Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนขององค์การ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของผู้บริหารบริษัท (2)


แพรภัทร ยอดแก้ว.2556. นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนขององค์การ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของผู้บริหารบริษัท The Relationship between The Perceived Organization Supports Transformational Leadership with Organizational Citizenship Behavior of Managers. " ในการประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายวิจัยสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ประจำปี 2556 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ณ โรงแรมโรสการ์เด้นท์ อ.สามพราน จ.นครปฐม"

จากการวิเคราะห์ข้อมูล  สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

1.  ปัจจัยส่วนบุคคล

ตารางที่ 1  จำนวนและร้อยละของผู้บริหารบริษัท  จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล

(n = 44)

ปัจจัยส่วนบุคคล

จำนวน (คน)

ร้อยละ

เพศ

  ชาย

24

54.5

  หญิง

20

45.5

รวม

44

100.0

อายุ

  น้อยกว่าอายุ 34

22

50.0

  มากกว่าหรือเท่ากับอายุ 34

22

50.0

รวม

44

100.0

ระดับการศึกษา

  น้อยกว่าหรือเท่ากับปริญญาตรี

35

79.5

  ปริญญาโท

9

20.5

รวม

44

100.0

ตำแหน่ง

  หัวหน้างานระดับต้น

25

56.8

  ผู้จัดการและหัวหน้างานระดับสูง

19

43.2

รวม

44

100.0

ประสบการณ์ในการทำงาน

  น้อยกว่า 3 ปี

30

68.2

  มากกว่าหรือเท่ากับ3 ปี

14

31.8

รวม

44

100.0

จำนวนพนักงานในการบังคับบัญชา

  น้อยกว่า 4 คน

25

56.8

  มากกว่าหรือเท่ากับ 4 คน

19

43.2

รวม

44

100.0

จากการศึกษาข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง  พบว่า ผู้บริหารบริษัท ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน  24 คน  คิดเป็นร้อยละ 54.5 จำนวนอายุน้อยกว่าอายุ 34 และอายุมากกว่าหรือเท่ากับอายุ 34 จำนวน 22 คน  คิดเป็นร้อยละ 50 เท่ากัน  ระดับการศึกษาน้อยกว่าหรือเท่ากับปริญญาตรี จำนวน 35 คน  คิดเป็นร้อยละ 79.5 ตำแหน่งเป็นหัวหน้างานระดับต้น จำนวน  25 คน  คิดเป็นร้อยละ 56.8  ประสบการณ์ในการทำงาน น้อยกว่า 3 ปี จำนวน 30คน  คิดเป็นร้อยละ 68.2  และมีจำนวนพนักงานน้อยกว่า 4 คน จำนวน 25 คน  คิดเป็นร้อยละ  56.8


2. การรับรู้การสนับสนุนขององค์การ

ตารางที่  2  แสดงค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

    และระดับการรับรู้การสนับสนุนขององค์การของผู้บริหารบริษัท

การรับรู้การสนับสนุนขององค์การ

×̅

S.D.

ระดับการรับรู้การสนับสนุน

การรับรู้การสนับสนุนขององค์การโดยรวม

4.36

.53

ดี

  ด้านการสนับสนุนการปฏิบัติงาน

4.43

. 50

ดี

  ด้านโอกาสที่จะได้รับการพัฒนาจากองค์การ

4.36

.65

ดี

  ด้านการใส่ใจขององค์การเกี่ยวกับความเป็นอยู่

  ที่ดีของผู้ปฏิบัติงาน

4.25

.53

ดี

  ด้านการเห็นคุณค่าของผลงาน

4.05

.37

ดี

จากการศึกษาข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง  พบว่า ผู้บริหารบริษัท โดยภาพรวม  มีการรับรู้การสนับสนุนขององค์การอยู่ในระดับดี  (×̅ = 4.36)  และเมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า  ด้านการสนับสนุนการปฏิบัติงาน  ผู้บริหารบริษัทมีการรับรู้การสนับสนุนขององค์การ  อยู่ในระดับดี (×̅ = 4.43)  ด้านโอกาสที่จะได้รับการพัฒนาจากองค์การ ผู้บริหารบริษัทมีการรับรู้การสนับสนุนขององค์การ  อยู่ในระดับดี (×̅ = 4.36)  ด้านการใส่ใจขององค์การเกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ปฏิบัติงาน  ผู้บริหารบริษัทมีการรับรู้การสนับสนุนขององค์การ  อยู่ในระดับดี (×̅ = 4.25)  ด้านการเห็นคุณค่าของผลงาน  ผู้บริหารบริษัทมีการรับรู้การสนับสนุนขององค์การ  อยู่ในระดับดี (×̅ = 4.05)


3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ตารางที่  3  แสดงค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

    และระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารบริษัท

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

×̅

S.D.

ระดับภาวะผู้นำ

การเปลี่ยนแปลง

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยรวม

4.20

.46

สูง

  ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์

4.09

.36

สูง

  ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ

4.20

.51

สูง

  ด้านการกระตุ้นทางปัญญา

4.18

.49

สูง

  ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 

3.95

.71

สูง

จากการศึกษาข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง  พบว่า  ผู้บริหารบริษัท  ส่วนใหญ่มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับสูง  (×̅ = 4.20)  และเมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า  ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ผู้บริหารบริษัทมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  อยู่ในระดับสูง (×̅ = 4.09)  ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ  ผู้บริหารบริษัทมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับสูง(×̅ = 4.20)  ด้านการกระตุ้นทางปัญญา  ผู้บริหารบริษัทมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  อยู่ในระดับสูง (×̅ = 4.18)  ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล  ผู้บริหารบริษัทมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  อยู่ในระดับสูง (×̅ = 3.95)


4. พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ

ตารางที่  4  แสดงค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

    และระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของผู้บริหารบริษัท

พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ

×̅

S.D.

ระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ

พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การโดยรวม

4.55

.55

สูง

  ด้านการให้ความช่วยเหลือ

3.97

.59

สูง

  ด้านความสุภาพอ่อนน้อม

4.52

.55

สูง

  ด้านความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา

4.45

.58

สูง

  ด้านความสำนึกในหน้าที่

4.47

.55

สูง

  ด้านการให้ความร่วมมือ

4.79

.46

สูง

จากการศึกษาข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง  พบว่า  ผู้บริหารบริษัท ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ  อยู่ในระดับสูง  (×̅ = 4.55)  และเมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า  ด้านการให้ความช่วยเหลือ ผู้บริหารบริษัทมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ  อยู่ในระดับสูง (×̅ = 3.97)  ด้านความสุภาพอ่อนน้อม  ผู้บริหารบริษัท  มีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ อยู่ในระดับสูง (×̅ = 4.52)  ด้านความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา  ผู้บริหารบริษัทมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ  อยู่ในระดับสูง (×̅ = 4.45)  ด้านความสำนึกในหน้าที่  ผู้บริหารบริษัทมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ  อยู่ในระดับสูง (×̅ = 4.47)  ด้านการให้ความร่วมมือ ผู้บริหารบริษัทมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ  อยู่ในระดับสูง(×̅ = 4.79)


ผลการทดสอบสมมุติฐาน

จากการทดสอบสมมุติฐานในการวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยได้ตั้งสมมุติฐานไว้จำนวน 9 ข้อ โดยสมมุติฐานที่ 1 แบ่งเป็นสมมุติฐานย่อยอีก 6 ข้อ  ซึ่งผลการทดสอบสมมุติฐานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 พบว่า  มีทั้งเป็นไปตามสมมุติฐานและไม่เป็นไปตามสมมุติฐาน  ดังนี้

สมมุติฐานที่ 1  ผู้บริหารบริษัทเอกชน ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ แตกต่างกัน 

ผลการทดสอบสมมุติฐาน ไม่พบว่า ผู้บริหารบริษัทเอกชน ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน  มีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การแตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สมมุติฐานที่ 2  การรับรู้การสนับสนุนขององค์การของผู้บริหารบริษัท มีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ผลการทดสอบสมมุติฐาน ไม่พบว่า  การรับรู้การสนับสนุนขององค์การของผู้บริหารบริษัท มีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สมมุติฐานที่ 3  การรับรู้การสนับสนุนขององค์การของผู้บริหารบริษัท มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ

ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า  การรับรู้การสนับสนุนขององค์การของผู้บริหารบริษัท มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

สมมุติฐานที่ 4  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารบริษัท มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ

ตารางที่ 5   แสดงค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ โดยรวมและรายด้านของผู้บริหารบริษัท

 

พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

โดยรวม

II

IM

IS

IC

R

P

R

P

R

P

R

P

R

P

พฤติกรรมโดยรวม

.560**

.000

.330*

.014

.424**

.002

.483**

.000

.422**

.002

1.ด้านการให้ความช่วยเหลือ

.530**

.000

.445**

.001

.325*

.016

.412**

.003

.329*

.015

2.ด้านความสุภาพอ่อนน้อม

.211

.085

.223

.073

.191

.107

.241

.058

.240

.058

3.ด้านความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา

.420**

.002

.238

.060

.303*

.023

.428**

.002

.493**

.000

4.ด้านความสำนึกในหน้าที่

.523**

.000

.244

.055

.308*

.021

.528**

.000

.412**

.003

5.ด้านการให้ความร่วมมือ

.419**

.002

.392**

.004

.380**

.005

.472**

.001

.395**

.004

**P< .01

*P< .05

ผลการทดสอบสมมุติฐาน  พบว่า  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารบริษัท มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01

สรุปและอภิปรายผล

จากการรวบรวมแนวคิด  ทฤษฎี  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและผลการวิจัยในครั้งนี้  ผู้วิจัยขอเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในแต่ละประเด็น เพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนขององค์การ  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของผู้บริหารบริษัท ดังนี้

1. การรับรู้การสนับสนุนขององค์การ

จากผลการวิจัยพบว่า  ผู้บริหารบริษัท  ส่วนใหญ่มีการรับรู้การสนับสนุนขององค์การอยู่ในระดับดี  และเมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า  ด้านการสนับสนุนการปฏิบัติงาน ด้านโอกาสที่จะได้รับการพัฒนาจากองค์การ  ด้านการใส่ใจขององค์การเกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ปฏิบัติงานด้านการเห็นคุณค่าของผลงาน ผู้บริหารบริษัทมีการรับรู้การสนับสนุนขององค์การ  อยู่ในระดับดีทุกด้าน ดังนั้น บริษัทควรจะสนับสนุนการพัฒนาการรับรู้การสนับสนุนขององค์การต่อไปเพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหารบริษัทมีการรับรู้การสนับสนุนขององค์การอยู่ในระดับดี ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในงานของผู้บริหารบริษัท


2. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

จากผลการวิจัยพบว่า  ผู้บริหารบริษัท  ส่วนใหญ่มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับสูง  และจากผลการวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ พบว่ามีความสัมพันธ์กันทางบวก  ดังนั้น บริษัทควรจะสนับสนุนการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารทุกระดับต่อไปอย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานมีในระดับสูงต่อไป โดยมีกำหนดนโยบายและแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองของผู้บริหารทุกระดับ เริ่มตั้งแต่การสรรหา คัดเลือกบุคลากรที่จะมาดำรงตำแหน่ง  การจัดอบรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำ การประเมินผลการปฏิบัติงานและควรมีการติดตามผลของอบรมเพื่อให้เกิดการพัฒนาภาวะผู้นำ อย่างต่อเนื่อง


3. พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ

จากผลการวิจัยพบว่า  ผู้บริหารบริษัท  ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ  อยู่ในระดับสูง และเมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า  ด้านการให้ความช่วยเหลือ ด้านความสุภาพอ่อนน้อม  ด้านความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา  ด้านความสำนึกในหน้าที่ ด้านการให้ความร่วมมือ  ผู้บริหารบริษัทมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ  อยู่ในระดับสูงทุกด้านดังนั้น บริษัทควรจะสนับสนุนการพัฒนาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของผู้บริหารทุกระดับต่อไป โดยสนับสนุนให้ผู้บริหารมีส่วนร่วมในงานและกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การอย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล


ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป

  เพื่อให้ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น  ผู้วิจัยใคร่ขอเสนอข้อเสนอแนะการวิจัยในครั้งต่อไป ดังนี้

1. การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนขององค์การ  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของผู้บริหารบริษัท เท่านั้น ซึ่งจากการทบทวนเอกสารแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง พบว่ายังมีตัวแปรอีกหลายตัวที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การสนับสนุนขององค์การ  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ เช่น ความฉลาดทางอารมณ์  ความพึงพอใจในการทำงาน ผลการปฏิบัติงาน ความผูกพันต่อองค์การ  คุณภาพชีวิตในการทำงาน  เป็นต้น ดังนั้นการวิจัยครั้งต่อไปจึงควรมีการศึกษาในตัวแปรดังกล่าวหรือตัวแปรที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อให้ได้ขอบเขตของความรู้ที่กว้างขึ้น

  2. ควรศึกษาเปรียบเทียบระดับการรับรู้การสนับสนุนขององค์การ  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของพนักงานในบริษัท เพราะลักษณะของประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ ผู้จัดการและหัวหน้างาน  ดังนั้น ควรศึกษาจากกลุ่มประชากรให้ครอบคลุมพนักงานทุกระดับ

3. ควรมีการศึกษาถึงแนวคิดในเรื่องการรับรู้การสนับสนุนขององค์การ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การในแนวคิดอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากที่ผู้วิจัยศึกษา

  4. ในการประเมินครั้งนี้ใช้แบบการประเมินตัวเอง ดังนั้น ในการวิจัยครั้งต่อไป อาจจะใช้วิธีการประเมินจากหลายแหล่งร่วมกันได้ เช่น เจ้านาย  ลูกน้อง  และลูกค้า เป็นต้น


เอกสารอ้างอิง

เคน บลังชาร์ด. (2550). ผู้นำเหนือระดับ ด้วยวิสัยทัศน์เหนืออนาคต. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี.

ทองทิพภา  วิริยะพันธุ์. (2550). ทักษะการบริหาร. กรุงเทพมหานคร:G.P. CYBERPRINT Co., Ltd.

บริษัท เบรดี้ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด. (2555). รายละเอียดเกี่ยวกับบริษัท. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2555. จาก http://www.brady.co.th/index.php?

ปีเตอร์ เอฟ. ดรักเกอร์. (2552). The Effective Executive  ผู้บริหารทรงประสิทธิผล. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ยูบีซีแอล บุ๊คส์ จำกัด.

รัตติกรณ์  จงวิศาล. (2543). ผลการฝึกอบรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้นำนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ปริญญานิพนธ์ (วิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ประสานมิตร.

รัตติกรณ์ จงวิศาล . (2544). "ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership)" . วารสารสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิธัญญา วัณโณ. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและจากหัวหน้างานกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การ โดยมีความกตัญญูกตเวทีเป็นตัวแปรกำกับ.กรุงเทพมหานคร: วิทยานิพนธ์ปริญญาโท,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สร้อยตระกูล  (ติวยานนท์)  อรรถมานะ. (2541). พฤติกรรมองค์การ: ทฤษฎีและการประยุกต์.  กรุงเทพมหานคร:  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2555). รายงานการศึกษาโอกาสและผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อกระทรวงมหาดไทย, กระทรวงมหาดไทย.


หมายเลขบันทึก: 537111เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2013 23:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2013 23:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท