระพุทธเจ้าเกิดหลายพันปีด้วยซ้ำ. กตัญญูกตเวทิตาธรรมนั้น ย่อมสามารถมี เพื่อความเท่าเทียมกันได้ เพียงแต่เราไม่ยอมผิดศีล5 ในข้อ ขโมย คือ ขโมยออกซิเจน เสพธรรมชาติ จากเจ้าเมืองธรรมชาติที่ทั่วโลก เขากตัญญูกัน อยู่ทุกนาที แล้วมีจิตเนรคุณ ไม่ขอบคุณให้ถึง ยอมปิดกั้นแค่เครื่องผลิต แต่ไม่ขอบคุณเจ้าของเครื่อง แถมไม่เพียรหลุดพ้นจากอาการขโมย ด้วยทางที่ง่าย คือ กตัญญูไปพลางๆ มีขันติธรรมรอ. มีปัญญาธรรมศึกษา มีสมาธิวิเคราะห์ มีศีลไม่มุสาว่า เสพ หรือ ไม่เสพ รับทราบหรือไม่รับทราบ. เพราะสากลเขาแจ้งชัดอยู่แล้ว. พระพุทธเจ้าท่านแนะนำให้ลองก่อน อย่าเพิ่งรีบเชื่อ หากใครมีพระเจ้าเป็นสิ่งปฎิเสธมานานจะกี่สิบปีก็ตาม ขอให้ลองมีพระเจ้าเป็นสิ่งกตัญญู สัก ปีสองปี ก็ยังดี จะได้ไม่ใช่ ผู้ไม่เชื่อฟังคำแนะนำของพระพุทธเจ้า ไง.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท