Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร ความรู้กับทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนของพระธรรมวิทยากร ศูนย์พระสงฆ์นักเผยแผ่ธรรมเพื่อพัฒนาสังคม (2)


ญาณภัทร ยอดแก้ว และ แพรภัทร ยอดแก้ว. 2556. ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร ความรู้กับทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนของพระธรรมวิทยากร ศูนย์พระสงฆ์นักเผยแผ่ธรรมเพื่อพัฒนาสังคม.ในการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 23 วันที่ 22 พฤษภาคม 2556 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา"

จากการวิเคราะห์ข้อมูล  สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

ส่วนที่ 1 ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลของพระวิทยากร

ตารางที่ 1  จำนวนและร้อยละของพระธรรมวิทยากร  จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล

(n = 154)

ปัจจัยส่วนบุคคล

จำนวน (คน)

ร้อยละ

อายุ

  ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 35 ปี


67


43.5

  36 ปี ขึ้นไป

87

56.5

  รวม

154

100.0

พรรษา

  ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10  พรรษา


86


55.8

  11  พรรษาขึ้นไป

68

44.2

  รวม

154

100.0

การศึกษา

  ต่ำกว่าปริญญาตรี


46


29.9

  ปริญญาตรีขึ้นไป

108

70.1

  รวม

154

100.0

เปรียญธรรม

  ไม่มีเปรียญธรรม


80


51.9

  มีเปรียญธรรม

74

48.1

  รวม

154

100.0

ระยะเวลาในการทำงาน

  ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 6 ปี


105


68.2

  7 ปีขึ้นไป

49

31.8

รวม

154

100.0

จากตารางที่ 1  พบว่า  พระวิทยากร มีอายุ 36 ปี ขึ้นไป มีจำนวน  87 รูป คิดเป็นร้อยละ 56.5  ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10  พรรษา  มีจำนวน  86 รูป คิดเป็นร้อยละ 55.8  การศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีจำนวน 108 รูป คิดเป็นร้อยละ  70.1 ไม่มีเปรียญธรรม  มีจำนวน  80 รูป คิดเป็นร้อยละ 51.9 และระยะเวลาในการทำงาน 6 ปีขึ้นไป มีจำนวน  105 รูป คิดเป็นร้อยละ 68.2


4.1  การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน

  จากการสำรวจการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนของพระธรรมวิทยากร ซึ่งคิดเป็นจำนวนและร้อยละตามความถี่ในการรับข่าวสาร เพื่อหาระดับการเปิดรับข่าวสาร โดยจำแนกตามประเภทสื่อ จากนั้นได้มีการสรุปผลโดยรวม จำแนกตามระดับของการเปิดรับข่าวสาร ปรากฏผล ดังนี้

Frequency

Percent

Valid Percent

Cumulative Percent

Valid

1.00

25

16.2

16.2

16.2

2.00

36

23.4

23.4

39.6

3.00

26

16.9

16.9

56.5

4.00

28

18.2

18.2

74.7

5.00

39

25.3

25.3

100.0

Total

154

100.0

100.0


ตารางที่  2  แสดงจำนวนและร้อยละของความถี่ในการรับข่าวสารและระดับการเปิดรับข่าวสาร ตามประเภทสื่อ

ประเภทสื่อ

จำนวนและร้อยละตามความถี่ในการรับข่าวสาร

ระดับการเปิดรับข่าวสาร

ทุกสัปดาห์

3 ครั้ง ต่อเดือน

2 ครั้ง ต่อเดือน

1 ครั้ง ต่อเดือน

1 ครั้ง ต่อ 2 - 3 เดือน

1. โทรทัศน์

92

(59.7)

20

(13.0)

19

(12.3)

6

(3.9)

17

(11.0)

4.06

มาก

2.  วิทยุ

41

(26.6)

35

(22.7)

16

(10.4)

23

(14.9)

39

(25.3)

3.10

ปานกลาง

3.  หนังสือพิมพ์

59

(38.3)

40

(26.0)

21

(13.6)

15

(9.7)

19

(12.3)

3.68

มาก

4.  นิตยสาร

27

(17.5)

35

(22.7)

27

(17.5)

30

(19.5)

35

(22.7)

2.92

ปานกลาง

5. โปสเตอร์ หรือ ป้ายผ้า

39

(25.3)

28

(18.2)

26

(16.9)

36

(23.4)

25

(16.2)

3.13

ปานกลาง

6.  เอกสารประชาสัมพันธ์

32

(20.8)

34

(22.1)

25

(16.2)

34

(22.1)

29

(18.8)

3.04

ปานกลาง

7.  การพบปะพูดคุย

38

(24.7)

35

(22.7)

25

(16.2)

23

(14.9)

33

(21.4)

3.14

ปานกลาง

8.  นิทรรศการหรืองานแสดงสินค้า

21

(13.6)

33

(21.4)

15

(9.7)

23

(14.9)

62

(40.3)

2.53

ปานกลาง

9.  การประชุม

สัมมนา

61

(39.6)

25

(16.2)

21

(13.6)

28

(18.2)

19

(12.3)

2.47

ปานกลาง

10. อินเตอร์เนต (คอมพิวเตอร์)

81

(52.6)

27

(17.5)

13

(8.4)

21

(13.6)

12

(7.8)

3.94

มาก

จากตารางที่ 2 พบว่า  พระธรรมวิทยากรได้รับข่าวสารเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนในระดับมาก จากสื่อโทรทัศน์ ร้อยละ 59.7 อินเตอร์เนต ร้อยละ 52.6  การประชุมสัมมนา ร้อยละ 39.6 หนังสือพิมพ์  ร้อยละ 38.3  ได้รับข่าวสารในระดับปานกลาง จากสื่อวิทยุ ร้อยละ 26.6 การพบปะพูดคุย ร้อยละ  24.7 โปสเตอร์หรือป้ายผ้า ร้อยละ 25.3 เอกสารประชาสัมพันธ์ ร้อยละ 20.8 นิตยสาร ร้อยละ  17.5  และนิทรรศการหรืองานแสดงสินค้า ร้อยละ 13.6 ตามลำดับ 


ตารางที่ 3  แสดงจำนวนและร้อยละของพระธรรมวิทยากร จำแนกตามระดับการเปิดรับข่าวสาร

ระดับการเปิดรับข่าวสาร

จำนวน (รูป)

ร้อยละ

มาก

63

40.9

ปานกลาง

77

50.0

น้อย

14

9.1

รวม

154

100.0

จากตารางที่ 3  พบว่า  พระธรรมวิทยากร  ส่วนใหญ่มีระดับการเปิดรับข่าวสาร อยู่ในระดับปานกลาง  จำนวน 77 รูป คิดเป็นร้อยละ 50 


4.2 ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน

  จากการสอบถามความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนของพระธรรมวิทยากร โดยใช้ข้อคำถาม จำนวน 20 ข้อ เพื่อหาระดับความรู้แล้วนำไปจำแนกเป็นจำนวนและร้อยละตามระดับความรู้ปรากฎผล ดังนี้

ตารางที่ 4  แสดงค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และระดับความรู้ของพระธรรมวิทยากร 

การสอบถามความรู้

S.D.

ระดับความรู้

ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน

2.07

.35

ปานกลาง

  จากตารางที่ 4 พบว่า พระธรรมวิทยากร  มีระดับความรู้อยู่ในระดับปานกลาง  (= 2.07) 


ตารางที่ 5  แสดงจำนวนและร้อยละของพระธรรมวิทยากร  จำแนกตามระดับความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน

ระดับความรู้

จำนวน (คน)

ร้อยละ

มาก

16

10.4

ปานกลาง

134

87.0

น้อย

4

2.6

รวม

154

100.0

จากตารางที่ 5 พบว่า พระธรรมวิทยากรส่วนใหญ่มีระดับความรู้เกี่ยวกับอาเซียน  อยู่ในระดับปานกลาง  จำนวน 134 รูป คิดเป็นร้อยละ 87


4.3 ทัศนคติต่อประชาคมอาเซียน

จากการสำรวจทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนของพระธรรมวิทยากร โดยแบ่งเป็น 3 ด้าน เพื่อหาระดับทัศนคติโดยรวมและแยกเป็นแต่ละด้านแล้วนำไปจำแนกจำนวนและร้อยละตามระดับทัศนคติต่อประชาคมอาเซียน ปรากฏผล ดังนี้

ตารางที่  6  แสดงค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และระดับทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนของพระธรรมวิทยากร

ทัศนคติ

S.D.

ระดับทัศนคติ

ทัศนคติโดยรวม

4.44

.61

ดี

  ด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC)

4.51

.63

ดี

  ด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

4.23

.66

ดี

  ด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) 

4.42

.67

ดี

  จากตารางที่ 6 พบว่า พระธรรมวิทยากรมีทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (= 4. 44)  และเมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า  ทุกด้านอยู่ในระดับดี และสามารถจัดเป็นลำดับตามค่าเฉลี่ย  คือ ด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (= 4.51)  ด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (= 4.23)  และด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (= 4.42) 


ตารางที่ 7 แสดงจำนวนและร้อยละของพระธรรมวิทยากร  จำแนกตามระดับทัศนคติต่อประชาคมอาเซียน

ระดับทัศนคติ

จำนวน (คน)

ร้อยละ

ดี

136

88.3

ปานกลาง

17

11.0

น้อย

1

0.6

รวม

154

100.0

จากตารางที่ 7พระธรรมวิทยากร  ส่วนใหญ่มีระดับทัศนคติต่อประชาคมอาเซียน อยู่ในระดับดี  จำนวน 136 รูป คิดเป็นร้อยละ 88.3

  เพื่อให้เห็นภาพรวมเกี่ยวกับระดับในด้านต่างๆ ตามตัวแปรของการวิจัย จึงได้สรุปผลการสำรวจข้อมูลด้านต่างๆ ข้างต้นทั้งหมด ดังนี้


ตารางที่  8  แสดงค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของการเปิดรับการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนของพระธรรมวิทยากร 

ตัวแปร

S.D.

ระดับ

การเปิดรับข่าวสาร

3.63

.93

มาก

ความรู้

2.07

.35

ปานกลาง

ทัศนคติต่อประชาคมอาเซียน

4.44

.61

ดี

จากตารางที่ 8 พบว่า  พระธรรมวิทยากร  มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน อยู่ในระดับมาก (= 3.63) มีความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน อยู่ในระดับปานกลาง (= 2.07)  และมีทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนอยู่ในระดับดี (= 4.44) 


4.4 ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารกับทัศนคติต่อประชาคมอาเซียน

จากข้อมูลที่ได้จากการสำรวจด้านการเปิดรับข่าวสารของเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนของพระธรรมวิทยากรนั้นได้มีการนำมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาความสัมพันธ์กับระดับของทัศนคติต่อประชาคมอาเซียน ซึ่งมีผลปรากฏ ดังนี้


ตารางที่ 9 แสดงค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารกับทัศนคติต่อประชาคมอาเซียน โดยรวมและรายด้าน ของพระธรรมวิทยากร 

การเปิดรับข่าวสาร

ตัวแปร

โดยรวม

R

P

ทัศนคติโดยรวม

.858**

.000

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC)

.731**

.000

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

.732**

.000

ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC)

.855**

.000

**P< .01 

จากตารางที่ 9  แสดงให้เห็นว่าการเปิดรับข่าวสารกับทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนโดยรวมของพระธรรมวิทยากรมีความสัมพันธ์ทางบวกโดยรวม  (r =.858) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาการเปิดรับข่าวสารในแต่ละด้าน  พบว่า ด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC) (r =.731)  ด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)(r =.732)  และด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) (r =.855)  มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเปิดรับข่าวสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5.  อภิปรายผล

  จากผลการวิจัยพบว่า พระธรรมวิทยากร มีการเปิดรับข่าวสาร อยู่ในระดับมาก มีความรู้ อยู่ในระดับปานกลาง และมีทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนอยู่ในระดับดี สะท้อนให้เห็นว่าพระธรรมวิทยากรมีความตื่นตัวในการรับรู้และติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาเซียนในช่องทางต่างๆ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะช่องทางสื่อที่มีการรับรู้ระดับมาก ได้แก่ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ตและหนังสือพิมพ์ตามลำดับ ในอีกด้านหนึ่ง ก็สะท้อนให้เห็นว่าการใช้สื่อดังกล่าวมาเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาเซียนสามารถเข้าถึงประชาชนได้เป็นอย่างดี แม้กระทั่งพระสงฆ์ก็มีการรับรู้ทางสื่อดังกล่าวในระดับมาก สื่อสารมวลชนจึงมีพลังอย่างมากในการรับรู้เรื่องอาเซียนของประชาชน (เจริญพงษ์ ศุภธีระธาดา, 2555) แต่ในด้านความรู้เกี่ยวกับอาเซียนซึ่งอยู่ในระดับปานกลางนั้น อาจเป็นเพราะว่า ข้อมูลความรู้จากสื่อต่างๆ ยังไม่สามารถทำให้พระธรรมวิทยากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนที่ลึกซึ้งได้มากเท่าที่ควร ในขณะเดียวกันอาจจะเป็นเพราะในสังคมสงฆ์เองยังมีการให้ความรู้ในเรื่องนี้ไม่มากนัก รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็อาจจะยังไม่ได้มีการถวายความรู้อย่างจริงจัง ทำให้พระธรรมวิทยากรยังจะต้องได้รับการพัฒนาในด้านความรู้เกี่ยวกับอาเซียน แต่อย่างไรก็ตามแม้ความรู้จะอยู่ในระดับปานกลาง จะเห็นได้ว่าพระธรรมวิทยากรยังมีระดับทัศนคติในระดับดี ถือเป็นโอกาสที่หากจะมีการส่งเสริมความรู้เรื่องอาเซียนก็อาจจะได้รับความสนใจเป็นอย่างดี และจากผลการวิจัยที่พบว่า การเปิดรับข่าวสารและ ความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติต่อประชาคมอาเซียน อย่างมีนัยสำคัญนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการให้ความรู้พระสงฆ์ดังที่กล่าวมาเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากพระธรรมวิทยากรมีทัศนคติซึ่งประกอบด้วยความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกและแนวโน้มพฤติกรรม(Gibson, 2000) ย่อมส่งผลต่อการปรับตัวและการส่งเสริมสังคมให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต่อไป

6.  สรุปผลและข้อเสนอแนะ

จากการรวบรวมแนวคิด  ทฤษฎี  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและผลการวิจัยในครั้งนี้  คณะผู้วิจัยขอเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในแต่ละประเด็น  เพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อประชาคมอาเซียนของพระธรรมวิทยากรและเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ดังนี้

1. ควรเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสารประชาคมอาเซียนอย่างรวดเร็ว กว้างขวางมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้ด้านสังคม วัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจให้พระธรรมวิทยากรมากขึ้น

2. ควรมีการจัดการอบรมถวายความรู้เรื่องอาเซียน เพื่อให้พระธรรมวิทยากรมีความรู้เรื่องอาเซียนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสถาบันส่งเสริมและเผยแพร่การพระศาสนาแห่งประเทศไทย กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

3. ควรจัดกิจกรรมเกี่ยวกับอาเซียน  เพื่อสร้างความตระหนักในการเป็นพลเมืองอาเซียนและเพื่อพัฒนาการเปิดรับข่าวสารของพระธรรมวิทยากร เช่น ทัศนศึกษาในประเทศอาเซียน การแสดงความสามารถในเวทีระดับนานาชาติ  เพื่อเปิดโลกทัศน์และเปิดโอกาสให้พระธรรมวิทยากรได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับประเทศอาเซียนให้มากขึ้น

4. ควรมีการจัดการเรียนการสอนด้านภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน จาก 9 ประเทศเช่น ภาษาลาว ภาษาจีน ภาษาบาฮาซา ภาษาเมียนมาร์ เป็นต้น ให้พระธรรมวิทยากรได้เลือกเรียน เพื่อเพิ่มความรู้และประสบการณ์และศักยภาพทางด้านภาษามากขึ้น

5. ควรศึกษาวิจัยในมิติต่างๆ เพื่อส่งเสริมศักยภาพและการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการร่วมสร้างความมั่นคงให้แก่ประชาคมอาเซียน


7.ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป

1.  ควรศึกษาตัวแปรอิสระอื่นๆ ที่มีความสำคัญและอาจมีผลต่อทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนของพระธรรมวิทยากร  เช่น  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ (OCB) แรงจูงใจในการทำงาน  ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรค  (AQ) และความรู้สึกเห็นคุณค่าในตัวเอง (salf – Esteem )เป็นต้น

2. ควรศึกษาเปรียบเทียบระดับทัศนคติและปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติของพระธรรมวิทยากรกลุ่มอื่นๆ ภายในและภายนอกประเทศ เช่นพระธรรมทูต

3.  ในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป  หากศึกษาในประเด็นนี้  ควรศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ

4. ควรศึกษาทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนของพระธรรมวิทยากร  ที่ไม่ได้อบรมพระธรรมวิทยากร เพื่อหาผลทัศนคติของกลุ่มประชากรที่ไม่ได้เรียน แล้วนำผลการศึกษาวิจัยมาเปรียบเทียบกัน


8.  เอกสารอ้างอิง

กรมประชาสัมพันธ์. (2554). ประเทศไทยกับอาเซียน. กรุงเทพฯ : สำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ กรมประชาสัมพันธ์.

กอบกุล  ถาวรานนท์.  (2543).  สื่อมวลชนกับสังคม.  กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฎพระนคร

เกศินี  จุฑาวิจิตร.  (2540).  การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น.  นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.

เจริญพงษ์ ศุภธีระธาดา. (2555). “ก้าวต่อไปของอาเซียน: จากสมาคมสู่ประชาคมภายในปี 2558” บทความใน  วารสารการงบประมาณ  ปีที่ 9 ฉบับที่ 28 เมษายน-มิถุนายน 2555

ถนอมศักดิ์ สู่ภิภักดิ์. (2546). บทบาทของพระธรรมวิทยากรต่อการปลูกฝังและพัฒนาคุณธรรมเยาวชน. ปริญญานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.

ทรงพล  ภูมิพัฒน์.  (2538).  จิตวิทยาสังคม.  กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาฝ่ายเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สำนักงาน ก.พ. (2555). ก้าวสู่ประชาคม ASEAN 2015. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ. 2555.

Lussier, R. N.  (1999).  Human  Relations  in  Organization: Applications and  skill  Building.  (4th ed.).  The  McGrew – Hill  Companies, Inc.

Yamane, t. (1973). Statistic; An Introductory Analysis. 3 rd ed., Time Printers Sdn. Bnd. Singapore.


หมายเลขบันทึก: 537107เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2013 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2013 23:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท