Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติธรรมกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของพนักงานบริษัท (2)


แพรภัทร ยอดแก้ว. 2556.นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติธรรมกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของพนักงานบริษัท ซัมมิท อีเล็คโทรนิค คอมโพเน้นท์ จำกัด The Relationship between Satisfaction of Dharmma Retreat with Organizational Citizenship Behavior of Employees in Summit Electronic Components Co., Ltd. " ในการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 23 วันที่ 22 พฤษภาคม 2556 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา"

จากการสำรวจความพึงพอใจในการปฏิบัติธรรมของพนักงานบริษัทซัมมิทฯ ที่เข้าร่วมในโครงการปฏิบัติธรรม วัดป่าเจริญราช ระหว่างปี 2553-2555 จำนวน 189 คน มีผลการวิจัย ดังนี้

ส่วนที่ 1 ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลของ พนักงานบริษัทผู้เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม

ตารางที่ 1  จำนวนและร้อยละของพนักงานบริษัท  จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล

(n = 189)

ปัจจัยส่วนบุคคล

จำนวน (คน)

ร้อยละ

เพศ

  ชาย


16


8.5

  หญิง

173

91.5

  รวม

189

100.0

อายุ

  ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 34 ปี


94


49.7

  35 ปี ขึ้นไป

95

50.3

  รวม

189

100.0

สถานภาพ

  โสด

106

56.1

  สมรส

83

43.9

  รวม

189

100.0

การศึกษา

  ต่ำกว่าปริญญาตรี


149


78.8

  ปริญญาตรีขึ้นไป

40

21.2

  รวม

189

100.0

รายได้

  ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 12,000 บาท


110


58.2

  12,000 บาทขึ้นไป

79

41.8

  รวม

189

100.0

อายุที่สนใจเข้าวัดปฏิบัติธรรม

  ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 24 ปี


109


57.7

  25 ปี ขึ้นไป

80

42.3

  รวม

189

100.0

ประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรม ณ วัดป่าเจริญราช

  ไม่มี


89


47.1

  มี

100

52.9

  รวม

189

100.0

ประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรม ณ วัดอื่นๆ

  ไม่มี


70


37.0

  มี

119

63.0

รวม

189

100.0

  จากตารางที่ 1  พบว่า  พนักงานบริษัท ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีจำนวน  173  คน  คิดเป็นร้อยละ 91.5 มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป มีจำนวน  95  คน  คิดเป็นร้อยละ 50.3  โสด  มีจำนวน 106  คน คิดเป็นร้อยละ 56.1  การศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี  มีจำนวน  149  คน คิดเป็นร้อยละ  78.8  มีรายได้ 12,000 บาทขึ้นไป มีจำนวน 110  คน คิดเป็นร้อยละ58.2 อายุที่สนใจเข้าวัดปฏิบัติธรรม  ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 24 ปี มีจำนวน  109  คน คิดเป็นร้อยละ 57.7  มีประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรม ณ วัดป่าเจริญราชมีจำนวน  100  คน คิดเป็นร้อยละ 52.9  และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรม ณ วัดอื่นๆ มีจำนวน  119  คน คิดเป็นร้อยละ 63


ส่วนที่ 2  ข้อมูลความพึงพอใจของพนักงานบริษัท ผู้เข้าปฏิบัติธรรม

 

ตารางที่ 2  แสดงค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และระดับความพึงพอใจของพนักงานบริษัท

ความพึงพอใจในการเข้าร่วมปฏิบัติธรรม

S.D.

ระดับความพึงพอใจ

ความพึงพอใจ โดยรวม

4.64

.48

ดี

  ด้านสถานที่

4.44

.55

ดี

  ด้านอาหารและน้ำปานะ

4.47

.58

ดี

  ด้านกิจกรรม

4.61

.50

ดี

  ด้านบุคลากร

4.53

.51

ดี

  ตารางที่ 2 พบว่า พนักงานบริษัท มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดี (= 4. 64) และเมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ทุกด้านมีความพึงพอใจในระดับดี โดยที่ ด้านกิจกรรม มีระดับความพึงพอใจสูงสุด (= 4.61)  รองลงมา ได้แก่ ด้านอาหารและน้ำปานะ (= 4.47)  ด้านสถานที่  (= 4.44)  และด้านบุคลากร (= 4.53) 


ตารางที่ 3  แสดงจำนวนและร้อยละของพนักงานบริษัท

  จำแนกตามระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติธรรม โดยรวม

ระดับความพึงพอใจ

จำนวน (คน)

ร้อยละ

ดี

184

97.4

ปานกลาง

5

2.6

น้อย

-

-

รวม

189

100.0

จากตารางที่ 3  พบว่า พนักงานบริษัท ส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับดี  จำนวน 184 คน คิดเป็นร้อยละ97.4


ส่วนที่ 3  ข้อมูลพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ

ตารางที่  4  แสดงค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

    และระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานบริษัท

พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ

×̅

S.D.

ระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ

พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การโดยรวม

4.47

.54

สูง

  ด้านการให้ความช่วยเหลือ

3.93

.75

สูง

  ด้านความสุภาพอ่อนน้อม

4.50

.67

สูง

  ด้านความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา

4.56

.65

สูง

  ด้านความสำนึกในหน้าที่

4.22

.76

สูง

  ด้านการให้ความร่วมมือ

4.62

.56

สูง

จากตารางที่ 4  พบว่า  พนักงานบริษัท ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ  อยู่ในระดับสูง  (×̅= 4.47)  และเมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า  ด้านการให้ความร่วมมือ (×̅= 4.62) ด้านความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา  (×̅= 4.56)  ด้านความสุภาพอ่อนน้อม  (×̅= 4.50)  ด้านความสำนึกในหน้าที่  (×̅= 4.22)  และด้านการให้ความช่วยเหลือ (×̅= 3.93)  พนักงานบริษัท มีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ  อยู่ในระดับสูง 


ตารางที่ 5  แสดงจำนวนและร้อยละของพนักงานบริษัท

  จำแนกตามระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ  โดยรวม

ระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานบริษัท

จำนวน (คน)

ร้อยละ

ดี

171

90.5

ปานกลาง

18

9.5

น้อย

-

-

รวม

189

100.0

จากตารางที่ 5  พบว่า พนักงานบริษัท ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ อยู่ในระดับดี  จำนวน 171 คน คิดเป็นร้อยละ 90.5


ตารางที่ 6   แสดงค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติธรรมกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ โดยรวมและรายด้านของพนักงานบริษัท

ความพึงพอใจในการปฏิบัติธรรม

พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ

โดยรวม

R

P

พฤติกรรมโดยรวม

.512**

.000

  1.ด้านการให้ความช่วยเหลือ

.540**

.000

  2.ด้านความสุภาพอ่อนน้อม

.464**

.000

  3.ด้านความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา

.506**

.000

  4.ด้านความสำนึกในหน้าที่

.472**

.000

  5.ด้านการให้ความร่วมมือ

.409**

.000

**P< .01

ผลการทดสอบสมมุติฐาน  พบว่า  ความพึงพอใจในการปฏิบัติธรรม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01


5.    สรุปผลและอภิปรายผล

จากผลการวิจัย สรุปว่า 

1.ความพึงพอใจในการปฏิบัติธรรม

  พบว่า พนักงานบริษัท มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดี (= 4. 64) และเมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ทุกด้านมีความพึงพอใจในระดับดี โดยที่ ด้านกิจกรรม มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด (= 4.61) แสดงว่า การจัดกิจกรรมต่างๆ ของสำนักปฏิบัติธรรมวัดป่าเจริญราช ได้แก่ การสมาทานศีลและขอถือบวช  การปฐมนิเทศผู้ปฏิบัติธรรม  การสาธิตการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน  การสวดมนต์ การฟังธรรมบรรยาย การเจริญวิปัสสนากรรมฐานและการสอบอารมณ์  เหล่านี้เป็นกิจกรรมที่มีความเหมาะสมและการดำเนินกิจกรรมต่างๆเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 


2.พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ

พบว่า  พนักงานบริษัท ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ  อยู่ในระดับสูง  (×̅= 4.47)  และเมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า  ด้านการให้ความร่วมมือ พนักงานบริษัท มีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ  อยู่ในระดับสูง(×̅= 4.62) ด้านความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา อยู่ในระดับสูง (×̅= 4.56)  ด้านความสุภาพอ่อนน้อม  อยู่ในระดับสูง (×̅= 4.50)  ด้านความสำนึกในหน้าที่  อยู่ในระดับสูง (×̅= 4.22)  และด้านการให้ความช่วยเหลือ อยู่ในระดับสูง (×̅= 3.93)  แสดงว่า การส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานบริษัทเข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาตนเองในโครงการปฏิบัติธรรมของวัดป่าเจริญราช หลักสูตร 8 วัน 7 คืน ช่วยพัฒนาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ


3.ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติธรรมกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ

พบว่า  ความพึงพอใจในการปฏิบัติธรรม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01

ดังนั้น การที่บริษัทสนับสนุนให้พนักงานบริษัทได้พัฒนาตนเองในทางจิตใจตามหลักการทางพระพุทธศาสนา  โดยให้พนักงานลางานเพื่อเข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม ในหลักสูตร 8 วัน 7 คืน  มีผลดีต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติธรรมและยังส่งเสริมให้พนักงานบริษัทได้พัฒนาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การด้วยเพราะตามหลักสูตรของการปฏิบัติธรรมในโครงการมีจุดเน้น คือ การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่สามารถส่งเสริมพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การได้อย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องการฝึกสติ ที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติมีความระลึกรู้และก่อเกิดปัญญาในการคิดและตัดสินใจ สามารถเลือกที่จะหลีกเว้นในสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและปฏิบัติในสิ่งที่เป็นธรรม ซึ่งพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การแต่ละอย่างล้วนเป็นพฤติกรรมที่สอดคล้องกับธรรมในทางพระพุทธศาสนา เช่น การให้ความร่วมมือสอดคล้องกับหลักสามัคคีธรรม ความมีน้ำใจเป็นนักกีฬาสอดคล้องกับหลักเมตตาธรรมและหลักอภัยทาน ความสุภาพอ่อนน้อมสอดคล้องกับหลักคารวธรรม ความสำนึกในหน้าที่สอดคล้องกับหลักอิทธิบาท 4 และการให้ความช่วยเหลือสอดคล้องกับหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นต้น


6.  สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

จากการรวบรวมแนวคิด  ทฤษฎี  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและผลการวิจัยในครั้งนี้  ผู้วิจัยขอเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในแต่ละประเด็น  เพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติธรรมกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานบริษัท ซัมมิท อีเล็คโทรนิค คอมโพเน้นท์ จำกัดดังนี้

1.  ในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป  หากศึกษาในประเด็นนี้  ควรศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อพัฒนาความพึงพอใจในการปฏิบัติธรรมกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานบริษัท

2. ควรศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานบริษัทที่ไม่ได้เข้าร่วมพัฒนาตนในโครงการปฏิบัติธรรม  เพื่อนำผลการศึกษาวิจัยมาเปรียบเทียบกัน

3.จากการทบทวนเอกสารแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง พบว่ายังมีตัวแปรอีกหลายตัวที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ เช่น การรับรู้การสนับสนุนขององค์การ  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงความฉลาดทางอารมณ์  ความพึงพอใจในการทำงาน ผลการปฏิบัติงาน ความผูกพันต่อองค์การ  คุณภาพชีวิตในการทำงาน  เป็นต้น ดังนั้นการวิจัยครั้งต่อไปจึงควรมีการศึกษาในตัวแปรดังกล่าวหรือตัวแปรที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อให้ได้ขอบเขตของความรู้ที่กว้างขึ้น

4. เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานบริษัท ซัมมิท อีเล็คโทรนิค คอมโพเน้นท์ จำกัดเท่านั้น ผลจากการศึกษาจึงไม่สามารถอ้างอิงได้ในระดับภาพรวม ดังนั้น ผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อาจทำการศึกษาต่อในบริษัทอื่นๆ หรือในกลุ่มอาชีพและธุรกิจอื่นๆ เพื่อเป็นการเปรียบเทียบ

5. ควรมีการศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติธรรม  และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ตามแนวทฤษฎีของนักวิชาการท่านอื่นๆ เพื่อนำผลที่ได้มาศึกษาร่วมกัน อาทิ การศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่มีวัฒนธรรมองค์การแบบตะวันออก เป็นต้น

7.  เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมวุฒิสภา.  (2548).  “แผนยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา  เอกสารการสัมมนา เรื่อง ยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา. (เอกสารอัดสำเนา).

ญาณภัทร  ยอดแก้วและคณะ. (2556). “การพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมวัดป่าเจริญราชเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558”. ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ SMARTS ครั้งที่ 3 , (หน้า 104-105) . วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

บริษัท ซัมมิท อีเล็คโทรนิคส์ คอมโพเน้นท์ จำกัด (SEC). (2556). ข้อมูลบริษัท.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก : http://www.thaitechno.net/t1/profile.php?uid=37778 (สืบค้นวันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2556)

วัดป่าเจริญราช.  (2555).  เอกสารสรุปผลการดำเนินงานโครงการปฏิบัติธรรมของวัดป่าเจริญราช ปี พ.ศ.2552-2555. (เอกสารอัดสำเนา). ปทุมธานี.

สนิท ศรีสำแดง. (2534).พุทธศาสนากับการศึกษา: ภาคทฤษฎีแห่งความรู้. กรุงเทพมหานคร:นีลนาราการพิมพ์,


หมายเลขบันทึก: 537104เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2013 22:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2013 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท